บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้ให้เลขาธิการอ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งนายสหัส พินทุเสนีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์
ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
๒. เรื่องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่มอีก
จำนวน ๑ คน คือ นายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกฯ เหลือจำนวน ๔๕๒ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุม
รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๙ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒๖ วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๗ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๙ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๐ เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๒ วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๓ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๔ เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๙ ครั้งดังกล่าว
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๕)
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๖. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)พ.ศ. ….
(ในระเบียบวาระเรื่องที่เสนอใหม่)
๗. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
๘. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
ลำดับที่ ๔)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
ก่อนที่สมาชิกฯ อภิปราย ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้อนุญาตให้นายอัชพร จารุจินดา เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๙๕
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้
ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
****************************************
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้ให้เลขาธิการอ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งนายสหัส พินทุเสนีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์
ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
๒. เรื่องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่มอีก
จำนวน ๑ คน คือ นายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกฯ เหลือจำนวน ๔๕๒ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุม
รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๙ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒๖ วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๗ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๙ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๐ เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๒ วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๓ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๔ เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๙ ครั้งดังกล่าว
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๕)
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๖. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)พ.ศ. ….
(ในระเบียบวาระเรื่องที่เสนอใหม่)
๗. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
๘. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
ลำดับที่ ๔)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
ก่อนที่สมาชิกฯ อภิปราย ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้อนุญาตให้นายอัชพร จารุจินดา เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๙๕
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้
ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
****************************************