= วางพวงมาลารำลึกครบรอบ ๓๑ ปี "วัน ๑๔ ตุลา ประชาธิปไตย"
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๒๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร วางพวงมาลาและกล่าวสดุดีวีรชนประชาธิปไตย โดยมีนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ร่วมงานด้วย ณ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา สี่แยกคอกวัว กรุงเทพฯ
= พิธีทำบุญครบรอบ ๓๑ ปี ๑๔ ตุลาคม
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานประกอบพิธีทางพุทธศาสนา ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ ในโอกาสครบรอบ ๓๑ ปี ๑๔ ตุลาคม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ณ สโมสรรัฐสภา
พร้อมกันนี้ มีพิธีทางศาสนาคริสต์ โดยมีนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ และพิธีทางศาสนาอิสลาม โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๑ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๑
= ประชุมคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้าฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗
วันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๑ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ได้มอบหมายให้นางมาลีรัตน์ แก้วก่า รองประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เพื่อมอบผลงานเรื่องสั้นและบทกวีการเมืองในระดับต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๕๐๑ เรื่อง ให้คณะอนุกรรมการ คณะต่าง ๆ พิจารณาตัดสิน
= กรรมาธิการการแรงงานทั้งสองสภาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือแรงงานไทย
ในอิสราเอล
นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร และนายไสว พราหมณี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา ได้แถลงถึงเรื่องที่คนงานไทยถูกยิงเสียชีวิตที่ประเทศอิสราเอลว่า ทางคณะกรรมาธิการการแรงงานของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องการให้รฐบาลย้ายคนงานไทยออกจากพื้นที่ฉนวนกาซ่า ประเทศอิสราเอล เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ที่มีการสู้รบกันอย่างต่อเนื่อง และแรงงานไทยที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งขอให้รัฐบาลดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับบริษัท จัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปในพื้นที่ที่มีการสู้รบ ถึงแม้ว่าจะเป็นการสมัครใจของแรงงานไทยเองก็ตาม
= ประชุมกลุ่มมิตรภาพ
วันจันทร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสุพร สุภสร ประธาน กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เวียดนาม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๒๐๗ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
= ส.ส.ใหม่รายงานตัว
ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีประกาศเรื่องให้มีผู้รายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของ พรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขั้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายบุรณัชย์ สมทุรักษ์ ซึ่งเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๙ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มา รายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ เพื่อแทนตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ว่าง เนื่องจากนายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง
= ตรวจสอบการเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติฯ
ตามที่ นายพลเดช ปิ่นประทีป กับคณะ ได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว ปรากฏว่ามีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่มีเอกสาร หลักฐานครบถ้วนและใช้สิทธิถูกต้อง จำนวน ๙๕,๖๘๔ คน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว ประธานรัฐสภาจึงมีคำสั่งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดส่งบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอ ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. เพื่อไปปิดประกาศ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และเขตชุมชนหนาแน่น ทั้งนี้ เฉพาะในเขตท้องที่ที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อให้ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยที่ข้อเท็จจริงมิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายด้วยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องคัดค้าน เพื่อให้ ขีดฆ่าชื่อของตนออกจากบัญชีรายชื่อดังกล่าว กำหนดการยื่นคำร้องคัดค้าน ระหว่างวันที่ ๑๘ ตุลาคม - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๑๐๐ - ๑ ในวัน เวลาราชการ
= แสดงความยินดี
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายถาวร จุลตามระ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา และข้าราชการสถานีวิทยุฯ ร่วมแสดงความยินดีแก่ นายดุษฎี สินเจิมศิริ เนื่องในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ณ กรมประชาสัมพันธ์
= รับมอบรางวัล
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ได้รับรางวัลในฐานะผู้สนับสนุน ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยนางนวษร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกลุ่มงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง เป็นตัวแทนสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รับมอบเกียรติบัตรและของที่ระลึก จากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ณ ห้องอเนกประสงค์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
= โครงการพระราชดำริ
โครงการป่ารักน้ำ เริ่มทดลองเป็นครั้งแรกที่บ้านน้ำติ้ว ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นโครงการเพื่อปลูกป่า ด้วยพันธุ์ไม้ที่เติบโตเร็ว โดยราษฎรเป็นผู้ลงแรงปลูกและดูแลบำรุงเลี้ยงบนพื้นดินที่ทรงซื้อและทรงเช่าพระราชทานทั้งเงินเดือนที่พระราชทานแก่ราษฎรผู้ยากจนที่เข้าโครงการ
โครงการป่ารักน้ำ มีวัตถุประสงค์ ๕ ประการ คือ
ประการแรก เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมให้เป็นบริเวณต้นน้ำลำธารกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์
ประการที่สอง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เดิมเอาไว้ให้ได้ ในเวลาเดียวกันก็ปลูกเสริมขึ้นเพื่อให้มีป่าไม้ช่วยในการควบคุมความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศและ ภัยแล้ง
ประการที่สาม เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังให้ราษฎรเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ให้มากยิ่งขึ้น
ประการที่สี่ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีไม้ไว้ใช้สอย และเพิ่มพูนรายได้
ประการที่ห้า เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน ขาดแคลนที่ดินทำกิน และบุกรุกกระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้มีที่อยู่หลักแหล่ง มีอาชีพแน่นอน เพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวต่อไป
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยให้โครงการป่ารักน้ำเป็นการเสริมสร้างและปลูกฝังให้ราษฎรรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ให้คนในท้องถิ่นมีไม้ใช้สอย ตลอดจนช่วยเหลือให้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีอาชีพแน่นอน มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น จากโครงการป่ารักน้ำสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังได้พระราชทานพระราโชบายให้จัดตั้งหมู่บ้านป่ารักน้ำขึ้น ให้มีสถานะเป็นบ้านลึกในป่าใหญ่ เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนไม่มีที่ดินทำกิน มีลูกหลายคน มีความขยันขันแข็ง มีความประพฤติดี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างบ้านให้อยู่อาศัย มีหน้าที่ดูแลรักษาต้นไม้ และพระราชทานเงินเดือนให้ ที่สำคัญคือ ทรงเน้นให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ ให้มีความรู้สึกว่าทั้งเขตบ้านและเขตป่าเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน และให้รักป่าเหมือนเป็นสมบัติของ ตนเอง
(สำเนา)
ประกาศ
แต่งตั้งรองประธานวุฒิสภา
------------------
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ นายสหัส พินทุเสนีย์ รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ได้ลาออกจากตำแหน่ง รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง และวุฒิสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ เลือกนายสหัส พินทุเสนีย์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง
จึงแต่งตั้งให้นายสหัส พินทุเสนีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ตามความ ในมาตรา ๑๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
= โครงการสัมมนาเรื่อง "ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศ"
ในช่วงปี ๒๕๓๙-๒๕๔๕ มีจำนวนคนหางานที่ถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ และได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๔๓,๘๐๗ คน รวมจำนวนเงินที่เป็นความเสียหายจากการที่คนหางาน ถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ เป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๒๘๘ ล้านบาท และในปัจจุบันสถานการณ์ การหลอกลวงที่เกิดขึ้นกับคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศยังคงมีอยู่ และหลายราย ต้องเสียเงิน เสียไร่นา และที่อยู่อาศัย ไปจำนองไว้กับนายทุนเงินกู้นอกระบบหรือธนาคาร เพื่อเป็น หลักประกันเงินกู้ไว้สำหรับใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ คนหางานได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร จึงได้จัดโครงการสัมมนาเรื่อง "ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศ" ขึ้น ในวันจันทร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ ณ ห้องประชุม โรงเรียนธีระกาญจน์บ้านโฮ่งวิทยา อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งป้องกันไม่ให้ประชาชนและผู้ใช้แรงงานถูกหลอกลวงหรือเอารัดเอาเปรียบจากการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วย
= รับสมัครผู้อำนวยการสำนักฯ และผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับสมัครคัดเลือกข้าราชการเพื่อโอนมาเป็น ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ และข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป เพื่อบรรจุ / โอน เข้ารับราชการตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี และผู้อำนวยการ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ
โดยคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ (นักบริหาร ๙) มีดังนี้
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป และมีประสบการณ์ทางการบริหารไม่น้อยกว่า ๓ ปี
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และมี ความรู้ในการใช้ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาเกาหลี / ภาษาสเปน / ภาษาเยอรมัน / ภาษาอาหรับ อีกไม่น้อยกว่า ๑ ภาษา
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี มีดังนี้
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๖ ขึ้นไป หรือบุคคลทั่วไป
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูด ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาเกาหลี ได้เป็นอย่างดี และมีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ มีดังนี้
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๖ ขึ้นไป หรือบุคคลทั่วไป
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูด ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน หรือภาษาอาหรับ ได้เป็นอย่างดี และมีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๙-๑๒ และ ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.parliament.go.th หรือสมัครได้ที่สำนักบริหารงานกลาง อาคารทิปโก้ ชั้น ๑๖ ถนนพระราม ๖ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๘ ตุลาคม - ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา เว้นวันหยุดราชการ
= รายชื่อผู้สมัครผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ตามที่คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้เปิดรับสมัครผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เมื่อวันที่ ๖-๑๓ ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภา จำนวนทั้งสิ้น ๓๓ คน ดังนี้
๑. รองศาสตราจารย์อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
๒. นางสาวลั่นทม สุทธิ
๓. พลโท เดชพันธ์ ดวงรัตน์
๔. นายยุวรัตน์ กมลเวชช
๕. นายชาญวิทย์ คันธะ
๖. พลตำรวจโท มงคล กมลบุตร
๗. พลตำรวจตรี วรเดช พิสุทธิ์ศักดิ์
๘. นายเกษม ทรัพย์เจริญ
๙. นายอุทัย ทรัพย์เจริญ
๑๐. นายปราโมทย์ โชติมงคล
๑๑. นายชินพจน์ พินิจชินรัช
๑๒. นางสาวอภิงค์ญฎา วงษานุทัศน์
๑๓. พันตำรวจเอก วิรัตน์ ราชณรงค์
๑๔. พลเอก วิชา เตชะวณิชย์
๑๕. พลเอก สุธี จรูญพร
๑๖. นายบุญจง ขาวสิทธิวงษ์
๑๗. นายสุนันท์ นวลจันทร์กุล
๑๘. นายสุรพล อังศุวิทยา
๑๙. นายษุภณัส วัฒนดิเรก
๒๐. นายพรรณไทย ไทยชน
๒๑. พลโท ฤกษ์ดี ชาติอุทิศ
๒๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จำลอง ชูโต
๒๓. พลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง
๒๔. นายอนันต์ รัศมี
๒๕. พลโท เดโช สนธิศิริ
๒๖. นายสมพล วณิคพันธุ์
๒๗. นายธีราศักดิ์ พิมพ์พงศ์
๒๘. นายพชร กุสะโร
๒๙. พลโท พินิจ อนุกูล
๓๐. นายมนู โอมะคุปต์
๓๑. นางบุปผา ชวะพงษ์
๓๒. นายสำราญ ถาวรายุศม์
๓๓. นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
ทั้งนี้ ผู้สมัครทั้ง ๓๓ คน จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของคณะกรรมการสรรหา โดยจะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา เพื่อสรรหาผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด ๓ คน จากนั้นเสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกให้เหลือ ๒ คน และวุฒิสภาเลือกให้เหลือ ๑ คน เพื่อดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต่อไป
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง นายสหัส พินทุเสนีย์ เป็น
รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
๓. รับทราบเรื่องการขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยนายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ ดังนั้นสมาชิกภาพจึงสิ้นสุดลง ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกเหลือจำนวน ๔๕๒ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องคำปรารภ เหตุใดจึงบัญญัติเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ เรื่องการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ขอให้กรรมาธิการชี้แจงด้วยเรื่องประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เริ่มนับค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันใด เรื่องของการห้ามมิให้ผู้สมัครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนขอให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ ครอบคลุมถึงการประกาศนโยบายหรือการดำเนินการตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจ หน้าที่ด้วยวิธีการการใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของแผ่นดินและต้องเป็นการใช้จ่ายเงินที่มีแผนงาน โครงการระบุอยู่ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนกรณียุบสภาก่อนครบกำหนด ๖๐ วันของอายุสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร และกรณี ยุบสภาภายในหกสิบวันก่อนวันครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งควรระบุให้ชัดเจนว่าก่อนและหลัง ๖๐ วันนั้น ผู้ต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในเรื่องของการกำหนดห้ามให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแก่สถาบันอื่นใดนั้น เดิมคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้กำหนดว่าสถาบันใดบ้างที่อยู่ในข่ายต้องห้าม แต่กฎหมายนี้ใครจะเป็นผู้กำหนดในเรื่องของการร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้อาจไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งมิได้ระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้ การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องคัดค้านการเลือกตั้งในความเป็นจริงแล้วผู้ร้องคัดค้านทั้งสิบคนจะต้องรู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำความผิดพร้อมกัน ซึ่งหากเกิดกรณีที่มีเหตุการณ์ทุจริตซึ่งมีผู้รู้เห็นไม่ถึงสิบคน ก็จะไม่สามารถร้องคัดค้านได้ เป็นเหตุให้กระบวนการในการคัดเลือกไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญและควรกำหนดบทเฉพาะกาลไว้ด้วยว่าจะเริ่มบังคับใช้ในเรื่องการร้องคัดค้านนี้เมื่อใด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ รวมทั้งควรเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องคัดค้านด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เหตุที่ต้องมีการบัญญัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้นั้น ก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเพื่อประโยชน์ในการ ตรวจสอบว่ามีบทบัญญัติใดในกฎหมายนี้บ้างที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของของประชาชนในเรื่องของการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เนื่องจากมีการแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับการนับระยะเวลาในการเลือกตั้งจึงจำเป็นต้องบัญญัติแก้ไขให้สอดคล้อง เพื่อไม่ให้บทบัญญัติของกฎหมาย ขัดแย้งกันเอง ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เริ่มนับหลังจากที่มีกฤษฎีกาแล้ว ในเรื่องการประกาศนโยบายหรือการกระทำบ้างสิ่งบ้างอย่างตามงบประมาณที่ให้ไว้เป็นการกระทำได้โดยชอบ แต่ต้องไม่มีมูลเหตุจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตน การกำหนดระยะเวลา ๖๐ วัน ก่อนและหลังมีประกาศพระราชกฤษฎีกานั้น ไม่สามารถกำหนดอย่างนั้นได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ ในเรื่องการกำหนดห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแก่สถาบันใดบ้างนั้น กฎหมายฉบับนี้ได้เขียนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีอำนาจในการประกาศว่าสถาบันใดบ้างที่เทียบเคียงกับที่ห้ามไว้อยู่แล้ว การระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านนั้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลย้อนหลัง จึงไม่จำเป็นต้องเขียนบทเฉพาะกาลไว้ การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้อง คัดค้านนั้นกรรมาธิการเสียงข้างมากเห็นว่าควรเปิดเผยให้เฉพาะผู้ถูกร้องคัดค้านทราบแต่ไม่ควรทำเป็นประกาศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่พบเห็นการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สิทธิร้อง คัดค้านได้ และหากการร้องเป็นเท็จ ก็มีกฎหมายอื่นรองรับบัญญัติลงโทษไว้อยู่แล้ว ทั้งนี้กรรมาธิการ ได้ขอให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามกฎหมายนี้ด้วย จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๓๒๘ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนั้น ขอให้เพิ่มในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรด้วย ซึ่งกรรมาธิการเห็นด้วยที่ให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๘๓ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๒๐ นาฬิกา โดยนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ซึ่งประธานการประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำปี ๒๕๔๖ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้ง ข้อสังเกตว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการควบคุมและดำเนินการ ให้การเลือกตั้งในระดับต่าง ๆ เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่การดำเนินการต่าง ๆ ยังมีปัญหา ที่ควรได้รับการแก้ไข อาทิ การวินิจฉัยที่มีความล่าช้า และเจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกตั้ง รวมทั้ง กกต. ประจำจังหวัดบางคนยังเป็นเครือญาติกับนักการเมือง ซึ่งอาจทำให้เกิดอคติหรือความลำเอียงในการปฏิบัติหน้าที่ได้ ตลอดจนปัญหาของการสมัครสมาชิกพรรคการเมืองที่มีการ ซ้ำซ้อนก็จะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาเงินสนับสนุนพรรคการเมืองต่าง ๆ ด้วย โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังได้เสนอแนะให้ กกต. ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับ บทบาท อำนาจ หน้าที่ของ กกต. และเข้าใจถึงหน้าที่ของผู้แทนประชาชนในระดับต่าง ๆ อีกทั้งควร จัดทำคู่มือประกอบการเลือกตั้ง และสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยให้กับสังคมในการมีส่วนร่วมให้ มากขึ้น นอกจากนี้ยังควรกำหนดบทลงโทษข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางให้ชัดเจนและควรจัดทำ รายงานผลการปฏิบัติงานในส่วนข้อมูลและสถิติการเลือกตั้งระดับต่าง ๆ โดยมีการแยกเพศ รวมทั้ง ยังได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับผู้ร้องคัดค้านที่เป็นเท็จด้วย
จากนั้น พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วยกรรมการเลือกตั้ง ได้ร่วมกันชี้แจงว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตและ เที่ยงธรรมอย่างเคร่งครัดตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยมีกฎระเบียบและวิธีการดำเนินการสืบสวน สอบสวน รวบรวมหลักฐานก่อนดำเนินการวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจน ทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและระดับ ท้องถิ่น สำหรับการเผยแพร่ให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์นั้น ก.ก.ต. ตระหนักถึงความสำคัญและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้น มีการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ ด้วยการเดินทาง ไปพบปะกับประชาชนในลักษณะของหน่วยเคลื่อนที่ และขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาทุกแห่ง เพื่อสร้างคู่มือสำหรับผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังกำลังดำเนินการสร้างหอกระจายข่าวทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในกรณีปัญหาของสมาชิกพรรคการเมืองที่มีความซ้ำซ้อนนั้น ทาง กกต. ได้ดำเนินการตรวจสอบและนำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาให้เงินสนับสนุน โดยจะไม่นำยอดซ้ำซ้อนมาประกอบการพิจารณา นอกจากนี้ยังแจ้ง ไปยังพรรคการเมืองที่มีสมาชิกซ้ำซ้อนให้ดำเนินการแก้ไขด้วย สำหรับการประกาศผลการเลือกตั้งที่มีความล่าช้านั้น เนื่องจากมีการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาก่อนที่จะประกาศผล ประกอบกับปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ ในส่วนของการดำเนินคดีกับผู้ร้องคัดค้านที่เป็นเท็จนั้น ได้มีการดำเนินคดีไปแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งท้องถิ่น ทั้งนี้ในส่วนขั้นตอนการพิจารณาของศาลนั้น ทาง กกต. ไม่อาจเร่งรัดการดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะอื่น ๆ นั้น ทาง กกต. พร้อมที่จะนำไปพิจารณาในคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป
ต่อจากนั้นได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๒ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายจุติ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การบริหารงานบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อิลิท การ์ด ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ตอบกระทู้ว่า การดำเนินงานการบริหารบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อิลิท การ์ด ในส่วนของการวางแผนนโยบายของการท่องเที่ยว รวมถึงการดำเนินการในเรื่องของบัตรอิลิท การ์ด นั้น ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว มาแล้ว และได้กำไรประมาณ ๖๐๐ ล้านบาท
๒. กระทู้ถามสดของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชี
รายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธรรม แสงประทุม) ได้ตอบกระทู้ว่า เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็น เหตุการณ์ที่ยืดเยื้อจริง และต้องใช้มาตรการหลายมาตรการในการแก้ไข โดยใช้วิธีรุนแรงเด็ดขาด กับผู้ก่อการ รวมทั้งให้โอกาสกับผู้ที่หลงผิดโดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปราบปรามยาเสพติด ส่วนเรื่องของนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนพอจึงทำให้เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและการใช้นโยบายดังกล่าวทำให้ผู้ร้องเรียนละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีการยิงนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ได้มีการเข้าไปตรวจสอบจริง และฝ่ายความมั่นคง ได้เข้าไปตรวจค้นนักศึกษาที่เช่าหอพักอยู่นอกมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการ แต่หลังจากตรวจสอบแล้วไม่พบสิ่งใดพบเพียงกัญชาห่อเดียว จึงได้ทำการชี้แจงต่อมหาวิทยาลัยจนเป็นที่พอใจและเกิดความเข้าใจจากบุคลากร รวมทั้งมหาวิทยาลัยแล้ว และรัฐบาลจะยังคงใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ก่อการเท่านั้น
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวหรือ ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้มีนโยบายในเรื่องของการอำนวยความสะดวก การนำมาตรฐานการอำนวยความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวให้มีการใช้อย่างทั่วถึง มีการจัดทำ แผนงานและแจ้งข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยวทราบด้วย รวมทั้งมีการสร้างจิตสำนึกที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว และได้กำหนดมาตรการในการบูรณาการการทำงาน โดยจัดตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว และได้มุ่งปราบปรามผู้กระทำผิดต่อนักท่องเที่ยวด้วย ส่วนการดูแล นักท่องเที่ยวที่ถูกทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บนั้น รัฐบาลได้ดูแลนักท่องเที่ยวดังกล่าวเป็นอย่างดี เพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้ทราบว่า รัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งนักท่องเที่ยวแต่ประการใด
๒. กระทู้ถามของนายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งผู้ตั้งกระทู้ถามมิได้อยู่ในที่ประชุม กระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป
๓. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การก่อสร้างที่จอดเรือบริเวณหน้าถ้ำมรกต ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ตอบกระทู้ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการทำทุ่นผูกเรือแทนการก่อสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อมิให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการก่อสร้างท่าเทียบเรือเช่นกัน แต่ในปัจจุบัน ได้โอนภารกิจการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ขององค์กรดังกล่าวที่ทำหน้าที่ในการสร้างท่าเทียบเรือต่อไป
๔. กระทู้ถามของนายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การรักษาพยาบาลพระภิกษุสงฆ์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอเลื่อนตอบกระทู้ดังกล่าวออกไปตอบในการประชุม สภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๕. กระทู้ถามของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการบริหารงบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ผู้ตั้งกระทู้ถามขอถอนกระทู้ถามดังกล่าวออกไป ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๖. กระทู้ถามของนายสมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ขอให้ขยายขนาดโรงพยาบาลปากช่องนานา ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอเลื่อนตอบกระทู้ถามดังกล่าวออกไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๗. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกเป็น ๓๕ ตัน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ได้ตอบกระทู้ว่า ในเรื่องของการประกาศน้ำหนักรถบรรทุกนั้นได้ทำเป็นประกาศแล้ว ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดไว้ที่ ๒๖ ตัน ส่วนเรื่องการเพิ่มน้ำหนักเป็น ๓๕ ตัน นั้น คงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้ถนนหรือสะพานเสียหายเร็ว ถ้าเพิ่มจาก ๒๑ ตัน เป็น ๒๘ ตัน จะทำให้อายุการใช้งานของถนนและสะพานลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ส่วนการฝ่าฝืนน้ำหนักเกินนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน และปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๘. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีคนไทยปลอมเป็นพระสงฆ์ออกเรี่ยไรและหลอกขาย วัตถุมงคลปลอมในประเทศมาเลเซียและสาธารณรัฐสิงคโปร์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้ตั้งกระทู้ถาม ไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๒๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๒๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร วางพวงมาลาและกล่าวสดุดีวีรชนประชาธิปไตย โดยมีนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ร่วมงานด้วย ณ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา สี่แยกคอกวัว กรุงเทพฯ
= พิธีทำบุญครบรอบ ๓๑ ปี ๑๔ ตุลาคม
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานประกอบพิธีทางพุทธศาสนา ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ ในโอกาสครบรอบ ๓๑ ปี ๑๔ ตุลาคม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ณ สโมสรรัฐสภา
พร้อมกันนี้ มีพิธีทางศาสนาคริสต์ โดยมีนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๔ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ และพิธีทางศาสนาอิสลาม โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๑ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๑
= ประชุมคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้าฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗
วันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๑ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ได้มอบหมายให้นางมาลีรัตน์ แก้วก่า รองประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เพื่อมอบผลงานเรื่องสั้นและบทกวีการเมืองในระดับต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๕๐๑ เรื่อง ให้คณะอนุกรรมการ คณะต่าง ๆ พิจารณาตัดสิน
= กรรมาธิการการแรงงานทั้งสองสภาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือแรงงานไทย
ในอิสราเอล
นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร และนายไสว พราหมณี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา ได้แถลงถึงเรื่องที่คนงานไทยถูกยิงเสียชีวิตที่ประเทศอิสราเอลว่า ทางคณะกรรมาธิการการแรงงานของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องการให้รฐบาลย้ายคนงานไทยออกจากพื้นที่ฉนวนกาซ่า ประเทศอิสราเอล เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ที่มีการสู้รบกันอย่างต่อเนื่อง และแรงงานไทยที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งขอให้รัฐบาลดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับบริษัท จัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปในพื้นที่ที่มีการสู้รบ ถึงแม้ว่าจะเป็นการสมัครใจของแรงงานไทยเองก็ตาม
= ประชุมกลุ่มมิตรภาพ
วันจันทร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสุพร สุภสร ประธาน กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เวียดนาม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๒๐๗ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
= ส.ส.ใหม่รายงานตัว
ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีประกาศเรื่องให้มีผู้รายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของ พรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขั้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายบุรณัชย์ สมทุรักษ์ ซึ่งเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๙ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มา รายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ เพื่อแทนตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ว่าง เนื่องจากนายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง
= ตรวจสอบการเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติฯ
ตามที่ นายพลเดช ปิ่นประทีป กับคณะ ได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว ปรากฏว่ามีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่มีเอกสาร หลักฐานครบถ้วนและใช้สิทธิถูกต้อง จำนวน ๙๕,๖๘๔ คน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว ประธานรัฐสภาจึงมีคำสั่งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดส่งบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอ ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. เพื่อไปปิดประกาศ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และเขตชุมชนหนาแน่น ทั้งนี้ เฉพาะในเขตท้องที่ที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อให้ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยที่ข้อเท็จจริงมิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายด้วยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องคัดค้าน เพื่อให้ ขีดฆ่าชื่อของตนออกจากบัญชีรายชื่อดังกล่าว กำหนดการยื่นคำร้องคัดค้าน ระหว่างวันที่ ๑๘ ตุลาคม - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๑๐๐ - ๑ ในวัน เวลาราชการ
= แสดงความยินดี
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายถาวร จุลตามระ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา และข้าราชการสถานีวิทยุฯ ร่วมแสดงความยินดีแก่ นายดุษฎี สินเจิมศิริ เนื่องในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ณ กรมประชาสัมพันธ์
= รับมอบรางวัล
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ได้รับรางวัลในฐานะผู้สนับสนุน ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยนางนวษร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกลุ่มงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง เป็นตัวแทนสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รับมอบเกียรติบัตรและของที่ระลึก จากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ณ ห้องอเนกประสงค์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
= โครงการพระราชดำริ
โครงการป่ารักน้ำ เริ่มทดลองเป็นครั้งแรกที่บ้านน้ำติ้ว ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นโครงการเพื่อปลูกป่า ด้วยพันธุ์ไม้ที่เติบโตเร็ว โดยราษฎรเป็นผู้ลงแรงปลูกและดูแลบำรุงเลี้ยงบนพื้นดินที่ทรงซื้อและทรงเช่าพระราชทานทั้งเงินเดือนที่พระราชทานแก่ราษฎรผู้ยากจนที่เข้าโครงการ
โครงการป่ารักน้ำ มีวัตถุประสงค์ ๕ ประการ คือ
ประการแรก เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมให้เป็นบริเวณต้นน้ำลำธารกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์
ประการที่สอง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เดิมเอาไว้ให้ได้ ในเวลาเดียวกันก็ปลูกเสริมขึ้นเพื่อให้มีป่าไม้ช่วยในการควบคุมความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศและ ภัยแล้ง
ประการที่สาม เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังให้ราษฎรเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ให้มากยิ่งขึ้น
ประการที่สี่ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีไม้ไว้ใช้สอย และเพิ่มพูนรายได้
ประการที่ห้า เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน ขาดแคลนที่ดินทำกิน และบุกรุกกระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้มีที่อยู่หลักแหล่ง มีอาชีพแน่นอน เพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวต่อไป
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยให้โครงการป่ารักน้ำเป็นการเสริมสร้างและปลูกฝังให้ราษฎรรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ให้คนในท้องถิ่นมีไม้ใช้สอย ตลอดจนช่วยเหลือให้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีอาชีพแน่นอน มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น จากโครงการป่ารักน้ำสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังได้พระราชทานพระราโชบายให้จัดตั้งหมู่บ้านป่ารักน้ำขึ้น ให้มีสถานะเป็นบ้านลึกในป่าใหญ่ เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนไม่มีที่ดินทำกิน มีลูกหลายคน มีความขยันขันแข็ง มีความประพฤติดี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างบ้านให้อยู่อาศัย มีหน้าที่ดูแลรักษาต้นไม้ และพระราชทานเงินเดือนให้ ที่สำคัญคือ ทรงเน้นให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ ให้มีความรู้สึกว่าทั้งเขตบ้านและเขตป่าเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน และให้รักป่าเหมือนเป็นสมบัติของ ตนเอง
(สำเนา)
ประกาศ
แต่งตั้งรองประธานวุฒิสภา
------------------
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ นายสหัส พินทุเสนีย์ รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ได้ลาออกจากตำแหน่ง รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง และวุฒิสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ เลือกนายสหัส พินทุเสนีย์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง
จึงแต่งตั้งให้นายสหัส พินทุเสนีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ตามความ ในมาตรา ๑๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
= โครงการสัมมนาเรื่อง "ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศ"
ในช่วงปี ๒๕๓๙-๒๕๔๕ มีจำนวนคนหางานที่ถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ และได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๔๓,๘๐๗ คน รวมจำนวนเงินที่เป็นความเสียหายจากการที่คนหางาน ถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ เป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๒๘๘ ล้านบาท และในปัจจุบันสถานการณ์ การหลอกลวงที่เกิดขึ้นกับคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศยังคงมีอยู่ และหลายราย ต้องเสียเงิน เสียไร่นา และที่อยู่อาศัย ไปจำนองไว้กับนายทุนเงินกู้นอกระบบหรือธนาคาร เพื่อเป็น หลักประกันเงินกู้ไว้สำหรับใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ คนหางานได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร จึงได้จัดโครงการสัมมนาเรื่อง "ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศ" ขึ้น ในวันจันทร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ ณ ห้องประชุม โรงเรียนธีระกาญจน์บ้านโฮ่งวิทยา อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งป้องกันไม่ให้ประชาชนและผู้ใช้แรงงานถูกหลอกลวงหรือเอารัดเอาเปรียบจากการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วย
= รับสมัครผู้อำนวยการสำนักฯ และผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับสมัครคัดเลือกข้าราชการเพื่อโอนมาเป็น ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ และข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป เพื่อบรรจุ / โอน เข้ารับราชการตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี และผู้อำนวยการ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ
โดยคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ (นักบริหาร ๙) มีดังนี้
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป และมีประสบการณ์ทางการบริหารไม่น้อยกว่า ๓ ปี
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และมี ความรู้ในการใช้ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาเกาหลี / ภาษาสเปน / ภาษาเยอรมัน / ภาษาอาหรับ อีกไม่น้อยกว่า ๑ ภาษา
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี มีดังนี้
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๖ ขึ้นไป หรือบุคคลทั่วไป
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูด ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาเกาหลี ได้เป็นอย่างดี และมีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ มีดังนี้
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๖ ขึ้นไป หรือบุคคลทั่วไป
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- มีความรู้ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูด ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน หรือภาษาอาหรับ ได้เป็นอย่างดี และมีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๙-๑๒ และ ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.parliament.go.th หรือสมัครได้ที่สำนักบริหารงานกลาง อาคารทิปโก้ ชั้น ๑๖ ถนนพระราม ๖ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๘ ตุลาคม - ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา เว้นวันหยุดราชการ
= รายชื่อผู้สมัครผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ตามที่คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้เปิดรับสมัครผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เมื่อวันที่ ๖-๑๓ ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภา จำนวนทั้งสิ้น ๓๓ คน ดังนี้
๑. รองศาสตราจารย์อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
๒. นางสาวลั่นทม สุทธิ
๓. พลโท เดชพันธ์ ดวงรัตน์
๔. นายยุวรัตน์ กมลเวชช
๕. นายชาญวิทย์ คันธะ
๖. พลตำรวจโท มงคล กมลบุตร
๗. พลตำรวจตรี วรเดช พิสุทธิ์ศักดิ์
๘. นายเกษม ทรัพย์เจริญ
๙. นายอุทัย ทรัพย์เจริญ
๑๐. นายปราโมทย์ โชติมงคล
๑๑. นายชินพจน์ พินิจชินรัช
๑๒. นางสาวอภิงค์ญฎา วงษานุทัศน์
๑๓. พันตำรวจเอก วิรัตน์ ราชณรงค์
๑๔. พลเอก วิชา เตชะวณิชย์
๑๕. พลเอก สุธี จรูญพร
๑๖. นายบุญจง ขาวสิทธิวงษ์
๑๗. นายสุนันท์ นวลจันทร์กุล
๑๘. นายสุรพล อังศุวิทยา
๑๙. นายษุภณัส วัฒนดิเรก
๒๐. นายพรรณไทย ไทยชน
๒๑. พลโท ฤกษ์ดี ชาติอุทิศ
๒๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จำลอง ชูโต
๒๓. พลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง
๒๔. นายอนันต์ รัศมี
๒๕. พลโท เดโช สนธิศิริ
๒๖. นายสมพล วณิคพันธุ์
๒๗. นายธีราศักดิ์ พิมพ์พงศ์
๒๘. นายพชร กุสะโร
๒๙. พลโท พินิจ อนุกูล
๓๐. นายมนู โอมะคุปต์
๓๑. นางบุปผา ชวะพงษ์
๓๒. นายสำราญ ถาวรายุศม์
๓๓. นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์
ทั้งนี้ ผู้สมัครทั้ง ๓๓ คน จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของคณะกรรมการสรรหา โดยจะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา เพื่อสรรหาผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด ๓ คน จากนั้นเสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกให้เหลือ ๒ คน และวุฒิสภาเลือกให้เหลือ ๑ คน เพื่อดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต่อไป
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง นายสหัส พินทุเสนีย์ เป็น
รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
๓. รับทราบเรื่องการขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยนายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ ดังนั้นสมาชิกภาพจึงสิ้นสุดลง ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกเหลือจำนวน ๔๕๒ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องคำปรารภ เหตุใดจึงบัญญัติเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ เรื่องการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ขอให้กรรมาธิการชี้แจงด้วยเรื่องประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เริ่มนับค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันใด เรื่องของการห้ามมิให้ผู้สมัครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนขอให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ ครอบคลุมถึงการประกาศนโยบายหรือการดำเนินการตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจ หน้าที่ด้วยวิธีการการใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของแผ่นดินและต้องเป็นการใช้จ่ายเงินที่มีแผนงาน โครงการระบุอยู่ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนกรณียุบสภาก่อนครบกำหนด ๖๐ วันของอายุสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร และกรณี ยุบสภาภายในหกสิบวันก่อนวันครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งควรระบุให้ชัดเจนว่าก่อนและหลัง ๖๐ วันนั้น ผู้ต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในเรื่องของการกำหนดห้ามให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแก่สถาบันอื่นใดนั้น เดิมคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้กำหนดว่าสถาบันใดบ้างที่อยู่ในข่ายต้องห้าม แต่กฎหมายนี้ใครจะเป็นผู้กำหนดในเรื่องของการร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้อาจไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งมิได้ระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้ การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องคัดค้านการเลือกตั้งในความเป็นจริงแล้วผู้ร้องคัดค้านทั้งสิบคนจะต้องรู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำความผิดพร้อมกัน ซึ่งหากเกิดกรณีที่มีเหตุการณ์ทุจริตซึ่งมีผู้รู้เห็นไม่ถึงสิบคน ก็จะไม่สามารถร้องคัดค้านได้ เป็นเหตุให้กระบวนการในการคัดเลือกไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญและควรกำหนดบทเฉพาะกาลไว้ด้วยว่าจะเริ่มบังคับใช้ในเรื่องการร้องคัดค้านนี้เมื่อใด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ รวมทั้งควรเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องคัดค้านด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เหตุที่ต้องมีการบัญญัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้นั้น ก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเพื่อประโยชน์ในการ ตรวจสอบว่ามีบทบัญญัติใดในกฎหมายนี้บ้างที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของของประชาชนในเรื่องของการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เนื่องจากมีการแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับการนับระยะเวลาในการเลือกตั้งจึงจำเป็นต้องบัญญัติแก้ไขให้สอดคล้อง เพื่อไม่ให้บทบัญญัติของกฎหมาย ขัดแย้งกันเอง ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เริ่มนับหลังจากที่มีกฤษฎีกาแล้ว ในเรื่องการประกาศนโยบายหรือการกระทำบ้างสิ่งบ้างอย่างตามงบประมาณที่ให้ไว้เป็นการกระทำได้โดยชอบ แต่ต้องไม่มีมูลเหตุจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตน การกำหนดระยะเวลา ๖๐ วัน ก่อนและหลังมีประกาศพระราชกฤษฎีกานั้น ไม่สามารถกำหนดอย่างนั้นได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ ในเรื่องการกำหนดห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแก่สถาบันใดบ้างนั้น กฎหมายฉบับนี้ได้เขียนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีอำนาจในการประกาศว่าสถาบันใดบ้างที่เทียบเคียงกับที่ห้ามไว้อยู่แล้ว การระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านนั้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลย้อนหลัง จึงไม่จำเป็นต้องเขียนบทเฉพาะกาลไว้ การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้อง คัดค้านนั้นกรรมาธิการเสียงข้างมากเห็นว่าควรเปิดเผยให้เฉพาะผู้ถูกร้องคัดค้านทราบแต่ไม่ควรทำเป็นประกาศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่พบเห็นการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สิทธิร้อง คัดค้านได้ และหากการร้องเป็นเท็จ ก็มีกฎหมายอื่นรองรับบัญญัติลงโทษไว้อยู่แล้ว ทั้งนี้กรรมาธิการ ได้ขอให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามกฎหมายนี้ด้วย จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๓๒๘ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนั้น ขอให้เพิ่มในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรด้วย ซึ่งกรรมาธิการเห็นด้วยที่ให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๘๓ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๒๐ นาฬิกา โดยนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ซึ่งประธานการประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำปี ๒๕๔๖ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้ง ข้อสังเกตว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการควบคุมและดำเนินการ ให้การเลือกตั้งในระดับต่าง ๆ เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่การดำเนินการต่าง ๆ ยังมีปัญหา ที่ควรได้รับการแก้ไข อาทิ การวินิจฉัยที่มีความล่าช้า และเจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกตั้ง รวมทั้ง กกต. ประจำจังหวัดบางคนยังเป็นเครือญาติกับนักการเมือง ซึ่งอาจทำให้เกิดอคติหรือความลำเอียงในการปฏิบัติหน้าที่ได้ ตลอดจนปัญหาของการสมัครสมาชิกพรรคการเมืองที่มีการ ซ้ำซ้อนก็จะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาเงินสนับสนุนพรรคการเมืองต่าง ๆ ด้วย โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังได้เสนอแนะให้ กกต. ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับ บทบาท อำนาจ หน้าที่ของ กกต. และเข้าใจถึงหน้าที่ของผู้แทนประชาชนในระดับต่าง ๆ อีกทั้งควร จัดทำคู่มือประกอบการเลือกตั้ง และสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยให้กับสังคมในการมีส่วนร่วมให้ มากขึ้น นอกจากนี้ยังควรกำหนดบทลงโทษข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางให้ชัดเจนและควรจัดทำ รายงานผลการปฏิบัติงานในส่วนข้อมูลและสถิติการเลือกตั้งระดับต่าง ๆ โดยมีการแยกเพศ รวมทั้ง ยังได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับผู้ร้องคัดค้านที่เป็นเท็จด้วย
จากนั้น พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วยกรรมการเลือกตั้ง ได้ร่วมกันชี้แจงว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตและ เที่ยงธรรมอย่างเคร่งครัดตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยมีกฎระเบียบและวิธีการดำเนินการสืบสวน สอบสวน รวบรวมหลักฐานก่อนดำเนินการวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจน ทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและระดับ ท้องถิ่น สำหรับการเผยแพร่ให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์นั้น ก.ก.ต. ตระหนักถึงความสำคัญและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้น มีการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ ด้วยการเดินทาง ไปพบปะกับประชาชนในลักษณะของหน่วยเคลื่อนที่ และขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาทุกแห่ง เพื่อสร้างคู่มือสำหรับผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังกำลังดำเนินการสร้างหอกระจายข่าวทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในกรณีปัญหาของสมาชิกพรรคการเมืองที่มีความซ้ำซ้อนนั้น ทาง กกต. ได้ดำเนินการตรวจสอบและนำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาให้เงินสนับสนุน โดยจะไม่นำยอดซ้ำซ้อนมาประกอบการพิจารณา นอกจากนี้ยังแจ้ง ไปยังพรรคการเมืองที่มีสมาชิกซ้ำซ้อนให้ดำเนินการแก้ไขด้วย สำหรับการประกาศผลการเลือกตั้งที่มีความล่าช้านั้น เนื่องจากมีการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาก่อนที่จะประกาศผล ประกอบกับปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ ในส่วนของการดำเนินคดีกับผู้ร้องคัดค้านที่เป็นเท็จนั้น ได้มีการดำเนินคดีไปแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งท้องถิ่น ทั้งนี้ในส่วนขั้นตอนการพิจารณาของศาลนั้น ทาง กกต. ไม่อาจเร่งรัดการดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะอื่น ๆ นั้น ทาง กกต. พร้อมที่จะนำไปพิจารณาในคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป
ต่อจากนั้นได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๒ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายจุติ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การบริหารงานบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อิลิท การ์ด ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ตอบกระทู้ว่า การดำเนินงานการบริหารบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อิลิท การ์ด ในส่วนของการวางแผนนโยบายของการท่องเที่ยว รวมถึงการดำเนินการในเรื่องของบัตรอิลิท การ์ด นั้น ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว มาแล้ว และได้กำไรประมาณ ๖๐๐ ล้านบาท
๒. กระทู้ถามสดของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชี
รายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธรรม แสงประทุม) ได้ตอบกระทู้ว่า เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็น เหตุการณ์ที่ยืดเยื้อจริง และต้องใช้มาตรการหลายมาตรการในการแก้ไข โดยใช้วิธีรุนแรงเด็ดขาด กับผู้ก่อการ รวมทั้งให้โอกาสกับผู้ที่หลงผิดโดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับการปราบปรามยาเสพติด ส่วนเรื่องของนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนพอจึงทำให้เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและการใช้นโยบายดังกล่าวทำให้ผู้ร้องเรียนละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีการยิงนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ได้มีการเข้าไปตรวจสอบจริง และฝ่ายความมั่นคง ได้เข้าไปตรวจค้นนักศึกษาที่เช่าหอพักอยู่นอกมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการ แต่หลังจากตรวจสอบแล้วไม่พบสิ่งใดพบเพียงกัญชาห่อเดียว จึงได้ทำการชี้แจงต่อมหาวิทยาลัยจนเป็นที่พอใจและเกิดความเข้าใจจากบุคลากร รวมทั้งมหาวิทยาลัยแล้ว และรัฐบาลจะยังคงใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ก่อการเท่านั้น
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๘ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวหรือ ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้มีนโยบายในเรื่องของการอำนวยความสะดวก การนำมาตรฐานการอำนวยความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวให้มีการใช้อย่างทั่วถึง มีการจัดทำ แผนงานและแจ้งข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยวทราบด้วย รวมทั้งมีการสร้างจิตสำนึกที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว และได้กำหนดมาตรการในการบูรณาการการทำงาน โดยจัดตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว และได้มุ่งปราบปรามผู้กระทำผิดต่อนักท่องเที่ยวด้วย ส่วนการดูแล นักท่องเที่ยวที่ถูกทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บนั้น รัฐบาลได้ดูแลนักท่องเที่ยวดังกล่าวเป็นอย่างดี เพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้ทราบว่า รัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งนักท่องเที่ยวแต่ประการใด
๒. กระทู้ถามของนายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งผู้ตั้งกระทู้ถามมิได้อยู่ในที่ประชุม กระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป
๓. กระทู้ถามของนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การก่อสร้างที่จอดเรือบริเวณหน้าถ้ำมรกต ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) ได้ตอบกระทู้ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการทำทุ่นผูกเรือแทนการก่อสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อมิให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการก่อสร้างท่าเทียบเรือเช่นกัน แต่ในปัจจุบัน ได้โอนภารกิจการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ขององค์กรดังกล่าวที่ทำหน้าที่ในการสร้างท่าเทียบเรือต่อไป
๔. กระทู้ถามของนายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การรักษาพยาบาลพระภิกษุสงฆ์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอเลื่อนตอบกระทู้ดังกล่าวออกไปตอบในการประชุม สภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๕. กระทู้ถามของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการบริหารงบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ผู้ตั้งกระทู้ถามขอถอนกระทู้ถามดังกล่าวออกไป ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๖. กระทู้ถามของนายสมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ขอให้ขยายขนาดโรงพยาบาลปากช่องนานา ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอเลื่อนตอบกระทู้ถามดังกล่าวออกไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๗. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกเป็น ๓๕ ตัน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ได้ตอบกระทู้ว่า ในเรื่องของการประกาศน้ำหนักรถบรรทุกนั้นได้ทำเป็นประกาศแล้ว ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดไว้ที่ ๒๖ ตัน ส่วนเรื่องการเพิ่มน้ำหนักเป็น ๓๕ ตัน นั้น คงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้ถนนหรือสะพานเสียหายเร็ว ถ้าเพิ่มจาก ๒๑ ตัน เป็น ๒๘ ตัน จะทำให้อายุการใช้งานของถนนและสะพานลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ส่วนการฝ่าฝืนน้ำหนักเกินนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน และปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๘. กระทู้ถามของนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีคนไทยปลอมเป็นพระสงฆ์ออกเรี่ยไรและหลอกขาย วัตถุมงคลปลอมในประเทศมาเลเซียและสาธารณรัฐสิงคโปร์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้ตั้งกระทู้ถาม ไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๒๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------