ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธนบัตร 3 ล้านบาทสูญหายจากโรงพิมพ์ธนบัตร กรรมการผู้จัดการ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ธนบัตรที่สามารถใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้
สูญหายไปจากโรงพิมพ์ธนบัตร ซึ่งเก็บอยู่ในรถที่อยู่ในกระบวนการผลิตของโรงพิมพ์ธนบัตร รวมเงินจำนวน 3
ล้านบาท เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท จำนวน 3,000 ใบ หมวด พ. โดยเป็นธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นใหม่เพื่อทด
แทนธนบัตรปกติที่ชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ หลังจากตรวจสอบจนมั่นใจว่าเกิดการสูญหายจริง จึงได้แจ้งความดำเนินคดี
ที่ สน.ชนะสงคราม และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันถัดมา ตลอดจนเร่งแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น
ทันที คาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน (ผู้จัดการรายวัน, มติชน, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, ข่าวสด, บ้านเมือง, แนวหน้า)
2. ธปท.เปิดเผยความคืบหน้าแผนมาสเตอร์แพลน รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาแผนธุรกิจของสถาบันการเงินตามนโยบายสถาบันการเงิน 1
รูป 1 แบบ ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ว่า ขณะนี้ได้ส่งแผนธุรกิจที่ผ่านความเห็น
ชอบของคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้ง ธพ. ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปยัง ก.คลังแล้ว
จำนวน 3 แผน ส่วนแผนที่เหลืออีก 24 แผน จะส่งพร้อมกันทั้งหมดประมาณเดือน พ.ย.47 รวมถึงแผนการควบ
รวมกิจการของสำนักงานวิเทศธนกิจ (BIBF) กับ ธพ. ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินอนุมัติให้ควบรวมกิจการ
กันได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ แผนธุรกิจของสถาบันการเงินจะต้องส่งให้ ก.คลัง เป็นผู้ให้ความเห็นชอบเป็น
ลำดับสุดท้าย ส่วนกรณีของ บง.สินเอเชียที่ขอยกระดับเป็น ธพ.นั้น อยู่ระหว่าง ธปท.พิจารณาเรื่องอยู่ยังไม่
เสร็จสิ้น แต่ในส่วนของหุ้นที่ ธ.กรุงเทพถืออยู่ใน บง.สินเอเชียจำนวนร้อยละ 27.49 จะต้องขายออก โดยมี
เงื่อนไขและระยะเวลาที่ ธ.กรุงเทพสามารถถือหุ้นได้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.47 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ผอ.ศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ก.ย.47 ยังปรับตัวลดลง
ต่อเนื่อง โดยความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 91.1 ลดลงจากเดือน ส.ค.ที่อยู่ที่ระดับ 92 และ
ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.ลดลงมาอยู่ที่ 94.5 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100
ติดต่อกัน 3 เดือน และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ทั้งนี้ จากผลสำรวจชี้ว่าผู้บริโภคสูญเสียความเชื่อมั่นต่อ
สถานการณ์ในอนาคต โดยคาดว่าเศรษฐกิจ โอกาสหางานทำ และรายได้จะลดลง โดยปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นยังคงเป็นเรื่องราคาน้ำมัน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับไข้หวัดนก และสถานการณ์ความรุนแรงในภาค
ใต้ แม้จะมีปัจจัยบวก คือ มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค.ยังขยายตัวที่ร้อยละ 28.3 เงินบาทยังแข็งค่า และการคง
นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำก็ไม่สามารถช่วยให้ความเชื่อมั่นสูงขึ้น (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ, บ้าน
เมือง, แนวหน้า)
4. ธ.เฉพาะกิจของรัฐจะเริ่มแก้ไขหนี้สินในระบบของประชาชนในวันที่ 5 พ.ย.นี้ ผอฝ.
เลขานุการและประสานงาน ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ ก.คลัง เปิดเผยว่า ในวัน
จันทร์ที่ 5 พ.ย.นี้ ธ.เฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.อาคาร
สงเคราะห์ ธ.ออมสิน และ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จะเริ่มปฏิบัติตามแนว
ทางของ ก.คลัง เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบของประชาชน โดยขณะนี้มีประชาชนที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารดัง
กล่าว และ ธพ.แห่งอื่นขอเข้าโครงการแก้ไขหนี้ในระบบนี้จำนวน 3.3 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 3.97 แสนล้าน
บาท ในจำนวนนี้มีลูกหนี้ร้อยละ 80 หรือ 2.5 ล้านราย เป็นลูกหนี้ของธนาคารรัฐ ซึ่งคาดว่าการแก้ไขปัญหา
หนี้สินในระบบจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, บ้านเมือง, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสรอ.เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่
14 ต.ค. 47 Freddie Mac บริษัทให้สินเชื่อจำนองของสรอ. เปิดเผยว่า ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่14 ต.ค.
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปีของสรอ. อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.74 และร้อยละ 5.14
ลดลงจากร้อยละ 5.82 และร้อยละ 5.24 เมื่อสัปดาห์ก่อนตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง
ระยะ 1 ปีที่ปรับได้ลดลงที่ระดับร้อยละ 4.01 จากร้อยละ 4.08 เมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตัวเลขการจ้างงาน
ในเดือนก.ย. บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวโดยมีการจ้างงาน 96,000 คน น้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ สำหรับอัตรา
การว่างงานในเดือนก.ย. ยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 ทำให้คาดว่าธ.กลางสรอ.อาจจะลังเลที่จะปรับดอกเบี้ย
นโยบายในระยะนี้ ทั้งนี้ในปี 47 ธ.กลางสรอ.ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เคยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ
46 ปีที่ระดับร้อยละ 1.00 มาแล้วรวม 3 ครั้งโดยในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ก.ย. อยู่ในระดับร้อย
ละ 1.75 (รอยเตอร์)
2. Turnover confidence และ Profitability confidence ของภาคอุตสาหกรรมและ
ภาคบริการอังกฤษลดลงในไตรมาสที่ 3 ปี 47 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 14 ต.ค.47 The British
Chambers of Commerce (BCC) เปิดเผยในรายงานการสำรวจประจำไตรมาสว่า Turnover
confidence ของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 47 ลดลงที่ระดับร้อยละ 38 จากร้อยละ 43 ในช่วง
ไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 46 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความสามารถ
ในการทำกำไร (profitability confidence) ลดลงที่ระดับร้อยละ 24 จากร้อยละ 35 ในส่วนของ
ภาคบริการ ทั้ง turnover confidence และ profitability confidence ก็ลดลง 12 จุดเช่นกัน อยู่
ที่ระดับร้อยละ 35 และร้อยละ 41 ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคบริการที่ลดลง ได้ก่อให้เกิดความ
กังวลเนื่องจากภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อความมีเสถียรภาพของการดำเนินกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจและการจ้างงาน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง ก็สะท้อนว่าภาคอุตสาหกรรม
กำลังประสบภาวะความเสี่ยงที่พึงระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มองว่า แม้ตัวเลขดัชนีความเชื่อ
มั่นฯ จะลดลง แต่ก็เป็นเพียงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่ใช่การล้มเหลวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นัก
วิเคราะห์ต่างมองว่า การลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นฯ ดังกล่าว จะส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยไว้
ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.75 ในการประชุมที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
3. ยูโรโซนส่งสินค้าออกไปจีนและสมาชิกใหม่ของอียูเพิ่มขึ้น รายงานจากเมืองแฟรงเฟิร์ต
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 ต.ค.47 ธ.กลางของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า การส่งออกของบริษัทของ
ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรไปยังเอเชียและ 10 ประเทศสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วประมาณร้อยละ 5 — 10 ต่อปี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกไปจีนในระหว่างปี 45 ถึง
ต้นปี 47 เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 10 — 25 ซึ่งในปี 46 การส่งออกไปจีนคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของความต้องการ
สินค้าจากต่างประเทศของเขตยูโร เทียบกับในครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2
ส่วนการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกใหม่ของอียูก็เพิ่มขึ้นสูงเช่นกันโดยปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 11 ของ
การส่งออกพิเศษของเขตยูโร เทียบกับในครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 9 ใน
ขณะที่ยอดรวมการส่งออกไปยังประเทศที่อยู่นอกเขตยูโรในปี 46 ลดลงร้อยละ 2.6 โดยการส่งออกไป สรอ.
ญี่ปุ่น และอังกฤษ ลดลงร้อยละ 9.8, 5.7 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งการลดลงของการส่งออกไปยังตลาดใน
ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนหนึ่งถูกชดเชยด้วยการขยายตัวอย่างเข้มแข็งของการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก
ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศสมาชิกยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
4. ราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้สูงขึ้นร้อยละ 17.0 ในเดือน ก.ย.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากโซล เมื่อ 14 ต.ค.47 ราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้สูงขึ้นร้อยละ 17.0 ในเดือน ก.ย.47
เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.41 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 และ
นับเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 10.0 ต่อปี สาเหตุจากราคาน้ำมันที่
สูงขึ้นและเป็นสาเหตุที่ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยคงอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าหากราคาสินค้านำ
เข้าสูงขึ้นร้อยละ 10.0 จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 4.8 ใน
เดือนก่อนซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 38 เดือนและสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ของประเทศ
สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ซึ่งเกาหลีใต้เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ในขณะที่
ราคาสินค้าส่งออกในรูปของเงินวอนสูงขึ้นร้อยละ 12.6 ในเดือน ก.ย.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.2 ในเดือน ส.ค.47 ราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าราคาสินค้านำเข้าชี้ให้เห็นว่าผู้ส่ง
ออกมีกำไรลดลง รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีก่อน
แต่คาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5.0 จากผลกระทบของราคาน้ำมันและการบริโภคใน
ประเทศซึ่งอยู่ในภาวะซบเซามากว่า 2 ปีแล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ต.ค. 47 14 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.445 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2587/41.5492 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6500-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 641.30/ 23.17 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.51 38.04 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธนบัตร 3 ล้านบาทสูญหายจากโรงพิมพ์ธนบัตร กรรมการผู้จัดการ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ธนบัตรที่สามารถใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้
สูญหายไปจากโรงพิมพ์ธนบัตร ซึ่งเก็บอยู่ในรถที่อยู่ในกระบวนการผลิตของโรงพิมพ์ธนบัตร รวมเงินจำนวน 3
ล้านบาท เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท จำนวน 3,000 ใบ หมวด พ. โดยเป็นธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นใหม่เพื่อทด
แทนธนบัตรปกติที่ชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ หลังจากตรวจสอบจนมั่นใจว่าเกิดการสูญหายจริง จึงได้แจ้งความดำเนินคดี
ที่ สน.ชนะสงคราม และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันถัดมา ตลอดจนเร่งแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น
ทันที คาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน (ผู้จัดการรายวัน, มติชน, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, ข่าวสด, บ้านเมือง, แนวหน้า)
2. ธปท.เปิดเผยความคืบหน้าแผนมาสเตอร์แพลน รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาแผนธุรกิจของสถาบันการเงินตามนโยบายสถาบันการเงิน 1
รูป 1 แบบ ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ว่า ขณะนี้ได้ส่งแผนธุรกิจที่ผ่านความเห็น
ชอบของคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้ง ธพ. ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปยัง ก.คลังแล้ว
จำนวน 3 แผน ส่วนแผนที่เหลืออีก 24 แผน จะส่งพร้อมกันทั้งหมดประมาณเดือน พ.ย.47 รวมถึงแผนการควบ
รวมกิจการของสำนักงานวิเทศธนกิจ (BIBF) กับ ธพ. ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินอนุมัติให้ควบรวมกิจการ
กันได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ แผนธุรกิจของสถาบันการเงินจะต้องส่งให้ ก.คลัง เป็นผู้ให้ความเห็นชอบเป็น
ลำดับสุดท้าย ส่วนกรณีของ บง.สินเอเชียที่ขอยกระดับเป็น ธพ.นั้น อยู่ระหว่าง ธปท.พิจารณาเรื่องอยู่ยังไม่
เสร็จสิ้น แต่ในส่วนของหุ้นที่ ธ.กรุงเทพถืออยู่ใน บง.สินเอเชียจำนวนร้อยละ 27.49 จะต้องขายออก โดยมี
เงื่อนไขและระยะเวลาที่ ธ.กรุงเทพสามารถถือหุ้นได้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.47 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ผอ.ศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ก.ย.47 ยังปรับตัวลดลง
ต่อเนื่อง โดยความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 91.1 ลดลงจากเดือน ส.ค.ที่อยู่ที่ระดับ 92 และ
ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.ลดลงมาอยู่ที่ 94.5 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100
ติดต่อกัน 3 เดือน และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ทั้งนี้ จากผลสำรวจชี้ว่าผู้บริโภคสูญเสียความเชื่อมั่นต่อ
สถานการณ์ในอนาคต โดยคาดว่าเศรษฐกิจ โอกาสหางานทำ และรายได้จะลดลง โดยปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นยังคงเป็นเรื่องราคาน้ำมัน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับไข้หวัดนก และสถานการณ์ความรุนแรงในภาค
ใต้ แม้จะมีปัจจัยบวก คือ มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค.ยังขยายตัวที่ร้อยละ 28.3 เงินบาทยังแข็งค่า และการคง
นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำก็ไม่สามารถช่วยให้ความเชื่อมั่นสูงขึ้น (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ, บ้าน
เมือง, แนวหน้า)
4. ธ.เฉพาะกิจของรัฐจะเริ่มแก้ไขหนี้สินในระบบของประชาชนในวันที่ 5 พ.ย.นี้ ผอฝ.
เลขานุการและประสานงาน ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ ก.คลัง เปิดเผยว่า ในวัน
จันทร์ที่ 5 พ.ย.นี้ ธ.เฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.อาคาร
สงเคราะห์ ธ.ออมสิน และ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จะเริ่มปฏิบัติตามแนว
ทางของ ก.คลัง เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบของประชาชน โดยขณะนี้มีประชาชนที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารดัง
กล่าว และ ธพ.แห่งอื่นขอเข้าโครงการแก้ไขหนี้ในระบบนี้จำนวน 3.3 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 3.97 แสนล้าน
บาท ในจำนวนนี้มีลูกหนี้ร้อยละ 80 หรือ 2.5 ล้านราย เป็นลูกหนี้ของธนาคารรัฐ ซึ่งคาดว่าการแก้ไขปัญหา
หนี้สินในระบบจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, บ้านเมือง, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสรอ.เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่
14 ต.ค. 47 Freddie Mac บริษัทให้สินเชื่อจำนองของสรอ. เปิดเผยว่า ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่14 ต.ค.
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปีของสรอ. อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.74 และร้อยละ 5.14
ลดลงจากร้อยละ 5.82 และร้อยละ 5.24 เมื่อสัปดาห์ก่อนตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง
ระยะ 1 ปีที่ปรับได้ลดลงที่ระดับร้อยละ 4.01 จากร้อยละ 4.08 เมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตัวเลขการจ้างงาน
ในเดือนก.ย. บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวโดยมีการจ้างงาน 96,000 คน น้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ สำหรับอัตรา
การว่างงานในเดือนก.ย. ยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 ทำให้คาดว่าธ.กลางสรอ.อาจจะลังเลที่จะปรับดอกเบี้ย
นโยบายในระยะนี้ ทั้งนี้ในปี 47 ธ.กลางสรอ.ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เคยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ
46 ปีที่ระดับร้อยละ 1.00 มาแล้วรวม 3 ครั้งโดยในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ก.ย. อยู่ในระดับร้อย
ละ 1.75 (รอยเตอร์)
2. Turnover confidence และ Profitability confidence ของภาคอุตสาหกรรมและ
ภาคบริการอังกฤษลดลงในไตรมาสที่ 3 ปี 47 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 14 ต.ค.47 The British
Chambers of Commerce (BCC) เปิดเผยในรายงานการสำรวจประจำไตรมาสว่า Turnover
confidence ของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 47 ลดลงที่ระดับร้อยละ 38 จากร้อยละ 43 ในช่วง
ไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 46 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความสามารถ
ในการทำกำไร (profitability confidence) ลดลงที่ระดับร้อยละ 24 จากร้อยละ 35 ในส่วนของ
ภาคบริการ ทั้ง turnover confidence และ profitability confidence ก็ลดลง 12 จุดเช่นกัน อยู่
ที่ระดับร้อยละ 35 และร้อยละ 41 ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคบริการที่ลดลง ได้ก่อให้เกิดความ
กังวลเนื่องจากภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อความมีเสถียรภาพของการดำเนินกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจและการจ้างงาน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง ก็สะท้อนว่าภาคอุตสาหกรรม
กำลังประสบภาวะความเสี่ยงที่พึงระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มองว่า แม้ตัวเลขดัชนีความเชื่อ
มั่นฯ จะลดลง แต่ก็เป็นเพียงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่ใช่การล้มเหลวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นัก
วิเคราะห์ต่างมองว่า การลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นฯ ดังกล่าว จะส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยไว้
ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.75 ในการประชุมที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
3. ยูโรโซนส่งสินค้าออกไปจีนและสมาชิกใหม่ของอียูเพิ่มขึ้น รายงานจากเมืองแฟรงเฟิร์ต
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 ต.ค.47 ธ.กลางของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า การส่งออกของบริษัทของ
ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรไปยังเอเชียและ 10 ประเทศสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วประมาณร้อยละ 5 — 10 ต่อปี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกไปจีนในระหว่างปี 45 ถึง
ต้นปี 47 เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 10 — 25 ซึ่งในปี 46 การส่งออกไปจีนคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของความต้องการ
สินค้าจากต่างประเทศของเขตยูโร เทียบกับในครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2
ส่วนการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกใหม่ของอียูก็เพิ่มขึ้นสูงเช่นกันโดยปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 11 ของ
การส่งออกพิเศษของเขตยูโร เทียบกับในครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 9 ใน
ขณะที่ยอดรวมการส่งออกไปยังประเทศที่อยู่นอกเขตยูโรในปี 46 ลดลงร้อยละ 2.6 โดยการส่งออกไป สรอ.
ญี่ปุ่น และอังกฤษ ลดลงร้อยละ 9.8, 5.7 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งการลดลงของการส่งออกไปยังตลาดใน
ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนหนึ่งถูกชดเชยด้วยการขยายตัวอย่างเข้มแข็งของการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก
ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศสมาชิกยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
4. ราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้สูงขึ้นร้อยละ 17.0 ในเดือน ก.ย.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากโซล เมื่อ 14 ต.ค.47 ราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้สูงขึ้นร้อยละ 17.0 ในเดือน ก.ย.47
เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.41 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 และ
นับเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 10.0 ต่อปี สาเหตุจากราคาน้ำมันที่
สูงขึ้นและเป็นสาเหตุที่ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยคงอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าหากราคาสินค้านำ
เข้าสูงขึ้นร้อยละ 10.0 จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 4.8 ใน
เดือนก่อนซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 38 เดือนและสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ของประเทศ
สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ซึ่งเกาหลีใต้เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ในขณะที่
ราคาสินค้าส่งออกในรูปของเงินวอนสูงขึ้นร้อยละ 12.6 ในเดือน ก.ย.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.2 ในเดือน ส.ค.47 ราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าราคาสินค้านำเข้าชี้ให้เห็นว่าผู้ส่ง
ออกมีกำไรลดลง รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีก่อน
แต่คาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5.0 จากผลกระทบของราคาน้ำมันและการบริโภคใน
ประเทศซึ่งอยู่ในภาวะซบเซามากว่า 2 ปีแล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ต.ค. 47 14 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.445 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2587/41.5492 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6500-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 641.30/ 23.17 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.51 38.04 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-