ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เปิดเผยแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงินว่า จะตรวจสอบจาก
ระบบการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและมาตรการลดความเสี่ยงนั้น
ๆ ซึ่งจะพิจารณาความเสี่ยง 5 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ์ เครดิต สภาพคล่อง ปฏิบัติการ และตลาด หากพบจุดใดมี
ความเสี่ยงมากก็ต้องเข้าไปตรวจสอบเป็นรายการ เพื่อกวดขันการจัดชั้นกันสำรองหนี้ให้ถูกต้องและให้กระบวน
การพิจารณาให้สินเชื่อเข้มงวดมากขึ้น โดยในแต่ละปี ธปท. จะทยอยตรวจสอบการดำเนินงานของ ธ.พาณิชย์ทุก
แห่ง ซึ่งจะเน้นการติดตามประสิทธิภาพของระบบ หากพบว่ากระบวนการใดประมาทเลินเล่อก็ต้องกลั่นกรอง เพื่อ
ให้ ธ.พาณิชย์แก้ไขปรับปรุงและป้องกันปัญหาในอนาคต ด้านเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน
มิ.ย.47 มีประมาณ 6.4 แสนล้านบาท มีการกันสำรองไว้แล้ว 3.9 แสนล้านบาท ส่วนที่ไม่ได้กันสำรองเพราะมี
หลักประกันรองรับอยู่ 3.4-3.5 แสนล้านบาท ซึ่งรวมแล้วก็ถือว่ามากพอที่จะรองรับความเสียหายกับหนี้ที่ยังไม่ได้
กันสำรอง ดังนั้น ภาพรวม ธ.พาณิชย์ยังแข็งแกร่งและไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบมีปัญหาอีก (มติชน)
2. ธปท. สรุปร่างค่าธรรมเนียมและเกณฑ์การคิดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน นาย
สามารถ บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า
ขณะนี้ ธปท. สามารถสรุปร่างหลักเกณฑ์การคิดอัตราดอกเบี้ย และอัตราค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระของ
ธ.พาณิชย์เบื้องต้นได้แล้ว หลังจากหารือกับตัวแทนจาก ธ.พาณิชย์เมื่อปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยและอัตราค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะส่งให้ ก.คลังพิจารณาในปลาย
เดือน พ.ย.นี้ ก่อนที่จะประกาศบังคับใช้ต่อไป รวมทั้งภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ ธปท. จะส่งหนังสือตอบกลับไป
ยังชมรมธุรกิจบัตรเครดิตในเรื่องการขอผ่อนผันเกณฑ์การอนุมัติบัตรเครดิตของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะใน
เรื่องของการกำหนดวงเงินที่จะให้แก่ผู้ถือบัตรแต่ละรายต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน หรือกระแส
เงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากในกรณีผู้ถือบัตรรายเก่าให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.48 ที่ทางชมรมฯ เห็นว่า
ควรยกเลิกหลักเกณฑ์ดังกล่าวสำหรับผู้ถือบัตรรายเก่า (บ้านเมือง, แนวหน้า)
3. ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้เดือน ส.ค.47 เพิ่มอีก 61 ราย มูลหนี้ 673 ล้านบาท
นายทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่า ในเดือน ส.ค.47 มีลูกหนี้ที่เจรจาจนมีข้อสรุป
ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 151 ราย มูลหนี้ 4,180 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สำเร็จ 61 ราย มูลหนี้รวม 673 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจการพาณิชย์ การอุปโภคบริโภค และการ
อุตสาหกรรม ส่วนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จมี 90 ราย มูลหนี้รวม 3,507 ล้านบาท อย่างไรก็
ตาม ภาพรวมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่เริ่มจนถึงเดือน ส.ค.47 มีความคืบหน้าตลอด โดยลูกหนี้ที่ปรับ
ปรุงสำเร็จมีจำนวนทั้งสิ้น 11,279 ราย มูลหนี้ 1,480,065 ล้านบาท และปรับปรุงหนี้ไม่สำเร็จ 2,410 ราย
มูลหนี้ 420,135 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 46 จนถึงปัจจุบัน คปน. ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงโครง
สร้างนี้ของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี และหนี้ที่อยู่
ระหว่างบังคับคดี โดยในปี 47 สถาบันการเงินได้ส่งรายชื่อลูกหนี้เข้ากระบวนการ คปน. เพิ่มเติมอีก 1,716
ราย มูลหนี้ 13,988 ล้านบาท ขณะนี้มีลูกหนี้ตอบรับเข้ากระบวนการ คปน. แล้ว 179 ราย มูลหนี้ 1,542 ล้าน
บาท สำหรับตัวเลขเอ็นพีแอลทั้งระบบล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค.47 มีจำนวน 641,499.10 คิดเป็นร้อยละ
12.18 ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ โดยแบ่งเป็นเอ็นพีแอลของ ธ.พาณิชย์เอกชน 450,294.146 ล้านบาท
ธ.พาณิชย์ของรัฐ 141,520.36 ล้านบาท ธ.พาณิชย์ต่างประเทศ 24,944.47 ล้านบาท บริษัทเงินทุน
24,471.09 ล้านบาท และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 268.24 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.พาณิชย์เปิดรับพนักงานใหม่รองรับแผนงานขยายสาขา นายชาติชาย ศรีรัศมี ผช.ผจก.
ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ในปีหน้าธนาคารมีแผนจะเปิดสาขาใหม่ไม่ต่ำกว่า 50 สาขา และรับพนักงานใหม่
ประมาณ 500 คน เพื่อรองรับสาขาที่เพิ่มขึ้น โดยสาขาที่เปิดใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาย่อย ตั้งอยู่ในจุดที่เป็น
ชุมชน โดยจะใช้พนักงานสาขาละ 6 คน ซึ่งการที่ ธ.พาณิชย์แข่งขันกันเปิดสาขาย่อยในจุดชุมชน เพื่อต้องการมุ่ง
เน้นขยายฐานลูกค้ารายย่อยและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ส่วนนายนะเพ็งพาแสง กฤษณามระ ผช.ผจก.
ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในปีหน้าธนาคารมีแผนจะเปิดสาขาใหม่ 100 สาขา และรับพนักงานใหม่ 600
คน โดยสาขาที่เปิดส่วนใหญ่จะเป็นสาขาย่อยในจุดชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อเป็นการรองรับการท่องเที่ยว
และอำนวยความสะดวกด้านบริการทางการเงิน ด้านนางชาลอต โทณวณิก ผช.กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา
กล่าวว่า ในปีหน้าธนาคารมีแผนจะเปิดสาขาเพิ่ม 30 สาขา และรับพนักงานใหม่ 300 คน โดยในปีนี้
ธนาคารได้เปิดสาขาใหม่ไปแล้ว 30 สาขา (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจชั้นนำของเยอรมนีปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 อยู่
ที่ร้อยละ 1.8 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 16 ต.ค.47 หนังสือพิมพ์ในเยอรมนี รายงานว่า ในรายงานฉบับล่า
สุด (autumn report) ของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจชั้นนำ 6 แห่งของเยอรมนีซึ่งจะออกเผยแพร่ในสัปดาห์
หน้าได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 จากที่ประมาณการไว้ที่ระดับร้อย
ละ 1.5 ในฉบับก่อน (spring report) ขณะที่ Die Welt am Sonntag ได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจปี 47 ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้ใน Sunday publication the institutes มาแล้ว รวมทั้ง
กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 48 ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานฉบับ
ครึ่งปีก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม DIW institute ไม่เห็นด้วยกับการประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ไว้
ที่ร้อยละ 1.5 แต่คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปีถัดไป ทั้งนี้ เยอรมนีซึ่ง
เผชิญกับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจติดต่อกันมา 3 ปีนั้นเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวโดยเมื่อสัปดาห์ก่อนบริษัทชั้น
นำหลายบริษัทเปิดเผยแผนการปรับลดงานอีกประมาณ 15,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีได้รับการขับเคลื่อนจากการส่งออก และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 ในปีนี้
รวมทั้งมีความหวังว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้จะทำให้ความต้องการในประเทศฟื้นตัวขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
2. ตลาดแรงงานเกาหลีใต้ในเดือนก.ย. ยังคงไม่แข็งแกร่ง รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 15
ต.ค. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 9 คนคาดว่าในเดือนก.ย. อัตราการว่าง
งานของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค. และเดือนก.
ค. ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 46 ทั้งนี้นับตั้งแต่เดือนม.ค. 47 เป็นต้นมา
อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะสูงขึ้นแต่ก็เป็นไปแบบชะลอตัว เนื่องจากใน
รอบ 2 ปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายของผู้บริโภคตกต่ำทำให้นายจ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้างและ
ภาคบริการยังไม่มีความแน่ใจในการจ้างงาน อนึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก SK Securities ให้ความเห็นว่าภาค
อุตสาหกรรมการก่อสร้างและบริการของเกาหลีใต้ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก
Citibank ให้ความเห็นว่าในราวต้นปีหน้า ตลาดแรงงานจะฟื้นตัว นอกจากนั้น รมว.คลังเกาหลีใต้ยังให้ความ
เห็นว่าในระยะกลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังไม่รวดเร็วเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของ
ตลาดแรงงาน ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขอัตราการว่างงานอย่างเป็นทาง
การในวันอังคารนี้เวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
3. คาดว่ายอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 14 ต.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดส่ง
ออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนและเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าครึ่ง
ของเดือน ส.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โลกซึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะ สรอ.และจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของสิงคโปร์ทำให้ความต้อง
การสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ลดลง รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัว
ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 9 ในปีนี้แต่จากประมาณการก่อนหน้านี้คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาส
ที่ 3 ปีนี้หลังจากขยายตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสาเหตุจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็น
มาก่อนรวมทั้งการที่ภาคการผลิตชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 15 ต.ค.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ยอดขายปลีก(หลังปรับฤดูกาล)ของสิงคโปร์ในเดือน
ส.ค.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สาเหตุจากประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเสื้อผ้า
อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ในขณะที่เมื่อเทียบต่อปียอดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ซึ่งไม่เป็นไปตามที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เทียบต่อปี อย่างไรก็
ตาม ยอดขายปลีก(หลังปรับฤดูกาล)เมื่อไม่รวมยอดขายรถยนต์ซึ่งสูงมากในช่วงต้นปีเนื่องจากการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยและภาษีรถยนต์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 สำหรับยอดขายรวมของอุตสาหกรรมบริการ(อัตราต่อปี)
ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมการค้าปลีกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 63 ของระบบ
เศรษฐกิจสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 47 ลดลงเกินความคาดหมาย
ร้อยละ 2.3 ตามการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 47 ถือ
ได้ว่าประสบภาวะชะลอตัว หลังจากที่เติบโตในอัตราที่รวดเร็วมากในช่วง 4 ไตรมาสก่อนหน้าตั้งแต่ไตรมาสที่
3 ของปี 46 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคซาร์สเริ่มคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม ทางการสิงคโปร์คาด
การณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศอาจจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 8-9 ในปี 47 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน
หลังจากนั้นจะลดลงที่ระดับร้อยละ 3-5 ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 ต.ค. 47 15 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.421 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2156/41.4993 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6500-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.48/ 16.24 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.58 37.51 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เปิดเผยแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงินว่า จะตรวจสอบจาก
ระบบการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและมาตรการลดความเสี่ยงนั้น
ๆ ซึ่งจะพิจารณาความเสี่ยง 5 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ์ เครดิต สภาพคล่อง ปฏิบัติการ และตลาด หากพบจุดใดมี
ความเสี่ยงมากก็ต้องเข้าไปตรวจสอบเป็นรายการ เพื่อกวดขันการจัดชั้นกันสำรองหนี้ให้ถูกต้องและให้กระบวน
การพิจารณาให้สินเชื่อเข้มงวดมากขึ้น โดยในแต่ละปี ธปท. จะทยอยตรวจสอบการดำเนินงานของ ธ.พาณิชย์ทุก
แห่ง ซึ่งจะเน้นการติดตามประสิทธิภาพของระบบ หากพบว่ากระบวนการใดประมาทเลินเล่อก็ต้องกลั่นกรอง เพื่อ
ให้ ธ.พาณิชย์แก้ไขปรับปรุงและป้องกันปัญหาในอนาคต ด้านเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน
มิ.ย.47 มีประมาณ 6.4 แสนล้านบาท มีการกันสำรองไว้แล้ว 3.9 แสนล้านบาท ส่วนที่ไม่ได้กันสำรองเพราะมี
หลักประกันรองรับอยู่ 3.4-3.5 แสนล้านบาท ซึ่งรวมแล้วก็ถือว่ามากพอที่จะรองรับความเสียหายกับหนี้ที่ยังไม่ได้
กันสำรอง ดังนั้น ภาพรวม ธ.พาณิชย์ยังแข็งแกร่งและไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบมีปัญหาอีก (มติชน)
2. ธปท. สรุปร่างค่าธรรมเนียมและเกณฑ์การคิดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน นาย
สามารถ บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า
ขณะนี้ ธปท. สามารถสรุปร่างหลักเกณฑ์การคิดอัตราดอกเบี้ย และอัตราค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระของ
ธ.พาณิชย์เบื้องต้นได้แล้ว หลังจากหารือกับตัวแทนจาก ธ.พาณิชย์เมื่อปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยและอัตราค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะส่งให้ ก.คลังพิจารณาในปลาย
เดือน พ.ย.นี้ ก่อนที่จะประกาศบังคับใช้ต่อไป รวมทั้งภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ ธปท. จะส่งหนังสือตอบกลับไป
ยังชมรมธุรกิจบัตรเครดิตในเรื่องการขอผ่อนผันเกณฑ์การอนุมัติบัตรเครดิตของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะใน
เรื่องของการกำหนดวงเงินที่จะให้แก่ผู้ถือบัตรแต่ละรายต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน หรือกระแส
เงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากในกรณีผู้ถือบัตรรายเก่าให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.48 ที่ทางชมรมฯ เห็นว่า
ควรยกเลิกหลักเกณฑ์ดังกล่าวสำหรับผู้ถือบัตรรายเก่า (บ้านเมือง, แนวหน้า)
3. ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้เดือน ส.ค.47 เพิ่มอีก 61 ราย มูลหนี้ 673 ล้านบาท
นายทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เปิดเผยว่า ในเดือน ส.ค.47 มีลูกหนี้ที่เจรจาจนมีข้อสรุป
ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว 151 ราย มูลหนี้ 4,180 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สำเร็จ 61 ราย มูลหนี้รวม 673 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจการพาณิชย์ การอุปโภคบริโภค และการ
อุตสาหกรรม ส่วนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จมี 90 ราย มูลหนี้รวม 3,507 ล้านบาท อย่างไรก็
ตาม ภาพรวมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่เริ่มจนถึงเดือน ส.ค.47 มีความคืบหน้าตลอด โดยลูกหนี้ที่ปรับ
ปรุงสำเร็จมีจำนวนทั้งสิ้น 11,279 ราย มูลหนี้ 1,480,065 ล้านบาท และปรับปรุงหนี้ไม่สำเร็จ 2,410 ราย
มูลหนี้ 420,135 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 46 จนถึงปัจจุบัน คปน. ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงโครง
สร้างนี้ของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี และหนี้ที่อยู่
ระหว่างบังคับคดี โดยในปี 47 สถาบันการเงินได้ส่งรายชื่อลูกหนี้เข้ากระบวนการ คปน. เพิ่มเติมอีก 1,716
ราย มูลหนี้ 13,988 ล้านบาท ขณะนี้มีลูกหนี้ตอบรับเข้ากระบวนการ คปน. แล้ว 179 ราย มูลหนี้ 1,542 ล้าน
บาท สำหรับตัวเลขเอ็นพีแอลทั้งระบบล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค.47 มีจำนวน 641,499.10 คิดเป็นร้อยละ
12.18 ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ โดยแบ่งเป็นเอ็นพีแอลของ ธ.พาณิชย์เอกชน 450,294.146 ล้านบาท
ธ.พาณิชย์ของรัฐ 141,520.36 ล้านบาท ธ.พาณิชย์ต่างประเทศ 24,944.47 ล้านบาท บริษัทเงินทุน
24,471.09 ล้านบาท และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 268.24 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.พาณิชย์เปิดรับพนักงานใหม่รองรับแผนงานขยายสาขา นายชาติชาย ศรีรัศมี ผช.ผจก.
ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ในปีหน้าธนาคารมีแผนจะเปิดสาขาใหม่ไม่ต่ำกว่า 50 สาขา และรับพนักงานใหม่
ประมาณ 500 คน เพื่อรองรับสาขาที่เพิ่มขึ้น โดยสาขาที่เปิดใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาย่อย ตั้งอยู่ในจุดที่เป็น
ชุมชน โดยจะใช้พนักงานสาขาละ 6 คน ซึ่งการที่ ธ.พาณิชย์แข่งขันกันเปิดสาขาย่อยในจุดชุมชน เพื่อต้องการมุ่ง
เน้นขยายฐานลูกค้ารายย่อยและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ส่วนนายนะเพ็งพาแสง กฤษณามระ ผช.ผจก.
ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในปีหน้าธนาคารมีแผนจะเปิดสาขาใหม่ 100 สาขา และรับพนักงานใหม่ 600
คน โดยสาขาที่เปิดส่วนใหญ่จะเป็นสาขาย่อยในจุดชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อเป็นการรองรับการท่องเที่ยว
และอำนวยความสะดวกด้านบริการทางการเงิน ด้านนางชาลอต โทณวณิก ผช.กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา
กล่าวว่า ในปีหน้าธนาคารมีแผนจะเปิดสาขาเพิ่ม 30 สาขา และรับพนักงานใหม่ 300 คน โดยในปีนี้
ธนาคารได้เปิดสาขาใหม่ไปแล้ว 30 สาขา (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจชั้นนำของเยอรมนีปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 อยู่
ที่ร้อยละ 1.8 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 16 ต.ค.47 หนังสือพิมพ์ในเยอรมนี รายงานว่า ในรายงานฉบับล่า
สุด (autumn report) ของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจชั้นนำ 6 แห่งของเยอรมนีซึ่งจะออกเผยแพร่ในสัปดาห์
หน้าได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 จากที่ประมาณการไว้ที่ระดับร้อย
ละ 1.5 ในฉบับก่อน (spring report) ขณะที่ Die Welt am Sonntag ได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจปี 47 ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้ใน Sunday publication the institutes มาแล้ว รวมทั้ง
กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 48 ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานฉบับ
ครึ่งปีก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม DIW institute ไม่เห็นด้วยกับการประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ไว้
ที่ร้อยละ 1.5 แต่คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปีถัดไป ทั้งนี้ เยอรมนีซึ่ง
เผชิญกับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจติดต่อกันมา 3 ปีนั้นเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวโดยเมื่อสัปดาห์ก่อนบริษัทชั้น
นำหลายบริษัทเปิดเผยแผนการปรับลดงานอีกประมาณ 15,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีได้รับการขับเคลื่อนจากการส่งออก และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 ในปีนี้
รวมทั้งมีความหวังว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้จะทำให้ความต้องการในประเทศฟื้นตัวขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
2. ตลาดแรงงานเกาหลีใต้ในเดือนก.ย. ยังคงไม่แข็งแกร่ง รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 15
ต.ค. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 9 คนคาดว่าในเดือนก.ย. อัตราการว่าง
งานของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค. และเดือนก.
ค. ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 46 ทั้งนี้นับตั้งแต่เดือนม.ค. 47 เป็นต้นมา
อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะสูงขึ้นแต่ก็เป็นไปแบบชะลอตัว เนื่องจากใน
รอบ 2 ปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายของผู้บริโภคตกต่ำทำให้นายจ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้างและ
ภาคบริการยังไม่มีความแน่ใจในการจ้างงาน อนึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก SK Securities ให้ความเห็นว่าภาค
อุตสาหกรรมการก่อสร้างและบริการของเกาหลีใต้ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก
Citibank ให้ความเห็นว่าในราวต้นปีหน้า ตลาดแรงงานจะฟื้นตัว นอกจากนั้น รมว.คลังเกาหลีใต้ยังให้ความ
เห็นว่าในระยะกลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังไม่รวดเร็วเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของ
ตลาดแรงงาน ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขอัตราการว่างงานอย่างเป็นทาง
การในวันอังคารนี้เวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
3. คาดว่ายอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 14 ต.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดส่ง
ออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนและเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าครึ่ง
ของเดือน ส.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โลกซึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะ สรอ.และจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของสิงคโปร์ทำให้ความต้อง
การสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ลดลง รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัว
ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 9 ในปีนี้แต่จากประมาณการก่อนหน้านี้คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาส
ที่ 3 ปีนี้หลังจากขยายตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสาเหตุจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็น
มาก่อนรวมทั้งการที่ภาคการผลิตชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 15 ต.ค.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ยอดขายปลีก(หลังปรับฤดูกาล)ของสิงคโปร์ในเดือน
ส.ค.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สาเหตุจากประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเสื้อผ้า
อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ในขณะที่เมื่อเทียบต่อปียอดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ซึ่งไม่เป็นไปตามที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เทียบต่อปี อย่างไรก็
ตาม ยอดขายปลีก(หลังปรับฤดูกาล)เมื่อไม่รวมยอดขายรถยนต์ซึ่งสูงมากในช่วงต้นปีเนื่องจากการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยและภาษีรถยนต์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 สำหรับยอดขายรวมของอุตสาหกรรมบริการ(อัตราต่อปี)
ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมการค้าปลีกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 63 ของระบบ
เศรษฐกิจสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 47 ลดลงเกินความคาดหมาย
ร้อยละ 2.3 ตามการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 47 ถือ
ได้ว่าประสบภาวะชะลอตัว หลังจากที่เติบโตในอัตราที่รวดเร็วมากในช่วง 4 ไตรมาสก่อนหน้าตั้งแต่ไตรมาสที่
3 ของปี 46 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคซาร์สเริ่มคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม ทางการสิงคโปร์คาด
การณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศอาจจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 8-9 ในปี 47 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน
หลังจากนั้นจะลดลงที่ระดับร้อยละ 3-5 ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 ต.ค. 47 15 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.421 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2156/41.4993 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6500-1.6875 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.48/ 16.24 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.58 37.51 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-