ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกผักสดอันดับ 1 ของไทยตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาด้วยมูลค่าส่งออกราว 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ระหว่างปี 2544—2546 และขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2547 อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นลดการสุ่มตรวจผักสดที่นำเข้าจากไทยเหลือเพียงร้อยละ 10 ของปริมาณผักสดที่นำเข้าทั้งหมดในแต่ละเที่ยว (จากเดิมสุ่มตรวจราวร้อยละ 50-70) ตั้งแต่ต้นปี 2547 หลังจากภาครัฐและผู้ส่งออกไทยเร่งแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างในผักสดอย่างจริงจัง
ด้วยสถานการณ์ส่งออกผักสดไปญี่ปุ่นที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับศักยภาพของตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าผักสดรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก และมีแนวโน้มต้องการอาหารเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะผักสดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อกระแสความห่วงใยในสุขภาพและโครงสร้างของประชากรที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการเร่งขยายการส่งออกไปญี่ปุ่น
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกผักสดไปญี่ปุ่นมีดังนี้
- ผักสดที่นิยมนำเข้าจากไทย ญี่ปุ่นนำเข้าผักสดจากไทยทั้งในลักษณะของผักสดแช่เย็นและผักสดแช่แข็ง โดยผักสดแช่เย็นที่นิยมนำเข้า คือ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบ และหัวหอม ขณะที่ผักสดแช่แข็งที่นิยมนำเข้า คือ ผักตระกูลถั่ว อาทิ ถั่วลันเตา นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าญี่ปุ่นเริ่มสนใจนำเข้าผักอินทรีย์ (ผักที่ไม่ใช้สารเคมีและการตัดต่อพันธุกรรมในกระบวนการผลิต รวมทั้งไม่ใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต) อาทิ หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง และขิงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าผักปกติราวร้อยละ 20-30
- ช่องทางการตลาด การค้าผักสดกับญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมดำเนินการผ่าน Trading firms ของญี่ปุ่น เนื่องจากข้อได้เปรียบของการมีบริษัทขายส่งในเครือทำหน้าที่กระจายสินค้า อย่างไรก็ตาม ผักสดบางส่วนจะส่งให้กับห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในญี่ปุ่นโดยตรง
- คู่แข่งสำคัญ ในปี 2545 จีนครองส่วนแบ่งตลาดผักสดในญี่ปุ่นสูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 38 ตามด้วยสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 29) และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 10) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 4 ทั้งนี้ จีนนับเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยเนื่องจากประเภทของผักที่ส่งออกใกล้เคียงกับไทยและคุณภาพไม่ต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นมีแนวโน้มนำเข้าผักจากจีนลดลงเนื่องจากตรวจพบสารพิษตกค้างจำนวนมาก ขณะที่เวียดนามเป็นคู่แข่งหน้าใหม่ที่ควรจับตามองเนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติโดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากเข้าไปลงทุนผลิตผักและผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นโดยตรง
- ระเบียบการนำเข้าที่สำคัญ
ภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าผักสดจากไทยในอัตราร้อยละ 3-12 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก อาทิ หน่อไม้ฝรั่งเก็บภาษีร้อยละ 3 กระเจี๊ยบขาวเก็บภาษีร้อยละ 6 พืชตระกูลถั่วและหอมเก็บภาษีร้อยละ 8.5
มาตรฐานด้านสุขอนามัย ญี่ปุ่นเข้มงวดมากในการตรวจสอบแมลงศัตรูพืชและสารเคมีตกค้างในผักสดที่นำเข้า โดยจะสุ่มตรวจสินค้า ณ ด่านนำเข้าอีกครั้งแม้ว่าผักสดเหล่านั้นจะได้รับใบรับรองปลอดสารพิษตกค้างและใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากทางการไทยแล้วก็ตาม ซึ่งหากตรวจพบว่ามีสิ่งต่างๆ ปนเปื้อนเกินกว่าปริมาณที่กำหนดก็อาจสั่งทำลายหรือให้นำสินค้ากลับ นอกจากนี้ หากตรวจพบสิ่งปนเปื้อนหรือสารตกค้างในผักชนิดใดอย่างต่อเนื่องก็อาจสั่งห้ามนำเข้าผักชนิดนั้นจนกว่าจะแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนได้
ฉลากสินค้า มีรายละเอียดที่ต้องระบุดังนี้
ผักสดแช่เย็น : ชื่อผลิตภัณฑ์และแหล่งกำเนิดสินค้า
ผักสดแช่แข็ง : ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่อยู่ผู้นำเข้า วันหมดอายุ น้ำหนักสุทธิ แหล่งผลิต แหล่งกำเนิดสินค้า และรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ เครื่องปรุงอื่นๆ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับมาตรฐานด้านสุขอนามัย เนื่องจากประเด็นเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญ และรัฐบาลมีความเข้มงวดมากในการตรวจสอบแมลงศัตรูพืชและสารเคมีตกค้างในผักสดที่นำเข้า ขณะเดียวกันผู้ส่งออกควรติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยในผักสดนำเข้าของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการส่งออกและภาพลักษณ์โดยรวมของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2547--
-พห-
ด้วยสถานการณ์ส่งออกผักสดไปญี่ปุ่นที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับศักยภาพของตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าผักสดรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก และมีแนวโน้มต้องการอาหารเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะผักสดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อกระแสความห่วงใยในสุขภาพและโครงสร้างของประชากรที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการเร่งขยายการส่งออกไปญี่ปุ่น
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกผักสดไปญี่ปุ่นมีดังนี้
- ผักสดที่นิยมนำเข้าจากไทย ญี่ปุ่นนำเข้าผักสดจากไทยทั้งในลักษณะของผักสดแช่เย็นและผักสดแช่แข็ง โดยผักสดแช่เย็นที่นิยมนำเข้า คือ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบ และหัวหอม ขณะที่ผักสดแช่แข็งที่นิยมนำเข้า คือ ผักตระกูลถั่ว อาทิ ถั่วลันเตา นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าญี่ปุ่นเริ่มสนใจนำเข้าผักอินทรีย์ (ผักที่ไม่ใช้สารเคมีและการตัดต่อพันธุกรรมในกระบวนการผลิต รวมทั้งไม่ใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต) อาทิ หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง และขิงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าผักปกติราวร้อยละ 20-30
- ช่องทางการตลาด การค้าผักสดกับญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมดำเนินการผ่าน Trading firms ของญี่ปุ่น เนื่องจากข้อได้เปรียบของการมีบริษัทขายส่งในเครือทำหน้าที่กระจายสินค้า อย่างไรก็ตาม ผักสดบางส่วนจะส่งให้กับห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในญี่ปุ่นโดยตรง
- คู่แข่งสำคัญ ในปี 2545 จีนครองส่วนแบ่งตลาดผักสดในญี่ปุ่นสูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 38 ตามด้วยสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 29) และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 10) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 4 ทั้งนี้ จีนนับเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยเนื่องจากประเภทของผักที่ส่งออกใกล้เคียงกับไทยและคุณภาพไม่ต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นมีแนวโน้มนำเข้าผักจากจีนลดลงเนื่องจากตรวจพบสารพิษตกค้างจำนวนมาก ขณะที่เวียดนามเป็นคู่แข่งหน้าใหม่ที่ควรจับตามองเนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติโดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากเข้าไปลงทุนผลิตผักและผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นโดยตรง
- ระเบียบการนำเข้าที่สำคัญ
ภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าผักสดจากไทยในอัตราร้อยละ 3-12 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก อาทิ หน่อไม้ฝรั่งเก็บภาษีร้อยละ 3 กระเจี๊ยบขาวเก็บภาษีร้อยละ 6 พืชตระกูลถั่วและหอมเก็บภาษีร้อยละ 8.5
มาตรฐานด้านสุขอนามัย ญี่ปุ่นเข้มงวดมากในการตรวจสอบแมลงศัตรูพืชและสารเคมีตกค้างในผักสดที่นำเข้า โดยจะสุ่มตรวจสินค้า ณ ด่านนำเข้าอีกครั้งแม้ว่าผักสดเหล่านั้นจะได้รับใบรับรองปลอดสารพิษตกค้างและใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากทางการไทยแล้วก็ตาม ซึ่งหากตรวจพบว่ามีสิ่งต่างๆ ปนเปื้อนเกินกว่าปริมาณที่กำหนดก็อาจสั่งทำลายหรือให้นำสินค้ากลับ นอกจากนี้ หากตรวจพบสิ่งปนเปื้อนหรือสารตกค้างในผักชนิดใดอย่างต่อเนื่องก็อาจสั่งห้ามนำเข้าผักชนิดนั้นจนกว่าจะแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนได้
ฉลากสินค้า มีรายละเอียดที่ต้องระบุดังนี้
ผักสดแช่เย็น : ชื่อผลิตภัณฑ์และแหล่งกำเนิดสินค้า
ผักสดแช่แข็ง : ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่อยู่ผู้นำเข้า วันหมดอายุ น้ำหนักสุทธิ แหล่งผลิต แหล่งกำเนิดสินค้า และรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ เครื่องปรุงอื่นๆ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับมาตรฐานด้านสุขอนามัย เนื่องจากประเด็นเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญ และรัฐบาลมีความเข้มงวดมากในการตรวจสอบแมลงศัตรูพืชและสารเคมีตกค้างในผักสดที่นำเข้า ขณะเดียวกันผู้ส่งออกควรติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยในผักสดนำเข้าของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการส่งออกและภาพลักษณ์โดยรวมของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2547--
-พห-