นายองอาจ กล่าวว่า การดำเนินงานขององค์กรอิสระทั้งหลายเหล่านี้ โดยเฉพาะการเพิ่ม เงินเดือนให้กับตนเองหมิ่นเหม่ต่อการขัดต่อกฎหมาย และยังเกิดคำถามตามมาว่าผลงานในการทำหน้าที่ตรวจสอบที่ผ่านมานั้นได้ทำอย่างเต็มที่หรือยัง ทางพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อองค์กรอิสระ มีหลายประการ
คือ 1.องค์กรอิสระ ถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร เห็นได้ว่าช่วงแรกของการบริหารยังไม่มีปัญหา แต่พอมีการผลัดเปลี่ยนคณะกรรมการขององค์กรอิสระใหม่ก็เริ่มมีปัญหามากขึ้น มีการผลักดันจากฝ่ายบริหารใช้เสียงข้างมาก ในส่วนของพรรคการเมือง เข้าไปผลักดันคนของตนเองเข้าไปเป็นกรรมการ ในหน่วยงานอิสระเกือบทุกองค์กร ฉะนั้น องค์กร อิสระจึงถูก ประชาชนสงสัยว่าเป็นฝ่ายเดียวกับฝ่ายบริหาร ทำให้ไม่สามารถเชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ก็เพราะว่าที่มาของคณะกรรมการ ขององค์กรอิสระเหล่านี้ไม่โปร่งใส ประกอบกับผลงานในการทำหน้าที่ตรวจสอบ การทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการวินิจฉัย ชี้ขาด ขาดความน่าเชื่อถือ มีการเลือกปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ ตลอดจนมีการวิ่งเต้นพลิกผันคดีสำคัญบางคดีได้
2.องค์กรอิสระหลายแห่งมีการปฏิบัติ 2 มาตรฐาน ทำให้สังคมไม่มีความเชื่อมั่น เช่นกรณีซุกหุ้น ของท่านนายกฯ ที่เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าไม่มีความผิด ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ขณะเดียวกันคดีลักษณะเดียวกัน ศาล รัฐธรรมนูญชี้ขาดให้นายประยุทธ มหากิจศิริ มีความผิดด้วยมติ 12 ต่อ 1 เป็นต้นจึงมีคำถามว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวินิจฉัย
3.องค์กรอิสระไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จากพฤติกรรมทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมา ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รธน. ที่ต้องการปฏิรูปการเมืองให้มีความโปร่งใส ที่สำคัญคือการที่ต้องการให้องค์กรอิสระเหล่านี้นำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีอำนาจอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ยังเห็นชัดเจนว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงลอยนวล ทำหน้าที่ในครม.ชุดปัจจุบันอยู่ จึงกลายเป็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างมโหฬารที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการทุจริตเชิงนโยบาย
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้ง 3 ประการทำให้องค์กรอิสระ เกิดความเสื่อมศรัทธา ทำให้สังคมไม่สามารถพึ่งองค์กรอิสระได้ การทำงานขององค์กรอิสระเห็นว่าควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันการครอบงำขององค์กรอิสระด้วยการยกเลิกตัวแทนพรรคการเมืองในขบวนการสรรหา เพื่อให้การสรรหาดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของการตรวจสอบอย่างแท้จริงไม่มีการโน้มเอียงไปในทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นเพราะ ปัจจุบันขบวนการสรรหามักถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบัน เป็นการครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากมีการกำหนดให้มีสัดส่วน ตัวแทนของพรรคการเมืองร่วมอยู่ในกระบวนการสรรหาด้วย ทำให้ผลของการสรรหาขาดความสมดุลและมีการแต่งตั้งบุคคลที่มีความโน้มเอียงรับใช้ผู้มีอำนาจรัฐในปัจจุบัน ทำให้ขาดความเป็นอิสระในดุลพินิจ และการวินิจฉัย ในเรื่องต่างๆ ส่งผลเสียหายให้ประเทศชาติอย่างร้ายแรงตลอดมา
“พรรคประชาธิปัตย์เป็นห่วงองค์การอิสระที่สามารถถูกชี้นำได้จากฝ่ายการเมือง พฤติกรรมอย่างนี้ไม่ไช่เป็นการทำลายองค์กรอิสระเท่านั้น แต่เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ในหลักประชาธิปไตย ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าการทำลายระบอบประชาธิปไตยเป็นอันตรายที่ใหญ่หลวงของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเรื่องขององค์กรอิสระเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องจับตาดูต่อไปเพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง” นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
คือ 1.องค์กรอิสระ ถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร เห็นได้ว่าช่วงแรกของการบริหารยังไม่มีปัญหา แต่พอมีการผลัดเปลี่ยนคณะกรรมการขององค์กรอิสระใหม่ก็เริ่มมีปัญหามากขึ้น มีการผลักดันจากฝ่ายบริหารใช้เสียงข้างมาก ในส่วนของพรรคการเมือง เข้าไปผลักดันคนของตนเองเข้าไปเป็นกรรมการ ในหน่วยงานอิสระเกือบทุกองค์กร ฉะนั้น องค์กร อิสระจึงถูก ประชาชนสงสัยว่าเป็นฝ่ายเดียวกับฝ่ายบริหาร ทำให้ไม่สามารถเชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ก็เพราะว่าที่มาของคณะกรรมการ ขององค์กรอิสระเหล่านี้ไม่โปร่งใส ประกอบกับผลงานในการทำหน้าที่ตรวจสอบ การทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการวินิจฉัย ชี้ขาด ขาดความน่าเชื่อถือ มีการเลือกปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ ตลอดจนมีการวิ่งเต้นพลิกผันคดีสำคัญบางคดีได้
2.องค์กรอิสระหลายแห่งมีการปฏิบัติ 2 มาตรฐาน ทำให้สังคมไม่มีความเชื่อมั่น เช่นกรณีซุกหุ้น ของท่านนายกฯ ที่เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าไม่มีความผิด ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ขณะเดียวกันคดีลักษณะเดียวกัน ศาล รัฐธรรมนูญชี้ขาดให้นายประยุทธ มหากิจศิริ มีความผิดด้วยมติ 12 ต่อ 1 เป็นต้นจึงมีคำถามว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวินิจฉัย
3.องค์กรอิสระไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จากพฤติกรรมทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมา ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รธน. ที่ต้องการปฏิรูปการเมืองให้มีความโปร่งใส ที่สำคัญคือการที่ต้องการให้องค์กรอิสระเหล่านี้นำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีอำนาจอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ยังเห็นชัดเจนว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงลอยนวล ทำหน้าที่ในครม.ชุดปัจจุบันอยู่ จึงกลายเป็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างมโหฬารที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการทุจริตเชิงนโยบาย
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้ง 3 ประการทำให้องค์กรอิสระ เกิดความเสื่อมศรัทธา ทำให้สังคมไม่สามารถพึ่งองค์กรอิสระได้ การทำงานขององค์กรอิสระเห็นว่าควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันการครอบงำขององค์กรอิสระด้วยการยกเลิกตัวแทนพรรคการเมืองในขบวนการสรรหา เพื่อให้การสรรหาดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของการตรวจสอบอย่างแท้จริงไม่มีการโน้มเอียงไปในทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นเพราะ ปัจจุบันขบวนการสรรหามักถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบัน เป็นการครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากมีการกำหนดให้มีสัดส่วน ตัวแทนของพรรคการเมืองร่วมอยู่ในกระบวนการสรรหาด้วย ทำให้ผลของการสรรหาขาดความสมดุลและมีการแต่งตั้งบุคคลที่มีความโน้มเอียงรับใช้ผู้มีอำนาจรัฐในปัจจุบัน ทำให้ขาดความเป็นอิสระในดุลพินิจ และการวินิจฉัย ในเรื่องต่างๆ ส่งผลเสียหายให้ประเทศชาติอย่างร้ายแรงตลอดมา
“พรรคประชาธิปัตย์เป็นห่วงองค์การอิสระที่สามารถถูกชี้นำได้จากฝ่ายการเมือง พฤติกรรมอย่างนี้ไม่ไช่เป็นการทำลายองค์กรอิสระเท่านั้น แต่เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ในหลักประชาธิปไตย ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าการทำลายระบอบประชาธิปไตยเป็นอันตรายที่ใหญ่หลวงของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเรื่องขององค์กรอิสระเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องจับตาดูต่อไปเพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง” นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-