แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 29 ก.ย. — 5 ต.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,230.44 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 659.30 ตัน สัตว์น้ำจืด 571.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.26 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.93 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 98.69 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.93 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.61 ตัน
การตลาด
กุ้งจีนส่งออกไปสหรัฐอเมริกา โดยผ่านอินโดนีเซีย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา จากการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี)กุ้งของสหรัฐฯ กับ 6 ประเทศ เช่น ไทย เวียดนาม อินเดีย จีน เอกวาดอร์ และบราซิล ส่งผลให้ประเทศที่ไม่เสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ คือ อินโดนีเซียสามารถส่งกุ้งไปขาย และครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) อินโดนีเซียส่งออกกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งไปสหรัฐฯ มูลค่า 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,800 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2546 อินโดนีเซียส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งไปสหรัฐฯ มูลค่า 157 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6,280 ล้านบาท อีก 5 เดือนที่เหลือคาดว่าการส่งออกกุ้งของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546
ขณะที่การส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐฯ ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งออกกุ้งสดไปสหรัฐฯ มูลค่า 215 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,600 ล้านบาท ขยายตัวลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในสหรัฐฯ ได้ลดลงจากร้อยละ 18 ในปี 2546 เหลือร้อยละ 15 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2547 ส่วนกุ้งแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อินโดนีเซียสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63 จากปี 2546 ทั้งปีส่งออกได้เพียง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 400 ล้านบาท ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ส่งออกได้แล้ว 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 360 ล้านบาท ขณะที่การส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยช่วงเดียวกันของปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 8 โดยมีมูลค่า 224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,960 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแม้ในภาพรวมไทยยังครองส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แต่เป็นการครองในอัตราที่ลดลง โดยกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ในปี 2546 ไทยครองส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 18 ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 15 ขณะที่กุ้งแปรรูปไทยยังรักษาฐานส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ได้ จากปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 57 ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 58
นายสัตวแพทย์สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่ได้เปรียบไทยเพียงรายเดียวในเวลานี้สามารถส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น นอกจากไม่ต้องเสียภาษี และมีการขยายตัวของกำลังการผลิตในประเทศ อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากพ่อค้ากุ้งของจีนได้ส่งออกกุ้งไปยังอินโดนีเซีย เพื่อเลี่ยงภาษีเอดีเข้าสหรัฐฯ ที่หากส่งออกจากจีนต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงร้อยละ 49 ซึ่งที่ผ่านมาผู้เลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียต่างแสดงความไม่พอใจเพราะการนำเข้ากุ้งของประเทศตกต่ำ แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะเป็นผลประโยชน์ของผู้ส่งออก นอกจากกุ้งจีนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ผ่านอินโดนีเซียแล้ว เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยยังเปิดเผยอีกว่า ในส่วนของประเทศบราซิล ซึ่งถือเป็นคู่แข่งขันอีกรายหนึ่งของไทยที่ถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีเอดีร้อยละ 36 เท่าที่ทราบมาเวลานี้ได้ส่งออกกุ้งผ่านกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ โดยใช้วิธีการเดียวกับอินโดนีเซีย อาทิส่งผ่านประเทศ เวเนซุเอลา ฮอนดูรัส และปานามา เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.81 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 209.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 205.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.43 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.73 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 - 15 ต.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.74 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 11-17 ตุลาคม 2547--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 29 ก.ย. — 5 ต.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,230.44 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 659.30 ตัน สัตว์น้ำจืด 571.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.26 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.93 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 98.69 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.93 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.61 ตัน
การตลาด
กุ้งจีนส่งออกไปสหรัฐอเมริกา โดยผ่านอินโดนีเซีย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา จากการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี)กุ้งของสหรัฐฯ กับ 6 ประเทศ เช่น ไทย เวียดนาม อินเดีย จีน เอกวาดอร์ และบราซิล ส่งผลให้ประเทศที่ไม่เสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ คือ อินโดนีเซียสามารถส่งกุ้งไปขาย และครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) อินโดนีเซียส่งออกกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งไปสหรัฐฯ มูลค่า 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,800 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2546 อินโดนีเซียส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งไปสหรัฐฯ มูลค่า 157 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6,280 ล้านบาท อีก 5 เดือนที่เหลือคาดว่าการส่งออกกุ้งของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546
ขณะที่การส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐฯ ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งออกกุ้งสดไปสหรัฐฯ มูลค่า 215 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,600 ล้านบาท ขยายตัวลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในสหรัฐฯ ได้ลดลงจากร้อยละ 18 ในปี 2546 เหลือร้อยละ 15 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2547 ส่วนกุ้งแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อินโดนีเซียสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63 จากปี 2546 ทั้งปีส่งออกได้เพียง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 400 ล้านบาท ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ส่งออกได้แล้ว 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 360 ล้านบาท ขณะที่การส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยช่วงเดียวกันของปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 8 โดยมีมูลค่า 224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,960 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแม้ในภาพรวมไทยยังครองส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แต่เป็นการครองในอัตราที่ลดลง โดยกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ในปี 2546 ไทยครองส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 18 ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 15 ขณะที่กุ้งแปรรูปไทยยังรักษาฐานส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ได้ จากปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 57 ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 58
นายสัตวแพทย์สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่ได้เปรียบไทยเพียงรายเดียวในเวลานี้สามารถส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น นอกจากไม่ต้องเสียภาษี และมีการขยายตัวของกำลังการผลิตในประเทศ อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากพ่อค้ากุ้งของจีนได้ส่งออกกุ้งไปยังอินโดนีเซีย เพื่อเลี่ยงภาษีเอดีเข้าสหรัฐฯ ที่หากส่งออกจากจีนต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงร้อยละ 49 ซึ่งที่ผ่านมาผู้เลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียต่างแสดงความไม่พอใจเพราะการนำเข้ากุ้งของประเทศตกต่ำ แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะเป็นผลประโยชน์ของผู้ส่งออก นอกจากกุ้งจีนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ผ่านอินโดนีเซียแล้ว เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยยังเปิดเผยอีกว่า ในส่วนของประเทศบราซิล ซึ่งถือเป็นคู่แข่งขันอีกรายหนึ่งของไทยที่ถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีเอดีร้อยละ 36 เท่าที่ทราบมาเวลานี้ได้ส่งออกกุ้งผ่านกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ โดยใช้วิธีการเดียวกับอินโดนีเซีย อาทิส่งผ่านประเทศ เวเนซุเอลา ฮอนดูรัส และปานามา เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.81 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 209.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 205.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.43 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.73 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 - 15 ต.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.74 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 11-17 ตุลาคม 2547--
-พห-