พุ่งพรวดร้อยละ 15.64 จากเดือนก่อน พี่เบิ้มยานยนต์ — โรงกลั่นตัวชูโรง หลังปิดปรับปรุง ดันตัวเลขดัชนีทะยาน เกือบทุกกลุ่มส่งสัญญาณใส
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนมีนาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนมีนาคมอยู่ที่ 143.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.64 จากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบทุกดัชนี โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าการผลิต) อยู่ที่ 152.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ 149.30 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.40 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 148.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.80 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 109.18 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 160.34 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.34 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 71.16
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม ปรับเพิ่มขึ้นมีหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่ การผลิตยานยนต์ ซึ่งในเดือนมีนาคม มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.94 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหลายค่ายรถยนต์ได้เร่งผลิต เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งยอดจำหน่ายในประเทศเดือนมีนาคมก็เพิ่มขึ้นสูง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยยอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.90 รวมทั้งการส่งออกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลียม มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด รวมทั้งโรงกลั่นขนาดใหญ่ ที่ปิดซ่อมบำรุงเมื่อเดือนที่ผ่านมาได้กลับเข้ามาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง โดยมีปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมีนาคมเท่ากับ 4,047.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 621.7 ล้านลิตรหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปรวมเท่ากับ 4,028.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 374.1 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน
การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากมียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะเดือนมีนาคมได้เข้าสู่ช่วง High Season (ระหว่าง มี.ค.-พ.ค.)ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในกลุ่มผู้ผลิตเส้นด้าย และกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอ จึงมีการผลิตและจำหน่ายอย่างคึกคัก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากเดือนที่แล้ว รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอสำเร็จรูปก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากเดือนก่อน
การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ภาวะการผลิต การจำหน่าย รวมทั้งสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ของกลุ่มสินค้าเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนกว่าร้อยละ 24 โดยเหล็กทรงยาว ประเภทเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย มียอดการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ซึ่งยังคงเป็นการผลิตเพื่อรองรับการใช้งานในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล รวมทั้งเร่งผลิตเพื่อชดเชยวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว เนื่องจากโรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่แจ้งปิดปรับปรุงเครื่องจักรในช่วงที่ผ่านมาได้กลับเข้ามาเดินเครื่องการผลิตอีกครั้ง
สำหรับการจำหน่ายทั้งเหล็กทรงกลม และเหล็กทรงแบนก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นการทยอยส่งมอบสินค้าตามปกติ หลังจากหยุดผลิตเมื่อต้นปี ระดับสินค้าคงคลังโดยรวมจึงลดลง เนื่องจากมีการทยอยส่งมอบสินค้าที่ตกค้างจากเดือนก่อนออกไป
นอกจากนี้นางชุตาภรณ์ ได้กล่าวว่า การผลิตน้ำตาล มีภาวะการผลิตในเดือนมีนาคม ลดลง ร้อยละ 82 จากเดือนก่อน หรือลดลงร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากภัยแล้งทำให้ปริมาณการหีบอ้อยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 21 มีนาคม 2548 มีอ้อยเข้าหีบจำนวน 47.8 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 26 โดยมีผลผลิตน้ำตาลรวม 5.17 ล้านตัน ส่วนภาวะการจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นเนื่องจากถึงกำหนดส่งมอบสินค้า ทั้งน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาว
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนมีนาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนมีนาคมอยู่ที่ 143.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.64 จากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบทุกดัชนี โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าการผลิต) อยู่ที่ 152.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ 149.30 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.40 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 148.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.80 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 109.18 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 160.34 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.34 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 71.16
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม ปรับเพิ่มขึ้นมีหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่ การผลิตยานยนต์ ซึ่งในเดือนมีนาคม มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.94 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหลายค่ายรถยนต์ได้เร่งผลิต เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งยอดจำหน่ายในประเทศเดือนมีนาคมก็เพิ่มขึ้นสูง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยยอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.90 รวมทั้งการส่งออกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลียม มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด รวมทั้งโรงกลั่นขนาดใหญ่ ที่ปิดซ่อมบำรุงเมื่อเดือนที่ผ่านมาได้กลับเข้ามาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง โดยมีปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมีนาคมเท่ากับ 4,047.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 621.7 ล้านลิตรหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปรวมเท่ากับ 4,028.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 374.1 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน
การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากมียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะเดือนมีนาคมได้เข้าสู่ช่วง High Season (ระหว่าง มี.ค.-พ.ค.)ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในกลุ่มผู้ผลิตเส้นด้าย และกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอ จึงมีการผลิตและจำหน่ายอย่างคึกคัก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากเดือนที่แล้ว รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอสำเร็จรูปก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากเดือนก่อน
การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ภาวะการผลิต การจำหน่าย รวมทั้งสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ของกลุ่มสินค้าเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนกว่าร้อยละ 24 โดยเหล็กทรงยาว ประเภทเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย มียอดการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ซึ่งยังคงเป็นการผลิตเพื่อรองรับการใช้งานในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล รวมทั้งเร่งผลิตเพื่อชดเชยวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว เนื่องจากโรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่แจ้งปิดปรับปรุงเครื่องจักรในช่วงที่ผ่านมาได้กลับเข้ามาเดินเครื่องการผลิตอีกครั้ง
สำหรับการจำหน่ายทั้งเหล็กทรงกลม และเหล็กทรงแบนก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นการทยอยส่งมอบสินค้าตามปกติ หลังจากหยุดผลิตเมื่อต้นปี ระดับสินค้าคงคลังโดยรวมจึงลดลง เนื่องจากมีการทยอยส่งมอบสินค้าที่ตกค้างจากเดือนก่อนออกไป
นอกจากนี้นางชุตาภรณ์ ได้กล่าวว่า การผลิตน้ำตาล มีภาวะการผลิตในเดือนมีนาคม ลดลง ร้อยละ 82 จากเดือนก่อน หรือลดลงร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากภัยแล้งทำให้ปริมาณการหีบอ้อยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 21 มีนาคม 2548 มีอ้อยเข้าหีบจำนวน 47.8 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 26 โดยมีผลผลิตน้ำตาลรวม 5.17 ล้านตัน ส่วนภาวะการจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นเนื่องจากถึงกำหนดส่งมอบสินค้า ทั้งน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาว
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-