ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.ชนะสงคราม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 กรณีมีธนบัตรซึ่งเตรียมไว้สำหรับการทดแทนธนบัตรที่ชำรุดในสายการผลิตชนิดราคา 1,000 บาท ขาดหายไปจำนวน 3,000 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3 ล้านบาทนั้น
นายโอบเอื้อ ครุฑานุช ผู้อำนวยการอาวุโส สายสนับสนุนการบริหาร และ นายนพพร ประโมจนีย์ กรรมการผู้จัดการ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันแถลงว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าในกรณีดังกล่าวคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมนายมนเมธี รัตนวิไลวิทย์ เจ้าหน้าที่ห้องมั่นคงอาวุโส โรงพิมพ์ธนบัตร ได้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2547 และสามารถติดตามเงินที่หายไปได้เป็นจำนวน 2,651,462 บาท ประกอบด้วยบัญชีเงินฝากที่ถูกขอให้อายัดไว้ ของธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยจำนวน 2,411,462 บาท และได้ยึดของกลางส่วนที่เป็นเงินสดอีกจำนวน 240,000 บาท คงเหลือส่วนที่ขาดหายไปจำนวน 348,538 บาท ซึ่ง ธปท. จะต้องดำเนินการเรียกคืนตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
อนึ่ง สำหรับการที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาและติดตามเงินคืนได้อย่างรวดเร็วนี้ ทางธปท. ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะ สน.ชนะสงคราม กองกำกับการสืบสวนสอบสวนนครบาล 1 กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมถึงธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานและร่วมดำเนินการด้านต่างๆ เป็นอย่างดียิ่ง
ในส่วนของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ ธปท. แต่งตั้งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 เพื่อดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆ ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความคืบหน้า คณะกรรมการฯ คงจะได้นำเสนอ ธปท. โดยเร็วตามเวลาที่กำหนดไว้
สำหรับประเด็นที่ผู้ต้องหาได้กล่าวถึงเรื่องการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อปกปิดความผิดนั้น คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ยังสมบูรณ์ถูกต้องไม่สามารถแก้ไขได้โดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ หรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
นายโอบเอื้อ ครุฑานุช ผู้อำนวยการอาวุโส สายสนับสนุนการบริหาร และ นายนพพร ประโมจนีย์ กรรมการผู้จัดการ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันแถลงว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าในกรณีดังกล่าวคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมนายมนเมธี รัตนวิไลวิทย์ เจ้าหน้าที่ห้องมั่นคงอาวุโส โรงพิมพ์ธนบัตร ได้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2547 และสามารถติดตามเงินที่หายไปได้เป็นจำนวน 2,651,462 บาท ประกอบด้วยบัญชีเงินฝากที่ถูกขอให้อายัดไว้ ของธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยจำนวน 2,411,462 บาท และได้ยึดของกลางส่วนที่เป็นเงินสดอีกจำนวน 240,000 บาท คงเหลือส่วนที่ขาดหายไปจำนวน 348,538 บาท ซึ่ง ธปท. จะต้องดำเนินการเรียกคืนตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
อนึ่ง สำหรับการที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาและติดตามเงินคืนได้อย่างรวดเร็วนี้ ทางธปท. ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะ สน.ชนะสงคราม กองกำกับการสืบสวนสอบสวนนครบาล 1 กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมถึงธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานและร่วมดำเนินการด้านต่างๆ เป็นอย่างดียิ่ง
ในส่วนของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ ธปท. แต่งตั้งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 เพื่อดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆ ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความคืบหน้า คณะกรรมการฯ คงจะได้นำเสนอ ธปท. โดยเร็วตามเวลาที่กำหนดไว้
สำหรับประเด็นที่ผู้ต้องหาได้กล่าวถึงเรื่องการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อปกปิดความผิดนั้น คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ยังสมบูรณ์ถูกต้องไม่สามารถแก้ไขได้โดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ หรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-