กรุงเทพ--19 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การเจรจาความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 2 ในวันที่ 15 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเจรจารอบนี้ หัวข้อสำคัญที่คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายหารือกันคือเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานสุขอนามัย โดยฝ่ายไทยเห็นว่ากลไกความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในลักษณะหุ้นส่วนระยะยาวมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่ที่ไทยจะได้รับจากสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนของไทย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้เรียนรู้การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตาสาหกรรม การเกษตร ตลอดจนการปรับตัวทางเศรษฐกิจของไทยอันเนื่องมาจากความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ ในอนาคตด้วย ในชั้นนี้ไทยเสนอโดรงการความร่วมมือด้านนี้โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักกล่าวคือ 1) การพัฒนาขีดความสามารถ (capacity building) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา FTA อาทิ อุปสรรคทางการค้า และมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ 2) โครงการฯ ขนาดใหญ่ (mega project) และ 3) กรอบความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองในภาพรวม ซึ่งจะเป็นความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วน (partnership) โดยคณะเจรจาไทยได้แจ้งให้สหรัฐฯ ทราบในเบื้องต้นว่าไทยสนใจโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การค้นคว้าและวิจัย พลังงานทดแทน เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยี Nano เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และชีววิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันความร่วมมือในสาขานี้ให้มีความคืบหน้าโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันด้วยว่าในช่วงเวลาก่อนการเจรจาฯ รอบที่ 3 ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายจะทำการติดต่อประสานงานด้านข้อมูลระหว่างกันผ่าน Video Conference รวมทั้งจะมีการเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องในสาขาความร่วมมือนี้โดยตรงมาร่วมการหารือในโอกาสที่เหมาะสมต่อไปด้วย
สำหรับการหารือสาขาทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ทั้งสองฝ่ายยังคงแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับท่าทีของกันและกัน โดยเฉพาะในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งลิขสิทธิ์และบริการประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยังไม่มีการตกลงในประเด็นใดๆ ในชั้นนี้ในการหารือในสาขาสิ่งแวดล้อม คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและถาม-ตอบ ข้อสงสัยเบื้องต้นในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับร่างเอกสารท่าทีของสหรัฐฯ โดยยังไม่มีการเจรจาหรือตกลงประเด็นใดๆ ในชั้นนี้
ในการหารือสาขามาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์นั้น คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายไทยให้ความสำคัญกับประเด็นการเข้าสู่ตลาดเพื่อให้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของไทยสามารถขายในตลาดสหรัฐฯ ได้สะดวกและมีปริมาณมากขึ้น
อนึ่ง ในการประชุมภายในของฝ่ายไทยภายหลังการเจรจาฯ นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะเจรจาไทยได้กล่าวต่อผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนผู้แทนภาคเอกชนและนักวิชาการที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาว่า Ms. Barbara Weisel, Assistant USTR หัวหน้าคณะเจรจาสหรัฐฯ แจ้งกับตนว่าฝ่ายสหรัฐฯ พอใจกับการเจรจาฯ รอบที่ 2 โดยสหรัฐฯ เห็นว่าการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นระหว่างคณะเจรจาทั้งสองฝ่ายในแต่ละกลุ่มสาขามีความคืบหน้าและทำให้แต่ละฝ่ายมีความเข้าใจท่าทีของคู่เจรจามากยิ่งขึ้น ซึ่งนายนิตย์ฯ กล่าวว่าตนเองก็รู้สึกพอใจกับการเจรจาฯ ครั้งนี้เช่นกัน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของทีมเจรจาไทยซึ่งเป็นไปอย่างแข็งขันและการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายสหรัฐฯ ทั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการเจรจาความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 3 จะมีขึ้นที่นครโฮโนลูลูในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การเจรจาความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 2 ในวันที่ 15 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเจรจารอบนี้ หัวข้อสำคัญที่คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายหารือกันคือเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานสุขอนามัย โดยฝ่ายไทยเห็นว่ากลไกความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในลักษณะหุ้นส่วนระยะยาวมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่ที่ไทยจะได้รับจากสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนของไทย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้เรียนรู้การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตาสาหกรรม การเกษตร ตลอดจนการปรับตัวทางเศรษฐกิจของไทยอันเนื่องมาจากความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ ในอนาคตด้วย ในชั้นนี้ไทยเสนอโดรงการความร่วมมือด้านนี้โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักกล่าวคือ 1) การพัฒนาขีดความสามารถ (capacity building) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา FTA อาทิ อุปสรรคทางการค้า และมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ 2) โครงการฯ ขนาดใหญ่ (mega project) และ 3) กรอบความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองในภาพรวม ซึ่งจะเป็นความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วน (partnership) โดยคณะเจรจาไทยได้แจ้งให้สหรัฐฯ ทราบในเบื้องต้นว่าไทยสนใจโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การค้นคว้าและวิจัย พลังงานทดแทน เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยี Nano เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และชีววิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันความร่วมมือในสาขานี้ให้มีความคืบหน้าโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันด้วยว่าในช่วงเวลาก่อนการเจรจาฯ รอบที่ 3 ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายจะทำการติดต่อประสานงานด้านข้อมูลระหว่างกันผ่าน Video Conference รวมทั้งจะมีการเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องในสาขาความร่วมมือนี้โดยตรงมาร่วมการหารือในโอกาสที่เหมาะสมต่อไปด้วย
สำหรับการหารือสาขาทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ทั้งสองฝ่ายยังคงแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับท่าทีของกันและกัน โดยเฉพาะในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งลิขสิทธิ์และบริการประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยังไม่มีการตกลงในประเด็นใดๆ ในชั้นนี้ในการหารือในสาขาสิ่งแวดล้อม คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและถาม-ตอบ ข้อสงสัยเบื้องต้นในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับร่างเอกสารท่าทีของสหรัฐฯ โดยยังไม่มีการเจรจาหรือตกลงประเด็นใดๆ ในชั้นนี้
ในการหารือสาขามาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์นั้น คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายไทยให้ความสำคัญกับประเด็นการเข้าสู่ตลาดเพื่อให้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของไทยสามารถขายในตลาดสหรัฐฯ ได้สะดวกและมีปริมาณมากขึ้น
อนึ่ง ในการประชุมภายในของฝ่ายไทยภายหลังการเจรจาฯ นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะเจรจาไทยได้กล่าวต่อผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนผู้แทนภาคเอกชนและนักวิชาการที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาว่า Ms. Barbara Weisel, Assistant USTR หัวหน้าคณะเจรจาสหรัฐฯ แจ้งกับตนว่าฝ่ายสหรัฐฯ พอใจกับการเจรจาฯ รอบที่ 2 โดยสหรัฐฯ เห็นว่าการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นระหว่างคณะเจรจาทั้งสองฝ่ายในแต่ละกลุ่มสาขามีความคืบหน้าและทำให้แต่ละฝ่ายมีความเข้าใจท่าทีของคู่เจรจามากยิ่งขึ้น ซึ่งนายนิตย์ฯ กล่าวว่าตนเองก็รู้สึกพอใจกับการเจรจาฯ ครั้งนี้เช่นกัน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของทีมเจรจาไทยซึ่งเป็นไปอย่างแข็งขันและการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายสหรัฐฯ ทั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการเจรจาความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 3 จะมีขึ้นที่นครโฮโนลูลูในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-