แท็ก
ครม.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สศช. เสนอแผนโครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วน มูลค่า 8 แสนล้านบาท นายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วนที่
จะเสนอ ครม. ใน งปม. 8 แสนล้านบาท ประกอบด้วยการลงทุนใน 4 ด้าน คือ 1) ระบบขนส่ง 2) การสื่อ
สาร 3) พลังงาน และ 4) น้ำ โครงการทั้งหมดถือเป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อให้ทันรองรับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ ซึ่ง ครม. จะช่วยพิจารณาตัดสินใจว่าจะนำเรื่องไหนขึ้นมาดำเนินการก่อน นอกจากนี้ สศช. จะเสนอ
ความเห็นชอบจาก ครม. ให้ชะลอการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะ 5 ปี 10 ปี และ 15 ปี มูลค่าประมาณ
3.3 ล้านบาท เพื่อนำปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ มาพิจารณา เนื่องจากที่ผ่านมาการเสนอโครงการต่าง ๆ ไม่มีการ
เชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. สศค. มั่นใจภายใน 5 ปี เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.3 นายนริศ ชัยสูตร ผอ.
สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย
ร้อยละ 6.3 ของจีดีพี และในปีนี้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6.7 แม้ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้ส่งผล
กระทบต่ออัตราเงินเฟ้อที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 จากที่คาดไว้ร้อยละ 3.1 ส่วนผลกระทบต่อยอดการส่งออกมี
เพียงเล็กน้อย เนื่องจากนโยบายลดการพึ่งพาสินค้าส่งออกของรัฐบาล ทำให้น้ำหนักการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน
ประเทศมีมากขึ้น จากเดิมที่ต้องพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของจีดีพี ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 60 ของจีดี
พี ด้านการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลจะยึดหลัก 3 ข้อ ในการลงทุน คือ 1) จัดลำดับความสำคัญของ
โครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ 2) เป็นโครงการลงทุนที่เกิดได้จริง และ 3) ไม่มีผลกระทบต่อ
ฐานะการคลัง (ข่าวสด, มติชน, บ้านเมือง)
3. ก.อุตสาหกรรมตั้งหน่วยงานพิเศษตรวจสอบตัวเลขการขอรับส่งเสริมการลงทุน นายพงษ์ศักดิ์
รักตพงศ์ไพศาล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้บีโอไอตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาตรวจสอบตัวเลข
การขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับอัตราการเข้ามาลงทุนที่แท้จริงตามยอดใบอนุญาต เพื่อประเมินว่ามีการเข้ามา
ลงทุนตามยอดการขอรับการส่งเสริมในแต่ละปีหรือไม่ หากพบว่ามีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว แต่ไม่มี
การเข้ามาลงทุนจริงภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือใน 3 ปี จะต้องมีการพิจารณาถึงการถอนใบอนุญาตต่อไป
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้บีโอไอพิจารณาถึงการส่งเสริมการลงทุนในส่วนของการเพิ่มและขยายโรงงาน
อุตสาหกรรมบริเวณแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยรองรับแรงงานต่างด้าวไม่
ให้เข้ามาใช้แรงงานในเมืองจนเกิดปัญหาต่อความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งให้มีการแก้กฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ให้
มีความชัดเจนและรอบคอบมากที่สุดในช่วง 3 เดือนนี้ ก่อนที่จะเสนอที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยถัดไป ทั้ง
นี้ ในปี 2544 มียอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 190,000 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 200,000
ล้านบาท และปี 2546 มีสูงถึง 300,000 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น นักลงทุนที่ยื่นขอรับการส่ง
เสริมการลงทุนยังมีบางรายไม่ได้เข้ามาลงทุนอย่างแท้จริง เพียงยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้เท่านั้น แต่ยัง
ไม่พร้อมที่จะเข้ามาลงทุน (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง)
4. FTA ไทย-สรอ. ยังไม่มีการตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รายงานข่าวจากกรมสารนิเทศ
ก.ต่างประเทศ แจ้งว่า ในการเจรจาความตกลงเสรีการค้า (FTA) ระหว่างไทย- สรอ. ในรอบที่ 2 เมื่อวัน
ที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเจรจารอบนี้ หัวข้อสำคัญที่มีการเจรจาคือ เรื่องวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อมและมาตรการสุขอนามัย โดยไทยได้เสนอความร่วมมือแบ่งเป็น 3
กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเอฟทีเอ อาทิ อุปสรรคทางการค้าและ
มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ 2) โครงการขนาดใหญ่ และ 3) กรอบความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองในภาพรวม สำหรับการหารือสาขาทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นการบังคับใช้
กฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ทั้งสองฝ่ายยังคงแลกเปลี่ยนข้อมูลและท่าทีของกันและกัน โดยเฉพาะ
ประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งลิขสิทธิ์และบริการประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยังไม่มีการ
ตกลงในประเด็นใด ๆ ในชั้นนี้ (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย สรอ.ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค.47 รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 18 ต.ค.47 The National Association of Home Builders (NAHB) เปิดเผยว่า
The housing market index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยเกี่ยวกับยอดขายและ
กำลังซื้อของผู้บริโภค ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบปีที่ระดับ 72 ในเดือน ต.ค.47 จากระดับ 67 ใน
เดือนก่อน โดยอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนว่าผู้ประกอบการมองสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในแง่ดี และสูง
กว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 68 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนองที่อยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการฟื้นตัวของสถานการณ์ที่อยู่อาศัย โดยอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะยาวได้เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 6 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
สั้นเคลื่อนไหวอยู่ใกล้เคียงระดับร้อยละ 4 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 เป็นต้นมา นอกจากนี้ NAHB ได้เปิดเผยดัชนี
ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ The housing market index 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีชี้วัดยอดขายในปัจจุบันซึ่งเพิ่มขึ้นสู่
ระดับ 78 จากระดับ 73 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับยอดขายในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพิ่ม
ขึ้นสู่ระดับ 84 จากระดับ 75 ในเดือนก่อน และดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสู่
ระดับ 54 จากระดับ 52 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์)
2. ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร รายงานจาก นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 18
ต.ค. 47 ว่า หลังจากการประกาศตัวเลขเงินทุนไหลเข้าของสรอ.ที่ชี้ว่าอุปสงค์จากต่างประเทศในการลงทุนใน
สินทรัพย์สรอ. อาจจะชะลอลงโดยในเดือน ส.ค. มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิจำนวน 59.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
เทียบกับเดือนก.ค.ที่มีเงินทุนไหลเข้า 63.1 พัน ล.สรอ. (ตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้ว) ทำให้ค่าเงินดอลลาร์
สรอ.เมื่อเทียบกับเงินยูโรซึ่งในรอบเกือบ 8 เดือนขึ้นๆลงๆ ได้ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 1.25 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
1 ยูโร ซึ่งผู้ค้าเงินกล่าวว่า ปัจจุบัน สรอ.ยังสามารถดึงดูดเงินลงทุนเพื่อรองรับการขาดดุลจำนวนมหาศาลได้
อย่างไรก็ตามหากคนอเมริกันยังคงซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าที่ธุรกิจสรอ.สามารถส่งออกสินค้าและ
บริการแล้ว เงินทุนไหลออกจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงอีก (รอย
เตอร์)
3. จีนยังคงเตรียมการปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รายงานจาก Frankfurt
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 47 รองผวก. ธ.กลางจีน เปิดเผยกับนักข่าวในการประชุมกลุ่ม G20 ( รวมทั้งชาติ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ได้แก่สรอ. ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี แคนาดา ฝรั่งเศส และอิตาลี และชาติ
เศรษฐกิจเกิดใหม่อาทิ จีน อินเดีย และซาอุดิอารเบีย) ที่ Frankfurt ว่าจีนยังคงเตรียมการปฎิรูปค่า
เงินหยวนในอนาคต โดยได้เริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต
ด้วยการปฎิรูปภาคการธนาคารเพื่อรองรับการเปิดเสรีเงินทุน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมการปฎิรูประบบ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคตทั้งนี้เงินหยวนหรือที่รู้จักกันในชื่อเงินเรนมินบิของจีนได้ผูกค่าไว้กับเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ที่ระดับประมาณ 8.28 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งได้ถูกกดดันอย่างหนักจากผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมของสรอ. เพื่อให้จีนปรับค่าเงินหยวนที่ถูกเกินความเป็นจริงซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน และ
การส่งออกของ สรอ. อย่างไรก็ตามทางการจีนได้กล่าวย้ำว่าจีนยังไม่มีแผนที่ปรับค่าเงินในทันทีทันใด แต่จะมี
การปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต นอกจากนี้ยังคาดว่าทางการจีนจะเสนอรายละเอียดการออก
จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลที่มีมูลค่าประมาณ 1.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แก่นักลงทุนใน Frankfurt ในวันอังคาร
นี้ ทั้งนี้ในการประชุมระดับรมช.คลังและเจ้าหน้าที่ธ.กลางในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผนสำหรับ
การประชุมครั้งต่อไปที่เบอร์ลินที่กำหนดจะจัดขึ้นในเดือนพ.ย. ซึ่งจะมีหัวข้อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกด้วย (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.47 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงเป็นครั้งแรกใน
รอบ 8 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 19 ต.ค.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานอัตราการว่างงาน
ในเดือน ก.ย.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอยู่ที่ร้อยละ 3.5 มีจำนวนคนทำงานทั้งสิ้น 22.57 ล้านคนลด
ลงจากอัตราร้อยละ 3.6 ในเดือน ส.ค.47 ซึ่งมีจำนวนคนทำงานทั้งสิ้น 22.35 ล้านคน ลดลงเป็นครั้งแรกใน
รอบ 8 เดือน หลังจากลดลงครั้งล่าสุดร้อยละ 3.3 ในเดือน ม.ค.47 จากร้อยละ 3.5 ในเดือน ธ.ค.46
และต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.6 จากผลสำรวจของรอยเตอร์ก่อนหน้านี้เพิ่มความหวังให้นักวิเคราะห์ว่าการใช้
จ่ายในประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซามากว่า 2 ปีได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว โดย ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ลดอัตราดอกเบี้ย
อ้างอิงในเดือน ส.ค.47 ที่ผ่านมาเหลือร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลง
ทุนในประเทศ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้อาศัยการส่งออกซึ่งขยายตัวมากกว่าร้อยละ 40 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่
เดือน มิ.ย. ปีที่แล้วเป็นตัวผลักดันโดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่มีสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด แต่
ในช่วงหลังเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัวจากมาตรการของรัฐบาลจีนที่พยายามลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงซึ่ง
คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและอาจทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้ขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5.0 ตาม
ที่รัฐบาลคาดไว้ หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีก่อน ในขณะที่สถาบันวิจัยของภาคเอกชนคาดว่าเศรษฐกิจในปี
นี้จะขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ต.ค. 47 18 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.462 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2689/41.5534 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6875-1.7000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 646.51/ 10.08 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.28 37.58 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช. เสนอแผนโครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วน มูลค่า 8 แสนล้านบาท นายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วนที่
จะเสนอ ครม. ใน งปม. 8 แสนล้านบาท ประกอบด้วยการลงทุนใน 4 ด้าน คือ 1) ระบบขนส่ง 2) การสื่อ
สาร 3) พลังงาน และ 4) น้ำ โครงการทั้งหมดถือเป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อให้ทันรองรับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ ซึ่ง ครม. จะช่วยพิจารณาตัดสินใจว่าจะนำเรื่องไหนขึ้นมาดำเนินการก่อน นอกจากนี้ สศช. จะเสนอ
ความเห็นชอบจาก ครม. ให้ชะลอการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะ 5 ปี 10 ปี และ 15 ปี มูลค่าประมาณ
3.3 ล้านบาท เพื่อนำปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ มาพิจารณา เนื่องจากที่ผ่านมาการเสนอโครงการต่าง ๆ ไม่มีการ
เชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. สศค. มั่นใจภายใน 5 ปี เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.3 นายนริศ ชัยสูตร ผอ.
สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย
ร้อยละ 6.3 ของจีดีพี และในปีนี้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6.7 แม้ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้ส่งผล
กระทบต่ออัตราเงินเฟ้อที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 จากที่คาดไว้ร้อยละ 3.1 ส่วนผลกระทบต่อยอดการส่งออกมี
เพียงเล็กน้อย เนื่องจากนโยบายลดการพึ่งพาสินค้าส่งออกของรัฐบาล ทำให้น้ำหนักการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน
ประเทศมีมากขึ้น จากเดิมที่ต้องพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของจีดีพี ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 60 ของจีดี
พี ด้านการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลจะยึดหลัก 3 ข้อ ในการลงทุน คือ 1) จัดลำดับความสำคัญของ
โครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ 2) เป็นโครงการลงทุนที่เกิดได้จริง และ 3) ไม่มีผลกระทบต่อ
ฐานะการคลัง (ข่าวสด, มติชน, บ้านเมือง)
3. ก.อุตสาหกรรมตั้งหน่วยงานพิเศษตรวจสอบตัวเลขการขอรับส่งเสริมการลงทุน นายพงษ์ศักดิ์
รักตพงศ์ไพศาล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้บีโอไอตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาตรวจสอบตัวเลข
การขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับอัตราการเข้ามาลงทุนที่แท้จริงตามยอดใบอนุญาต เพื่อประเมินว่ามีการเข้ามา
ลงทุนตามยอดการขอรับการส่งเสริมในแต่ละปีหรือไม่ หากพบว่ามีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว แต่ไม่มี
การเข้ามาลงทุนจริงภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือใน 3 ปี จะต้องมีการพิจารณาถึงการถอนใบอนุญาตต่อไป
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้บีโอไอพิจารณาถึงการส่งเสริมการลงทุนในส่วนของการเพิ่มและขยายโรงงาน
อุตสาหกรรมบริเวณแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยรองรับแรงงานต่างด้าวไม่
ให้เข้ามาใช้แรงงานในเมืองจนเกิดปัญหาต่อความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งให้มีการแก้กฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ให้
มีความชัดเจนและรอบคอบมากที่สุดในช่วง 3 เดือนนี้ ก่อนที่จะเสนอที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยถัดไป ทั้ง
นี้ ในปี 2544 มียอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 190,000 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 200,000
ล้านบาท และปี 2546 มีสูงถึง 300,000 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น นักลงทุนที่ยื่นขอรับการส่ง
เสริมการลงทุนยังมีบางรายไม่ได้เข้ามาลงทุนอย่างแท้จริง เพียงยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้เท่านั้น แต่ยัง
ไม่พร้อมที่จะเข้ามาลงทุน (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง)
4. FTA ไทย-สรอ. ยังไม่มีการตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รายงานข่าวจากกรมสารนิเทศ
ก.ต่างประเทศ แจ้งว่า ในการเจรจาความตกลงเสรีการค้า (FTA) ระหว่างไทย- สรอ. ในรอบที่ 2 เมื่อวัน
ที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเจรจารอบนี้ หัวข้อสำคัญที่มีการเจรจาคือ เรื่องวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งแวดล้อมและมาตรการสุขอนามัย โดยไทยได้เสนอความร่วมมือแบ่งเป็น 3
กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเอฟทีเอ อาทิ อุปสรรคทางการค้าและ
มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ 2) โครงการขนาดใหญ่ และ 3) กรอบความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองในภาพรวม สำหรับการหารือสาขาทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นการบังคับใช้
กฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ทั้งสองฝ่ายยังคงแลกเปลี่ยนข้อมูลและท่าทีของกันและกัน โดยเฉพาะ
ประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งลิขสิทธิ์และบริการประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยังไม่มีการ
ตกลงในประเด็นใด ๆ ในชั้นนี้ (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย สรอ.ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค.47 รายงาน
จากนิวยอร์กเมื่อ 18 ต.ค.47 The National Association of Home Builders (NAHB) เปิดเผยว่า
The housing market index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยเกี่ยวกับยอดขายและ
กำลังซื้อของผู้บริโภค ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบปีที่ระดับ 72 ในเดือน ต.ค.47 จากระดับ 67 ใน
เดือนก่อน โดยอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนว่าผู้ประกอบการมองสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในแง่ดี และสูง
กว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 68 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนองที่อยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการฟื้นตัวของสถานการณ์ที่อยู่อาศัย โดยอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะยาวได้เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 6 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
สั้นเคลื่อนไหวอยู่ใกล้เคียงระดับร้อยละ 4 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 เป็นต้นมา นอกจากนี้ NAHB ได้เปิดเผยดัชนี
ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ The housing market index 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีชี้วัดยอดขายในปัจจุบันซึ่งเพิ่มขึ้นสู่
ระดับ 78 จากระดับ 73 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับยอดขายในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพิ่ม
ขึ้นสู่ระดับ 84 จากระดับ 75 ในเดือนก่อน และดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสู่
ระดับ 54 จากระดับ 52 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์)
2. ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร รายงานจาก นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 18
ต.ค. 47 ว่า หลังจากการประกาศตัวเลขเงินทุนไหลเข้าของสรอ.ที่ชี้ว่าอุปสงค์จากต่างประเทศในการลงทุนใน
สินทรัพย์สรอ. อาจจะชะลอลงโดยในเดือน ส.ค. มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิจำนวน 59.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
เทียบกับเดือนก.ค.ที่มีเงินทุนไหลเข้า 63.1 พัน ล.สรอ. (ตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้ว) ทำให้ค่าเงินดอลลาร์
สรอ.เมื่อเทียบกับเงินยูโรซึ่งในรอบเกือบ 8 เดือนขึ้นๆลงๆ ได้ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 1.25 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
1 ยูโร ซึ่งผู้ค้าเงินกล่าวว่า ปัจจุบัน สรอ.ยังสามารถดึงดูดเงินลงทุนเพื่อรองรับการขาดดุลจำนวนมหาศาลได้
อย่างไรก็ตามหากคนอเมริกันยังคงซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าที่ธุรกิจสรอ.สามารถส่งออกสินค้าและ
บริการแล้ว เงินทุนไหลออกจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงอีก (รอย
เตอร์)
3. จีนยังคงเตรียมการปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รายงานจาก Frankfurt
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 47 รองผวก. ธ.กลางจีน เปิดเผยกับนักข่าวในการประชุมกลุ่ม G20 ( รวมทั้งชาติ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ได้แก่สรอ. ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี แคนาดา ฝรั่งเศส และอิตาลี และชาติ
เศรษฐกิจเกิดใหม่อาทิ จีน อินเดีย และซาอุดิอารเบีย) ที่ Frankfurt ว่าจีนยังคงเตรียมการปฎิรูปค่า
เงินหยวนในอนาคต โดยได้เริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต
ด้วยการปฎิรูปภาคการธนาคารเพื่อรองรับการเปิดเสรีเงินทุน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการเตรียมการปฎิรูประบบ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคตทั้งนี้เงินหยวนหรือที่รู้จักกันในชื่อเงินเรนมินบิของจีนได้ผูกค่าไว้กับเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ที่ระดับประมาณ 8.28 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งได้ถูกกดดันอย่างหนักจากผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมของสรอ. เพื่อให้จีนปรับค่าเงินหยวนที่ถูกเกินความเป็นจริงซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน และ
การส่งออกของ สรอ. อย่างไรก็ตามทางการจีนได้กล่าวย้ำว่าจีนยังไม่มีแผนที่ปรับค่าเงินในทันทีทันใด แต่จะมี
การปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต นอกจากนี้ยังคาดว่าทางการจีนจะเสนอรายละเอียดการออก
จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลที่มีมูลค่าประมาณ 1.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แก่นักลงทุนใน Frankfurt ในวันอังคาร
นี้ ทั้งนี้ในการประชุมระดับรมช.คลังและเจ้าหน้าที่ธ.กลางในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผนสำหรับ
การประชุมครั้งต่อไปที่เบอร์ลินที่กำหนดจะจัดขึ้นในเดือนพ.ย. ซึ่งจะมีหัวข้อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกด้วย (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.47 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงเป็นครั้งแรกใน
รอบ 8 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 19 ต.ค.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานอัตราการว่างงาน
ในเดือน ก.ย.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอยู่ที่ร้อยละ 3.5 มีจำนวนคนทำงานทั้งสิ้น 22.57 ล้านคนลด
ลงจากอัตราร้อยละ 3.6 ในเดือน ส.ค.47 ซึ่งมีจำนวนคนทำงานทั้งสิ้น 22.35 ล้านคน ลดลงเป็นครั้งแรกใน
รอบ 8 เดือน หลังจากลดลงครั้งล่าสุดร้อยละ 3.3 ในเดือน ม.ค.47 จากร้อยละ 3.5 ในเดือน ธ.ค.46
และต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.6 จากผลสำรวจของรอยเตอร์ก่อนหน้านี้เพิ่มความหวังให้นักวิเคราะห์ว่าการใช้
จ่ายในประเทศที่อยู่ในภาวะซบเซามากว่า 2 ปีได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว โดย ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ลดอัตราดอกเบี้ย
อ้างอิงในเดือน ส.ค.47 ที่ผ่านมาเหลือร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลง
ทุนในประเทศ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้อาศัยการส่งออกซึ่งขยายตัวมากกว่าร้อยละ 40 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่
เดือน มิ.ย. ปีที่แล้วเป็นตัวผลักดันโดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่มีสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด แต่
ในช่วงหลังเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัวจากมาตรการของรัฐบาลจีนที่พยายามลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงซึ่ง
คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและอาจทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้ขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5.0 ตาม
ที่รัฐบาลคาดไว้ หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีก่อน ในขณะที่สถาบันวิจัยของภาคเอกชนคาดว่าเศรษฐกิจในปี
นี้จะขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ต.ค. 47 18 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.462 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2689/41.5534 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6875-1.7000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 646.51/ 10.08 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.28 37.58 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-