นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปาฐกถา เรื่อง นโยบายกระทรวงพาณิชย์ในการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันการค้าไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 19, 2004 16:15 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

        "กราบเรียนพณฯ ท่านรองนายกรัฐมนตรีท่าน ร้อยเอกสุชาติ  เชาว์วิศิษฐ ท่านนายกสมาคมการค้า ท่านรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ท่านอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ท่านประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่าน ส.ส.วิชิต ปลั่งศรีสุข ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ วันนี้ผมต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากสภาหอการค้าไทย ได้เชิญมาบรรยายพิเศษในการสัมมนาในวันนี้ ผมถือว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้มา เพราะงานสัมมนาที่ได้จัดขึ้น วันนี้เป็นงานสำคัญงานหนึ่งเป็นการย่างก้าวใหม่ที่สำคัญของประเทศที่จะผลักดันให้ระบบการค้าของเรานั้น เดินก้าวสู่ทศวรรษใหม่อย่างมั่นคงและยั่งยืน หัวข้อที่ผมจะมาบรรยายในวันนี้ เป็นเรื่องของ นโยบายกระทรวงพาณิชย์ ในการส่งเสริมและพัฒนาการค้าสำหรับทศวรรษใหม่แห่งสถาบันการค้าไทย ก่อนที่ผมจะนำเสนอนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ผมใครขอเสนอแนวคิดของผมเองก่อนว่าทศวรรษใหม่ของสถาบันการค้าหมายถึงอะไร นัยสำคัญเข้าสู่ทศวรรษใหม่นั้นคืออะไร และจะมาเกี่ยวข้องกับสถาบันการค้าที่ท่านดูแลอย่างไรบ้าง สิ่งแรกในทศวรรษใหม่การค้านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเชื่อมโยงการสื่อสารที่ไร้พรมแดน การสื่อสารที่ไร้พรมแดนหรือ Instant Communication นั้นกับ Bordereres เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบการค้าต่างๆ ที่เราเคยทำมานั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงไปเกือบทั้งหมด สิ่งที่สองคือระบบ Networking เป็นสิ่งที่สำคัญมากพันธมิตรทางการค้าที่รื้อระบบเครือข่ายที่เราจะมีการสัมมนาในภาคบ่ายนั้น เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทั้งหมดรวมทั้งระบบ Business Alinevance ระบบพันธมิตรก็คือกลไกสำเร็จมีบทบาทสำคัญทั้งสี่เรื่องก็คือ Bordereres , Instant Communication , Networking , Alinevance ผลักดันอยู่ทุกวันในเรื่องการเจรจาการค้าเสรีเรื่อง FTA เรื่องการสื่อสารการเชื่อมโยงที่พ่อค้าทุกคน ผู้นำเข้า ผู้สั่งสินค้าต่างๆ จากต่างประเทศ ซึ่งสามารถ Search สินค้าได้ทั่วโลกที่ระบบการค้าเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่เกี่ยวข้องกับสี่ตัวนี้ ซึ่งจะยกตัวอย่างสองสามตัวอย่าง เมื่อท่านได้มองเห็นรายได้ชัดเจนในสิบกว่าปีที่ผ่านมามีการแลกเริ่มว่าสินค้าแต่ละตัวนั้นมีการขึ้นราคา ปรับตัวขึ้นราคาตลอดเวลา วิธรการบริการการจัดการระบบ Logistic ต่างๆ ก็นำเข้ามาใช้ สิ่งเหล่านี้ก็มีบริษัท ที่คิดขึ้นมาบริษัทแรก พ๊อกเกอร์แอนด์แกรมเมอร์ หรือ P&G คิดขึ้นมาก็คิดระบบเครือข่าย Logistic ทั้งหมด นั่นคือจะเปลี่ยนฐานการผลิตโดยใช้ระบบ ICT มาเป็นฐาน ซึ่งตรงนี้จะลด
เรื่องของ Warehouse นั้นก็คือ P&G มี Warehouse ทั่วโลกอยู่ทุกที่ ปัจจุบันบริษัทนี้จะส่งสินค้า Supplier จะเป็น Warehouse ให้ นั่นก็คือ ทุกคนที่ส่งของให้P&G นั้นมีฐานการผลิตแล้วส่งไปยังสาขาต่างๆ การควบคุมอย่างนี้ระบบขนส่ง ระบบ Elementary ระบบโกดัง Warehouse การทำ Production สาขาต่างๆ นั้น ได้ลกเงินค่าใช้จ่ายไป 25% หลังจากนั้น บริษัทไปเพิ่มเงินค่าการจัดการให้กับ Supplier 5% บริษัทจะได้กำไรเพิ่มขึ้นอีก 20% ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ใหม่ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วมีการพัฒนาขึ้นมา แล้วก็ได้ประโยชน์และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ต่อมาก็มีหลายๆ บริษัทเริ่มเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น JC Penny จะเห็นว่าอุตสาหะกรรมที่เรามองว่ายากลำบาก อย่างเช่น เสื้อผ้า JC Penny นั้นได้มีการเชื่อมโยงการออกแบบระบบคล้าย P&G คือว่า ผู้ที่บริโภคนั้นมาสั่งตัดเสื้อหนึ่งตัว เพราะว่าคนอเมริกันนั้นมีไซน์ผิดปรกติ ผู้ตัดเย็บอยู่ประเทศไทย พอสั่งคนรับ Order ที่สาขาแห่งหนึ่ง สมมติว่า ชิคาโกรับ Order สาขาแล้ว วัดขนาดแล้ว รับเงินเสร็จ Order นั้นจะส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากที่ชิคาโกมายังเมืองไทย เมืองไทยก็ตัดเย็บเสร็จภายใน 3 วัน ส่งกลับไปถึงนั้น ลูกค้าหลังจากรับ Order แล้วได้รับเสื้อที่ตัดเสร็จไป ด้วยการตัดเย็บของช่างฝีมือคนไทย ภายใน 7 วัน รับเสื้อเรียบร้อยนี่คือ ระบบใหม่ นั่นคือ JC Penny ไม่จำเป็นจะจ้องมีคนที่มานั่งคอยตัด คอยบริการ นั่งเย็บเบอร์ สินค้าจะส่งถึงมือผู้บริโภคภายใน 7 วัน
ซึ่งระบบตรงนี้ทำให้การเชื่อมโยงการสื่อสารของระบบที่ไร้พรมแดน มันเป็นจริงที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่จริงของการค้า ขณะเดียวกันคนที่สั่งสินค้าหลายยี่ห้อ หลายBrand ตอนนี้ยังเอ่ยถึงไม่หมด ห้างใหญ่ๆ หรือ Department ใหญ่ๆ ก็เปลี่ยนระบบใหม่ ในอดีตเคยสั่ง Exporter จากเมืองไทยถึง 15 ราย เขาก็ยุบรวมเหลือเพียง 2-3 ราย นั่นก็คือ Exporter 10 กว่ารายนั้น จะนำส่งสินค้ามายัง Center ใด Center หนึ่ง แล้วคนนั้นก็จะได้รวบรวมสินค้าใส่ Container ออกไปส่งให้ยังสาขาต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องไปที่สำนักงานใหญ่เพื่อ Stock อีกต่อไป นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น ที่นี้ในอนาคต ผมได้เดินทางไปพบร้านเกี่ยวกับโกลเซอร์รี่หลาย ๆ แห่ง ก็กำลังปรับเปลี่ยนระบบ เพราะสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ชีวิตประจำวัน อาหาร หรือสิ่ง ๆ ที่กินต้องใช้นั้น คนซื้อซื้อจากหลากหลายผู้ส่งออก นั้นมากมายหลากหลายกว่าส่งสินค้าไป ผู้ซื้อก็ยากลำบากในการพูดคุยเจรจา เค้าก็คิดว่าในการที่สินค้าที่ไปขายตัวหนึ่งจะวางในห้าง Department ต่างๆ นั้นมีมากหลายร้อยแห่ง บางห้างใหญ่ ๆ เป็นพันๆ แห่ง สินค้าบางตัวที่ SMEs ผลิตเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาก แต่พอไปเสนอขายทำไมไม่ซื้อ เพราะว่าสั่งเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม Container ค่าขนส่งค่าการจัดการมีมูลค่ามากกว่าตัวสินค้า ดังนั้นบางครั้ง SMEs จึงไม่สามารถไปขายในห้างใหญ่ๆ ได้ทั้งนี้ผู้ต้องการซื้อมาก ทางบริษัทใหญ่ๆ โกลเซอร์รี่ ปัจจุบันแม้จะมาตั้งเป็น Trading Firm เพื่อจะรวมซื้อสินค้าต่างๆ ที่เขาชอบนั้น แล้วก็บรรจุให้อยู่ Container ส่งไปยังสาขาต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การบริการจัดการนั้นประหยัดเงิน หรือระบบการจัดการตอนนี้จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต แล้วคิดว่านับต่อจากนี้ไปการปรับตัวตรงนี้จะยิ่งใหญ่มาก ในทศวรรษใหม่ของการค้าเมื่อเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้แล้ว สูตรสำเร็จที่เราเคยทำการอยู่ทุกวัน หรือ Brand การค้าที่เราทำอยู่ในปัจจุบันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือว่า เราจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น ข้อพึงตระหนักที่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำอย่างไร จะต้องทำไปทุกมิติในลักษณะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรับกับทศวรรษใหม่ คำถามที่ว่า แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงกันอย่างไร?
อันนี้ก็คือบทบาทที่สำคัญของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการค้าหลายจังหวัดที่ต้องมีการประชุมหารือพัฒนากัน ว่าจะกำหนดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร้บ้าง และวิธีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงก็คือ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสิ่งแรก เราต้องกำหนดวิสัยทัศน์แห่งภาระกิจ จากนั้นจึงกำหนดจุดยุทธศาสตร์แนวทางต่างๆ เพื่อให้บรรลุภาระกิจนั้นๆ ไป แนวนโยบายนั้นกระทรวงพาณิชย์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างรายได้ที่ยั่งยืน เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนทุกระดับในการสร้างความเจริญให้กับประเทศนั้น
วิสัยทัศน์แห่งภาระกิจกระทรวง การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะว่าแต่ละจังหวัดนั้นมีข้อแตกต่าง มีวัตถุดิบที่แตกต่าง มีผู้ประกอบการ การผลิตที่แตกต่างนั้น สถาบันการค้าแต่ละจังหวัด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาดูว่าสิ่งที่ตนเองมีนั้นมีอะไร ท่านจะเป็นคนรวบรวมซื้อวัตถุดิบต่างจังหวัด จากจังหวัดตัวเอง ไปซื้อจังหวัดอื่น หรือไปซื้อนอกประเทศ การรวมกลุ่มที่จะประหยัดเงินค่าใช้จ่าย การขนสินค้าจังหวัดไปขายจังหวัดอื่น หรือไปต่างประเทศ ถ้ารวมกลุ่มก็จะถูกลง ขณะเดียวกัน ซื้อออกไปแล้ว ท่านทำบังไง เที่ยวกลับที่ขนเที่ยวเปล่า จะต้องมีการขนถ่ายสินค้ากลับมาด้วย เพราะฉะนั้นแล้ว ท่านส่งสินค้ากลับไปขายเสร็จ ขากลับวิ่งเที่ยวเปล่า
ค่าขนส่งเป็นสองเท่านั้น การบริหารการจัดการ ระบบการสื่อสาร ICT หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการบริหารการจัดการ ซึ่งตรงนี้พอกำหนดจุดวิสัยทัศน์ได้ว่า จะเอาอะไรในจังหวัด ถ้าบอกว่าในจังหวัดเอาอะไรก็จะกว้าง แต่ถ้าแบ่งกลุ่มเป็น Cluster มันจำทำให้จำกัด ภาระกิจแต่ละกลุ่มลงชัดเจนขึ้น ความโต้แย้งความขัดแย้งก็จะลดลง และเชื่อมโยงระหว่าง Cluster ต่อ Cluster ก็มีความสำคัญในเรื่องระบบบริหารการจัดการ เรื่อง Logistic ซึ่งตรงนี้ ที่สถาบันการค้าจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์แนวทางที่จะดำเนินการ ซึ่งไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าแต่ละจังหวัดทำการอย่างไร ซึ่งจะยกตัวอย่างวิสัยทัศน์กระทรวงพาณิชย์และยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางของสถาบันการค้าให้ดู สี่ประการ คือ
ประการแรก มิติของประเทศเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจฐานราก ของประเทศเราก็กำหนดยุทธศาสตร์ว่า เราก็ต้องมี SMEs ที่เข้มแข็งและต้องมีมาตรฐานที่โปร่งใส มีเครือข่ายและระบบความร่วมมือกับรัฐ ระหว่างรัฐและเอกชนเรื่อง SMEs ที่เข้มแข็ง สถาบันการค้าต่างจังหวัดนั้นสำคัญที่สุด ได้กล่าวนำในเบื้องต้น ทศวรรษใหม่ในการเปลี่ยนแปลงนั้น บริษัทที่ทำขนาดเล็ก SMEs เสียเปรียบ ลองคิดดูว่าท่านอยู่จังหวัดเชียงใหม่ใหญ่ๆ มีสินค้า SMEs ขายดีมากๆ แต่พอจะไปขาย 76 จังหวัด เกิดปัญหาทันทีเพราะสินค้าต้องวิ่งไปเที่ยวหนึ่ง สินค้าคนเดียวไปขาย 76 จังหวัดค่าขนส่งกินหมด ถ้าจะประหยัดค่าขนส่งต้องรวมกลุ่มสินค้าทุกกลุ่ม ว่าใครบ้างจะไปจังหวัดไหน รวมรถขนไปเที่ยวเดียว จะมีวิธีการต่างๆ รวมกลุ่มกันและก็จะขนไปด้วยกัน ส่งพร้อมกันมีการวางแผนรวมกัน ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะมีการบริหารการจัดการ จะซื้อสินค้าอะไรเข้ามา ตรงนี้สถาบันการค้าต่างจังหวัดสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้ นั้นภาระกิจทั้งหมดที่ทำของกระทรวงพาณิชย์ ก็ดำเนินการเรื่องSMEs เข้มแข็งเพิ่มขึ้นมาอีก หมายถึงว่ากระทรวงพาณิชย์ต้องดำเนิการนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs เป็นทั้งระดับมหภาคและสาขา นั้นการดำเนินการให้เข้มแข็ง เราจะไปดูเรื่องเทคนิคการตลาด เทคนิคการจัดการสินค้าว่ามีการผลิตขึ้นมาขายหรือไม่ เพราะบางคนผลิตสินค้าขึ้นมาคุณภาพสูง ของคนหน้าใช้แต่ระบบ Packaging ไม่ดี กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดูว่า ต้องปรับระบบ Packaging ไหม ว่าต้องใส่ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ขณะเดียวกันจะดูด้วยว่า Logoตัวหนังสือคำบรรยายนั้น ถูกใจผู้บริโภคหรือไม่ และก็ช่วยให้คำแนะนำ การพัฒนาสินค้า SMEs นั้น จะสู่ตลาดสากลนั้น จะต้องทำอย่างไรบ้าง แต่สิ่งเดียวกันสิ่งที่เราแนะนำไม่ได้ ก็ต้องเป็นภาคเอกชน ก็ต้องทำอย่างยิ่งก็คือ การรวมตัวกัน การเจรจาการค้ากันขึ้น เพราะมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง กระทรวงเข้าไปดูอย่างไร ก็ช่วยเจรจาไม่ได้ เพราะว่าผลกำไรเท่าไหร่ กลุ่มสินค้าตัวนี้จะต้องการกำไรเท่าไหร่ การบริการการจัดการเท่าไหร่ นั้นเป็นหน้าที่ของท่านโดยตรง ซึ่งตรงนี้สถาบันการค้าแต่ละจังหวัดจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการรวมกลุ่ม SMEs ต่างๆ ขึ้นมา เป็นตัวแทนในการเจราจา ต่อรองดูแลในภาพรวมทั้งหมด และเชื่อมโยงขนส่งพาณิชย์ในการพัฒนาต่อในเรื่อง การทำตลาด กระทรวงพาณิชย์จะมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนเอง นั่นก็คือว่า เมื่อมีตลาดสินค้าสำคัญ ตลาดใดตลาดหนึ่งในตลาด เราก็สามารถนำพาสถาบันการค้านำธุรกิจของท่านนั้น ไปสู่ตลาดต่อประเทศไทยได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ
ประการที่ 2 มาตรฐานและความโปร่งใส บริษัทที่ดี มาตรฐานการโปร่งใสที่ดีมาก กระทรวงพาณิชย์ก็ส่งเสริมการปรับการบริหารการจัดการให้มีมาตรฐานความโปร่งใส เพราะระบบการบริหารการจัดการโปร่งใสนับวันจะมีรุนแรงมากขึ้น เพราะสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้สินค้าส่งไปขายในต่างประเทศนั้น ก็จะมีการป้องกันการก่อการร้ายสินค้าทุกอันต้องตรวจระบบ Safety ความปลอดภัยทั้งหมด ตรวจสอบแม้กระทั่งว่า ที่มาของบริษัทมีมาตรฐานในเรื่องของการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ แรงงาน ของคนทำงานหรือความสะอาด ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ นั้นความโปร่งใสการบริการการจัดการสำคัญ นอกจากนั้นคนที่ทำสินค้า เรื่องเกี่ยวกับเกษตร หรือกลุ่มสินค้าเกษตรนั้น ต่อไปท่านจะส่งสินค้าผลิต My product ของเกษตรจะส่งออกไม่ได้ถ้าไม่รู้ว่าที่ผลิตนั้น ผักที่ใช้ทำจากฟาร์มตำบลไหน หมู่บ้านไหน Tasty ตรงนี้มีนั้นระบบการเชื่อมโยง Contact Firming นั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีความชัดเจน การเชื่อมโยงต่างๆ เหล่านี้ การTest ผ่านสิ่งเหล่านี้จะต้องมีให้ผู้ซื้อนั้นสามารถ Test ได้ สินค้าทุกตัวเน้นความโปร่งใส ความปลอดภัยนั้นเป็นหลักใหญ่ในอนาคตและคงถูกบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้
ประการที่ 3 ที่กระทรวงพาณิชย์เน้นอย่างมากคือ เรื่องเครือข่ายและระบบกระทรวงพาณิชย์ต้องการเน้นการเชื่อมโยง Cluster แนวคิดเรื่องระบบต่าง ๆ Supply Chain มาใช้เป็นประโยชน์ เรื่องเครือข่ายในระบบตรงนี้เหตุผลที่ต้องทำเพราะเกี่ยวข้องกับระบบ Logistic นั่นคือ มันจะลดต้นทุนในการที่จะผลิตสินค้า ลดต้นทุนในรายสินค้าทุกอย่างที่ต้องการทำ อย่างที่กล่าวนำเบื้องต้น รวมทั้งระบบบริหารการจัดการในเรื่องการซื้อขาย ซึ่งตรงนี้จะสังเกตว่าต้นทุนในการผลิตสินค้าบางครั้งผลิตอยู่สินค้า 1 ชิ้น 100 บาท แต่ถึงปลายทางราคาต้นทุนบวกค่าการบริหารการจัดการแล้วขึ้นไปถึง 200-300 บาท ถ้าอุตสาหกรรมที่ส่งออกจริง ๆ เก่ง ๆ Logistic กินเข้าไปถึง 50 - 0 บาท ซึ่งจะสูงเกินไป ในประเทศใหญ่แล้ว ระบบ Logistic ไม่น่าจะเกิน 20 % ยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะต่ำกว่า ของประเทศเรายิ่งสินค้า Logistic สูงมากบางที่สูงเท่าตัว ซึ่งตรงนี้ โอกาสทำกำไรของเจ้าของกิจการมีโอกาสมากการที่จะสร้างเครือข่ายระบบทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง
ประการที่ 4 การร่วมมือรัฐกับเอกชน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ผสานและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนตลอดเวลา โดยการที่เชื่อมโยงในการค้าในการทำตลาดทุกด้านหรือการแสดงสินค้าต่างๆจากยุทธศาสตร์ทั้งหมด เราก็กำหนดภาระกิจขึ้นมายู่ที่ 5 ภารกิจ ก็คือ ภาระกิจแรกการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ โดยเน้นการพัฒนาในเชิงรุก การจัดทำเขตการค้าเสรี เพื่อจะให้โอกาสที่เราค้าขายนั้นกว้างขึ้น การทำเขตการค้าเสรีหลายคนยังมองภาพรวมที่แตกต่าง บางคนมองว่าสิ่งหนึ่งที่เราเจรจาแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างมาก ยกตัวอย่างในประเทศจีน บางคนบอกว่าภาคเหนือเราขายกระเทียมสู้จีนไม่ได้ แต่คิดดูในประเทศเรามองเรื่องกระเทียมเป็นแค่เพียงกี่เปอร์เซ็นต์ ยอดกระเทียมทั้งปีเราขายไม่ถึง 20 ล้าน แต่สินค้ารวมทั้งหมดตั้งแต่เราเจรจา FTA ผลไม้ ผักสด เราได้ดุลการค้าเฉพาะผักผลไม้อย่างเดียวประมาณ 200 กว่าล้านเหรียญ ซึ่งจะเห็นว่าวิธีการเจรจา FTA นั้น เรามองว่าประเทศไทย มีประชากร 63 ล้านคน จีนมี 1,300 ล้านคน จีนนำผลไม้ให้คนไทยกอนอย่างเก่งได้คนละลูก ไทยผลิตทุเรียน ขอให้จีนกินทุเรียน 1 พูล หนึ่งลูกกินได้ 4 คน 1,300 ล้านคน ต้องมี 400 ล้านลูก พอขายไหม? ในขณะเดียวกันเมื่อเจรจาอย่างนี้ เราไม่พยายามเจรจา FTA ประเทศเดียว เราต้องเจรจาหลายๆ ประเทศ เพื่อที่จะให้เราเป็น Center เช่น เจรจาอินเดีย 1,000 กว่าร้อยล้านคน แต่ผู้บริโภคภายในเราจำกัดเท่าเดิม แต่ตัวเลขการส่งออกต้นปีถึงกลางปี ปรากฏว่ากับประเทศจีน
เราได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้น มีการค้าเพิ่มขึ้นถึง 30% โดยเฉลี่ยบางครั้งก็ 40% ต่ำสุด 30% อินเดียก็เพิ่มขึ้นประมาณ 30% จะเห็นว่าเราได้ดุลเพิ่มขึ้นทั้งหมด นั้นการเจรจายิ่งมากประเทศยิ่งได้ประโยชน์เพราะว่าผู้บริโภคภายในมีขีดจำกัด ยกตัวอย่าง ออสเตรเลียเจรจาการค้า เรื่องโค เนื้อ นม เราเสียเปรียบ แต่ปัจจุบันเราก็สั่งนมจากต่างประเทศอยู่แล้ว และสั่งเกินกว่าที่ WTO กำหนด นั้นการสั่งเกินอยู่นี้ ปัจจุบันเราผลิตนมได้พอหรือไม่ เราผลิตไม่ได้แต่ถ้าบังคับใช้ FTA เรามีอายุในแต่ละเงื่อนไขมีอายุการเจรจา FTA บางตัว เราเห็นแก่เกษตรกร เมื่อผลิตนมแล้วไม่สามารถแข่งขันไดเราก็ต้องยืดอายุไปว่า ต้องใช้เวลา 20 ปีในการจะบังคับใช้ ซึ่งก็เป็นหัวใจสำคัญ ประโยชน์ของ FTA มีเยอะมาก เพียงแต่ว่าบางตัวที่เสียเปรียบนั้น เราคงต้องให้รัฐหาทางแก้ไขพยุงและช่วยเหลือก็คงไม่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรมากนัก ซึ่งตรงนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการ
ในอนาคต สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อมีการเจรจา FTA แล้ว ผู้ประกอบการทุกท่านที่ทำการค้าอยู่ ท่านก้าวตามทันรัฐหรือไม่ในการที่เราจะไปค้าขายกับประเทศที่เราเจรจา FTA แล้ว เพราะว่าหลายคน Exporter ใหญ่ๆ ในกรุงเทพเราไปเจรา FTA เขาตอบว่าตอนนี้กำลังการผลิตเต็มที่แล้วและก็ผลิตได้เต็มที่ กิจการกำไรขณะนี้ Enjoy Profit ขณะนี้ไม่อยากขยายเพิ่ม นี้เป็นโอกาสทองของบริษัทที่เป็น SMEs หรือขนาดกลาง ขนาดย่อมลงมาโอกาสที่จะไปแทรกแซงตลาดธุรกิจเป็นวัฏจักร Firm ธุรกิจบาง Firm ใหญ่ๆ ขึ้นมา พอถึงขีดหนึ่งหยุดอิ่มตัวไม่อยากขยับขยายแล้วเพราะบริหารจัดการไม่ได้ นั้นเป็นโอกาสแทรกตัวของคนรุ่นหนุ่มรุ่นแล้วที่จะแทรกตัวแซงขึ้นไป ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาสอันดีงามที่จะสร้างรายได้ขึ้นมา ปัจจุบันตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นเรื่องการเจรจา FTA เห็นบอกว่ารู้ทันนายกทักษิณ ถ้ารู้ทันจริงต้องไปทำการค้าขายต่อเนื่อง เพื่อเอากำไรเข้าประเทศ อันนี้สำคัญที่สุด ภาระกิจที่สอง คือภาระกิจที่ยกระดับราคาสินค้าเกษตร เพราะประเทศเราเป็นเกษตรกรรม Product ต่างๆ ที่เราทำออกมานั้น เราต้องไปขายต่างประเทศ เกษตรกรรมถ้ามีราคาขึ้นมาการยกระดับราคาสินค้าเราคงจะทำแบบเดิมคือ ขนวัตถุดิบเป็นผลไม้ล้วนๆ ออกไปคงจะไม่ได้ จากปัจจุบันเอาทุเรียนไปขาย ขายดีระดับหนึ่ง สำหรับคนที่เคยกินแล้ว คนต่างประเทศที่เคยกิน ก็ต้องรู้จักวิธีการปลอกทุเรียน ที่ยกตัวอย่างทุเรียนเพราะเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ทุเรียนยกไปลูกหนึ่ง คนไทยด้วยกันบางคนยังปลอกไม่เป็น คนต่างชาติที่เคยกินทุเรียนก็ยังปลอกไม่เป็น ปล่อยทิ้งไว้จนเน่า ฉะนั้นการยกระดับราคาสินค้าเกษตร ปัจจุบันเราเน้นในการแปรรูปเกษตร นั่นคือ ทุเรียนที่จะส่งไปจะต้องแกะเห็นเม็ด แล้วใส่กล่องมีฟิล์มปิดเป็น Membrand สามารถหายใจได้ แล้วเก็บได้ 1 เดือน คนซื้อสามารถเห็นได้เลยว่าคุณภาพดีหรือไม่ดี ตรงนี้คนไทยทำแล้ว ส่งออกปีแรก 100 กว่าล้านบาท ปีที่สอง 400 กว่าล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่าอัตราการเติบโตสูงมาก แต่ยังไม่ขยายตัวไปในจังหวัดหลายๆ จังหวัด
ยังมีอยู่ในภาคกลางแค่บริษัทเดียว เรื่องตรงนี้เป็นกิจการที่ทุกคนน่าจะไปพัฒนาต่อ เขาไม่ได้ทำเรื่องทุเรียนอย่างเดียว แกะไปขายแล้วแล้วขายดีราคาเป็น 3 เท่าของราคาปัจจุบัน ราคาหลังจากแปรรูปแล้ว สินค้าอื่นที่แปรรูปเช่น สัปปะรด ฝรั่ง ใส่ถาดเดียวกันแล้วใช้ฟิล์มปิด รวมทั้งผักบุ้งไฟแดง สินค้าเหล่านี้ขายอยู่ที่ห้าง Mark & Spenser ห้าง Parrot วางขายอย่างโก้หรู ซึ่งเป็นสินค้าจากไทย ตรงนี้ผู้ประกอบการทั้งหลายน่าจะไปเยี่ยมชม ว่าการแปรรูปแล้วเกิดประโยชน์มูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการของจังหวัดนั้น จะทำประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งตรงนี้จะทำให้ยกระดับสินค้าขึ้น เพราะการค้าขายที่จะขนวัตถุดิบไปส่งให้เขาแปรรูปเองนั้น ก็อาจหมดความหมายลง แล้วการสร้างกำไรก็จะน้องลงซึ่งคิดว่าเป็นหัวใจสำคัญ
ภาระกิจที่สาม คือภารกิจที่กระทรวงพาณิชย์ทำอยู่เกี่ยวกับการพัฒนาให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะมาช่วยในการบริหารการจัดการ การลงบัญชี การตรวจสอบ การสร้างความโปร่งใสของบริษัท หรือการพัฒนาสินค้า การพัฒนาการแข่งขัน ตรงนี้มีเรื่องกว้างมาก จะสรุปโดยย่อว่า สินค้าบางอย่าง เช่นแฟรนไชส์ เราดูเรื่องอาหาร เรามีความหมายมาก อาหารเราเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกต้องการและอาหารไทยเป็นสิ่งที่ถูกปากมาก เราได้ทำแฟรนไชส์ขึ้นมา เช่น หมูสะเต๊ะ ขุนสะเต๊ะ ต่างๆ เราก็มีการพัฒนาการหลายแบบอย่าง เช่น สะเต๊ะทูเดย์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้พัฒนาขึ้นมา ก็สามารถวางขายได้ ถ้าขายในประเทศทุกจังหวัดสามารถเอาแฟรนไชส์เหล่านี้ไปวางขายได้ นั้นศักยภาพคนจะทานอาหารที่ปลอดภัยแล้วก็อร่อย แล้วก็ยังมีการแข่งขันในตลาดได้ และบางจังหวัดมีร้านอาหารอร่อยๆ ก็สามารถสร้างศักยภาพขึ้นมา Test ของที่ดีวัตถุดิบที่ดีมาพัฒนาแล้วก็สร้างแฟรนไชส์ นอกจากจะขายจังหวัดตัวเองแล้วก็ยังไปขายจังหวัดอื่นอีก 76 จังหวัด แล้วก็พัฒนาจนมีคัมภีร์ ไบเบิ้ล Manual ของบริษัทที่ชัดเจนที่เป็นแฟรนไชส์สมบูรณ์แบบ จังหวัดไหนที่สนใจก็ติดต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย ที่ไปช่วยอบรมในเรื่องนี้ซึ่งกระทรวงก็มีอยู่ ภาระกิจที่สี่ ก็คือพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้บริโภค ภาระกิจที่ห้า พัฒนาเสริมสร้างสวัสดิภาพการพัฒนาประชาชนของกระทรวงาณิชย์ ซึ่งการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการปัจจุบันก็ร่วมมือกับหอการค้า
เรื่องการจดทะเบียนบริษัท เรื่องของการให้ความช่วยเหลือดูแลเรื่องประกันภัย เรื่องของราคาสินค้า ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้พัฒนา Advance มาก ราคาสินค้าทั่วประเทศนั้น เราจะมีระบบ Digital หรือ Computer จะรายงานผลจากเจ้าหน้าที่ของแต่ละจังหวัด ขึ้นจอประมวลผล ตัวเลขจะขึ้นมาแล้วคนที่ตรวจสินค้าจะมีกล้องถ่ายรายงานมาที่กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตรงนี้ถ้าท่านมีเวลาก็กรุณาเชิญ กระทรวงพาณิชย์ยินดีต้อนรับให้ท่านไปดูเพื่อที่จะเห็นว่าการให้บริการกระทรวงพาณิชย์นั้น จะมีอะไรบ้างที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง แล้วก็มีบางสิ่งบางอย่างที่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้ทำ แล้วจังหวัดท่านเห็นว่าควรจะทำให้บริการอย่างไร อยากให้ท่านเสนอมาเพื่อที่จะได้กำหนดภาระกิจเพิ่มเติมหรือว่ารายละเอียดเพิ่มเติมในการทำงาน ซึ่งยุทธศาสตร์และภาระกิจต่างๆ ที่ได้พูดถึงนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดไว้ว่าต้องทำในลักษณะของคู่ขนานเป็น Dualtact โดยที่ประชาชนจะต้องเป็นศูนย์กลาง โดยสะท้อนมิติอยู่ 2 มิติที่สำคัญ คือว่า มิติแรกเป็นมิติเศรษฐกิจในประเทศโดยเน้นย้ำความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจที่เป็นรากฐานของภายในประเทศ ซึ่งตรงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่เป็นการสร้างโอกาสให้กับประชาชน ลดรายจ่ายแล้วสร้างรายได้ ซึ่งตรงนี้เราย้ำ อย่างยิ่งในการพัฒนา ในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า เราก็จะพาประชาชน 3 จังหวัดภาคใต้ไปดูเรื่องของการตลาดที่ประเทศจีน ว่าชนมุสลิมในจีนมีการเป็นอยู่ทำการตลาดสินค้าอย่างไรบ้าง เพื่อจะให้โอกาสเขาเหล่านี้สร้างตลาดแล้วขายไปยังประเทศจีน ซึ่งมีหลายอย่างที่ผมไปดูมาแล้ว เราน่าจะมีสินค้าที่สร้างรายได้และผลิตได้ดี มิติที่สอง เป็นมิติเศรษฐกิจเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งเราจะเน้นความแข็งแกร่งของการส่งออกจากการลงทุน จากต่างประเทศ พร้อมกับปกป้องผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากการผันผวนต่อเศรษฐกิจโลก
เมื่อกระทรวงพาณิชย์กำหนดยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจแล้ว คำถามคือว่า ภายใต้ทศวรรษใหม่แห่งการค้าที่เปลี่ยนไปนั้นจำเป็นอย่างไร ที่ทุกท่านที่มาสัมมนากันวันนี้ หรือสถาบันการค้านั้น ควรจะกำหนดแนวทางอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับระบบทศวรรษใหม่ รับนโยบายแห่งรัฐในฐานะที่หอการค้าและสมาคมการค้าซึ่งเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่สมาชิกอยู่ครบทุกจังหวัดมีกิจกรรมมานานและมีมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการต่าง ๆ เหล่านี้นกระทรวงพาณิชย์ก็เป็นหน่วยงานกำกับดูแลก็อยากเสนอว่าแนวคิดเมื่อกำหนดภาระกิจยุทธศาสตร์ในการทำงานของหอการค้าให้สอดรับกับภารกิจและยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์อีกทั้งสอดรับกับสภาพการการทำการค้าในทศวรรษข้างหน้า 3 ประการคือ
ประการแรก คือการส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจ หรือเป็น Cluster การสร้างเครือข่ายนั้น หมายถึง พันธมิตร ที่สามารถเชื่อมโยงและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการค้า สำหรับหอการค้าและสมาคมการค้าที่มีเครือข่ายอยู่ทุกจังหวัดนั้น สามารถมีบทบาทช่วยส่งเสริมก่อให้เกิดการเชื่อมเครือข่ายก็จะเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ ได้ซึ่งการจัดการนั้น สามารถทำให้หลายลักษณะ
ลักษณะหนึ่งสามารถทำได้คือ การรวมกลุ่มกันในสมาชิกที่ทำธุรกิจกันเพื่อทำการจัดซื้อวัตถุดิบร่วมกัน เพื่อให้มีอำนาจต่อรองทางด้านการค้า ร่วมมือกันพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพสินค้า การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า และอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนและก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การสร้างในรูปแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะให้ค่าใช้จ่ายของแต่ละบริษัทแต่ละคนนั้นถูกลง เพราะถ้าแยกกันทำ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็จะแพงมาก โดยยิ่งสถาบันการค้าที่อยู่ต่างจังหวัดนั้น เห็นใจอย่างยิ่งว่าต้นทุนการผลิตสินค้ากับปริมาณสินค้าที่ขายมีจำนวนน้อย
ประการที่สอง คือการรวบกลุ่มกันระหว่างสมาชิกที่ทำธุระการเชื่อมโยง เพื่อให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจรเป็นการเสริมสร้างในการทำตลาดและการแข่งขัน การรวมกลุ่มกันนอกจากจะซื้อวัตถุดิที่ดีแล้วเรื่องระบบที่สำคัญที่สุดที่ต่างจังหวัดที่ผมมองเห็นนั้น ที่ต้องพัฒนามากที่สุดก็คือ ระบบ Packaging โดยการทำประชาสัมพันธ์ ในเรื่องการทำตลาดในภาพรวมซึ่งคิดว่ามีช่องทางการพัฒนาอีกมาก และเรื่อง Packaging นั้น
บริษัทใดบริษัทหนึ่งไปทำก็เป็นต้นทุนสูง สถาบันการค้าอาจจะเป็นตัวกลางในการที่จะดำเนินการจัดการได้ ซึ่งได้คุยกับจังหวัดจันทบุรี ทาง อบจ. ก็มีห้องเย็นที่มีอยู่นั้นให้เปลี่ยนสภาพกลุ่มผักและผลไม้ให้รวมกลุ่มทำห้องเย็นที่แปรรูปสินค้าได้หรือไม่ โดยนำ อบจ.ให้ไปดูการผลิตสินค้า KC Fresh ซึ่งผลิตทุเรียนไปขายในประเทศอังกฤษ ซึ่งเห็นแล้วถูกใจมาก จะแปรรูปจากห้องเย็นนั้นเป็นที่รวม แล้วคิดค่าบริการจัดการค่า Manage ในการแปรรูปให้เกษตรกร ซึ่งราคาถูกนั้นเกษตรกรไม่จำเป็นต้องตั้งห้องเย็นห้องแปรรูปต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายก็น้อย ถ้าแปรรูปเสร็จก็จะขาย ถ้าจะขาย Brand ตัวเองก็ขายได้ ถ้าจะขาย Brand คนอื่นก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น
ประการที่สาม ที่สถาบันการค้าน่าจะมีก็คือ การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจโอทอป กับ SMEs เข้าสู่ระบบการค้าและตลาดวงกว้างเพื่อขยายฐานการตลาดและก็ฐานลูกค้าซึ่งกันและกัน เพราะว่าสถาบันการค้าท่านเชื่อมโยงกับทุกจังหวัดอยู่แล้วนั้นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจังหวัดนั้นท่านสามารถเลือกสินค้า Champion ระหว่างจังหวัดได้ และจำแลกเปลี่ยนกันอย่างไรการ Tranding ก็เหมือนกันทำ Tranding Firm ขึ้นมา ทำหน้าที่องค์การ Tranding Firm จัดการระบบทั้งขนส่งกระจายสินค้า ส่งสินค้า จำหน่ายสินค้า ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนทำบัญชีด้วย ซึ่งตรงนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเลย ในการที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ในการที่ขายสินค้าเพราะสินค้าบางอย่างนั้นสามารถค้าขายได้ภายในประเทศ ไม่จำเป็นต้องไปออกนอกประเทศด้วยซ้ำ แล้วสินค้าบางอย่างที่พัฒนาสู่ต่างประเทศนั้นก็ต้องพัฒนาระบบ STANDARD ขึ้นมาประสานงานหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำข้อเสนอข้อคิดเห็นของท่าน ที่จะทำเป็นยุทธศาสตร์แล้ว ผ่านคณะกรรมการการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนบางจังหวัดแล้วตรงนี้ ที่ต้องเชื่อมโยงกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจยินดีอย่างยิ่งที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการที่จะพัฒนา แต่ละจังหวัด ว่าจะเชื่อมโยงและเป็นตัวกลาง สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำได้ก็จะเกิดเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ฉะนั้นสินค้าหลากหลายที่ผลิจอยู่หอการค้าแต่ละจังหวัดนั้น จะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นจะมากกว่าปัจจุบัน
ฉะนั้นการสัมมนาวันนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการที่ท่านได้กำหนดจุดยุทธศาสตร์ และจะทำให้ระบบการค้าภายในประเทศนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษหน้า(ตอนบ่ายจะมียุทธศาสตร์สำคัญเพื่อให้สอดคล้องรับภารกิจกับกระทรวงพาณิชย์ คือการเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาล หรือ Good Governance เพื่อให้ในการค้านั้น เพื่อให้ศักยภาพของทุกบริษัทมีความโปร่งใส มีศักยภาพมีความรับผิดชอบมีความซื่อสัตย์ Good Governance นั้นมีบริษัทหลาย บริษัทของรัฐบาลต้องล่มสลายไป เพราะถ้าหากว่า ผู้บริหารขาดการยึดหลักการใน Good Governance บริษัทใหญ่ ๆ ในสหรัฐยิ่งใหญ่ก็ล่มสลายไป เพราะเหตุผลเพียงการขาดความโปร่งใส นั้นความโปร่งใสเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งการเน้นว่า Good Governance คืออะไร สถาบันการยึดแนวทางปฏิบัติความโปร่งใสนั้นหอการค้าจะต้องหนุนให้การค้าขายเน้นความโปร่งใสในการค้าขายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นการดูแลผู้ซื้อความซื่อสัตย์ต่อผู้ซื้อสินค้า การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อสินค้า เพราะบางครั้งผู้ซื้ออาจหวั่นไหว เพราะผู้ขายจะรักษาสัญญาได้หรือไม่ อย่างปัจจุบันสินค้าน้ำมันราคาแพงขึ้น รัฐบาลพยายามตรึงราคาดีเชล เพื่อผู้ส่งออกของเราสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ต่างประเทศผู้ซื้อก็มีความมั่นใจว่าบริษัทต่าง ๆ ที่ส่งออกนั้นไม่ปรับราคาขึ้นแน่ และมีความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ต่างประเทศผู้ซื้อก็มีความมั่นใจว่าบริษัทต่าง ๆ ที่ส่งออกนั้นไม่ปรับราคาขึ้นแน่ และมีความสามารถที่จะผลิตสินค้าส่งได้ตรงตามเวลา นั้น Order ที่เข้ามาจึงมีความหนาแน่นและเพิ่มขึ้น เพราะหลายประเทศมีราคาน้ำมันขึ้น ขอปรับราคาขึ้นทันที การเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนของต้นทุนสินค้า ทำให้ผู้ซื้อของเราเอาสินค้าไปขายก็ประสบปัญหาเช่นกัน เมื่อประเทศไทยรัฐ Support ก็ทำให้ตลาดส่งออกของเรามีความเข้มข้น และมีความสามารถในการแข่งขันได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ความรับผิดชอบของหอการค้า ที่จะต้องอบรม หรือแนะนำทางผู้ประกอบการจังหวัด เรื่องของความรักษาความซื่อสัตย์ใน Product และการส่งของให้ตรงเวลา ให้ความเชื่อมั่นต่อผู้ซื้อเป็นหัวใจสำคัญ เพราะการสร้างความเชื่อมั่นระยะยาวนั้น จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มีตลาดการค้าขายที่ยาวนาน
ยุทธศาสตร์สุดท้าย เป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ให้ทันสมัยและเหมาะสมก็เป็นการทำงานของหอการค้าที่สอดรับกับภารกิจของกระทรวงคือการร่วมมือ การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะมีกฎหมายสภาหอการค้าจะเข้าสภา กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกันกับสภาหอการค้าในการปรับปรุงกฎหมายตรงนี้ขึ้นมาตั้งคณะกรรมการกฎหมายขึ้นมา แต่ขณะเดียวกันสถาบันการค้าต่างจังหวัดนั้น อยากให้ทุกท่านให้ความสนใจด้วย และดูว่าสิ่งใดที่ยังไม่เอื้อต่อสถาบันการค้าจังหวัดและให้ดูว่า มีรูปโพลล์ ตรงไหน ให้เขียนคำวิจารณ์ขึ้นมา ยินดีนำมาปรับปรุง
ในปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการค้านั้นมีอยู่ 2 ฉบับ นั่นคือ พรบ.หอการค้า พ.ศ.2509 กับ พรบ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 ซึ่งก็มีอายุมากและก็เนื้อหาหลายส่วนไม่สอดคล้องกับทศวรรษใหม่กับการค้า
ในปัจจุบันนี้ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็อยู่ระหว่างการระดมความคิดเห็นอยู่และสถาบันการค้าทุกจังหวัดน่าจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ในการปรับปรุงให้สอดคล้อง ในการสัมมนาในวันนี้ก็มีการให้นำเสนอความคิดเห็นของท่าน และก็คิดว่าถ้าปรับปรุงเน้นอย่างไร แล้วมันก็น่าจะเกิดประโยชน์ต่อพวกเราทุกคน
สุดท้าย ใคร่สรุปว่า ทศวรรษใหม่ของสถาบันการค้าไทย กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงภายนอกของระบบเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งหมด การทำการค้าใด ๆ จึงไม่สามารถยึดกรอบอย่างเดิม เพราะว่าเราจะต้องปรับปรุงตัวเอง เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองดีกว่าถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ผมคิดว่าในการบรรยายคงจะมีเพียงเท่านี้ และคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ในเรื่องของแนวคิดในการบริหารประเทศ เราต้องมองหลักว่าประเทศนั้นจะอยู่อย่างไร ตัวท่านจะอยู่อย่างไรนั้น การคิดว่าผู้นำประเทศในการคิด ในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือคนที่จะมาเป็นผู้นำ จะนำเศรษฐกิจ
ก้าวต่อไป มีความหมายยิ่งใหญ่นั้น ต้องมองมิติของการมองผู้นำเป็นหัวใจสำคัญ เพราะแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจ มันมีความหลาย ๆ มิติที่ล้ำลึกเป็นอย่างยิ่ง นั้นมิติที่พูดกันอยู่ ถ้าท่านสามารถพัฒนาเศรษฐกิจกำหนดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ ในจังหวัดได้ดีก็หวังว่า เราจะมีผู้นำในแต่ละจังหวัดขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศได้ ก็คิดว่าการปรับปรุงการสัมมนาในจังหวัดของท่าน การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในแต่ละจังหวัดนั้น จะก้าวไปสู่การสร้างผู้นำหนุ่มๆ ใหม่ เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ อยากจะให้สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยอย่างยิ่งคนต่างจังหวัดนั้น มีโอกาสน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของสินค้าในจังหวัดที่ไกลไปนั้นจะต้องซื้อสินค้าที่แพงกว่าคนกรุงเทพ เป็นสิ่งที่ผมเองไม่ค่อยสบายใจ พยายามเข้ามาปรับปรุงอย่างเรื่อง ART ที่ทำขึ้นมาเป็นนโยบายว่า ร้าน ART สะดวกซื้อพยายามผลักดันให้มีนโยบายราคาสินค้าเดียวทั่วทั้งประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้คนต่างจังหวัดซื้อสินค้าราคาถูก
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ