ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ครม. เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน นายจักรภพ เพ็ญแข โฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ 1)
ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การพัฒนากรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง
ทางธุรกิจภูมิภาคเอเชีย โดยเร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะ
อื่น 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น โครงข่ายรถไฟ เร่งรัด
เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม 3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี เพื่อ
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้ ครม. ยังเร่งรัดให้หน่วยงานที่ได้อนุมัติ
โครงการแล้ว 32 โครงการ มูลค่า 828,000 ล้านบาท เร่งดำเนินการ เช่น โครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวล
ชน โครงการให้เอกชนลงทุนท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่สอง และโครงการโทรศัพท์ 565,000 ล้านบาท
(ไทยรัฐ, มติชน, บ้านเมือง)
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธปท. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 บริษัท ศูนย์
วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธปท. วันที่ 20 ต.ค.นี้ เพื่อ
พิจารณาทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินหรือนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ซึ่งจากความเสี่ยงด้านราคาและ
อัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่แม้จะ
ชะลอตัวลงแต่ยังคงมีระดับที่แข็งแกร่ง ทำให้คาดว่าอาจจะมีการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 จากระดับร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ตามกรอบเป้าหมาย
อัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ด้านนายจำลอง อติกุล กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการขึ้น
ดอกเบี้ยแต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธ.พาณิชย์ เนื่องจากสภาพ
คล่องส่วนเกินในระบบยังคงมีอยู่ และความต้องการสินเชื่อไม่ได้มีมากจนดูดซับสภาพคล่องในระบบลดลง แต่หาก
ในช่วงปลายปีนี้ ธ.กลาง สรอ. และ ธปท. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธ.
พาณิชย์อาจเริ่มปรับตัวในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 48 ประมาณร้อยละ 0.25 (มติชน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
3. เอดีบี-ไอเอฟซี ออกบาทบอนด์สิ้นปีนี้ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) กล่าวว่า ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) จะ
ออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (บาทบอนด์) ก่อนสิ้นปีนี้ มูลค่า 8 พันล้านบาท ถือเป็นสถาบันการเงินชุดแรก ๆ ของ
การออกพันธบัตรบาทบอนด์ ซึ่ง ก.คลัง โดย สนง.บริหารหนี้สาธารณะได้เป็นผู้กำหนดวงเงินที่จะให้องค์กรการ
เงินต่างประเทศออกจำนวนทั้งหมด 1.2 หมื่นล้านบาท อีกรายหนึ่งที่ได้รับอนุมัติให้ออกบาทบอนด์คือ ธนาคาร
โลก ทั้งนี้ ไทยกำลังก้าวสู่บทบาทผู้นำในภูมิภาคที่ใช้เงินสกุลบาทเป็นเงินหลักของอาเซียนผ่านการออกบาทบ
อนด์ ซึ่งสถาบันองค์กรการเงินต่างประเทศที่ออกบาทบอนด์ต้องไปปล่อยกู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในโครงการที่
เป็นประโยชน์กับไทย เช่น โครงการตัดถนนเชื่อมต่อระหว่างไทยผ่านเขมรไปเวียดนาม อนึ่ง ก่อนหน้านี้มีการ
ประเมินอัตราดอกเบี้ยบาทบอนด์ที่จะมีการออกในตลาดค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4-5 เนื่องจาก เอดีบี และ ไอเอ
ฟซี เป็นสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือจึงได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินทั่วไป และอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่า
ดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ของไทยในปัจจุบันที่พันธบัตรระยะยาวอายุ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5 สำหรับพันธบัตรบา
ทบอนด์นั้นจะเน้นขายให้เฉพาะนักลงทุนสถาบันหรือสถาบันการเงิน โดยมี ธ.ไทยพาณิชย์ และ บล.ซิตี้คอร์ป เป็น
ตัวแทนจำหน่ายให้กับ เอดีบี ส่วนของธนาคารโลกคาดว่าจะให้ ธ.เอชเอสบีซี สาขากรุงเทพ และ ธ.กสิกร
ไทย เป็นผู้จัดจำหน่าย และคาดว่าจะให้ เจ.พี.มอร์แกน และ ธ.กรุงเทพ จำหน่ายให้กับ ไอเอฟซี (โพสต์
ทูเดย์)
4. ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มเงินช่วยเหลือให้กับประเทศยากจน นายวีระชัย วีระเมธีกุล ผช.รม
ว.คลัง เปิดเผยหลังประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่อง “Harmonisation and develop and
for Aid Effectiveness” ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ธ.พัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ก.คลังของไทย และ
รัฐบาลญี่ปุ่น ว่า ที่ประชุมได้มีการยกประเด็นการเพิ่มความช่วยเหลือด้านเม็ดเงินจากร้อยละ 0.3 ของจีดีพีโลก
เป็นร้อยละ 0.7 ของจีดีพีโลก โดยประเทศที่พัฒนาแล้วอาจร่วมมือกันเพิ่มเม็ดเงินความช่วยเหลือมากขึ้น รวมทั้ง
สร้างระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนาขณะที่ประเทศผู้รับความช่วยเหลือต้องวางแผนระยะยาว
เพราะที่ผ่านมาเม็ดเงินช่วยเหลือยังไม่เพียงพอต่การวางแผนพัฒนาประเทศระยะยาว ทั้งนี้นี้ ไทยประสบความ
สำเร็จในการเป็นผู้รับความช่วยเหลือจาก เอดีบี โดยสามารถลดจำนวนความยากจนจากกว่าร้อยละ 20 เหลือ
ไม่ถึงร้อยละ 10 ในปัจจุบัน และกำลังเปลี่ยนบทบาทจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือเป็นประเทศผู้ให้ความช่วย
เหลือ โดยเริ่มที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย (แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ย.47 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 19 ต.ค.47 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (Core CPI) ซึ่งไม่รวมต้นทุนราคาอาหารและพลังงานที่มีความ
ผันผวน เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.47 ร้อยละ 0.3 ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนัก
เศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าทั้ง CPI และ Core CPI จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยการที่ต้นทุนราคาที่พักอาศัย
อาทิเช่น โรงแรมและหอพักนักศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็นสาเหตุสำคัญให้ Core CPI ในเดือน ก.ย.47
เพิ่มขึ้น สำหรับต้นทุนราคาบ้านในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในขณะที่ต้นทุนราคาเครื่องนุ่งห่มไม่เปลี่ยน
แปลง และต้นทุนราคาเภสัชภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
2. การก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ 6 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 19 ต.ค.47 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดการก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ
6 หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน โดยลดลงเหลือจำนวน 1.898 ล้านหลัง จากจำนวน 2.020 ล้านหลังใน
เดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.950 ล้านหลัง สำหรับยอดการก่อ
สร้างบ้านที่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นตัวเลขที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หรือ
เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2.005 ล้านหลัง จาก 1.969 ล้านหลังในเดือนก่อน โดยในส่วนของยอดการก่อสร้างบ้าน
เดี่ยว (Single-family) ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.46 ร้อยละ 8.2 เหลือจำนวน 1.540 ล้านหลัง
จาก 1.678 ล้านหลังในเดือนก่อน ในขณะที่ยอดการก่อสร้างบ้านแฝด (Multi-family) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 3 ร้อยละ 4.7 เป็นจำนวน 358,000 หลัง ทั้งนี้ สถานการณ์การก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.มีทิศทางที่
แข็งแกร่งขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำในรอบ 40 ปี (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ.ในสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ระดับ —11 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์
ก่อน รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 19 ต.ค.47 ABC News/Money Magazine เปิดเผยผลสำรวจ ดัชนีความ
เชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ.ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ต.ค.47 ว่าคงอยู่ที่ระดับ —11 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
หน้า และโดยในส่วนของคำถามที่เกี่ยวกับความคาดหวังด้านสถานการณ์เศรษฐกิจพบว่าร้อยละ 42 เห็นว่า
เศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะเลวร้าย เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 38 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นระหว่าง
พรรครีพับลิกันกับพรรคเดโมแครตล่าสุดพบว่า ยังมีช่องว่างอยู่มาก โดยความเชื่อมั่นในพรรครีพับลิกันเพิ่มขึ้นอยู่ที่
ระดับ +39 จากระดับ +38 ในสัปดาห์ก่อน ขณะที่ความเชื่อมั่นในพรรคเดโมแครตยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ —44
จากระดับ —45 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —20 จากระดับ —23 ใน
สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ ดัชนีส่วนประกอบตัวอื่น ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานครั้งก่อนเท่าใดนัก อาทิเช่น มุม
มองด้านบวกของผู้บริโภคในด้านการเงินส่วนบุคคลลดลงอยู่ที่ร้อยละ 56 จากระดับร้อยละ 58 ในขณะที่ด้าน
เศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 37 จากร้อยละ 35 และด้านการจับจ่ายใช้สอยตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 41 จากระดับร้อยละ 40 ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปีสูงสุดใน
รอบกว่า 3 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 19 ต.ค.47 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตใน
เดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปีสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อปี
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.47 สูงกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์ที่
ผ่านมาว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีและร้อยละ 0.1 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีและร้อยละ
0.3 ต่อเดือนในเดือน ส.ค.47 โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นโดยราคาน้ำมันดิบ light crude ของ
สรอ. ลดลง 2 ครั้งในวันที่ 19 ต.ค.47 แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลหลังจากขึ้นไป
อยู่ในระดับสูงสุดที่ 55.33 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 18 ต.ค.47 โดยมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ
70 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ความต้องการเหล็กกล้าในตลาดโลกโดยเฉพาะจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนทำให้
ราคาเหล็กกล้าสูงขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนและส่งผลให้ราคาผู้ผลิตสูงขึ้น โดยหากไม่รวมราคาน้ำมัน
แล้ว ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ก.ย.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปีหลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือน
ส.ค.47 (รอยเตอร์)
5. คาดว่าเศรษฐกิจสรอ. อังกฤษ และญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะชะลอตัวในปีหน้า รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 150 คนในระหว่าง
วันที่ 12 — 15 ต.ค. คาดว่าแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำ 7
ประเทศ — G 7 อาทิ สรอ. อังกฤษ และญี่ปุ่นในปี 48 จะชะลอลงและมีปัจจัยเสี่ยงจากการสูงขึ้นของราคา
น้ำมัน อย่างไรก็ตามสรอ. ก็ยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ทั้งนี้รอยเตอร์คาดว่า
GDP ของสรอ. ในปีนี้ เมื่อเทียบกับชาติต่างๆ จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.4 และชะลอลงเหลือร้อยละ 3.6
ในปี 48 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในระยะยาวจากคาดการณ์การสำรวจในครั้งก่อนที่ว่าเศรษฐกิจสรอ. จะขยาย
ตัวร้อยละ 3.9 ในปี 47 และร้อยละ 3.6 ในปี 48 นักเศรษฐศาสตร์จาก ABN AMRO ในลอนดอนให้ความเห็น
ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวและการที่เศรษฐกิจสรอ.ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆที่พึ่งพิง
การส่งออก สำหรับ 12 ชาติในยูโรโซนนั้นคาดว่าเศรษฐกิจอาจจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 48 น้อยกว่าผล
การสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ก.ค. ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.9 ใน
ปี 47 ส่วนประเทศอื่นๆอาทิ อิตาลีคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น แต่ชะลอตัวสำหรับเยอรมนี และ
ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศของฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดว่า
ในปีหน้าเศรษฐกิจฝรั่งเศสจะขยายตัวสูงอยู่ในอันดับ 1 ใน 3 ของยูโรโซน สำหรับญี่ปุ่นนั้น จากการส่งออกที่ลด
ลงทำให้คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 3.9 และจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ
1.7 ในปี 48 เช่นเดียวกับอังกฤษที่เศรษฐกิจของประเทศถูกกระทบโดยเศรษฐกิจที่ซบเซาของสรอ. รวมทั้งการ
ขึ้นดอกเบี้ยของอังกฤษเองถึง 125 basis point นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 46 ส่งผลให้คาดว่าในปี 47 เศรษฐกิจ
ของประเทศจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 และเหลือร้อยละ 2.7 ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 ต.ค. 47 19 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.398 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2315/41.5148 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6875-1.7000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 661.00/ 15.21 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.52 36.28 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.39*/14.59 21.79/14.59 16.99/14.59 ปตท
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 20 ต.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ครม. เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน นายจักรภพ เพ็ญแข โฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ 1)
ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การพัฒนากรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง
ทางธุรกิจภูมิภาคเอเชีย โดยเร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะ
อื่น 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น โครงข่ายรถไฟ เร่งรัด
เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม 3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี เพื่อ
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้ ครม. ยังเร่งรัดให้หน่วยงานที่ได้อนุมัติ
โครงการแล้ว 32 โครงการ มูลค่า 828,000 ล้านบาท เร่งดำเนินการ เช่น โครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวล
ชน โครงการให้เอกชนลงทุนท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่สอง และโครงการโทรศัพท์ 565,000 ล้านบาท
(ไทยรัฐ, มติชน, บ้านเมือง)
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธปท. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 บริษัท ศูนย์
วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธปท. วันที่ 20 ต.ค.นี้ เพื่อ
พิจารณาทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินหรือนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ซึ่งจากความเสี่ยงด้านราคาและ
อัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่แม้จะ
ชะลอตัวลงแต่ยังคงมีระดับที่แข็งแกร่ง ทำให้คาดว่าอาจจะมีการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 จากระดับร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ตามกรอบเป้าหมาย
อัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ด้านนายจำลอง อติกุล กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการขึ้น
ดอกเบี้ยแต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธ.พาณิชย์ เนื่องจากสภาพ
คล่องส่วนเกินในระบบยังคงมีอยู่ และความต้องการสินเชื่อไม่ได้มีมากจนดูดซับสภาพคล่องในระบบลดลง แต่หาก
ในช่วงปลายปีนี้ ธ.กลาง สรอ. และ ธปท. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธ.
พาณิชย์อาจเริ่มปรับตัวในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 48 ประมาณร้อยละ 0.25 (มติชน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
3. เอดีบี-ไอเอฟซี ออกบาทบอนด์สิ้นปีนี้ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) กล่าวว่า ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) จะ
ออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (บาทบอนด์) ก่อนสิ้นปีนี้ มูลค่า 8 พันล้านบาท ถือเป็นสถาบันการเงินชุดแรก ๆ ของ
การออกพันธบัตรบาทบอนด์ ซึ่ง ก.คลัง โดย สนง.บริหารหนี้สาธารณะได้เป็นผู้กำหนดวงเงินที่จะให้องค์กรการ
เงินต่างประเทศออกจำนวนทั้งหมด 1.2 หมื่นล้านบาท อีกรายหนึ่งที่ได้รับอนุมัติให้ออกบาทบอนด์คือ ธนาคาร
โลก ทั้งนี้ ไทยกำลังก้าวสู่บทบาทผู้นำในภูมิภาคที่ใช้เงินสกุลบาทเป็นเงินหลักของอาเซียนผ่านการออกบาทบ
อนด์ ซึ่งสถาบันองค์กรการเงินต่างประเทศที่ออกบาทบอนด์ต้องไปปล่อยกู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในโครงการที่
เป็นประโยชน์กับไทย เช่น โครงการตัดถนนเชื่อมต่อระหว่างไทยผ่านเขมรไปเวียดนาม อนึ่ง ก่อนหน้านี้มีการ
ประเมินอัตราดอกเบี้ยบาทบอนด์ที่จะมีการออกในตลาดค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4-5 เนื่องจาก เอดีบี และ ไอเอ
ฟซี เป็นสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือจึงได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินทั่วไป และอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่า
ดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ของไทยในปัจจุบันที่พันธบัตรระยะยาวอายุ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5 สำหรับพันธบัตรบา
ทบอนด์นั้นจะเน้นขายให้เฉพาะนักลงทุนสถาบันหรือสถาบันการเงิน โดยมี ธ.ไทยพาณิชย์ และ บล.ซิตี้คอร์ป เป็น
ตัวแทนจำหน่ายให้กับ เอดีบี ส่วนของธนาคารโลกคาดว่าจะให้ ธ.เอชเอสบีซี สาขากรุงเทพ และ ธ.กสิกร
ไทย เป็นผู้จัดจำหน่าย และคาดว่าจะให้ เจ.พี.มอร์แกน และ ธ.กรุงเทพ จำหน่ายให้กับ ไอเอฟซี (โพสต์
ทูเดย์)
4. ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มเงินช่วยเหลือให้กับประเทศยากจน นายวีระชัย วีระเมธีกุล ผช.รม
ว.คลัง เปิดเผยหลังประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่อง “Harmonisation and develop and
for Aid Effectiveness” ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ธ.พัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ก.คลังของไทย และ
รัฐบาลญี่ปุ่น ว่า ที่ประชุมได้มีการยกประเด็นการเพิ่มความช่วยเหลือด้านเม็ดเงินจากร้อยละ 0.3 ของจีดีพีโลก
เป็นร้อยละ 0.7 ของจีดีพีโลก โดยประเทศที่พัฒนาแล้วอาจร่วมมือกันเพิ่มเม็ดเงินความช่วยเหลือมากขึ้น รวมทั้ง
สร้างระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนาขณะที่ประเทศผู้รับความช่วยเหลือต้องวางแผนระยะยาว
เพราะที่ผ่านมาเม็ดเงินช่วยเหลือยังไม่เพียงพอต่การวางแผนพัฒนาประเทศระยะยาว ทั้งนี้นี้ ไทยประสบความ
สำเร็จในการเป็นผู้รับความช่วยเหลือจาก เอดีบี โดยสามารถลดจำนวนความยากจนจากกว่าร้อยละ 20 เหลือ
ไม่ถึงร้อยละ 10 ในปัจจุบัน และกำลังเปลี่ยนบทบาทจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือเป็นประเทศผู้ให้ความช่วย
เหลือ โดยเริ่มที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย (แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ย.47 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 19 ต.ค.47 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (Core CPI) ซึ่งไม่รวมต้นทุนราคาอาหารและพลังงานที่มีความ
ผันผวน เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.47 ร้อยละ 0.3 ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนัก
เศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าทั้ง CPI และ Core CPI จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยการที่ต้นทุนราคาที่พักอาศัย
อาทิเช่น โรงแรมและหอพักนักศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็นสาเหตุสำคัญให้ Core CPI ในเดือน ก.ย.47
เพิ่มขึ้น สำหรับต้นทุนราคาบ้านในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในขณะที่ต้นทุนราคาเครื่องนุ่งห่มไม่เปลี่ยน
แปลง และต้นทุนราคาเภสัชภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
2. การก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ 6 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 19 ต.ค.47 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดการก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ
6 หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน โดยลดลงเหลือจำนวน 1.898 ล้านหลัง จากจำนวน 2.020 ล้านหลังใน
เดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.950 ล้านหลัง สำหรับยอดการก่อ
สร้างบ้านที่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นตัวเลขที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หรือ
เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2.005 ล้านหลัง จาก 1.969 ล้านหลังในเดือนก่อน โดยในส่วนของยอดการก่อสร้างบ้าน
เดี่ยว (Single-family) ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.46 ร้อยละ 8.2 เหลือจำนวน 1.540 ล้านหลัง
จาก 1.678 ล้านหลังในเดือนก่อน ในขณะที่ยอดการก่อสร้างบ้านแฝด (Multi-family) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 3 ร้อยละ 4.7 เป็นจำนวน 358,000 หลัง ทั้งนี้ สถานการณ์การก่อสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.มีทิศทางที่
แข็งแกร่งขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำในรอบ 40 ปี (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ.ในสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ระดับ —11 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์
ก่อน รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 19 ต.ค.47 ABC News/Money Magazine เปิดเผยผลสำรวจ ดัชนีความ
เชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ.ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ต.ค.47 ว่าคงอยู่ที่ระดับ —11 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
หน้า และโดยในส่วนของคำถามที่เกี่ยวกับความคาดหวังด้านสถานการณ์เศรษฐกิจพบว่าร้อยละ 42 เห็นว่า
เศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะเลวร้าย เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 38 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นระหว่าง
พรรครีพับลิกันกับพรรคเดโมแครตล่าสุดพบว่า ยังมีช่องว่างอยู่มาก โดยความเชื่อมั่นในพรรครีพับลิกันเพิ่มขึ้นอยู่ที่
ระดับ +39 จากระดับ +38 ในสัปดาห์ก่อน ขณะที่ความเชื่อมั่นในพรรคเดโมแครตยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ —44
จากระดับ —45 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —20 จากระดับ —23 ใน
สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ ดัชนีส่วนประกอบตัวอื่น ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานครั้งก่อนเท่าใดนัก อาทิเช่น มุม
มองด้านบวกของผู้บริโภคในด้านการเงินส่วนบุคคลลดลงอยู่ที่ร้อยละ 56 จากระดับร้อยละ 58 ในขณะที่ด้าน
เศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 37 จากร้อยละ 35 และด้านการจับจ่ายใช้สอยตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 41 จากระดับร้อยละ 40 ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปีสูงสุดใน
รอบกว่า 3 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 19 ต.ค.47 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตใน
เดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปีสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อปี
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.47 สูงกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์ที่
ผ่านมาว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีและร้อยละ 0.1 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีและร้อยละ
0.3 ต่อเดือนในเดือน ส.ค.47 โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นโดยราคาน้ำมันดิบ light crude ของ
สรอ. ลดลง 2 ครั้งในวันที่ 19 ต.ค.47 แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลหลังจากขึ้นไป
อยู่ในระดับสูงสุดที่ 55.33 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 18 ต.ค.47 โดยมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ
70 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ความต้องการเหล็กกล้าในตลาดโลกโดยเฉพาะจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนทำให้
ราคาเหล็กกล้าสูงขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนและส่งผลให้ราคาผู้ผลิตสูงขึ้น โดยหากไม่รวมราคาน้ำมัน
แล้ว ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ก.ย.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปีหลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือน
ส.ค.47 (รอยเตอร์)
5. คาดว่าเศรษฐกิจสรอ. อังกฤษ และญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะชะลอตัวในปีหน้า รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 150 คนในระหว่าง
วันที่ 12 — 15 ต.ค. คาดว่าแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำ 7
ประเทศ — G 7 อาทิ สรอ. อังกฤษ และญี่ปุ่นในปี 48 จะชะลอลงและมีปัจจัยเสี่ยงจากการสูงขึ้นของราคา
น้ำมัน อย่างไรก็ตามสรอ. ก็ยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ทั้งนี้รอยเตอร์คาดว่า
GDP ของสรอ. ในปีนี้ เมื่อเทียบกับชาติต่างๆ จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.4 และชะลอลงเหลือร้อยละ 3.6
ในปี 48 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในระยะยาวจากคาดการณ์การสำรวจในครั้งก่อนที่ว่าเศรษฐกิจสรอ. จะขยาย
ตัวร้อยละ 3.9 ในปี 47 และร้อยละ 3.6 ในปี 48 นักเศรษฐศาสตร์จาก ABN AMRO ในลอนดอนให้ความเห็น
ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวและการที่เศรษฐกิจสรอ.ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆที่พึ่งพิง
การส่งออก สำหรับ 12 ชาติในยูโรโซนนั้นคาดว่าเศรษฐกิจอาจจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 48 น้อยกว่าผล
การสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ก.ค. ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.9 ใน
ปี 47 ส่วนประเทศอื่นๆอาทิ อิตาลีคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น แต่ชะลอตัวสำหรับเยอรมนี และ
ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศของฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดว่า
ในปีหน้าเศรษฐกิจฝรั่งเศสจะขยายตัวสูงอยู่ในอันดับ 1 ใน 3 ของยูโรโซน สำหรับญี่ปุ่นนั้น จากการส่งออกที่ลด
ลงทำให้คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 3.9 และจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ
1.7 ในปี 48 เช่นเดียวกับอังกฤษที่เศรษฐกิจของประเทศถูกกระทบโดยเศรษฐกิจที่ซบเซาของสรอ. รวมทั้งการ
ขึ้นดอกเบี้ยของอังกฤษเองถึง 125 basis point นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 46 ส่งผลให้คาดว่าในปี 47 เศรษฐกิจ
ของประเทศจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 และเหลือร้อยละ 2.7 ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 ต.ค. 47 19 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.398 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2315/41.5148 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.6875-1.7000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 661.00/ 15.21 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,150/8,250 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.52 36.28 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.39*/14.59 21.79/14.59 16.99/14.59 ปตท
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 20 ต.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-