นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘ข่าวยามเช้า’ ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ท ถึงกรณีการก่อรัฐประหารในประเทศพม่า ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศ เราต้องยอมรับว่ากรณีของพม่ามีความขลุกขลักในการดำเนินงานด้านการต่างประเทศของอาเซียนมาโดยตลอด ซึ่งรัฐบาลในอดีตพยายามที่จะหาจุดสมดุลย์ระหว่างการเป็นเพื่อนบ้านกับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในพม่าเพื่อให้เป้นที่ยอมรับต่อประชาคมโลก แต่รัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะท่านนายกฯทักษิณ เชื่อมั่นในเรื่องของการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว และนโยบายที่มีเป้าหมายเรื่องความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และออกมาระบุว่าทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นคงเป็นบทพิสูจน์ว่าสถานการณ์ในประเทศพม่ายังไม่นิ่ง ความตรึงเครียดระหว่างคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างในหมู่ของผู้นำทางการเมือง และผู้นำทางการทหารของพม่ายังมีอยู่ เพราะฉะนั้นนโยบายที่ประเทศไทยจะดำเนินการ ต้องมีความระมัดระวังไม่ผลีผลาม
ทั้งนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การที่ไทยสนับสนุนเงินกู้แก่ประเทศพม่า และ ยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องธุรกิจโทรคมนาคมของผู้มีอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ถ้าเกิดความไม่สงบ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เกิดขึ้น 1.จะกระทบกระเทือนกับปัญหาเรื่องเงินกู้หรือไม่ และ 2. ถ้าติดตามข่าวมาจะพบว่าสาเหตุหนึ่งของการยึดอำนาจมาจากความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานทางนโยบายที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจของผู้นำในฝ่ายพม่า
ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าตรงนี้ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขยอมกระทบกับประเทศ เพราะเราเข้าไปเป็นคู่สัญญาหรือคู่กรณีในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการดำเนินนโยบายควรทำด้วยความระมัดระวัง การพูดส่วนตัว ส่วนบุคคล หรือ ความพยายามที่จะยุยงด้วยประโยชน์ทางธุรกิจอาจจะส่งผลกระทบต่อความสำคัญได้
‘ผมอยากให้ดูว่า หลายครั้งความตรึงเครียดในเชิงความสัมพันธ์เป็นเพราะการไปแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนของเราเหมือนกัน ตรงนี้สำคัญเพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ถ้าหากว่าประชาชนรู้สึกไม่ดีต่อผู้นำทางธุรกิจ หรือนักลงทุนจากชาติใดแล้ว อันนี้ไม่เป็นผลดีแน่นอน ผมว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรจะเป็นสิ่งที่เตือนสติรัฐบาลไทย ว่าจะต้องมาทบทวน ดูแนวทาง และท่าทีของเราต่อประเทศเพื่อนบ้าน’ รองหน.พรรคปชป. กล่าว และกล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเราก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือ ปัญหาเฉพาะ ทั้งในเรื่องของโครงการต่างๆในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการค้าชายแดน ปัญหายาเสพติด และในส่วนของการที่จะให้ประเทศพม่าเป็นที่ยอมรับต่อประชาคมโลก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางธุรกิจควรอยู่บนความพอดี และอย่าคิดว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างผู้มีอำนาจด้วยกันจะเป็นหลักประกันที่ดีที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องแยกแยะออกจากัน ทั้งนี้ตนเป็นห่วงการดำเนินการของท่านนายกฯทักษิณ เพราะท่านมองว่าเรื่องเงินๆทองๆ เรื่องธุรกิจสามารถเป็นคำตอบทุกอย่างได้ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ทั้งนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การที่ไทยสนับสนุนเงินกู้แก่ประเทศพม่า และ ยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องธุรกิจโทรคมนาคมของผู้มีอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ถ้าเกิดความไม่สงบ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เกิดขึ้น 1.จะกระทบกระเทือนกับปัญหาเรื่องเงินกู้หรือไม่ และ 2. ถ้าติดตามข่าวมาจะพบว่าสาเหตุหนึ่งของการยึดอำนาจมาจากความไม่โปร่งใสในการดำเนินงานทางนโยบายที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจของผู้นำในฝ่ายพม่า
ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าตรงนี้ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขยอมกระทบกับประเทศ เพราะเราเข้าไปเป็นคู่สัญญาหรือคู่กรณีในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการดำเนินนโยบายควรทำด้วยความระมัดระวัง การพูดส่วนตัว ส่วนบุคคล หรือ ความพยายามที่จะยุยงด้วยประโยชน์ทางธุรกิจอาจจะส่งผลกระทบต่อความสำคัญได้
‘ผมอยากให้ดูว่า หลายครั้งความตรึงเครียดในเชิงความสัมพันธ์เป็นเพราะการไปแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนของเราเหมือนกัน ตรงนี้สำคัญเพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ถ้าหากว่าประชาชนรู้สึกไม่ดีต่อผู้นำทางธุรกิจ หรือนักลงทุนจากชาติใดแล้ว อันนี้ไม่เป็นผลดีแน่นอน ผมว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรจะเป็นสิ่งที่เตือนสติรัฐบาลไทย ว่าจะต้องมาทบทวน ดูแนวทาง และท่าทีของเราต่อประเทศเพื่อนบ้าน’ รองหน.พรรคปชป. กล่าว และกล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเราก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือ ปัญหาเฉพาะ ทั้งในเรื่องของโครงการต่างๆในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการค้าชายแดน ปัญหายาเสพติด และในส่วนของการที่จะให้ประเทศพม่าเป็นที่ยอมรับต่อประชาคมโลก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางธุรกิจควรอยู่บนความพอดี และอย่าคิดว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างผู้มีอำนาจด้วยกันจะเป็นหลักประกันที่ดีที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องแยกแยะออกจากัน ทั้งนี้ตนเป็นห่วงการดำเนินการของท่านนายกฯทักษิณ เพราะท่านมองว่าเรื่องเงินๆทองๆ เรื่องธุรกิจสามารถเป็นคำตอบทุกอย่างได้ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-