สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง นายสหัส พินทุเสนีย์ เป็น
รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
๓. รับทราบเรื่องการขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยนายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
ดังนั้นสมาชิกภาพจึงสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกเหลือจำนวน ๔๕๒ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องคำปรารภ เหตุใด
จึงบัญญัติเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ เรื่องการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ขอให้กรรมาธิการชี้แจงด้วยเรื่องประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการ
เลือกตั้งให้เริ่มนับค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันใด เรื่องของการห้ามมิให้ผู้สมัครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะจูงใจ
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนขอให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ ครอบคลุมถึงการประกาศ
นโยบายหรือการดำเนินการตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจ หน้าที่ด้วยวิธีการการใช้จ่ายจาก
เงินงบประมาณของแผ่นดินและต้องเป็นการใช้จ่ายเงินที่มีแผนงาน โครงการระบุอยู่ในพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเท่านั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนกรณียุบสภาก่อนครบกำหนด ๖๐ วันของอายุสภาผู้แทนราษฎร
กรณีที่ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร และกรณี ยุบสภาภายในหกสิบวันก่อนวันครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อมีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการ
เลือกตั้งควรระบุให้ชัดเจนว่าก่อนและหลัง ๖๐ วันนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ในเรื่องของการกำหนดห้ามให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือ
ทางอ้อมแก่สถาบันอื่นใดนั้น เดิมคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้กำหนดว่าสถาบันใดบ้างที่อยู่ในข่ายต้องห้าม แต่กฎหมาย
นี้ใครจะเป็นผู้กำหนด ในเรื่องของการร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่มีการกำหนดจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้อาจไม่สอดคล้องกับ
รัฐธรรมนูญซึ่งมิได้ระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องคัดค้านการเลือกตั้งในความเป็นจริงแล้วผู้ร้อง
คัดค้านทั้งสิบคนจะต้องรู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำความผิดพร้อมกันซึ่งหากเกิดกรณีที่มีเหตุการณ์ทุจริตซึ่งมีผู้รู้เห็นไม่ถึง
สิบคนก็จะไม่สามารถร้องคัดค้านได้เป็นเหตุให้กระบวนการในการคัดเลือกไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและ
ควรกำหนดบทเฉพาะกาลไว้ด้วยว่าจะเริ่มบังคับใช้ในเรื่องการ
ร้องคัดค้านนี้เมื่อใด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ รวมทั้งควรเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องคัดค้านด้วย
ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เหตุที่ต้องมีการบัญญัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ
ไว้นั้นก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบว่ามีบทบัญญัติใดในกฎหมายนี้บ้างที่
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนในเรื่องของการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นเนื่องจาก
มีการแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับการนับระยะเวลาในการเลือกตั้งจึงจำเป็นต้องบัญญัติแก้ไขให้สอดคล้องเพื่อไม่ให้บทบัญญัติ
ของกฎหมายขัดแย้งกันเอง ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เริ่มนับหลังจากที่มีกฤษฎีกาแล้วในเรื่องการประกาศ
นโยบายหรือการกระทำบ้างสิ่งบ้างอย่างตามงบประมาณที่ให้ไว้เป็นการกระทำได้โดยชอบแต่ต้องไม่มีมูลเหตุจูงใจให้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตน การกำหนดระยะเวลา ๖๐ วัน ก่อนและหลังมีประกาศพระราชกฤษฎีกา
นั้นไม่สามารถกำหนดอย่างนั้นได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ในเรื่องการกำหนดห้ามผู้สมัคร
รับเลือกตั้งให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแก่สถาบัน
ใดบ้างนั้น กฎหมายฉบับนี้ได้เขียนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีอำนาจในการประกาศว่าสถาบันใดบ้างที่เทียบเคียง
กับที่ห้ามไว้อยู่แล้ว การระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านนั้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญและเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้
ไม่มีผลย้อนหลังจึงไม่จำเป็นต้องเขียนบทเฉพาะกาลไว้ การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องคัดค้านนั้นกรรมาธิการเสียงข้างมาก
เห็นว่าควรเปิดเผยให้เฉพาะผู้ถูกร้องคัดค้านทราบแต่ไม่ควรทำเป็นประกาศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่พบเห็นการเลือกตั้งที่
ไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สิทธิร้องคัดค้านได้ และหากการร้องเป็นเท็จก็มีกฎหมายอื่นรองรับบัญญัติลงโทษไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้กรรมาธิการได้ขอให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามกฎหมายนี้ด้วย จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๓๒๘ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะ กรรมาธิการ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ
และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนั้น ขอให้เพิ่มใน
เรื่องการพัฒนาหลักสูตรด้วย ซึ่งกรรมาธิการเห็นด้วยที่ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบใน
วาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๘๓ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
---------------------------------
วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง นายสหัส พินทุเสนีย์ เป็น
รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
๓. รับทราบเรื่องการขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยนายอุทัย สุดสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
ดังนั้นสมาชิกภาพจึงสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกเหลือจำนวน ๔๕๒ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม
ประธานการประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ตามที่เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องคำปรารภ เหตุใด
จึงบัญญัติเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ เรื่องการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ขอให้กรรมาธิการชี้แจงด้วยเรื่องประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการ
เลือกตั้งให้เริ่มนับค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันใด เรื่องของการห้ามมิให้ผู้สมัครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะจูงใจ
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนขอให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ ครอบคลุมถึงการประกาศ
นโยบายหรือการดำเนินการตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจ หน้าที่ด้วยวิธีการการใช้จ่ายจาก
เงินงบประมาณของแผ่นดินและต้องเป็นการใช้จ่ายเงินที่มีแผนงาน โครงการระบุอยู่ในพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเท่านั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนกรณียุบสภาก่อนครบกำหนด ๖๐ วันของอายุสภาผู้แทนราษฎร
กรณีที่ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร และกรณี ยุบสภาภายในหกสิบวันก่อนวันครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อมีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการ
เลือกตั้งควรระบุให้ชัดเจนว่าก่อนและหลัง ๖๐ วันนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ในเรื่องของการกำหนดห้ามให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือ
ทางอ้อมแก่สถาบันอื่นใดนั้น เดิมคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้กำหนดว่าสถาบันใดบ้างที่อยู่ในข่ายต้องห้าม แต่กฎหมาย
นี้ใครจะเป็นผู้กำหนด ในเรื่องของการร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่มีการกำหนดจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้อาจไม่สอดคล้องกับ
รัฐธรรมนูญซึ่งมิได้ระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านไว้การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องคัดค้านการเลือกตั้งในความเป็นจริงแล้วผู้ร้อง
คัดค้านทั้งสิบคนจะต้องรู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำความผิดพร้อมกันซึ่งหากเกิดกรณีที่มีเหตุการณ์ทุจริตซึ่งมีผู้รู้เห็นไม่ถึง
สิบคนก็จะไม่สามารถร้องคัดค้านได้เป็นเหตุให้กระบวนการในการคัดเลือกไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและ
ควรกำหนดบทเฉพาะกาลไว้ด้วยว่าจะเริ่มบังคับใช้ในเรื่องการ
ร้องคัดค้านนี้เมื่อใด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ รวมทั้งควรเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องคัดค้านด้วย
ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เหตุที่ต้องมีการบัญญัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ
ไว้นั้นก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบว่ามีบทบัญญัติใดในกฎหมายนี้บ้างที่
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนในเรื่องของการใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นเนื่องจาก
มีการแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับการนับระยะเวลาในการเลือกตั้งจึงจำเป็นต้องบัญญัติแก้ไขให้สอดคล้องเพื่อไม่ให้บทบัญญัติ
ของกฎหมายขัดแย้งกันเอง ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เริ่มนับหลังจากที่มีกฤษฎีกาแล้วในเรื่องการประกาศ
นโยบายหรือการกระทำบ้างสิ่งบ้างอย่างตามงบประมาณที่ให้ไว้เป็นการกระทำได้โดยชอบแต่ต้องไม่มีมูลเหตุจูงใจให้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตน การกำหนดระยะเวลา ๖๐ วัน ก่อนและหลังมีประกาศพระราชกฤษฎีกา
นั้นไม่สามารถกำหนดอย่างนั้นได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ในเรื่องการกำหนดห้ามผู้สมัคร
รับเลือกตั้งให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมแก่สถาบัน
ใดบ้างนั้น กฎหมายฉบับนี้ได้เขียนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีอำนาจในการประกาศว่าสถาบันใดบ้างที่เทียบเคียง
กับที่ห้ามไว้อยู่แล้ว การระบุจำนวนผู้ร้องคัดค้านนั้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญและเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้
ไม่มีผลย้อนหลังจึงไม่จำเป็นต้องเขียนบทเฉพาะกาลไว้ การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องคัดค้านนั้นกรรมาธิการเสียงข้างมาก
เห็นว่าควรเปิดเผยให้เฉพาะผู้ถูกร้องคัดค้านทราบแต่ไม่ควรทำเป็นประกาศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่พบเห็นการเลือกตั้งที่
ไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สิทธิร้องคัดค้านได้ และหากการร้องเป็นเท็จก็มีกฎหมายอื่นรองรับบัญญัติลงโทษไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้กรรมาธิการได้ขอให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามกฎหมายนี้ด้วย จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๓๒๘ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะ กรรมาธิการ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ
และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนั้น ขอให้เพิ่มใน
เรื่องการพัฒนาหลักสูตรด้วย ซึ่งกรรมาธิการเห็นด้วยที่ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบใน
วาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๘๓ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
---------------------------------