นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 129.74 จากเดือนก่อน(130.51) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.92 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 135.27 ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 1.56 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.02 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 135.26 ทรงตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 0.91 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.23
ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากผู้ผลิตมีการปรับลดสต็อกสินค้าลงเนื่องจากยังหวั่นปัญหาเรื่องภาวะระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จาก ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ระดับ 135.53 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.37 ปรับตัวพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.17 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ ระดับ 118.56 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.79 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.89 สำหรับดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 138.52 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.51 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.27 และอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 61.47 ลดลงจากเดือนมิ.ย.ร้อยละ 4 ที่อยู่ในระดับ 64.01แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ยังมีการผลิตในอัตราที่ทรงตัวหรืออยู่ในระดับสูงอยู่ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมเหล็ก โ ดยเฉพาะ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายมีทิศทางเพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน เนื่องจาก มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มสูงขึ้นกว่า 265 ล้านลิตร เพื่อรอการจำหน่ายรองรับแนวโน้มการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของภาวะการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป พบว่ามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ น้ำมันเตา 3 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 73 ล้านลิตร แนฟทา เพิ่มขึ้น 51 ล้านลิตร น้ำมันเครื่องบินส่งออกเพิ่มขึ้น 43.3 ล้านลิตร และน้ำมันเตา 5 เพิ่มขึ้น 41.6 ล้านลิตร เป็นต้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปี 2547 โดยคาดกาณ์ว่า จะมีทิศทางทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นผลมาจากภาวการณ์ผลิตในกลุ่มวัสดุก่อสร้างชะลอตัว เนื่องจาก ราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลัก รวมถึง ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากผู้ผลิตมีการปรับลดสต็อกสินค้าลงเนื่องจากยังหวั่นปัญหาเรื่องภาวะระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จาก ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ระดับ 135.53 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.37 ปรับตัวพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.17 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ ระดับ 118.56 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.79 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.89 สำหรับดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 138.52 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.51 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.27 และอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 61.47 ลดลงจากเดือนมิ.ย.ร้อยละ 4 ที่อยู่ในระดับ 64.01แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ยังมีการผลิตในอัตราที่ทรงตัวหรืออยู่ในระดับสูงอยู่ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมเหล็ก โ ดยเฉพาะ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายมีทิศทางเพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน เนื่องจาก มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มสูงขึ้นกว่า 265 ล้านลิตร เพื่อรอการจำหน่ายรองรับแนวโน้มการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของภาวะการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป พบว่ามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ น้ำมันเตา 3 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 73 ล้านลิตร แนฟทา เพิ่มขึ้น 51 ล้านลิตร น้ำมันเครื่องบินส่งออกเพิ่มขึ้น 43.3 ล้านลิตร และน้ำมันเตา 5 เพิ่มขึ้น 41.6 ล้านลิตร เป็นต้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปี 2547 โดยคาดกาณ์ว่า จะมีทิศทางทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นผลมาจากภาวการณ์ผลิตในกลุ่มวัสดุก่อสร้างชะลอตัว เนื่องจาก ราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลัก รวมถึง ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-