ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. อนุมัติสถาบันการเงินเป็น ธ.พาณิชย์ 3 ราย นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้พิจารณาอนุมัติให้สถาบันการเงิน
ที่ยื่นขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพิ่มอีก 3 ราย โดยมีสถาบันการเงินที่ยื่นขอปรับสถานะเป็น ธ.พาณิชย์ 2 ราย
และอีก 1 ราย เข้าข่ายต้องดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ซึ่ง ธปท.
จะเสนอเรื่องไปยัง ก.คลังต่อไป อย่างไรก็ตาม มี 1 รายที่ ธปท. ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้
ส่งผลการพิจารณาที่สถาบันการเงินได้ยื่นขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์ไปให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว 3 แห่ง ทั้งนี้
ธปท. จะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอภายใน 1 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดเวลาการยื่นคำขอ และเสนอ
ให้ รมว.คลังภายใน 3 เดือน และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน จนถึงวันสุดท้ายคือ 31 ม.ค.48
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังมอบหมายให้ AMC รัฐหาแนวทางแก้ไขหนี้เอ็นพีเอ-เอ็นพีแอล นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลังได้มอบหมายให้สถาบันบริหารสินทรัพย์ภาครัฐ (AMC) ทั้ง 4 แห่ง คือ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) บริษัทบริหารสินทรัพย์
กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (แซม) ประสานความร่วมมือกันเพื่อดูแลการเจรจา
กับลูกหนี้และหาแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมดด้วยความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อย
และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จในอีก 3 ปี หรือภายในปี 2550 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือและพิจารณาตัว
เลขหนี้พร้อมกับกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การแก้ปัญหาเอ็นพีแอล 2)
การบริหารจัดการสินทรัพย์รอการขาย ซึ่งได้กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันให้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา
5 ชุด คือ 1) คณะทำงานดูแลมาตรฐานปรับโครงสร้างหนี้ โดยแซมเป็นเจ้าภาพ 2) คณะทำงานการใช้
ทรัพยากรร่วมกัน บสก.เป็นเจ้าภาพ 3) คณะทำงานดูแลการใช้ระบบไอที คอมพิวเตอร์ร่วมกัน บบส.เป็นเจ้า
ภาพ 4) คณะทำงานดูแลปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็น
เจ้าภาพ และ 5) คณะทำงานดูแลกระบวนการจัดการ NPA ให้เรียบร้อยโดยเร็ว มี บสก.เป็นเจ้าภาพ หลัง
จากนี้คณะทำงานจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อให้ได้แนวทาง และนำผลที่ได้จากคณะทำงานมาประชุมอีกครั้งใน 3
สัปดาห์ สำหรับมูลหนี้ที่โอนมายัง AMC ทั้ง 4 แห่ง มีทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นของ บสท.
778,678 ล้านบาท บบส. 197,899 ล้านบาท บสก. 128,555 ล้านบาท และ แซม 299,995 ล้านบาท มี
การปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว 1.1 ล้านล้านบาท และเหลือค้าง 3 แสนล้านบาท เป็นหนี้รายย่อย 220,000
ล้านบาท หนี้รายใหญ่ 80,000 ล้านบาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่าไตรมาส 4 ปี 47 ไทยจะขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 8 ปี นายอัทธ์ พิศาลวานิช
ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยการคาดการณ์ภาวะการส่งออกไตรมาส
4/2547 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ลดลง ราคาน้ำมันแพง และปัญหาไข้หวัดนก
ทำให้คาดว่าการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 4/2547 จะมีมูลค่าประมาณ 24,978 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาส 3/2547 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 25,302 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบกับไตรมาส 3/2547
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาส 4 ปีนี้ไทยจะขาดดุลการค้า 324 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 8 ปี เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของทุกปี ส่วนการส่งออก
เฉลี่ยในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 96,040 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.98 การนำเข้ามี
มูลค่า 95,868 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 เกินดุลการค้าประมาณ 172 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำ
สุดในรอบ 7 ปี ในขณะที่ จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 5.5 — 6.0 ลดลงจากปี 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ทั้ง
นี้ จากการศึกษาผลกระทบเรื่องราคาน้ำมันพบว่า หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลให้จีดีพีลดลงร้อย
ละ 0.5 หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ดุลการค้าลดลงร้อยละ 2.5 (ข่าวสด, แนวหน้า, บ้านเมือง)
4. ธ.พาณิชย์กำไรงวด 9 เดือน กว่า 6.4 หมื่นล้านบาท รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย เปิดเผยว่า ธ.พาณิชย์ 12 แห่ง ได้แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 และงวด 9 เดือนมายัง
ตลท.แล้ว ปรากฎว่า ไตรมาสที่ 3 มีกำไรสุทธิรวมกัน 19,759.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน
ที่ขาดสุทธิไป 401.52 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 64,249.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35,157.26
ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 46 ที่มีกำไรสุทธิ 29,092.90 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลกำไรสุทธิไตรมาส
3 เฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.นคร
หลวงไทย มีกำไรสุทธิรวม 16,883.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,018.39 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.85
จากงวดเดียวกันของปี 46 ที่มีกำไรสุทธิ 13,814.76 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิรวม
54,214.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,968.55 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.75 จากงวดเดียวกันของปี 46 ที่
มีกำไรสุทธิ 38,245.54 ล้านบาท โดย ธ.นครหลวงไทยมีกำไรสุทธิไตรมาส 3 สูงสุดในกลุ่มธนาคารขนาด
ใหญ่ คือ 1,390.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 672.97 ล้านบาท (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดลดลงจำนวน 25,000
คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 21 ต.ค.47 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ครั้งแรกของ สรอ.เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ต.ค.47 ลดลงอยู่ที่จำนวน 329,000 คน จากจำนวน 354,000
คนในสัปดาห์ก่อนหน้า หรือลดลง 25,000 คน ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์วอลล์สตรีทคาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่
ที่จำนวน 345,000 คน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่าไม่มีสาเหตุสำคัญอันใดที่ส่งผลให้จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง
งานลดลงในสัปดาห์นี้ แต่เห็นว่าสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่มีวันหยุดหลายวัน อันอาจส่งผลกระทบต่อตัวเลขดังกล่าวให้มี
ความผันผวน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขระยะสั้น อยู่ที่จำนวน
348,250 คน จากจำนวน 353,750 คน อันเป็นระดับที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ามีการจ้างงานที่เหมาะสม ส่วน
จำนวนผู้ว่างงาน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ต.ค.47 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่จำนวน 2.80 ล้านคน จากจำนวน 2.81
ล้านคนในสัปดาห์ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าลดลงในเดือน ส.ค.47 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ
21 ต.ค.47 European Union statistical office (Eurostat) เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าของกลุ่ม
ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ) ในเดือน ส.ค.47 มีจำนวน 3.0 พัน ล.ยูโร ลดลงเมื่อเทียบกับ
จำนวน 12.8 พัน ล.ยูโร (16.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ในเดือนก่อน และ 7.2 พัน ล.ยูโรในเดือนเดียว
กันปีก่อน เป็นผลจากการส่งออก(ก่อนปรับฤดูกาล)ซึ่งมีจำนวน 85.3 พัน ล.ยูโร ลดลงจาก 100.7 พัน ล.ยูโร
ในเดือนก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีจำนวน 82.3 พัน ล.ยูโร ลดลงจาก 87.9 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อน สำหรับ
ยอดเกินดุลการค้าในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.47) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 58.6 พัน ล.ยูโร จากจำนวน
40.2 พัน ล.ยูโรในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ลดลงในเดือน ส.ค.47 มีสาเหตุจากความต้อง
การของผู้บริโภคชะลอตัวลง และผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างไร
ก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่ายังคงไม่น่าเป็นห่วงนัก เนื่องจากเดือน ส.ค. เป็นเดือนที่มีวันหยุดจำนวนมาก ทำให้
บรรดาอุตสาหกรรมลดการผลิตสินค้า การส่งออกจึงลดลงตาม อนึ่ง ตัวเลขการส่งออก(หลังปรับฤดูกาล)ใน
เดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.4 จากเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ชะลอตัวจาก
ไตรมาสก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 ต.ค. 47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาด
ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 0.9 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 46 ที่อัตราการขยายตัวต่อไตรมาสต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.7 ที่นัก
เศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะขยายตัวในระยะยาวและส่งผลให้อัตราการขยายตัวต่อปีลดลง
เหลือร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคการบริการของประเทศโดยผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงต่อ
เนื่องในเดือน ก.ค.-ส.ค.47 ส่วนตัวเลขของเดือน ก.ย.47 ยังไม่มีรายงาน เช่นเดียวกับ ธ.กลางอังกฤษที่
คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะชะลอตัวจากไตรมาสก่อนจึงตัดสินใจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อ
ต้นเดือนนี้โดยมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้คงเดิมจนถึงสิ้นปีนี้ ธ.กลางอังกฤษมีกำหนดจะประกาศตัวเลข
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค.47 นี้ เวลา 8.30 น.
ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของเยอรมนีในปี 48 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 21 ต.ค.47 The BGA wholesale and foreign trade association ประมาณการอัตราการเติบ
โตการส่งออกของเยอรมนีในปี 48 ว่าจะชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่จำนวน 776 พัน ล.ยูโร หรือ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 เทียบกับที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 9.5 ในปีนี้ ส่วนการนำเข้าในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่
จำนวน 604 พัน ล.ยูโร หรือร้อยละ 6.5 ซึ่งใกล้เคียงกับปี 47 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากทั่วโลกลด
ลง ประกอบกับการแข่งขันของค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจปี 48 ว่าจะชะลอตัว โดยคาดว่าสูงสุดจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.8 ในปีนี้ ภายใต้
สมมติฐานว่าราคาน้ำมันจะผ่อนคลายอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ขณะที่หัวหน้า BGA กล่าวว่า จาก
การประชุมคณะกรรมการครั้งล่าสุดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปีหน้าจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.25
หากราคาน้ำมันยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาราคาซื้อขายน้ำ
มันดิบเบรนท์อยู่ที่ 51 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ต.ค. 47 21 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.333 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1330/41.4145 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.71875-1.7500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 649.27/ 11.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,250/8,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.2 39.22 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.39*/14.59 22.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 20 ต.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. อนุมัติสถาบันการเงินเป็น ธ.พาณิชย์ 3 ราย นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้พิจารณาอนุมัติให้สถาบันการเงิน
ที่ยื่นขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพิ่มอีก 3 ราย โดยมีสถาบันการเงินที่ยื่นขอปรับสถานะเป็น ธ.พาณิชย์ 2 ราย
และอีก 1 ราย เข้าข่ายต้องดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ซึ่ง ธปท.
จะเสนอเรื่องไปยัง ก.คลังต่อไป อย่างไรก็ตาม มี 1 รายที่ ธปท. ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้
ส่งผลการพิจารณาที่สถาบันการเงินได้ยื่นขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์ไปให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว 3 แห่ง ทั้งนี้
ธปท. จะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอภายใน 1 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดเวลาการยื่นคำขอ และเสนอ
ให้ รมว.คลังภายใน 3 เดือน และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน จนถึงวันสุดท้ายคือ 31 ม.ค.48
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังมอบหมายให้ AMC รัฐหาแนวทางแก้ไขหนี้เอ็นพีเอ-เอ็นพีแอล นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลังได้มอบหมายให้สถาบันบริหารสินทรัพย์ภาครัฐ (AMC) ทั้ง 4 แห่ง คือ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) บริษัทบริหารสินทรัพย์
กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (แซม) ประสานความร่วมมือกันเพื่อดูแลการเจรจา
กับลูกหนี้และหาแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมดด้วยความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อย
และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จในอีก 3 ปี หรือภายในปี 2550 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือและพิจารณาตัว
เลขหนี้พร้อมกับกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การแก้ปัญหาเอ็นพีแอล 2)
การบริหารจัดการสินทรัพย์รอการขาย ซึ่งได้กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันให้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา
5 ชุด คือ 1) คณะทำงานดูแลมาตรฐานปรับโครงสร้างหนี้ โดยแซมเป็นเจ้าภาพ 2) คณะทำงานการใช้
ทรัพยากรร่วมกัน บสก.เป็นเจ้าภาพ 3) คณะทำงานดูแลการใช้ระบบไอที คอมพิวเตอร์ร่วมกัน บบส.เป็นเจ้า
ภาพ 4) คณะทำงานดูแลปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็น
เจ้าภาพ และ 5) คณะทำงานดูแลกระบวนการจัดการ NPA ให้เรียบร้อยโดยเร็ว มี บสก.เป็นเจ้าภาพ หลัง
จากนี้คณะทำงานจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อให้ได้แนวทาง และนำผลที่ได้จากคณะทำงานมาประชุมอีกครั้งใน 3
สัปดาห์ สำหรับมูลหนี้ที่โอนมายัง AMC ทั้ง 4 แห่ง มีทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นของ บสท.
778,678 ล้านบาท บบส. 197,899 ล้านบาท บสก. 128,555 ล้านบาท และ แซม 299,995 ล้านบาท มี
การปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว 1.1 ล้านล้านบาท และเหลือค้าง 3 แสนล้านบาท เป็นหนี้รายย่อย 220,000
ล้านบาท หนี้รายใหญ่ 80,000 ล้านบาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่าไตรมาส 4 ปี 47 ไทยจะขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 8 ปี นายอัทธ์ พิศาลวานิช
ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยการคาดการณ์ภาวะการส่งออกไตรมาส
4/2547 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ลดลง ราคาน้ำมันแพง และปัญหาไข้หวัดนก
ทำให้คาดว่าการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 4/2547 จะมีมูลค่าประมาณ 24,978 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาส 3/2547 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 25,302 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบกับไตรมาส 3/2547
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาส 4 ปีนี้ไทยจะขาดดุลการค้า 324 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 8 ปี เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของทุกปี ส่วนการส่งออก
เฉลี่ยในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 96,040 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.98 การนำเข้ามี
มูลค่า 95,868 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 เกินดุลการค้าประมาณ 172 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำ
สุดในรอบ 7 ปี ในขณะที่ จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 5.5 — 6.0 ลดลงจากปี 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ทั้ง
นี้ จากการศึกษาผลกระทบเรื่องราคาน้ำมันพบว่า หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลให้จีดีพีลดลงร้อย
ละ 0.5 หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ดุลการค้าลดลงร้อยละ 2.5 (ข่าวสด, แนวหน้า, บ้านเมือง)
4. ธ.พาณิชย์กำไรงวด 9 เดือน กว่า 6.4 หมื่นล้านบาท รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย เปิดเผยว่า ธ.พาณิชย์ 12 แห่ง ได้แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 และงวด 9 เดือนมายัง
ตลท.แล้ว ปรากฎว่า ไตรมาสที่ 3 มีกำไรสุทธิรวมกัน 19,759.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน
ที่ขาดสุทธิไป 401.52 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 64,249.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35,157.26
ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 46 ที่มีกำไรสุทธิ 29,092.90 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลกำไรสุทธิไตรมาส
3 เฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.นคร
หลวงไทย มีกำไรสุทธิรวม 16,883.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,018.39 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.85
จากงวดเดียวกันของปี 46 ที่มีกำไรสุทธิ 13,814.76 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิรวม
54,214.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,968.55 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.75 จากงวดเดียวกันของปี 46 ที่
มีกำไรสุทธิ 38,245.54 ล้านบาท โดย ธ.นครหลวงไทยมีกำไรสุทธิไตรมาส 3 สูงสุดในกลุ่มธนาคารขนาด
ใหญ่ คือ 1,390.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 672.97 ล้านบาท (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดลดลงจำนวน 25,000
คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 21 ต.ค.47 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ครั้งแรกของ สรอ.เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ต.ค.47 ลดลงอยู่ที่จำนวน 329,000 คน จากจำนวน 354,000
คนในสัปดาห์ก่อนหน้า หรือลดลง 25,000 คน ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์วอลล์สตรีทคาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่
ที่จำนวน 345,000 คน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่าไม่มีสาเหตุสำคัญอันใดที่ส่งผลให้จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง
งานลดลงในสัปดาห์นี้ แต่เห็นว่าสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่มีวันหยุดหลายวัน อันอาจส่งผลกระทบต่อตัวเลขดังกล่าวให้มี
ความผันผวน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขระยะสั้น อยู่ที่จำนวน
348,250 คน จากจำนวน 353,750 คน อันเป็นระดับที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ามีการจ้างงานที่เหมาะสม ส่วน
จำนวนผู้ว่างงาน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ต.ค.47 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่จำนวน 2.80 ล้านคน จากจำนวน 2.81
ล้านคนในสัปดาห์ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าลดลงในเดือน ส.ค.47 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ
21 ต.ค.47 European Union statistical office (Eurostat) เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าของกลุ่ม
ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ) ในเดือน ส.ค.47 มีจำนวน 3.0 พัน ล.ยูโร ลดลงเมื่อเทียบกับ
จำนวน 12.8 พัน ล.ยูโร (16.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ในเดือนก่อน และ 7.2 พัน ล.ยูโรในเดือนเดียว
กันปีก่อน เป็นผลจากการส่งออก(ก่อนปรับฤดูกาล)ซึ่งมีจำนวน 85.3 พัน ล.ยูโร ลดลงจาก 100.7 พัน ล.ยูโร
ในเดือนก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีจำนวน 82.3 พัน ล.ยูโร ลดลงจาก 87.9 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อน สำหรับ
ยอดเกินดุลการค้าในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.47) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 58.6 พัน ล.ยูโร จากจำนวน
40.2 พัน ล.ยูโรในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่ลดลงในเดือน ส.ค.47 มีสาเหตุจากความต้อง
การของผู้บริโภคชะลอตัวลง และผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างไร
ก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่ายังคงไม่น่าเป็นห่วงนัก เนื่องจากเดือน ส.ค. เป็นเดือนที่มีวันหยุดจำนวนมาก ทำให้
บรรดาอุตสาหกรรมลดการผลิตสินค้า การส่งออกจึงลดลงตาม อนึ่ง ตัวเลขการส่งออก(หลังปรับฤดูกาล)ใน
เดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.4 จากเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ชะลอตัวจาก
ไตรมาสก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 ต.ค. 47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาด
ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 0.9 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 46 ที่อัตราการขยายตัวต่อไตรมาสต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.7 ที่นัก
เศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะขยายตัวในระยะยาวและส่งผลให้อัตราการขยายตัวต่อปีลดลง
เหลือร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคการบริการของประเทศโดยผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงต่อ
เนื่องในเดือน ก.ค.-ส.ค.47 ส่วนตัวเลขของเดือน ก.ย.47 ยังไม่มีรายงาน เช่นเดียวกับ ธ.กลางอังกฤษที่
คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะชะลอตัวจากไตรมาสก่อนจึงตัดสินใจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อ
ต้นเดือนนี้โดยมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้คงเดิมจนถึงสิ้นปีนี้ ธ.กลางอังกฤษมีกำหนดจะประกาศตัวเลข
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค.47 นี้ เวลา 8.30 น.
ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของเยอรมนีในปี 48 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 21 ต.ค.47 The BGA wholesale and foreign trade association ประมาณการอัตราการเติบ
โตการส่งออกของเยอรมนีในปี 48 ว่าจะชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่จำนวน 776 พัน ล.ยูโร หรือ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 เทียบกับที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 9.5 ในปีนี้ ส่วนการนำเข้าในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่
จำนวน 604 พัน ล.ยูโร หรือร้อยละ 6.5 ซึ่งใกล้เคียงกับปี 47 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากทั่วโลกลด
ลง ประกอบกับการแข่งขันของค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจปี 48 ว่าจะชะลอตัว โดยคาดว่าสูงสุดจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.8 ในปีนี้ ภายใต้
สมมติฐานว่าราคาน้ำมันจะผ่อนคลายอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ขณะที่หัวหน้า BGA กล่าวว่า จาก
การประชุมคณะกรรมการครั้งล่าสุดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปีหน้าจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.25
หากราคาน้ำมันยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาราคาซื้อขายน้ำ
มันดิบเบรนท์อยู่ที่ 51 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ต.ค. 47 21 ต.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.333 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1330/41.4145 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.71875-1.7500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 649.27/ 11.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,250/8,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.2 39.22 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.39*/14.59 22.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 20 ต.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-