'ปชป.'ยันไม่ขอแทรงแซงกิจการภายในพม่า พร้อมเรียกร้องรบ.ทบทวนการปล่อยเงินกู้พม่า...ซึ่งก่อนหน้านี้ ‘เอ็กซิมแบงก์’เคยระบุ มีความเสี่ยงสูง ย้ำ'เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ'ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรมีเรื่องผลประโยชน์! ‘ปชป.’ยืนยันไม่เรียกร้องให้ปปช.ลาออก.. แนะ ‘ปปช.’ อย่าตอบโต้ กลุ่มส.ว.,ครป.ถือเป็นสิทธิ์ตาม รธน.
วันนี้ ( 25 ตุลาคม 47 ) เวลา 10.30น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์พม่าว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ทางพรรคคงไม่ต้องการกล่าวอะไรที่เข้าไปแทรกแซงต่อกิจการภายในของของพม่า เพราะการเปลี่ยนแปลงของพม่าเป็นเรื่องของผู้นำและประชาชน ที่จะต้องตัดสินอนาคตของตนเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การปฎิวัติของพม่าในครั้งนี้ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ว่า มีประเทศไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องของการปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศพม่าจำนวนเงินประมาณ 4,000ล้านบาท
ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เอง ออกมาเรียกร้องแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาลไทยในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าเรื่องเงินกู้ 4,000ล้าน ที่ธนาคารเพื่อการส่งออก (เอ็กซิมแบงก์)ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับประเทศพม่า เป็นการปล่อยกู้ให้กับโครงการพัฒนาสื่อสารโทรคมนาคมจำนวน 3 โครงการ “มีการคัดเลือกเอาบริษัทบริษัทชินแซทเทลไลท์ ซึ่งเป็นครอบครัวของนายกฯ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทนี้ด้วย และก็เป็นผู้พัฒนาระบบโทรคมนาคม ในโครงการพัฒนาการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมระบบรอดแบนด์ ซึ่งมีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ” นายองอาจ กล่าวและว่า โครงการดังกล่าวได้มีการลงนามในสัญญาวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 และต่อมาทางเอ็กซิมแบงก์ก็ได้อนุมัติเงินกู้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ตามที่รัฐบาลร้องขอ
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า โครงการปล่อยเงินกู้ให้กับพม่า ทางธนาคารเพื่อการส่งออก (เอ็กซิมแบงก์)ได้เคยระบุชัดเจนว่า การปล่อยเงินกู้นี้เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง ”พูดง่ายๆภาษาชาวบ้าน ก็คือ รัฐบาลไทยไม่ควรเอาเงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชนไปปล่อยกู้ให้กับประเทศพม่า ทางเอ็กซิมแบงก์ได้พูดไว้อย่างนี้ชัดเจนว่า ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง แต่ปรากฎว่า รัฐบาลไทยก็ยังเดินหน้าที่จะดำเนินการต่อ โดยมีข้ออ้างหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ข้ออ้างในโครงการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 4 ประเทศ ข้ออ้างการกองทุนให้การพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความหวังจะเป็นผลดีในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวและว่า การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีการดำเนินการอย่างนี้มาโดยตลอด และเห็นว่าการดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้ ปรากฏมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจากการปล่อยเงินกู้รัฐบาลพม่าในครั้งนี้ อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจในพม่านั้น เป็นเรื่องที่มาจากผลประโยชน์ทับซ้อนของรัฐบาลไทยที่เห็นได้ชัดเจน ทันทีเมื่อพม่าอนุมัติให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวของท่านนายกฯ ไปได้ผลประโยชน์ในโครงการพัฒนาสื่อสารโทรคมนาคมที่ประเทศพม่า
นายองอาจ กล่าวตอนท้ายว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการปล่อยเงินกู้ให้กับพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเอ็กซิมแบงก์ก็ออกมาบอกว่าเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง “สิ่งที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องในวันนี้ก็คือว่า ให้รัฐบาลทบทวนเงินกู้ให้พม่า เพราะจากการเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่านั้นทำให้เราไม่อาจมั่นใจได้ว่า เงินกู้ที่เราปล่อยกู้ไปนั้นเอ็กซิมแบงก์ เคยบอกว่า มีความเสี่ยงสูงนั้น ทุกอย่างจะเป็นไปตามสัญญาข้อตกลงที่ทำกับไทยไว้หรือไม่ ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า การทบทวนการปล่อยเงินกู้ อาจจะทำ ให้ศักดิ์ของรัฐบาลไทยที่ถูกกล่าวหา ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้ค่อนข้างมากคลี่คลายลงไปได้ และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยรวมมากกว่า และเห็นว่าจากเหตุการณ์นี้ น่าจะถึงเวลาที่รัฐบาลไทยจะได้แสดงจุดยืนครั้งสำคัญนี้นะครับ เพื่อเกียรติภูมิของประเทศที่ไม่ต้องเสื่อมเสียไปมากกว่านี้ และไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมากไปกว่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก” นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ยังกล่าวถึงกรณีการขอขึ้นเงินเดือนของปปช.ที่นำไปสู่ศาลฎีกาในขณะนี้ว่า มีความพยายามออกมาเรียกร้องของกลุ่มส.ว.และองค์กรประชาธิปไตย โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เอง คงไม่ออกมาเรียกร้องให้มีการลาออกแต่อย่างใด ขณะเดียวกันเห็นว่า ปปช.ไม่ควรออกมาตอบโต้ หรือออกมาท้าทายกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ เพราะว่า ส.ว.ส่วนหนึ่งและองค์กรประชาธิปไตย ที่ออกมาเรียกร้องในส่วนนี้ ถือว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิกับประชาชนชาวไทยที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี
“แล้วถ้า ปปช.จะให้ครป.ลาออก อยากจะเรียนถามว่า จะให้ครป.ไปลาออกจากอะไร? เพราะครป.เป็นองค์กรประชาธิปไตยนะครับ ไม่ได้ไปขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือองค์กรไหนทั้งสิ้น หรือว่าจะให้ ครป.ไปลาออกจากการเป็นประชาชนไทยซึ่งก็คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ส่วน ส.ว.ส่วนหนึ่งที่ออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้เหมือนกัน และส่วนหนึ่งก็ทำหน้าที่ในการตรวจสอบด้วยเหมือนกัน ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตามกฎหมายกำหนด ไม่ได้ทำนอกเหนือจากหน้าที่แต่อย่างใด” นายองอาจ กล่าวและว่า ส.ว.และส.ส.จำนวน 200 กว่าท่านที่ช่วยทำให้ปปช.ในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระ มีเกียรติ์ มีศักดิ์และมีความโปร่งใสมากขึ้น และถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความหวังไว้มาก ว่าปปช.จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นได้เป็นอย่างดี
ส่วนกรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า ในระหว่างที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ว่างเว้นจากการทำหน้าที่ และประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนสามารถแจ้งเรื่องร้องทุกข์มายังตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์หน้าบ้านพิษณุโลก นั้น นายองอาจ กล่าวว่า นายจักรภพอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับ ตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์ของนายกรัฐมนตรี และ แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะว่างเว้นจากการปฏิบัติงาน แต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยังสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติและตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง
“ผมไม่แน่ใจว่า การไปยื่นที่ตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์จะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรนะครับ เพราะนายกฯเองก็ไม่ได้คิดที่จะดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องขอิงการทุจริตคอรัปชั่นอยู่แล้วนะครับ ดีไม่ดีคนที่ไปแจ้งจะมีปัญหาด้วยก็ได้นะครับ” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-
วันนี้ ( 25 ตุลาคม 47 ) เวลา 10.30น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์พม่าว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ทางพรรคคงไม่ต้องการกล่าวอะไรที่เข้าไปแทรกแซงต่อกิจการภายในของของพม่า เพราะการเปลี่ยนแปลงของพม่าเป็นเรื่องของผู้นำและประชาชน ที่จะต้องตัดสินอนาคตของตนเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การปฎิวัติของพม่าในครั้งนี้ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ว่า มีประเทศไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องของการปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศพม่าจำนวนเงินประมาณ 4,000ล้านบาท
ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เอง ออกมาเรียกร้องแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาลไทยในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าเรื่องเงินกู้ 4,000ล้าน ที่ธนาคารเพื่อการส่งออก (เอ็กซิมแบงก์)ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับประเทศพม่า เป็นการปล่อยกู้ให้กับโครงการพัฒนาสื่อสารโทรคมนาคมจำนวน 3 โครงการ “มีการคัดเลือกเอาบริษัทบริษัทชินแซทเทลไลท์ ซึ่งเป็นครอบครัวของนายกฯ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทนี้ด้วย และก็เป็นผู้พัฒนาระบบโทรคมนาคม ในโครงการพัฒนาการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมระบบรอดแบนด์ ซึ่งมีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ” นายองอาจ กล่าวและว่า โครงการดังกล่าวได้มีการลงนามในสัญญาวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 และต่อมาทางเอ็กซิมแบงก์ก็ได้อนุมัติเงินกู้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ตามที่รัฐบาลร้องขอ
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า โครงการปล่อยเงินกู้ให้กับพม่า ทางธนาคารเพื่อการส่งออก (เอ็กซิมแบงก์)ได้เคยระบุชัดเจนว่า การปล่อยเงินกู้นี้เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง ”พูดง่ายๆภาษาชาวบ้าน ก็คือ รัฐบาลไทยไม่ควรเอาเงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชนไปปล่อยกู้ให้กับประเทศพม่า ทางเอ็กซิมแบงก์ได้พูดไว้อย่างนี้ชัดเจนว่า ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง แต่ปรากฎว่า รัฐบาลไทยก็ยังเดินหน้าที่จะดำเนินการต่อ โดยมีข้ออ้างหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ข้ออ้างในโครงการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 4 ประเทศ ข้ออ้างการกองทุนให้การพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความหวังจะเป็นผลดีในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวและว่า การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีการดำเนินการอย่างนี้มาโดยตลอด และเห็นว่าการดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้ ปรากฏมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจากการปล่อยเงินกู้รัฐบาลพม่าในครั้งนี้ อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจในพม่านั้น เป็นเรื่องที่มาจากผลประโยชน์ทับซ้อนของรัฐบาลไทยที่เห็นได้ชัดเจน ทันทีเมื่อพม่าอนุมัติให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวของท่านนายกฯ ไปได้ผลประโยชน์ในโครงการพัฒนาสื่อสารโทรคมนาคมที่ประเทศพม่า
นายองอาจ กล่าวตอนท้ายว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการปล่อยเงินกู้ให้กับพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเอ็กซิมแบงก์ก็ออกมาบอกว่าเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง “สิ่งที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องการเรียกร้องในวันนี้ก็คือว่า ให้รัฐบาลทบทวนเงินกู้ให้พม่า เพราะจากการเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่านั้นทำให้เราไม่อาจมั่นใจได้ว่า เงินกู้ที่เราปล่อยกู้ไปนั้นเอ็กซิมแบงก์ เคยบอกว่า มีความเสี่ยงสูงนั้น ทุกอย่างจะเป็นไปตามสัญญาข้อตกลงที่ทำกับไทยไว้หรือไม่ ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า การทบทวนการปล่อยเงินกู้ อาจจะทำ ให้ศักดิ์ของรัฐบาลไทยที่ถูกกล่าวหา ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้ค่อนข้างมากคลี่คลายลงไปได้ และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยรวมมากกว่า และเห็นว่าจากเหตุการณ์นี้ น่าจะถึงเวลาที่รัฐบาลไทยจะได้แสดงจุดยืนครั้งสำคัญนี้นะครับ เพื่อเกียรติภูมิของประเทศที่ไม่ต้องเสื่อมเสียไปมากกว่านี้ และไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมากไปกว่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก” นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ยังกล่าวถึงกรณีการขอขึ้นเงินเดือนของปปช.ที่นำไปสู่ศาลฎีกาในขณะนี้ว่า มีความพยายามออกมาเรียกร้องของกลุ่มส.ว.และองค์กรประชาธิปไตย โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เอง คงไม่ออกมาเรียกร้องให้มีการลาออกแต่อย่างใด ขณะเดียวกันเห็นว่า ปปช.ไม่ควรออกมาตอบโต้ หรือออกมาท้าทายกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ เพราะว่า ส.ว.ส่วนหนึ่งและองค์กรประชาธิปไตย ที่ออกมาเรียกร้องในส่วนนี้ ถือว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิกับประชาชนชาวไทยที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี
“แล้วถ้า ปปช.จะให้ครป.ลาออก อยากจะเรียนถามว่า จะให้ครป.ไปลาออกจากอะไร? เพราะครป.เป็นองค์กรประชาธิปไตยนะครับ ไม่ได้ไปขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือองค์กรไหนทั้งสิ้น หรือว่าจะให้ ครป.ไปลาออกจากการเป็นประชาชนไทยซึ่งก็คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ส่วน ส.ว.ส่วนหนึ่งที่ออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้เหมือนกัน และส่วนหนึ่งก็ทำหน้าที่ในการตรวจสอบด้วยเหมือนกัน ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตามกฎหมายกำหนด ไม่ได้ทำนอกเหนือจากหน้าที่แต่อย่างใด” นายองอาจ กล่าวและว่า ส.ว.และส.ส.จำนวน 200 กว่าท่านที่ช่วยทำให้ปปช.ในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระ มีเกียรติ์ มีศักดิ์และมีความโปร่งใสมากขึ้น และถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความหวังไว้มาก ว่าปปช.จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นได้เป็นอย่างดี
ส่วนกรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า ในระหว่างที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ว่างเว้นจากการทำหน้าที่ และประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนสามารถแจ้งเรื่องร้องทุกข์มายังตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์หน้าบ้านพิษณุโลก นั้น นายองอาจ กล่าวว่า นายจักรภพอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับ ตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์ของนายกรัฐมนตรี และ แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะว่างเว้นจากการปฏิบัติงาน แต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยังสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติและตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง
“ผมไม่แน่ใจว่า การไปยื่นที่ตู้รับเรื่องราวร้องทุกข์จะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรนะครับ เพราะนายกฯเองก็ไม่ได้คิดที่จะดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องขอิงการทุจริตคอรัปชั่นอยู่แล้วนะครับ ดีไม่ดีคนที่ไปแจ้งจะมีปัญหาด้วยก็ได้นะครับ” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ต.ค. 2547--จบ--
-ดท-