ปริมาณความต้องการน้ำในอนาคตกรณีที่ 2 (2564) (ล้าน ลบ.ม.)
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก อุปโภค อุตสาห ชลประทาน ระบบ รวมปริมาณน้ำต้องการ
บริโภค กรรม ฤดูฝน ฤดูแล้ง รวม นิเวศ ฤดูฝน ฤดูแล้ง ทั้งปี
1. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 646.13 628.14 23,430.81 21,681.35 45,112.16 3,520.20 25,828.04 24,078.58 49,906.62
2. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 17.09 9.68 70.66 43.63 114.29 1,453.04 810.57 783.53 1,594.10
3. กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 1,525.94 1,581.67 13,345.80 20,130.02 33,475.82 3,364.11 16,581.66 23,365.88 39,947.54
4. กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 54.55 177.92 1,033.82 3,176.55 4,210.37 1,500.48 1,900.29 4,043.03 5,943.32
5. กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 70.47 260.47 1,568.48 2,570.99 4,139.47 147.44 1,807.67 2,810.18 4,617.85
6. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก 98.89 301.05 62.71 186.22 248.93 205.22 365.29 488.80 854.09
7. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก 31.17 164.21 870.07 681.14 1,551.21 269.36 1,102.44 913.51 2,015.95
8. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 230.24 317.59 5,605.76 3,365.52 8,971.28 7,045.60 10,668.04 5,896.67 16,564.71
9. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 78.17 92.44 618.56 609.35 1,227.91 2,093.44 2,127.93 1,364.03 3,491.96
รวมลุ่มน้ำทั้งประเทศ 2,752.64 3,533.18 46,606.67 52,444.77 99,051.44 19,598.89 61,191.94 63,744.21 124,936.15
สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชลประทานจนเต็มศักยภาพพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบชลประทานคง
ดำเนินการได้ยาก เพราะจะต้องใช้ปริมาณน้ำมาก และไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำที่จะพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และ
ขนาดกลางให้สามารถส่งน้ำได้อย่างพอเพียงตามอัตราการใช้น้ำอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นในพื้นที่ที่ไม่สามารถพัฒนา
ระบบชลประทานได้ จึงต้องพัฒนาในลักษณะพื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการขนาดเล็ก หรือในลักษณะของ
เกษตรยังชีพ หรือเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
4.1.2 แนวทางและมาตรการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุน
จากข้อจำกัดศักยภาพการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งน้ำ
มีหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขาดการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็น
ระบบ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ ดังนั้นเพื่อให้
การดำเนินการแผนการจัดการหาแหล่งน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำหลักต่างๆ ได้มีการดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องอย่างเป็น
ระบบมีประสิทธิภาพและสามารถสนองความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนจึงมีความจำเป็นที่จะ
ต้องดำเนินการวางแผนและศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศในแผนต่างๆ
กล่าวคือ
1) การปรับปรุงโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลางให้มีประสิทธิภาพการใช้งาน เพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุด
2) การปรับปรุงแหล่งน้ำชุมชน /แหล่งน้ำขนาดเล็ก
3) การพัฒนาโครงการขนาดเล็ก โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และสระน้ำชุมชน
4) การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลางเพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติม
5) การพัฒนาโครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ
6) การพัฒนาโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำข้างเคียงด้วยระบบท่อส่งน้ำดิบ
7) การขุดลอกหนองน้ำ คลองธรรมชาติ และแก้มลิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำ
8) การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและฟื้นฟูสภาพลุ่มน้ำตอนบน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
เก็บกักน้ำตามธรรมชาติ
4.1.3 การทบทวนแผนการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน
1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในปัจจุบัน
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ
ในปัจจุบันได้รวบรวมจากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 694 โครงการ
มีปริมาตรความจุเก็บกักทั้งหมด 70,518 ล้าน ลบ.ม. เป็นปริมาตรความจุใช้งาน 46,751 ล้าน ลบ.ม.
และมีพื้นที่ชลประทานรวมทั้งสิ้น 21.88 ล้านไร่ หรือประมาณ 22 ล้านไร่
2) โครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางตามแผนดำเนินการช่วงปี 2547 — 2551
กรมชลประทานได้กำหนดแผนพัฒนาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง
ในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำ โดยกำหนดช่วงระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2551
จำนวนทั้งสิ้น 211 โครงการ โดยโครงการดังกล่าวประกอบด้วยโครงการทั้งประเภทอ่างเก็บน้ำ เขื่อนทดน้ำ
ฝายทดน้ำ ระบบส่งน้ำ และระบบผันน้ำ ได้ความจุอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 7,602 ล้าน ลบ.ม.
และพื้นที่ชลประทานเป้าหมายประมาณ 5.29 ล้านไร่ โดยมีรายละเอียดแยกเป็นรายกลุ่มลุ่มน้ำ ได้ดังนี้
กลุ่มลุ่มน้ำ จำนวนโครงการ ความจุอ่างเก็บน้ำ พื้นที่ชลประทาน(ไร่)
(ล้าน ลบ.ม.)
1. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่โขง 51 352.80 645,333
2. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 1 - 12,000
3. กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา — ท่าจีน 80 4,124.97 2,222,310
4. กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 6 73.66 40,700
5. กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 15 1,634.91 1,131.221
6. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก 19 830.98 716,221
7. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตก 8 88.44 87,900
8. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 20 409.83 393,920
9. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 11 85.96 45,400
ภาพรวมทั้งประเทศ 211 7,601.55 5,294,255
จะเห็นว่ากลุ่มลุ่มน้ำที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางมากที่สุด
คือกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน (4,125 ล้าน ลบ.ม.) รองลงมาคือกลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง (1,635 ล้าน ลบ.ม.)
3) โครงการบริหารจัดการระบบชลประทานแบบบูรณาการทั้งประเทศ
กรมชลประทานได้เสนอให้มี “โครงการน้ำแก้จน” เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึง
ประโยชน์ของน้ำ ก่อให้เกิดผลิตภาพทางการเกษตรมากขึ้น และยังป้องกันภัยธรรมชาติที่เกิดจากน้ำ (น้ำท่วม
น้ำแล้ง มลภาวะทางน้ำ) ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นด้วย โดยมีเป้าหมายหลักในด้านการพัฒนา
แหล่งน้ำและจัดการน้ำ สรุปได้ดังนี้
1) เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก ประมาณ 20,500 ล้าน ลบ.ม. ประกอบด้วย
- จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 10,000 ล้าน ลบ.ม.
- ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 2,500 ล้าน ลบ.ม.
- ปรับปรุง/พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและแก้มลิง 3,000 ล้าน ลบ.ม.
- สระน้ำชุมชนประจำหมู่บ้าน 25,000 แห่งๆ ละไม่น้อยกว่า 200,000 ลบ.ม.
รวมทั้งสิ้น 5,000 ล้าน ลบ.ม. (ในจำนวนหมู่บ้านที่เกิดภาวะแห้งแล้งประมาณ 35,000 แห่ง)
2) เพิ่มพื้นที่ชลประทานในอีก 5 ปีข้างหน้า มีพื้นที่ชลประทานเป็น 33 ไร่
ปัจจุบันพื้นที่ชลประทานมี 22 ล้านไร่ คาดหวังว่าภายในปี 2551
- มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มอีก 11 ล้านไร่ เป็น 33 ล้านไร่
- มีพื้นที่รับประโยชน์ 25 ล้านไร่
- มีพื้นที่รับประโยชน์จากสระน้ำ เกษตรยังชีพ และอุปโภคบริโภค 73 ล้านไร่
4.1.4 ศักยภาพในการพัฒนาแหล่งน้ำ
จากการทบทวนข้อมูลดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า ศักยภาพในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุน โดยพัฒนา
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางประมาณ 10,000 ล้าน ลบ.ม. และจะได้แหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการ
ปรับปรุงโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลางเดิมประมาณ 2,500 ล้าน ลบ.ม. โดยจะพัฒนาพื้นที่ชลประทาน
ขนาดใหญ่และขนาดกลางได้เพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 10 ล้านไร่ หรือรวมทั้งปัจจุบันแล้วประมาณ 32 ล้านไร่
สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการชลประทานทั้งหมด 57 ล้านไร่นั้น ควรจะพัฒนาเป็นโครงการ
ขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีระบบชลประทานสมบูรณ์ทั้งปัจจุบันและอนาคตประมาณ 32 ไร่ และที่เหลืออีก
25 ล้านไร่ ควรพัฒนาเป็นโครงการขนาดเล็กหรือโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
สำหรับพื้นที่ถือครองการเกษตรทั้งหมด 130 ล้านไร่นั้น ส่วนที่อยู่นอกเขตพื้นที่ที่เหมาะสมต่อ
การชลประทานประมาณ 73 ล้านไร่ นั้นยังคงต้องเป็นเกษตรน้ำฝนหรือพัฒนาเป็นพื้นที่ได้รับประโยชน์จาก
การขุดสระน้ำ เกษตรยังชีพ เป็นต้น
ในการพัฒนาและปรับปรุงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ให้มีความจุเพิ่มขึ้น 12,500 ล้านลบ.ม.
จะได้ความจุที่ระดับเก็บกักรวมทั้งสิ้น 83,018 ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 38.9 ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย
รายปีทั้งประเทศ
4.2 แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แสดงไว้ในแผนภูมิประกอบด้วย
1) สร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและคุณค่า
ของน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
2) พัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเชิงบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
3) กำหนดและจัดทำแผนพัฒนาการใช้ที่ดินและผังเมืองให้ชัดเจน
4) กำหนดนโยบายน้ำแห่งชาติให้ชัดเจน และนำไปสู่การปฏิบัติได้
5) จัดทำแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในระดับลุ่มน้ำ
6) กำหนดมาตรการจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับศักยภาพ
7) ปรับกลไกองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพในทุกระดับ
8) ปรับปรุงกฎหมายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษ
9) พัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ด้านทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้อง
ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์
10) จัดกลุ่มลุ่มน้ำหลักตามลักษณะการไหลลงสู่ทะเลและแม่น้ำนานาชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในระดับลุ่มน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำ และภาพรวมของประเทศ
4.2.1 การสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของ
ทรัพยากรน้ำ และคุณค่าของน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
สมควรเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้คนไทยได้
ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ รู้ถึงคุณค่าของน้ำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยมีแนวทางในการ
ดำเนินการดังนี้
1) บรรจุความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้เยาวชนเข้าใจ
ถึงสภาพทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำต่างๆ สภาพปัญหาและกระบวนการแก้ไข และเข้าใจในหน้าที่การมีส่วนร่วมรักษา
แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่รัฐจัดสร้างขึ้น
2) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนทั่วไปในทุกลุ่มน้ำตระหนักถึงความสำคัญ
ของทรัพยากรน้ำและแหล่ง รู้คุณค่าของน้ำและใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
3) สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรน้ำใน
ลุ่มน้ำ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลและความถูกต้องขององค์ความรู้ทรัพยากรน้ำ
4) สนับสนุนให้สถาบันของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีโอกาสทำการศึกษาวิจัย และ
รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นหรือลุ่มน้ำของตนเอง และ
เผยแพร่และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง
4.2.2 การพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเชิงบูรณาการที่เน้นการ
มีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
การพัฒนาซึ่งกลไกของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้านต่างๆ
ควรดำเนินการดังนี้
1) ร่วมทำการศึกษาค้นคว้าปัญหา และสาเหตุของปัญหาทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นในชุมชน
ตลอดจนความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชน
2) ร่วมคิดหา และสร้างรูปแบบ และวิธีการพัฒนา เพื่อแก้ไขและลดปัญหาในเรื่องน้ำของ
ชุมชน หรือสนองความต้องการน้ำของชุมชน
3) ร่วมวางนโยบายหรือกำหนดแผนงาน โครงการหรือกิจกรรม เพื่อบรรเทาหรือขจัดปัญหา
เรื่องน้ำและทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4) ร่วมตัดสินใจการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นธรรม
5) ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารงานพัฒนาเกี่ยวกับน้ำในลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล
6) ร่วมลงทุนในกิจกรรมโครงการของชุมชน ตามขีดความสามารถของชุมชนเองและของ
หน่วยงาน
7) ร่วมปฏิบัติตามนโยบาย แผนงานโครงการ และกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
8) ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการและกิจกรรมที่ทำไว้ทั้ง
ที่เอกชนและรัฐดำเนินการให้ใช้ประโยชน์ได้ยืนนานตลอดไป
9) ร่วมประชุม อบรม สัมมนา ที่ทางราชการและภาคเอกชนจัดขึ้น โดยร่วมเสนอแนะ
แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน
10) ร่วมเป็นสมาชิก ผู้นำ และเป็นกรรมการในกิจกรรมต่างๆ ที่ทางราชการจัดขึ้น
11) มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ชักชวน แนะนำ ประชาสัมพันธ์ เรื่องราวข่าวสารเกี่ยวกับการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้านต่างๆ ให้ประชาชนในชุมชนของแต่ละลุ่มน้ำได้รับรู้เรื่องราวและเกิดความเข้าใจที่ดี
4.2.3 การกำหนดและพัฒนากรอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังเมือง
เพื่อควบคุมปริมาณความต้องการใช้น้ำไม่ให้เกินศักยภาพ เพื่อการบรรเทาน้ำท่วมทั้งในเขตชุมชน
และพื้นที่เกษตรกรรม และเพื่อควบคุมรักษาคุณภาพน้ำและระบบนิเวศ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดและพัฒนา
กรอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังเมืองให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่ โดยมีแนวทางดังนี้
1) การกำหนดบริเวณน้ำหลาก พื้นที่ชะลอน้ำหรือแก้มลิง และทางระบายน้ำหลักในแต่ละ
พื้นที่ให้เหมาะสมและชัดเจน และมีการควบคุมมาตรการการใช้ที่ดินที่เหมาะสม โดยเน้นให้คนอยู่ร่วมกับน้ำได้
2) การกำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในด้านการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด โดยคำนึงถึง
สภาพและศักยภาพของดิน ความลาดเทของพื้นดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาระบบชลประทาน
เพื่อนำไปประกอบในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนตามศักยภาพที่เหมาะสม
3) การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร การอนุรักษ์และควบคุมกิจกรรมในบริเวณพื้นที่
รับน้ำของอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่สร้างขึ้นและแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติ ตลอดจนอนุรักษ์หรือกำหนดพื้นที่กันชน
บริเวณพื้นที่อนุรักษ์เป็นแหล่งผลิตน้ำประปาและน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน
4.2.4 การกำหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำของชาติให้ชัดเจน
วิสัยทัศน์น้ำแห่งชาติ ต้องมีความเป็นเอกลักษณ์และชัดเจน นโยบายน้ำแห่งชาติและนโยบายการ
จัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำจะต้องชัดเจน ครอบคลุมในทุกด้าน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำของชาติควรต้องมุ่งเน้นในประเด็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำ
ที่มีอยู่หลายด้านในปัจจุบันให้บรรลุตามเป้าหมาย ดังนี้
1) มุ่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและกิจการต่างๆ อันเนื่องมาจากการ
ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร เพื่อการอุตสาหกรรม และอื่นๆ โดยการพัฒนาและ
จัดหาน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ที่เหมาะสม
2) เน้นการจัดสรรน้ำให้เหมาะสมและเป็นธรรมในการใช้น้ำด้านต่างๆ กรณีมีแหล่งน้ำ
ปริมาณจำกัด การบริหารการจัดสรรน้ำควรตอบสนองตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านอุปโภคบริโภคในลำดับแรก
โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสม
3) เร่งรัดให้มีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ปรับปรุงฟื้นฟู และบูรณะรักษาแหล่งน้ำที่มีอยู่
ตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่รัฐได้สร้างไว้ไม่ให้มีสภาพเสื่อมโทรม ทั้งนี้เพื่อให้แหล่งน้ำแหล่งนั้นมีสภาพใช้งาน
ได้ยืนนาน และยังจะช่วยรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้คงมีความสมบูรณ์ต่อไป
4) เร่งแก้ไขปัญหาพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมในทุกลุ่มน้ำของประเทศที่ได้รับผล
กระทบจากปัญหาน้ำท่วมและอุทกภัยเป็นประจำ ซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวและ
สภาวะเศรษฐกิจต้องได้รับความเดือดร้อนและเกิดความเสียหาย ให้บรรเทาหรือกำจัดจนหมดสิ้นไป
5) เร่งแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ ทั้งที่เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นเองตามธรรมชาติและที่
มนุษย์ทำขึ้น ที่สำคัญได้แก่ปัญหาน้ำเสีย
4.2.5 การจัดทำแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในระดับลุ่มน้ำ
และกลุ่มลุ่มน้ำหลัก
แผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำเป็นแผนหลักซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์และวิธีการที่จะ
ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นร่วมกันอย่างเป็น
ระบบ สัมพันธ์กันในแต่ละลุ่มน้ำหรือระหว่างลุ่มน้ำ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่าง
จำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่มีทั้งหมดได้ แผนแม่บทของแต่ละลุ่มน้ำ
และภาพรวมในระดับกลุ่มลุ่มน้ำจะประกอบด้วยแผนแม่บทหลักๆ ดังนี้
- แผนแม่บทการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ
- แผนแม่บทการจัดสรรและใช้ทรัพยากรน้ำ
- แผนแม่บทการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ
- แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการระบาย
- แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำและมลภาวะทางน้ำ
1) แผนแม่บทการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ
(1) แผนแม่บทการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค สำหรับหมู่บ้าน
แห้งแล้งรุนแรงและหมู่บ้านที่มีน้ำกินน้ำใช้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องการความช่วยเหลือในแต่ละลุ่มน้ำและ
กลุ่มลุ่มน้ำ
(2) แผนแม่บทการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หลังจากศึกษาสภาพ
การใช้พื้นที่ทำการเกษตรภายในเขตลุ่มน้ำ สภาพน้ำท่าและศักยภาพของแหล่งน้ำต่างๆ แล้ว ทุกพื้นที่ภายใน
ลุ่มน้ำจะทราบถึงทิศทางการพัฒนาแหล่งน้ำ ช่วยเหลือการเกษตรที่ควรดำเนินการต่อไป
(3) แผนแม่บทการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุตสาหกรรม หลังจากศึกษาสภาพ
แหล่งอุตสาหกรรมและความต้องการน้ำเพื่ออุตสาหกรรมของแต่ละลุ่มน้ำแล้ว จะต้องจัดทำแผนแม่บทการจัดหา
น้ำเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งแผนแม่บทด้านนี้อาจรวมอยู่ในแผนแม่บทการจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
และแผนแม่บทการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคค่อนข้างมากในหลายพื้นที่
2) แผนแม่บทการจัดสรรน้ำและใช้ทรัพยากรน้ำ
(1) แผนแม่บทการจัดสรรน้ำตามลำดับความจำเป็น (ความสำคัญ) ของกิจกรรม
และชุมชนที่ใช้น้ำ
(2) แผนแม่บทการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ใช้น้ำในเขตลุ่มน้ำ ให้ตระหนักถึงสภาพการ
ขาดแคลนน้ำ ที่มักเกิดเป็นประจำอยู่ทุกลุ่มน้ำในฤดูแล้ง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด
และรู้คุณค่าน้ำ
(3) แผนแม่บททางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยหลักทางเศรษฐศาสตร์
อย่างหนึ่ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และมีความยุติธรรมแก่สังคม
คือ การคิดค่าน้ำตามความเหมาะสม
3) แผนแม่บทการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ
(1) แผนแม่บทการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ดำเนินการในทุกลุ่มน้ำด้วยวิธีการต่างๆ
ประกอบด้วยแผนงานฟื้นฟูและยับยั้งการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าบริเวณต้นน้ำ
(2) แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ ดำเนินการด้วยมาตรการต่างๆ
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง กำหนดและมอบหมายภารกิจให้กับหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละท้องที่อย่างชัดเจน
4) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการระบายน้ำ
จัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง
หรือเกิดอุทกภัยเป็นประจำจนเป็นเหตุให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวรวมถึงสภาพเศรษฐกิจต้องได้
รับความเดือดร้อนและเกิดความเสียหาย ด้วยยุทธศาสตร์แผนงาน / โครงการที่เหมาะสมกับแต่ละท้องที่และ
สภาพแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรเทาหรือกำจัดให้หมดไป โดยมีการศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพฝน
ปริมาณน้ำไหลหลากของแต่ละลำน้ำและน้ำท่วมขังบริเวณต่างๆ ให้ทราบข้อมูลที่ชัดเจน จากนั้นจึงทำการ
วิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพสังคม และผลกระทบด้านต่างๆ ตลอดจนค่าลงทุน
แล้ววางแผนดำเนินการในแต่ละท้องที่ตามลำดับความสำคัญ ทั้งแผนเร่งด่วนและแผนระยะยาวต่อไปโดย
ประกอบด้วย
(1) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง
(2) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการใช้สิ่งก่อสร้าง
5) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ
(1) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มน้ำกร่อย ทั้งปัญหาน้ำเค็มน้ำกร่อยที่เกิดตามสภาพ
ธรรมชาติที่บริเวณพื้นที่ลุ่มปากแม่น้ำ หรือพื้นที่ดินเค็มตามธรรมชาติที่มีอยู่มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม
ถึงบริเวณที่เกิดน้ำเค็มเนื่องจากการทำนาเกลือโดยการสูบน้ำเค็มจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วย
(2) แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย เนื่องมาจากการพัฒนาตามความเจริญของบ้านเมือง
และการขยายตัวต่อเศรษฐกิจ จึงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในเขตชุมชน โดยไม่มีการบำบัด
น้ำเสียให้มีคุณภาพดีถึงเกณฑ์มาตรฐานก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติตามที่ควร การใช้สารเคมีการเกษตร
ก็ทำให้แหล่งน้ำจำนวนมากมีคุณภาพเสื่อมโทรม และน้ำเสียบางส่วนที่เกิดจากการระบายทิ้งจากบ้านเรือนโดย
ไม่มีการบำบัดอีกด้วย ดังนั้นควรมีแผนแม่บทจัดการคุณภาพน้ำทุกลุ่มน้ำ
ในการจัดทำแผนแม่บทต่างๆ ดังกล่าว จะต้องให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม
ในการดำเนินการ
4.2.6 กำหนดมาตรการจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับศักยภาพ
โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทของลุ่มน้ำรวมทุกด้านให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
ทั้งด้านเทคโนโลยีและสภาพสังคมของแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย
1) มาตรการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ
2) มาตรการจัดสรรและใช้ทรัพยากรน้ำ
3) มาตรการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ
4) มาตรการแก้ไขปัญหาอุทกภัย
5) มาตรการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ
4.2.7 การปรับกลไกองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ
1) องค์กรบริหารจัดการลุ่มน้ำ
องค์กรบริหารจัดการลุ่มน้ำ ประกอบด้วย 2 องค์กรหลักคือ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และคณะกรรมการลุ่มน้ำ โดยแนวทางการปรับปรุงองค์กรทั้งสองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นได้นำเสนอไว้
ในหัวข้อ 3
2) องค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับชาติ
องค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับชาติที่ควรพิจารณาปรับปรุง คือ การจัดตั้งกระทรวงน้ำ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำหลายด้านดังกล่าวมีประสิทธิภาพ นั่นคือให้มีอำนาจหน้าที่
และการจัดส่วนราชการภายในกระทรวงฯ ดังนี้
กระทรวงน้ำมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ต่างๆ การแก้ไข
ปัญหาอุทกภัย การอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ การแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ และ
ราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงน้ำหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงน้ำ
จากการพิจารณาเบื้องต้นกระทรวงน้ำมีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ
(4) กรมอุตุนิยมวิทยา
(5) กรมชลประทานและพัฒนาแหล่งน้ำ
(6) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
(7) กรมป้องกันและบรรเทาอุทกภัย
(8) กรมฟื้นฟูทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ
(9) รัฐวิสาหกิจที่ควรจัดให้อยู่ในสังกัด ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค การประปา
นครหลวง องค์การจัดการน้ำเสีย เป็นต้น
4.2.8 ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้
กฎหมายและบทลงโทษ
การจัดการทรัพยากรน้ำด้านต่างๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีส่วนมาจากกฎหมายเกี่ยวกับ
การจัดการทรัพยากรน้ำ มีเนื้อหาบัญญัติไว้ไม่ครอบคลุมทั่วทุกกิจการ มีปัญหาความหลากหลายของกฎหมาย ปัญหา
การบังคับใช้กฎหมาย และขาดกฎหมายหลักที่กำหนดเป็นแนวเดียวในการปฏิบัติตาม ฯลฯ ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญ
ที่รัฐบาลควรพิจารณาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1) สมควรให้มีพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำขึ้นในประเทศไทย
2) สมควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเก่าที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ
3) การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ
4.2.9 พัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ด้านทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่น
ที่เกี่ยวข้องให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์
ฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลทั้งระดับพื้นที่และระดับ
ลุ่มน้ำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการ ติดตาม
ตรวจสอบทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำได้อย่างทันการ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการใช้
ประโยชน์ทรัพยากรน้ำอย่างผิดกฎหมายด้วย
สำหรับศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำนั้น ในช่วงการดำเนินการต่อไป สมควรที่จะให้มีการพัฒนาบุคลากร
(ยังมีต่อ)