(ต่อ3) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติและ 25 แม่น้ำสำคัญของประเทศ รวม 9 กลุ่มลุ่มน้ำ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2004 13:05 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    5.  ขอบเขตและกรอบการทำงานของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำ ควรมีความเป็นรูปธรรมชัดเจน
6. มาตรการและการดำเนินการในประเด็นฐานข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับน้ำในสภาพ
ปัจจุบันซึ่งถือได้ว่ากระจัดกระจายไม่เป็นเอกภาพเพียงพอที่จะใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบาย วางแผน
และการนำไปสู่การปฏิบัติได้ เห็นควรให้มีการทบทวนในเชิงประเมินสรุป เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติ
และ 25 แม่น้ำสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ และควรเร่งดำเนินการเสริมสร้างบุคลากรทั้งในระดับผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ชำนาญการ และผู้ปฏิบัติที่จะเข้ามารับผิดชอบในการดำเนินการของศูนย์กลางระบบข้อมูลแห่งชาติในอนาคต
7. ปัจจัยสำคัญต่างๆในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติ เช่น นโยบายน้ำ
ของชาติ คณะ-กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการลุ่มน้ำ กฎหมายน้ำ และกระทรวงน้ำเป็นประเด็น
ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯได้นำเสนอมาก่อนแล้ว เห็นควรดำเนินการให้มีบทสรุปอย่างเป็นรูปธรรม
8. ข้อมูลและการสำรวจเส้นทางน้ำไหลผ่านตามธรรมชาติ (Flood Way)
และแหล่งรองรับน้ำ (แก้มลิง) ในแต่ละจังหวัดรวมทั้งของแต่ละกลุ่มลุ่มน้ำ ทั้ง 9 กลุ่มลุ่มน้ำ ควรเร่งดำเนิน
การเพื่อจะได้ทราบสถานะ และปัญหาของ Flood Way และแก้มลิงในแต่ละพื้นที่ และควรจัดทำแผนที่เส้น
ชั้นความสูงระดับพื้นดิน มาตราส่วน 1:4,000 หรือ 1:10,000 ระดับเส้นชั้นความสูง (Contour) ประมาณ
1 เมตร หรือ 5 เมตร ตามความเหมาะสมในพื้นที่ดังกล่าว
9. การรุกล้ำพื้นที่ทางไหลของน้ำตามธรรมชาติ โดยไม่มีการบูรณะบำรุงรักษา
จากเดิมถึงปัจจุบัน สมควรที่จะเร่งดำเนินการแก้ไข และควรให้มีมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมือง
ที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนในบริเวณ พื้นที่ทางน้ำไหลผ่านตามธรรมชาติ และพื้นที่แก้มลิง
10. ควรกำหนดนโยบาย และเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน และทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กันเพื่อให้มีการดำเนินการ
อย่างมีประสิทธิภาพ
11. กรณีศึกษาในประเด็นเขาใหญ่ กับปริมาณน้ำฝนซึ่งตกลงสู่เขาใหญ่ และการ
ไหลลงสู่พื้นที่ส่วนล่างพร้อมส่วนที่ดูดซับไว้อันมีผลต่อพื้นที่ลุ่มน้ำอีสานตอนบนและตอนล่าง และภาคตะวันออก
รวมทั้งภาคกลางบางส่วน ควรมีการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประกอบการพิจารณา การบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำของชาติโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ