กรุงเทพ--26 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ณ สาธารณรัฐคาซัคสถาน
1. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ของการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia หรือ CICA) ในฐานะประเทศสมาชิกประเทศล่าสุด (ประเทศที่ 17) โดยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนามเอกสารหลักของ CICA 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาอัลมาตี (Almaty Act) ซึ่งระบุหลักการพื้นฐานของการดำเนินงานของ CICA อาทิ ประเด็นด้านความมั่นคงซึ่งประเทศสมาชิกจะมีความร่วมมือร่วมกันและมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และปฏิญญาว่าด้วยหลักการในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก (Declaration on the Principles Guiding Relations Among the CICA Member States)
2. การประชุมครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิก (ได้แก่ อัฟกานิสถาน อาเซอร์ไบจาน จีน อิยิปต์ อิหร่าน อินเดีย อิสราเอล คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ทาจิกิสถาน ไทย ตุรกี และอุซเบกิสถาน) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์แสดงวิสัยทัศน์และยืนยันเจตนารมณ์ในการที่จะร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก และเพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญร่วมกัน อาทิ การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ฯลฯ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีคาซัคสถานได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมและผู้แทนของเลขาธิการสหประชาชาติได้อ่านสาส์นของเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
3. ที่ประชุมได้รับรองเอกสารสำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่
3.1 รายการมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก (CICA Catalogue of Confidence Building Measures) ซึ่งระบุหลักการทั่วไปของมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน มาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้านการทหารและการเมือง มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ และมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม
3.2 ระเบียบการดำเนินการ (CICA Rules of Procedure) อาทิ รายละเอียดด้านสมาชิกภาพ การจัดประชุมระดับต่างๆ ฯลฯ
3.3 แถลงการณ์ร่วมของการประชุม (Declaration of the CICA Ministerial Meeting) ซึ่งยืนยันเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกที่จะร่วมกันเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในเอเชีย โดยเน้นความสำคัญของความร่วมมือพหุภาคีและบทบาทของสหประชาชาติในการเสริมสร้างความมั่นคงในประชาคมโลก และความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ
4. สำหรับถ้อยแถลงของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นจุดแข็งที่เอเชียสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน อันเป็นหลักปรัญชาพื้นฐานของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย และสอดคล้องกับปรัญชาของความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue หรือ ACD) และ CICA ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก CICA นอกจากนี้ โดยที่ไทยได้ริเริ่มและมีบทบาทที่แข็งขันในกรอบความร่วมมือต่างๆ ในระดับอนุภูมิภาคหลายกรอบในเอเชีย ไทยจึงสามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงกรอบความร่วมมือเหล่านี้กับ CICA เพื่อขยายผลในการเสริมสร้างสันติภาพ ความมั่งคั่ง และความมั่นคงของเอเชียโดยรวมได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ “ประชาคมแห่งเอเชีย” ในที่สุด
5. ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ คือ การส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะในมิติด้านความมั่นคงและความร่วมมือระหว่างประเทศในการเผชิญปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ อาทิ การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่ง CICA ในฐานะที่เป็นกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในเอเชีย ก็จะเกื้อกูลต่อ ACD ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในด้านการพัฒนา นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก CICA อื่นๆ โดยเฉพาะคาซัคสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มีบทบาทนำ และมีศักยภาพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียกลาง
6. นอกเหนือจากการเยือนคาซัคสถานอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยแล้ว การเดินทางไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้มีโอกาสพบหารือข้อราชการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนและคีร์กีซสถาน และกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน อิหร่าน อุซเบกิสถาน และอาเซอร์ไบจาน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ณ สาธารณรัฐคาซัคสถาน
1. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ของการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia หรือ CICA) ในฐานะประเทศสมาชิกประเทศล่าสุด (ประเทศที่ 17) โดยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนามเอกสารหลักของ CICA 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาอัลมาตี (Almaty Act) ซึ่งระบุหลักการพื้นฐานของการดำเนินงานของ CICA อาทิ ประเด็นด้านความมั่นคงซึ่งประเทศสมาชิกจะมีความร่วมมือร่วมกันและมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และปฏิญญาว่าด้วยหลักการในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก (Declaration on the Principles Guiding Relations Among the CICA Member States)
2. การประชุมครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิก (ได้แก่ อัฟกานิสถาน อาเซอร์ไบจาน จีน อิยิปต์ อิหร่าน อินเดีย อิสราเอล คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ทาจิกิสถาน ไทย ตุรกี และอุซเบกิสถาน) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์แสดงวิสัยทัศน์และยืนยันเจตนารมณ์ในการที่จะร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก และเพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญร่วมกัน อาทิ การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ฯลฯ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีคาซัคสถานได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมและผู้แทนของเลขาธิการสหประชาชาติได้อ่านสาส์นของเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
3. ที่ประชุมได้รับรองเอกสารสำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่
3.1 รายการมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก (CICA Catalogue of Confidence Building Measures) ซึ่งระบุหลักการทั่วไปของมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน มาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้านการทหารและการเมือง มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ และมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม
3.2 ระเบียบการดำเนินการ (CICA Rules of Procedure) อาทิ รายละเอียดด้านสมาชิกภาพ การจัดประชุมระดับต่างๆ ฯลฯ
3.3 แถลงการณ์ร่วมของการประชุม (Declaration of the CICA Ministerial Meeting) ซึ่งยืนยันเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกที่จะร่วมกันเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในเอเชีย โดยเน้นความสำคัญของความร่วมมือพหุภาคีและบทบาทของสหประชาชาติในการเสริมสร้างความมั่นคงในประชาคมโลก และความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ
4. สำหรับถ้อยแถลงของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นจุดแข็งที่เอเชียสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน อันเป็นหลักปรัญชาพื้นฐานของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย และสอดคล้องกับปรัญชาของความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue หรือ ACD) และ CICA ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก CICA นอกจากนี้ โดยที่ไทยได้ริเริ่มและมีบทบาทที่แข็งขันในกรอบความร่วมมือต่างๆ ในระดับอนุภูมิภาคหลายกรอบในเอเชีย ไทยจึงสามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงกรอบความร่วมมือเหล่านี้กับ CICA เพื่อขยายผลในการเสริมสร้างสันติภาพ ความมั่งคั่ง และความมั่นคงของเอเชียโดยรวมได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ “ประชาคมแห่งเอเชีย” ในที่สุด
5. ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ คือ การส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะในมิติด้านความมั่นคงและความร่วมมือระหว่างประเทศในการเผชิญปัญหาความมั่นคงใหม่ๆ อาทิ การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่ง CICA ในฐานะที่เป็นกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในเอเชีย ก็จะเกื้อกูลต่อ ACD ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในด้านการพัฒนา นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก CICA อื่นๆ โดยเฉพาะคาซัคสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มีบทบาทนำ และมีศักยภาพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียกลาง
6. นอกเหนือจากการเยือนคาซัคสถานอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยแล้ว การเดินทางไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้มีโอกาสพบหารือข้อราชการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนและคีร์กีซสถาน และกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน อิหร่าน อุซเบกิสถาน และอาเซอร์ไบจาน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-