แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 - 12 ต.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,440.33 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 770.66 ตัน สัตว์น้ำจืด 669.67 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.45 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.90 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 101.13 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 103.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 37.93 ตัน
การตลาด
สถานการณ์กุ้งในตลาดสหรัฐฯ
รายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ลอสแองเจลิสว่า สถานการณ์ปัจจุบันของกุ้งในตลาดสหรัฐฯ โดย National Fisheries Institute หรือ NFI ว่า กุ้งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอันดับหนึ่งในตลาดสหรัฐฯ จากปี 2542 รายการอาหารที่ทำจากกุ้งในร้านอาหารทั้งสหรัฐฯ มีการขยายตัวถึงร้อยละ 7 และการบริโภคกุ้งของคนอเมริกันเพิ่มขึ้น 3.7 ปอนด์/คน ในปี 2546
สำหรับกุ้งที่บริโภคในตลาดสหรัฐฯ เป็นกุ้งนำเข้าถึงร้อยละ 90 กว่า ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทย เวียดนาม อินเดีย จีน เอกวาดอร์ บราซิล รวมกันร้อยละ 75 ส่วนกุ้งที่ผลิตในสหรัฐฯ มีแหล่งผลิตอยู่ที่มลรัฐเทกซัล ลุยเซียนา มิสซิสชิปปี แอละแบมา และฟลอริดา และในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมากุ้งนำเข้าตลาดสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวร้อยละ 26 แต่ราคานำเข้าเฉลี่ยกลับลดลงทุกปี ยกเว้นกุ้งที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น
ส่วนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti-dumping หรือ AD) ในเดือนกรกฎาคม 2547 จาก 6 ประเทศ (ไทย เวียดนาม อินเดีย จีน เอกวาดอร์ บราซิล) หน่วยงาน Trade Partnerships คาดว่าการเก็บ AD มีผลให้ราคากุ้งในตลาดสหรัฐฯ สูงขึ้นถึงร้อยละ 44 และกุ้งที่ผลิตในมลรัฐภาคใต้ของสหรัฐฯ ราคาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 กุ้งนำเข้าจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษี AD ราคากุ้งขึ้นร้อยละ 19 โดยราคากุ้งที่เพิ่มขึ้นทำให้ตลาดบริโภคกุ้งในสหรัฐฯ หดตัวลง 1 ใน 3 ของการบริโภคกุ้งทั้งหมด
สำหรับการนำเข้ากุ้งสหรัฐฯในช่วงมกราคม-กรกฎาคม 2547 นั้น มีการนำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บ AD ลดลงทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยอัตราการขยายตัวได้ลดลงร้อยละ 16.94 ในขณะที่บราซิล ลดลงถึงร้อยละ 53.49 เวียดนามลดลงร้อยละ 24.81 อินเดียลดลงร้อยละ 8.98 และจีนลดลง 3.74 สาเหตุเนื่องจากในช่วงการสอบการทุ่มตลาดตลอดปี 2546 ผู้นำเข้าสหรัฐฯ เร่งนำเข้ากุ้งจากประเทศเหล่านี้ เมื่อมีการประกาศผลการสอบสวนแล้ว การนำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บ AD จึงลดลง และหันไปนำเข้าจากประเทศ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย แม็กซิโก โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.86, 40.96 และ 10.39 ตามลำดับซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ถูกเรียกเก็บภาษี AD เพื่อทดแทนการนำเข้ากุ้งจาก 6 ประเทศที่ถูกเก็บ AD
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.23 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 210.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 29.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 207.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 209.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.80 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 - 22 ต.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.60 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 18-24 ตุลาคม 2547--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 - 12 ต.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,440.33 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 770.66 ตัน สัตว์น้ำจืด 669.67 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.45 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.90 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 101.13 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 103.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 37.93 ตัน
การตลาด
สถานการณ์กุ้งในตลาดสหรัฐฯ
รายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ลอสแองเจลิสว่า สถานการณ์ปัจจุบันของกุ้งในตลาดสหรัฐฯ โดย National Fisheries Institute หรือ NFI ว่า กุ้งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอันดับหนึ่งในตลาดสหรัฐฯ จากปี 2542 รายการอาหารที่ทำจากกุ้งในร้านอาหารทั้งสหรัฐฯ มีการขยายตัวถึงร้อยละ 7 และการบริโภคกุ้งของคนอเมริกันเพิ่มขึ้น 3.7 ปอนด์/คน ในปี 2546
สำหรับกุ้งที่บริโภคในตลาดสหรัฐฯ เป็นกุ้งนำเข้าถึงร้อยละ 90 กว่า ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทย เวียดนาม อินเดีย จีน เอกวาดอร์ บราซิล รวมกันร้อยละ 75 ส่วนกุ้งที่ผลิตในสหรัฐฯ มีแหล่งผลิตอยู่ที่มลรัฐเทกซัล ลุยเซียนา มิสซิสชิปปี แอละแบมา และฟลอริดา และในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมากุ้งนำเข้าตลาดสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวร้อยละ 26 แต่ราคานำเข้าเฉลี่ยกลับลดลงทุกปี ยกเว้นกุ้งที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น
ส่วนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti-dumping หรือ AD) ในเดือนกรกฎาคม 2547 จาก 6 ประเทศ (ไทย เวียดนาม อินเดีย จีน เอกวาดอร์ บราซิล) หน่วยงาน Trade Partnerships คาดว่าการเก็บ AD มีผลให้ราคากุ้งในตลาดสหรัฐฯ สูงขึ้นถึงร้อยละ 44 และกุ้งที่ผลิตในมลรัฐภาคใต้ของสหรัฐฯ ราคาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 กุ้งนำเข้าจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษี AD ราคากุ้งขึ้นร้อยละ 19 โดยราคากุ้งที่เพิ่มขึ้นทำให้ตลาดบริโภคกุ้งในสหรัฐฯ หดตัวลง 1 ใน 3 ของการบริโภคกุ้งทั้งหมด
สำหรับการนำเข้ากุ้งสหรัฐฯในช่วงมกราคม-กรกฎาคม 2547 นั้น มีการนำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บ AD ลดลงทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยอัตราการขยายตัวได้ลดลงร้อยละ 16.94 ในขณะที่บราซิล ลดลงถึงร้อยละ 53.49 เวียดนามลดลงร้อยละ 24.81 อินเดียลดลงร้อยละ 8.98 และจีนลดลง 3.74 สาเหตุเนื่องจากในช่วงการสอบการทุ่มตลาดตลอดปี 2546 ผู้นำเข้าสหรัฐฯ เร่งนำเข้ากุ้งจากประเทศเหล่านี้ เมื่อมีการประกาศผลการสอบสวนแล้ว การนำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บ AD จึงลดลง และหันไปนำเข้าจากประเทศ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย แม็กซิโก โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.86, 40.96 และ 10.39 ตามลำดับซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ถูกเรียกเก็บภาษี AD เพื่อทดแทนการนำเข้ากุ้งจาก 6 ประเทศที่ถูกเก็บ AD
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.23 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 210.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 29.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 207.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 209.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.80 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 - 22 ต.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.60 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 18-24 ตุลาคม 2547--
-พห-