สศอ.รุกคืบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรือ เสนอครม.เห็นชอบตุลาคมนี้ เปิดทางผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทยเตรียมรับสิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีอากร พร้อมเสนอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ สร้างจุดแข็งผู้ประกอบการไทยในน่านน้ำเศรษฐกิจและการลงทุน
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแล้วเสร็จ และเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา คาดว่าจะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจาก ปัจจุบันปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไทยมากกว่าร้อยละ 90 ต้องอาศัยการขนส่งทางน้ำ และคาดว่าในอนาคตการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจะสนับสนุนธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ครบวงจร สามารถลดต้นทุนมากกว่าการขนส่งบกได้ถึง 4 เท่า
สำหรับแนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ภายในระยะเวลา 10 ปี แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้นและสำคัญเร่งด่วน (1-5 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี) โดยในระยะสั้นและสำคัญเร่งด่วนได้เสนอให้ 1.จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือในพื้นที่เหมาะสม พร้อมสนับสนุนสร้างท่าเรือภูมิภาคเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงท่าเรือที่มีอยู่ให้สามารถอำนวยความสะดวก เพื่อลดการขนส่งทางถนน ช่วยประหยัดพลังงาน และค่าขนส่งมากกว่าทางบกได้ถึง 4 เท่า 2.เสนอให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ โดยยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเรือและซ่อมเรือ ให้สิทธิประโยชน์สูงสุดสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือโดยไม่จำกัดเขต และกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจต้องต่อเรือกับผู้ประกอบการอู่เรือในประเทศที่มีศักยภาพพร้อมดำเนินการได้
ในส่วนของมาตรการระยะยาว ได้แก่ 1.เสนอให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ 2.สร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน 3.ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเน้นอุตสาหกรรมผลิตวัสดุอุปกรณ์และเหล็กที่ใช้ในการต่อเรือ 4.จัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ และฐานข้อมูลธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง 5.พัฒนากระบวนการผลิต โดยนำเอาเทคโนโลยีซอฟแวร์มาใช้บริหารจัดการให้ทันสมัย
จากการวิเคราะห์และวิจัย พบว่า หากสามารถดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถสงวนเงินตราและนำเข้าเม็ดเงินจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 6,600 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มมูลค่าการซ่อมเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 563 ล้านบาทต่อปี เกิดการจ้างงานภายในประเทศประมาณ 19,200 คนต่อปี รวมทั้ง ลดการนำเข้าวัตถุดิบและเรือเก่าจากต่างประเทศได้
ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับกิจการพาณิชยนาวีเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีนโยบายที่ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน เนื่องจาก อุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง โดยเฉพาะ อัตราอากรนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร ซึ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมนี้เกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 60 ของราคาเรือ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี [R&D
] ส่งผลให้การออกแบบเรือแต่ละครั้งต้องซื้อแบบเรือจากต่างประเทศ ประกอบกับสถานที่ตั้งอู่เรือ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ทำให้การบริการด้านสาธารณูปโภคของภาครัฐเข้าถึงได้ยาก
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมดังกล่าวมีศักยภาพอำนวยต่อการผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคหลายด้านด้วยกัน เช่น มีพื้นที่เอื้ออำนวยอยู่ติดชายฝั่ง ค่าแรงอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศ และแรงงานสามารถพัฒนาทักษะฝีมือได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตโดยเร็ว โดยอนาคตผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการการขนส่งสินค้า และการค้าสินค้าในเส้นทางเดินเรือได้สะดวก ซึ่งจะสามารถขยายเส้นการค้าทางสู่นอกน่านน้ำในเขตภูมิภาคเอเซียได้อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันความต้องการใช้เรือยังมีมากเพราะหลายประเทศต้องการนำทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้ง อุตสาหกรรมดังกล่าวยังเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและจำเป็นของอุตสาหกรรมในหลายสาขา
ทั้งนี้ ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศ จากสถิติในปี 2544-2546 มีปริมาณ 39.50 54.40 และ 52.49 ล้านตัน ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 8.81 10.40 9.77 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางอากาศ ขณะที่ ปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศ จากสถิติในปี 2544-2546 มีปริมาณ158.28 150.85 และ 151.82 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 95.20 94.27 และ 79.52 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบการขนส่งทางถนน ทางอากาศ และทางไปรษณียภัณฑ์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแล้วเสร็จ และเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา คาดว่าจะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจาก ปัจจุบันปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไทยมากกว่าร้อยละ 90 ต้องอาศัยการขนส่งทางน้ำ และคาดว่าในอนาคตการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจะสนับสนุนธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ครบวงจร สามารถลดต้นทุนมากกว่าการขนส่งบกได้ถึง 4 เท่า
สำหรับแนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ภายในระยะเวลา 10 ปี แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้นและสำคัญเร่งด่วน (1-5 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี) โดยในระยะสั้นและสำคัญเร่งด่วนได้เสนอให้ 1.จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือในพื้นที่เหมาะสม พร้อมสนับสนุนสร้างท่าเรือภูมิภาคเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงท่าเรือที่มีอยู่ให้สามารถอำนวยความสะดวก เพื่อลดการขนส่งทางถนน ช่วยประหยัดพลังงาน และค่าขนส่งมากกว่าทางบกได้ถึง 4 เท่า 2.เสนอให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ โดยยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเรือและซ่อมเรือ ให้สิทธิประโยชน์สูงสุดสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือโดยไม่จำกัดเขต และกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจต้องต่อเรือกับผู้ประกอบการอู่เรือในประเทศที่มีศักยภาพพร้อมดำเนินการได้
ในส่วนของมาตรการระยะยาว ได้แก่ 1.เสนอให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ 2.สร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน 3.ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเน้นอุตสาหกรรมผลิตวัสดุอุปกรณ์และเหล็กที่ใช้ในการต่อเรือ 4.จัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ และฐานข้อมูลธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง 5.พัฒนากระบวนการผลิต โดยนำเอาเทคโนโลยีซอฟแวร์มาใช้บริหารจัดการให้ทันสมัย
จากการวิเคราะห์และวิจัย พบว่า หากสามารถดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถสงวนเงินตราและนำเข้าเม็ดเงินจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 6,600 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มมูลค่าการซ่อมเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 563 ล้านบาทต่อปี เกิดการจ้างงานภายในประเทศประมาณ 19,200 คนต่อปี รวมทั้ง ลดการนำเข้าวัตถุดิบและเรือเก่าจากต่างประเทศได้
ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับกิจการพาณิชยนาวีเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีนโยบายที่ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน เนื่องจาก อุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง โดยเฉพาะ อัตราอากรนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร ซึ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมนี้เกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 60 ของราคาเรือ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี [R&D
] ส่งผลให้การออกแบบเรือแต่ละครั้งต้องซื้อแบบเรือจากต่างประเทศ ประกอบกับสถานที่ตั้งอู่เรือ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ทำให้การบริการด้านสาธารณูปโภคของภาครัฐเข้าถึงได้ยาก
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมดังกล่าวมีศักยภาพอำนวยต่อการผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคหลายด้านด้วยกัน เช่น มีพื้นที่เอื้ออำนวยอยู่ติดชายฝั่ง ค่าแรงอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศ และแรงงานสามารถพัฒนาทักษะฝีมือได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตโดยเร็ว โดยอนาคตผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการการขนส่งสินค้า และการค้าสินค้าในเส้นทางเดินเรือได้สะดวก ซึ่งจะสามารถขยายเส้นการค้าทางสู่นอกน่านน้ำในเขตภูมิภาคเอเซียได้อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันความต้องการใช้เรือยังมีมากเพราะหลายประเทศต้องการนำทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้ง อุตสาหกรรมดังกล่าวยังเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและจำเป็นของอุตสาหกรรมในหลายสาขา
ทั้งนี้ ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศ จากสถิติในปี 2544-2546 มีปริมาณ 39.50 54.40 และ 52.49 ล้านตัน ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 8.81 10.40 9.77 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางอากาศ ขณะที่ ปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศ จากสถิติในปี 2544-2546 มีปริมาณ158.28 150.85 และ 151.82 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 95.20 94.27 และ 79.52 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบการขนส่งทางถนน ทางอากาศ และทางไปรษณียภัณฑ์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-