การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2547 (OTOP Product Champion: OPC)เปิดให้ชุมชนที่ลงทะเบียนและผ่านการอบรมความรู้พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สมัครเข้ารับการคัดสรรสุดยอดโอท็อปที่กำลังจะเริ่มขึ้นปลายเดือนกันยายนจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะต้องเป็นไปตามแนวคิด Local Links-Global Reaches ซึ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ มีการปรับเพิ่มเกณฑ์คะแนนการให้ระดับดาวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อยกระดับมาตรฐานโอท็อปอย่างจริงจัง
การคัดสรรสินค้าสุดยอดโอท็อปปีนี้จะเน้นใน 4 เรื่อง คือ 1) ผลิตภัณฑ์ต้องส่งออกได้และมีความแกร่งของตราสินค้า 2) มีการผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม 3) มีมาตรฐานสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี 4) มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ การคัดสรรยังให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้บริโภคมากกว่าความต้องการผลิตสินค้า โดยจะให้คะแนนด้านมาตรฐานและคุณภาพร้อยละ 60 อีกร้อยละ 40 เป็นคะแนนด้านอื่นๆ ต่างจากการคัดสรรสุดยอดโอท็อปปี 2546 ที่ให้คะแนนด้านอื่นๆ ถึงร้อยละ 60 ด้านคุณภาพให้น้ำหนักเพียงร้อยละ 40 โดยระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2547 เป็นการคัดสรรระดับอำเภอ วันที่ 13-25 ตุลาคม 2547 เป็นการคัดสรรระดับกลุ่มจังหวัด และวันที่ 15-28 พฤศจิกายน 2547 เป็นการคัดสรรระดับประเทศ ซึ่งการจัดสรรทั้งหมดจะนำไปสู่การจัดงาน "OTOP CITY ครั้งที่ 2" ในวันที่ 16-28 ธันวาคม 2547 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
ด้านการจัดระดับสินค้า 1-5 ดาว จะมีการยกเลิกในระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยจะให้ระดับดาวเฉพาะสินค้าระดับประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ เกณฑ์การจัดระดับสินค้าระดับ 5 ดาว ต้องได้ 90 คะแนนขึ้นไป ระดับ 4 ดาว ต้องได้ 80-89 คะแนน ระดับ 3 ดาว ต้องได้ 70-79 คะแนน ระดับ 2 ดาว ต้องได้ 50-69 คะแนน และระดับ 1 ดาว ต่ำกว่า 50 คะแนน ซึ่งสินค้าที่จะได้ 3-5 ดาว ต้องได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป ส่วนระดับ 1-2 ดาว คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 70 และตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2547 จะมีการนำสินค้าโอท็อประดับ 5 ดาว 500-600 รายการ ไปจำหน่ายที่ประตูน้ำเซ็นเตอร์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนได้เลือกซื้อสินค้าโอท็อปเป็นของขวัญปีใหม่
หมวดสินค้าที่ใช้ในการคัดสรรสุดยอดโอท็อป ปี 2547 แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มอาหาร รับผิดชอบโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) กลุ่มเครื่องดื่ม รับผิดชอบโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) ผ้าและเครื่องแต่งกาย รับผิดชอบโดยกระทรวงอุตสาหกรรม 4) ของใช้และของประดับตกแต่ง รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์ 5) ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์ 6) สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปีนี้มีผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปลงทะเบียนไว้แล้ว 37,754 ราย แบ่งเป็นผู้ผลิตชุมชน 26,537 ราย และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) 11,217 ราย
สำหรับสถานการณ์โดยทั่วไปของกลุ่มสินค้าโอท็อปในขณะนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น ความสำเร็จในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าโอท็อปของกลุ่มเกษตรกรในต่างประเทศปี 2547 กว่า 19 แห่ง ซึ่งดำเนินการผ่านภาคเอกชน 16 แห่ง และส่งออกเอง 3 แห่ง สามารถทำรายได้กว่า 200 ล้านบาท สินค้าเกษตรที่ส่งไปจำหน่ายมีทั้งสิ้น 8 ชนิด ได้แก่ ข้าวสาร กาแฟ ยางพารา กล้วย มังคุด ทุเรียน งา และลำไย โดยส่งไปจำหน่ายยังประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และอิตาลี ทั้งนี้ในปี 2548 กรมส่งเสริมสหกรณ์จะมีโครงการผลักดันสินค้าของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเน้นตลาดเอเชียและแอฟริกา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และสิงคโปร์ เนื่องจากตลาดดังกล่าวยังมีความต้องการสินค้าที่สอดคล้องกับการผลิตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะจัดทำเว็บไซต์ด้านการผลิต การตลาดของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการตลาดต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และคาดว่าในปี 2548 จะสามารถจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้นประมาณ 500 ล้านบาท
ด้านศักยภาพของสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อัญมณี และสินค้าหัตถกรรมโดยเฉพาะสินค้าโอท็อป นับว่าเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติว่าเป็นนครแฟชั่นแห่งใหม่ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำแฟชั่นไทยและสินค้าโอท็อปแสดงในงานมิลานแฟชั่นวีค ประเทศอิตาลี เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่นในภูมิภาค โดยในงานใช้ชื่อว่า "วิถีแห่งเอเชีย" มีประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ไทย จีน อินเดีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ ที่จะนำความโดดเด่นด้านแฟชั่นและวิถีชีวิตในภาคพื้นเอเชียแสดงในงาน เนื่องจากเทศกาลของนครมิลานนับว่าเป็นเวทีแฟชั่นสำคัญ 1 ใน 3 ของโลก งานดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กันยายน - 3 ตุลาคม 2547
นอกจากนี้กรมการพัฒนาชุมชนและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ร่วมมือกันส่งเสริมศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน โดยทั้งสององค์กรจะร่วมกันจัดทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อเข้าไปพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการเสริมสร้างพลังทุนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายกองทุนหมู่บ้าน และหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ในการเข้าไปพัฒนาชุมชน เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานมีความซ้ำซ้อนกัน นอกจากนี้ยังเป็นการลดงบประมาณรายจ่ายที่เกินความจำเป็นด้วย รวมถึงทำให้บุคลากรของทั้งสองหน่วยงานร่วมกันผลักดันความร่วมมือต่างๆ ในการเข้าไปพัฒนาชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท และทำให้เกิดการสร้างรายได้
สำหรับยอดจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 11 เดือนแรกของปี 2547 (ตุลาคม 2546 ถึง สิงหาคม 2547) มีมูลค่ารวม 42,000 ล้านบาท ซึ่งเกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 40,000 ล้านบาท และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะสามารถทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาท
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การคัดสรรสินค้าสุดยอดโอท็อปปีนี้จะเน้นใน 4 เรื่อง คือ 1) ผลิตภัณฑ์ต้องส่งออกได้และมีความแกร่งของตราสินค้า 2) มีการผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม 3) มีมาตรฐานสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี 4) มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ การคัดสรรยังให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้บริโภคมากกว่าความต้องการผลิตสินค้า โดยจะให้คะแนนด้านมาตรฐานและคุณภาพร้อยละ 60 อีกร้อยละ 40 เป็นคะแนนด้านอื่นๆ ต่างจากการคัดสรรสุดยอดโอท็อปปี 2546 ที่ให้คะแนนด้านอื่นๆ ถึงร้อยละ 60 ด้านคุณภาพให้น้ำหนักเพียงร้อยละ 40 โดยระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2547 เป็นการคัดสรรระดับอำเภอ วันที่ 13-25 ตุลาคม 2547 เป็นการคัดสรรระดับกลุ่มจังหวัด และวันที่ 15-28 พฤศจิกายน 2547 เป็นการคัดสรรระดับประเทศ ซึ่งการจัดสรรทั้งหมดจะนำไปสู่การจัดงาน "OTOP CITY ครั้งที่ 2" ในวันที่ 16-28 ธันวาคม 2547 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
ด้านการจัดระดับสินค้า 1-5 ดาว จะมีการยกเลิกในระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยจะให้ระดับดาวเฉพาะสินค้าระดับประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ เกณฑ์การจัดระดับสินค้าระดับ 5 ดาว ต้องได้ 90 คะแนนขึ้นไป ระดับ 4 ดาว ต้องได้ 80-89 คะแนน ระดับ 3 ดาว ต้องได้ 70-79 คะแนน ระดับ 2 ดาว ต้องได้ 50-69 คะแนน และระดับ 1 ดาว ต่ำกว่า 50 คะแนน ซึ่งสินค้าที่จะได้ 3-5 ดาว ต้องได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป ส่วนระดับ 1-2 ดาว คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 70 และตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2547 จะมีการนำสินค้าโอท็อประดับ 5 ดาว 500-600 รายการ ไปจำหน่ายที่ประตูน้ำเซ็นเตอร์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนได้เลือกซื้อสินค้าโอท็อปเป็นของขวัญปีใหม่
หมวดสินค้าที่ใช้ในการคัดสรรสุดยอดโอท็อป ปี 2547 แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มอาหาร รับผิดชอบโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) กลุ่มเครื่องดื่ม รับผิดชอบโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) ผ้าและเครื่องแต่งกาย รับผิดชอบโดยกระทรวงอุตสาหกรรม 4) ของใช้และของประดับตกแต่ง รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์ 5) ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก รับผิดชอบโดยกระทรวงพาณิชย์ 6) สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปีนี้มีผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปลงทะเบียนไว้แล้ว 37,754 ราย แบ่งเป็นผู้ผลิตชุมชน 26,537 ราย และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) 11,217 ราย
สำหรับสถานการณ์โดยทั่วไปของกลุ่มสินค้าโอท็อปในขณะนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น ความสำเร็จในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าโอท็อปของกลุ่มเกษตรกรในต่างประเทศปี 2547 กว่า 19 แห่ง ซึ่งดำเนินการผ่านภาคเอกชน 16 แห่ง และส่งออกเอง 3 แห่ง สามารถทำรายได้กว่า 200 ล้านบาท สินค้าเกษตรที่ส่งไปจำหน่ายมีทั้งสิ้น 8 ชนิด ได้แก่ ข้าวสาร กาแฟ ยางพารา กล้วย มังคุด ทุเรียน งา และลำไย โดยส่งไปจำหน่ายยังประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และอิตาลี ทั้งนี้ในปี 2548 กรมส่งเสริมสหกรณ์จะมีโครงการผลักดันสินค้าของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเน้นตลาดเอเชียและแอฟริกา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และสิงคโปร์ เนื่องจากตลาดดังกล่าวยังมีความต้องการสินค้าที่สอดคล้องกับการผลิตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะจัดทำเว็บไซต์ด้านการผลิต การตลาดของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการตลาดต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และคาดว่าในปี 2548 จะสามารถจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้นประมาณ 500 ล้านบาท
ด้านศักยภาพของสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อัญมณี และสินค้าหัตถกรรมโดยเฉพาะสินค้าโอท็อป นับว่าเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติว่าเป็นนครแฟชั่นแห่งใหม่ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำแฟชั่นไทยและสินค้าโอท็อปแสดงในงานมิลานแฟชั่นวีค ประเทศอิตาลี เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่นในภูมิภาค โดยในงานใช้ชื่อว่า "วิถีแห่งเอเชีย" มีประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ไทย จีน อินเดีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ ที่จะนำความโดดเด่นด้านแฟชั่นและวิถีชีวิตในภาคพื้นเอเชียแสดงในงาน เนื่องจากเทศกาลของนครมิลานนับว่าเป็นเวทีแฟชั่นสำคัญ 1 ใน 3 ของโลก งานดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กันยายน - 3 ตุลาคม 2547
นอกจากนี้กรมการพัฒนาชุมชนและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ร่วมมือกันส่งเสริมศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน โดยทั้งสององค์กรจะร่วมกันจัดทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อเข้าไปพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการเสริมสร้างพลังทุนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายกองทุนหมู่บ้าน และหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ในการเข้าไปพัฒนาชุมชน เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานมีความซ้ำซ้อนกัน นอกจากนี้ยังเป็นการลดงบประมาณรายจ่ายที่เกินความจำเป็นด้วย รวมถึงทำให้บุคลากรของทั้งสองหน่วยงานร่วมกันผลักดันความร่วมมือต่างๆ ในการเข้าไปพัฒนาชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท และทำให้เกิดการสร้างรายได้
สำหรับยอดจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 11 เดือนแรกของปี 2547 (ตุลาคม 2546 ถึง สิงหาคม 2547) มีมูลค่ารวม 42,000 ล้านบาท ซึ่งเกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 40,000 ล้านบาท และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะสามารถทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาท
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-