บริษัท อินเตอร์โปรไฟล์ จำกัด เป็นผู้ประกอบการอยู่ในอุตสาหกรรมพลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีการฉีด การรีด และการเป่า ซึ่งเป็นการขึ้นรูปพลาสติกที่ครบวงจร โดยสินค้าที่ผลิตแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มบรรจุภัณฑ์ เป็นกลุ่มสินค้าที่มีตราสินค้าเป็นของบริษัทเอง คือ "ตราพระอาทิตย์" ซึ่งได้จดสิทธิบัตรตราสินค้าไว้เรียบร้อยแล้ว มีแบบมาตรฐานให้เลือก ได้แก่ ขวดพลาสติกใสที่ขายในโรงงานอาหาร เช่น อาหารดอง ลูกอม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น 2) กลุ่ม Profile เป็นสินค้าที่ชิ้นงานยาวๆ เช่น ท่อในสุขภัณฑ์ คิ้วรถยนต์ ฝาครอบหลอดไฟฟลูออเรสเซ็นท์ที่ผลิตด้วยโพลีคาร์บอเนตหรืออะคิลิค สายยางนิ่ม หรือท่อขนาดต่างๆ โดยบริษัทมีแม่พิมพ์จำนวนมาก ลูกค้าจึงไม่ต้องลงทุนค่าแม่พิมพ์ และ 3) กลุ่ม Plastic Application Solution ลูกค้าเพียงบอกความต้องการในการใช้งานและไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำในการสั่งซื้อ โดยบริษัทฯ จะเลือกกรรมวิธีในการผลิตเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ดีในต้นทุนที่ต่ำที่สุด
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้การรับรองมาตรฐานระบบการบริหารจัดการองค์กร ตั้งแต่ปี 2545 - 2547 ได้แก่ ISO 9001:2000 จาก BVQI, มอก. 18001, OHSAS 18001 จาก MASCI และ มรท. 8001 ซึ่งเป็นรายแรกในประเทศไทย จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ISO 14001:1996 จาก SGS รวมถึงความสำเร็จต่างๆที่บริษัทได้รับ ได้แก่ เกียรติบัตรโรงงานสีขาวปี 2546 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ประกาศเกียรติคุณอุตสาหกรรมประเภทบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2547 จากกระทรวงอุตสาหกรรม, รางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จังหวัดปทุมธานี ปี 2547 จากกระทรวงแรงงาน และรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านสวัสติการแรงงานปี 2547 จากกระทรวงแรงงาน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีทั้งสั่งซื้อในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ พร้อมที่จะทดลองพลาสติกชนิดใหม่อยู่ตลอดเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า โดยมีการทดลองเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าทั้งภายในและภายนอกโรงงาน เช่น การนำพลาสติกผสมผงไม้เพื่อผลิตเป็นชิ้นงานทดแทนการใช้ไม้ การออกแบบและทำแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นงานต้นแบบด้วยต้นทุนต่ำ การทดสอบสินค้าขั้นพื้นฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า และการส่งชิ้นงานที่ส่วนประกอบของวัตถุดิบมีคุณสมบัติพิเศษโดยใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ให้บริการจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นกับองค์กร
การสร้างความแตกต่างและมุ่งเน้นลูกค้าคือกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทฯ นำมาใช้ ซึ่งได้แก่ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การขายโดยไม่กำหนดปริมาณขั้นต่ำในการสั่งซื้อ และการขายแบบให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ทำให้รู้สึกว่าไม่มีคู่แข่งขันแต่กำลังแข่งขันกับตัวเอง ซึ่งหากสินค้าที่ผลิตสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้และสามารถใช้พลาสติกเข้าไปแก้ปัญหาการใช้งานให้กับลูกค้าได้มากเพียงใดก็ยิ่งได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นผู้ประกอบการจำนวนมากที่เป็นผู้ผลิตชิ้นงานพลาสติกเหมือนกับบริษัทฯ จึงไม่ใช่คู่แข่งขัน แต่อาจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันได้ และในปี 2547 นี้ ทางบริษัทฯ มีแผนงานที่จะเพิ่มยอดขายจากลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่ม Plastic Application Solution เนื่องจากบริษัทฯ มีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าที่มีการผลิตค่อนข้างยาก ซึ่งต้องใช้ความชำนาญหรือความสามารถในการผลิตเฉพาะทาง ทำให้มีคู่แข่งขันน้อย นอกจากนี้ยังมีการฝึกให้ผู้บริหารระดับกลางเรียนรู้การจัดทำแผนธุรกิจและเริ่มนำแผนมาใช้งานในปีนี้ อีกทั้งกำลังริเริ่มทำแผนธุรกิจสำหรับสินค้าชนิดใหม่โดยได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่บริษัทเข้าร่วมโครงการ
การบริหารจัดการภายในองค์กรมีการนำเครื่องมือ Balance Score Card เข้ามาใช้ในการบริหารงาน มีการตั้งเป้าหมายในแต่ละกลยุทธ์และมีตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยเป้าหมายสูงสุดในระยะ 3 ปี ไม่ใช่กำไรสูงสุด แต่เป็นการสร้างคนให้ได้ตาม "วัฒนธรรมองค์กร" ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 10 ข้อแล้วเขียนเป็นกลอนให้พนักงานท่องหลังออกกำลังกาย ดังนี้ "สินค้าบริการดี เป็นหน้าที่ก่อนร้องขอ ร่วมเป็นทีมที่เกิดก่อ ใช้เหตุผลคนทำงาน ว่าจ้างความสามารถ ให้โอกาสเท่าเทียมกัน สนับสนุนส่งสร้างสรรค์ ร่วมงานกันอย่างปลอดภัย" บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งโดยส่วนมากจะรับผู้ที่จบใหม่แล้วนำมาฝึกหัดให้มีความคิดในเชิงบวก ทำงานโดยเน้นเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ อีกทั้งยังมีการจัดการเกี่ยวกับองค์ความรู้ เช่น การจัดเก็บความรู้ทุกๆ ด้าน รวมถึงการเรียนการสอนกันเองภายในองค์กรให้อยู่ในรูปแบบวีซีดีหรือวีดีโอ เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพนักงานที่เข้ามาทำงานใหม่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับทรัพยากรขององค์กรและทรัพยากรของประเทศได้เป็นอย่างดี
ปัญหาและอุปสรรคของเอสเอ็มอีมักจะมาพร้อมกันทุกๆ ด้าน เช่น 1) การผลิตที่ไม่สามารถแข่งขันได้ทั้งด้านต้นทุนและด้านการจัดการ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีในการผลิต 2) การตลาดที่ดำเนินการแบบไม่มีตลาดหรือไม่มีแผนงาน 3) การจัดการด้านการเงินที่ทำให้เกิดปัญหาอยู่เสมอ เป็นต้น บ่อยครั้งที่เอสเอ็มอีไม่สามารถแยกปัญหาที่เกิดขึ้นได้ว่าอะไรทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตนเองมีปัญหาด้านการเงิน แต่ความเป็นจริงแล้วมักจะมีปัญหาอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น การผลิตเสียหาย ขายสินค้าไม่ออก เรียกได้ว่าหากการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีไม่มีการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านมาก่อนทุกอย่างก็จะเป็นอุปสรรค
ข้อเสนอแนะสำหรับเอสเอ็มอี คือ ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลง การทำเหมือนเดิมปัญหาย่อมเหมือนเดิม วิธีการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดคือการขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการถูกมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ วิธีการติดต่อขอรับความช่วยเหลือก็ค่อนข้างสะดวก สามารถติดต่อได้โดยตรงที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือตามงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นผู้จัด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อธิบายถึงความเหมาะสมของแต่ละโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะหากเอสเอ็มอีมีปัญหาเยอะแล้วต้องจ้างที่ปรึกษาซึ่งมีราคาสูง ความคิดที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็จะหยุดลงทันที เนื่องจากคิดว่าเก็บเงินไว้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าดีกว่า
คุณพรชัย รัตนตรัยภพ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้ข้อคิดว่าสิ่งที่จะทำให้เอสเอ็มอีสามารถแข่งขันได้ คือ การให้พนักงานทำงานอย่างเป็นระบบ มีสภาพการทำงานที่ดี มีความปลอดภัยสูง มีการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี ซึ่งจะเป็นขวัญและกำลังใจให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร รวมถึงการผลิตสินค้าที่ได้ต้นทุนเหมาะสมกับการแข่งขันของตลาด สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะเชื่อว่า "เอสเอ็มอีที่มีการบริหารจัดการที่ดีในวันนี้คือองค์กรชั้นนำในวันข้างหน้า"
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้การรับรองมาตรฐานระบบการบริหารจัดการองค์กร ตั้งแต่ปี 2545 - 2547 ได้แก่ ISO 9001:2000 จาก BVQI, มอก. 18001, OHSAS 18001 จาก MASCI และ มรท. 8001 ซึ่งเป็นรายแรกในประเทศไทย จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ISO 14001:1996 จาก SGS รวมถึงความสำเร็จต่างๆที่บริษัทได้รับ ได้แก่ เกียรติบัตรโรงงานสีขาวปี 2546 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ประกาศเกียรติคุณอุตสาหกรรมประเภทบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2547 จากกระทรวงอุตสาหกรรม, รางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จังหวัดปทุมธานี ปี 2547 จากกระทรวงแรงงาน และรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านสวัสติการแรงงานปี 2547 จากกระทรวงแรงงาน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีทั้งสั่งซื้อในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ พร้อมที่จะทดลองพลาสติกชนิดใหม่อยู่ตลอดเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า โดยมีการทดลองเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าทั้งภายในและภายนอกโรงงาน เช่น การนำพลาสติกผสมผงไม้เพื่อผลิตเป็นชิ้นงานทดแทนการใช้ไม้ การออกแบบและทำแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นงานต้นแบบด้วยต้นทุนต่ำ การทดสอบสินค้าขั้นพื้นฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า และการส่งชิ้นงานที่ส่วนประกอบของวัตถุดิบมีคุณสมบัติพิเศษโดยใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ให้บริการจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นกับองค์กร
การสร้างความแตกต่างและมุ่งเน้นลูกค้าคือกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทฯ นำมาใช้ ซึ่งได้แก่ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การขายโดยไม่กำหนดปริมาณขั้นต่ำในการสั่งซื้อ และการขายแบบให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ทำให้รู้สึกว่าไม่มีคู่แข่งขันแต่กำลังแข่งขันกับตัวเอง ซึ่งหากสินค้าที่ผลิตสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้และสามารถใช้พลาสติกเข้าไปแก้ปัญหาการใช้งานให้กับลูกค้าได้มากเพียงใดก็ยิ่งได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นผู้ประกอบการจำนวนมากที่เป็นผู้ผลิตชิ้นงานพลาสติกเหมือนกับบริษัทฯ จึงไม่ใช่คู่แข่งขัน แต่อาจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันได้ และในปี 2547 นี้ ทางบริษัทฯ มีแผนงานที่จะเพิ่มยอดขายจากลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่ม Plastic Application Solution เนื่องจากบริษัทฯ มีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าที่มีการผลิตค่อนข้างยาก ซึ่งต้องใช้ความชำนาญหรือความสามารถในการผลิตเฉพาะทาง ทำให้มีคู่แข่งขันน้อย นอกจากนี้ยังมีการฝึกให้ผู้บริหารระดับกลางเรียนรู้การจัดทำแผนธุรกิจและเริ่มนำแผนมาใช้งานในปีนี้ อีกทั้งกำลังริเริ่มทำแผนธุรกิจสำหรับสินค้าชนิดใหม่โดยได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่บริษัทเข้าร่วมโครงการ
การบริหารจัดการภายในองค์กรมีการนำเครื่องมือ Balance Score Card เข้ามาใช้ในการบริหารงาน มีการตั้งเป้าหมายในแต่ละกลยุทธ์และมีตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยเป้าหมายสูงสุดในระยะ 3 ปี ไม่ใช่กำไรสูงสุด แต่เป็นการสร้างคนให้ได้ตาม "วัฒนธรรมองค์กร" ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 10 ข้อแล้วเขียนเป็นกลอนให้พนักงานท่องหลังออกกำลังกาย ดังนี้ "สินค้าบริการดี เป็นหน้าที่ก่อนร้องขอ ร่วมเป็นทีมที่เกิดก่อ ใช้เหตุผลคนทำงาน ว่าจ้างความสามารถ ให้โอกาสเท่าเทียมกัน สนับสนุนส่งสร้างสรรค์ ร่วมงานกันอย่างปลอดภัย" บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งโดยส่วนมากจะรับผู้ที่จบใหม่แล้วนำมาฝึกหัดให้มีความคิดในเชิงบวก ทำงานโดยเน้นเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ อีกทั้งยังมีการจัดการเกี่ยวกับองค์ความรู้ เช่น การจัดเก็บความรู้ทุกๆ ด้าน รวมถึงการเรียนการสอนกันเองภายในองค์กรให้อยู่ในรูปแบบวีซีดีหรือวีดีโอ เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพนักงานที่เข้ามาทำงานใหม่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับทรัพยากรขององค์กรและทรัพยากรของประเทศได้เป็นอย่างดี
ปัญหาและอุปสรรคของเอสเอ็มอีมักจะมาพร้อมกันทุกๆ ด้าน เช่น 1) การผลิตที่ไม่สามารถแข่งขันได้ทั้งด้านต้นทุนและด้านการจัดการ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีในการผลิต 2) การตลาดที่ดำเนินการแบบไม่มีตลาดหรือไม่มีแผนงาน 3) การจัดการด้านการเงินที่ทำให้เกิดปัญหาอยู่เสมอ เป็นต้น บ่อยครั้งที่เอสเอ็มอีไม่สามารถแยกปัญหาที่เกิดขึ้นได้ว่าอะไรทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตนเองมีปัญหาด้านการเงิน แต่ความเป็นจริงแล้วมักจะมีปัญหาอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น การผลิตเสียหาย ขายสินค้าไม่ออก เรียกได้ว่าหากการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีไม่มีการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านมาก่อนทุกอย่างก็จะเป็นอุปสรรค
ข้อเสนอแนะสำหรับเอสเอ็มอี คือ ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลง การทำเหมือนเดิมปัญหาย่อมเหมือนเดิม วิธีการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดคือการขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการถูกมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ วิธีการติดต่อขอรับความช่วยเหลือก็ค่อนข้างสะดวก สามารถติดต่อได้โดยตรงที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือตามงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นผู้จัด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อธิบายถึงความเหมาะสมของแต่ละโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะหากเอสเอ็มอีมีปัญหาเยอะแล้วต้องจ้างที่ปรึกษาซึ่งมีราคาสูง ความคิดที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็จะหยุดลงทันที เนื่องจากคิดว่าเก็บเงินไว้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าดีกว่า
คุณพรชัย รัตนตรัยภพ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้ข้อคิดว่าสิ่งที่จะทำให้เอสเอ็มอีสามารถแข่งขันได้ คือ การให้พนักงานทำงานอย่างเป็นระบบ มีสภาพการทำงานที่ดี มีความปลอดภัยสูง มีการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี ซึ่งจะเป็นขวัญและกำลังใจให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร รวมถึงการผลิตสินค้าที่ได้ต้นทุนเหมาะสมกับการแข่งขันของตลาด สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะเชื่อว่า "เอสเอ็มอีที่มีการบริหารจัดการที่ดีในวันนี้คือองค์กรชั้นนำในวันข้างหน้า"
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-