สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๔๕ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่องให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรค
การเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จากนั้นประธานได้ขอให้นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ซึ่งเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ ๓๙ ของพรรคประชาธิปัตย์ ยืนขึ้นเพื่อปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๕๐
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง คือ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. …. ซึ่งนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติที่คณะ
กรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในการประกาศ ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
๔. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติจำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้
๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด
กาญจนบุรี พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๔.๒ ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว
๔.๓ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ซึ่งคณะ
กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะ กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า การที่กรรมาธิการได้แก้ไขถ้อยคำในบางมาตราให้สอดคล้องกันเพื่อที่จะให้ข้าราชการในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาสามารถที่จะมีเวลาราชการได้เกินกว่าหกสิบปีนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง และเห็นด้วยกับการแก้ไขถ้อยคำของกรรมาธิการร่วมกัน เมื่อสมาชิกได้อภิปรายพอสมควรแล้วได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราช-บัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา ด้วยคะแนน ๒๔๒ เสียง
๒. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งนายวัฒนา เซ่งไพเราะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงว่า ตามที่ได้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยมีสาระสำคัญคือให้นำเงินบำเหน็จ ตกทอดซึ่งปกติจะต้องจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการพลเรือนผู้รับบำนาญ เมื่อข้าราชการพลเรือน ผู้รับบำนาญผู้นั้นถึงแก่กรรมเป็นจำนวนสามสิบเท่าของเงินบำนาญ โดยให้นำมาจ่ายให้ผู้รับบำนาญก่อนจำนวนสิบห้าเท่าของเงินบำนาญ ซึ่งเรียกว่าเงินบำเหน็จดำรงชีพประกอบกับพระราชบัญญัติ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ แล้ว โดยการที่การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการส่วนท้องถิ่นยึดหลักการเดียวกับการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการพลเรือน ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้แก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับข้าราชการพลเรือน โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่แก้ไขดังนี้
๑. เพิ่มหลักการในเรื่องบำเหน็จดำรงชีพโดยให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ได้รับบำนาญสามารถนำเงินบำเหน็จตกทอดมาใช้ได้ไม่เกิน ๑๕ เท่าของเงินบำนาญเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
๒. ปรับโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พร้อมทั้งให้เพิ่มผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนด้วย หลังจากผู้เสนอกฎหมายได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ แล้ว มีสมาชิกได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีชื่อย่อว่าอย่างไร และในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนฯ จะมีตัวแทนของกรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยาหรือไม่ เรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง พร้อมกันนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่าหากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วขอให้มีการจัดสรรเงินให้แก่คณะครูอาจารย์ซึ่งสังกัดกรุงเทพมหานครโดยตรงและหากจำนวนเงินที่จัดสรรมีจำนวนมากขอให้ได้รับในคราวเดียวกัน และขอเร่งรัดให้ทันในปีงบประมาณนี้ด้วย หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายพอสมควรแล้วที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๔๐ เสียง ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา กำหนดแปรญัตติภายใน ๒ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องการที่ให้ประธานศาลฎีกาสามารถออกข้อบังคับเพื่อให้การดำเนินคดีอาญาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมก่อนนั้นมีเหตุผลอย่างไร ซึ่งคณะ กรรมาธิการได้ชี้แจงว่า เนื่องจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนของงานบริหารหรืองานธุรการเท่านั้น แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของการดำเนินการออกข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลซึ่งที่เคยปฏิบัติมาก็ไม่ต้องขอให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมให้ความเห็นชอบก่อนแต่อย่างใด จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๒๑๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วย คะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๒๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องของการเพิ่มโทษจำคุกซึ่งแต่เดิมลงโทษปรับอย่างเดียวแก่ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตนำเอาเครื่องหมายมาตรฐาน อุตสาหกรรมไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งผู้ที่เลียนแบบเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยเพิ่มโทษจำคุกสามเดือนนั้นมีเจตนารมณ์อย่างไรถึงเพิ่มโทษจำคุกและเห็นว่าไม่จำเป็นเนื่องจากลงโทษปรับสูงอยู่แล้ว เรื่องการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมาตรฐานอุตสาหกรรมแต่นำใบอนุญาตไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งกรรมาธิการแก้ไขกำหนดให้มีแต่โทษปรับขั้นสูงไว้แต่ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำเห็นว่าควรคงไว้ตามร่างเดิมที่มีการกำหนดโทษปรับขั้นต่ำไว้ด้วยจะเหมาะสมกว่า ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องการนำเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมไปใช้โดยไม่รับอนุญาตและการลอก
เลียนเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมนั้นถือเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญและเพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำผิดตลอดจนเป็นการคุ้มครองสังคมและสุจริตชนด้วย เรื่องการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมาตรฐานอุตสาหกรรมแต่นำใบอนุญาตไปใช้กับผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้มาตรฐาน กรรมาธิการเห็นว่าเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการกำหนดโทษในกรณีอื่น ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้ จึงเห็นสมควรกำหนดไว้เฉพาะโทษปรับขั้นสูงเท่านั้น และเพื่อให้เป็น ดุลยพินิจของศาลในการตัดสินกำหนดโทษด้วย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๒๔๖ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๒๒๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
จากนั้นได้มีสมาชิกเสนอขอเปลี่ยนระเบียบวาระโดยเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
๔. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง นางผ่องศรี แซ่จึง
และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติทั้งสี่ฉบับมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ประชุมจึงได้มีมติให้พิจารณาพร้อมกันไปในคราวเดียวกัน
ต่อจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงถึงหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติแต่ละฉบับตามลำดับว่าโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับแนวนโยบายของรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยของรัฐพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการสมควรปรับปรุงการบริหารมหาวิทยาลัยให้เป็นไปในแนวทางดังกล่าว โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องของการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยกฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับ ส่วนงานด้านวิชาการน้อยมาก เรื่องของสถานะของภาพของข้าราชการมหาวิทยาลัยภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้อยากให้ดูแลด้วยเรื่องรายได้ของมหาวิทยาลัยกรณีการใช้ประโยชน์ในที่ดินควรกำหนดการจัดประโยชน์และระเบียบการใช้ที่ดินให้เป็นระบบเดียวกันทุกมหาวิทยาลัย เรื่องของการเรียกเก็บ ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียม ยังไม่ควรปรับขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักศึกษาและผู้ปกครอง ควรกำหนดให้มีกฎหมายกลางสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพื่อเป็นกรอบกำหนดทิศทาง ของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ควรกำหนดกรอบขอบเขตผลประโยชน์ที่บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐจะได้รับในการให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยไว้ด้วย อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีและข้อเสียของการที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบให้แก่นักศึกษาและประชาชนทราบด้วย โดยเฉพาะในเรื่องค่าเล่าเรียนและในเรื่องที่ระบุให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจจำหน่ายจ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาจากการอุทิศให้ของผู้มีจิตศรัทธาควรกำหนดในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของผู้บริจาคเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต เมื่อสมาชิกได้อภิปรายพอ สมควรแล้ว จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน ๒๐๐ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดแปรญัติภายใน ๗ วัน
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน ๒๕๐ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดแปรญัติภายใน ๗ วัน
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง นางผ่องศรี แซ่จึง และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนนเสียง ๒๓๓ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดแปรญัติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๕. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็น
ผู้เสนอ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่งนายประสิทธิ์
ชัยวิรัตนะ และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่งนางนิภา พริ้งศุลกะ
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงว่า โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นและให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล สามารถดำเนินกิจการได้ โดยอิสระพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเองมีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ และเพื่อสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์และการสาธารณสุขไทย และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระมารดาแห่งการสาธารณสุขไทย ในการอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยทรง
มุ่งหวังให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า โดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและความ ผาสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานและ มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพและการให้บริการวิชาการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งการทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม สมควรจัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนกให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอกฎหมายได้แถลงหลักการและเหตุผล ของร่างพระราช-บัญญัติแต่ละฉบับแล้ว ได้มีสมาชิกอภิปรายว่า กฎหมายฉบับนี้ได้มีการยกฐานะสถาบัน ซึ่งเป็น ส่วนงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล และสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญาเอกได้ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงควรมีการกำหนดกลไกเพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้จริง และเนื่องจากสถาบันนี้มีความแตกต่างจากสถาบันอื่น เนื่องจากเป็นการศึกษาเฉพาะทางที่ไม่ได้สังกัดในกระทรวงศึกษาธิการและเนื่องจากมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นมหาวิทยาลัยไม่มากนักแม้จะจัดการศึกษาเทียบเท่าปริญญามาแล้วก็ตาม ดังนั้นหากจะให้กฎหมายฉบับนี้เอื้ออำนวยและส่งเสริมให้สถาบันดำเนินไปได้โดยสมบูรณ์ตาม เจตนารมณ์จึงควรที่จะพิจารณาสารบัญญัติบางประการในกฎหมายฉบับนี้เป็นพิเศษ ในเรื่องของ สภาสถาบันควรให้มีตัวแทนของท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยและควรให้สถาบันจัดหลักสูตรที่จะผลิตบุคลากรให้ออกมาช่วยเหลือดูแลประชาชนในการป้องกันรักษาสุขภาพของตนเองให้มากที่สุดซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่ามุ่งเน้นในด้านการรักษา ในเรื่องบทเฉพาะกาลเรื่องสภาสถาบันในระยะเริ่มแรกควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นนายกสภาสถาบันจะเหมาะสมกว่า ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของบุคคลากรของสถาบันและการดำเนินการทางวินัยต่าง ๆ ให้ชัดเจน จากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่าจะนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ควรกำหนดไปพิจารณาในขั้นกรรมาธิการด้วย เมื่อสมาชิกได้อภิปรายพอสมควรแล้วได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป ด้วยคะแนน ๒๗๕ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ก่อนปิดประชุม ที่ประชุมได้เห็นชอบให้นำเรื่องการ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาดังนี้
คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชุมได้ลงมติเลือกนายธีระ สลักเพชร เป็นกรรมาธิการแทน นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ
คณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้ลงมติเลือก
นายยงยุทธ สุวภาพ เป็นกรรมาธิการแทน นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร
คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสมพงษ์ หริกุล เป็นกรรมาธิการแทน นายจินดา
วงศ์สวัสดิ์
คณะกรรมาธิการการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้
ลงมติเลือกนายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายยงยุทธ สุวภาพ และนายประสิทธิ ภักดีณิชพงศ์
เป็นกรรมาธิการแทน นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ
คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้
ลงมติเลือกนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายเจริญ คันธวงศ์
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๕๕ นาฬิกา
-------------------------------------------
ก้องเกียรติ ผือโย / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์
วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๔๕ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่องให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรค
การเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จากนั้นประธานได้ขอให้นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ซึ่งเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ ๓๙ ของพรรคประชาธิปัตย์ ยืนขึ้นเพื่อปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๕๐
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง คือ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. …. ซึ่งนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติที่คณะ
กรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในการประกาศ ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
๔. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติจำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้
๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด
กาญจนบุรี พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๔.๒ ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว
๔.๓ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. …. ซึ่งคณะ
กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะ กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า การที่กรรมาธิการได้แก้ไขถ้อยคำในบางมาตราให้สอดคล้องกันเพื่อที่จะให้ข้าราชการในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาสามารถที่จะมีเวลาราชการได้เกินกว่าหกสิบปีนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง และเห็นด้วยกับการแก้ไขถ้อยคำของกรรมาธิการร่วมกัน เมื่อสมาชิกได้อภิปรายพอสมควรแล้วได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราช-บัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา ด้วยคะแนน ๒๔๒ เสียง
๒. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งนายวัฒนา เซ่งไพเราะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงว่า ตามที่ได้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยมีสาระสำคัญคือให้นำเงินบำเหน็จ ตกทอดซึ่งปกติจะต้องจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการพลเรือนผู้รับบำนาญ เมื่อข้าราชการพลเรือน ผู้รับบำนาญผู้นั้นถึงแก่กรรมเป็นจำนวนสามสิบเท่าของเงินบำนาญ โดยให้นำมาจ่ายให้ผู้รับบำนาญก่อนจำนวนสิบห้าเท่าของเงินบำนาญ ซึ่งเรียกว่าเงินบำเหน็จดำรงชีพประกอบกับพระราชบัญญัติ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ แล้ว โดยการที่การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการส่วนท้องถิ่นยึดหลักการเดียวกับการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการพลเรือน ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้แก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับข้าราชการพลเรือน โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่แก้ไขดังนี้
๑. เพิ่มหลักการในเรื่องบำเหน็จดำรงชีพโดยให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ได้รับบำนาญสามารถนำเงินบำเหน็จตกทอดมาใช้ได้ไม่เกิน ๑๕ เท่าของเงินบำนาญเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
๒. ปรับโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พร้อมทั้งให้เพิ่มผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนด้วย หลังจากผู้เสนอกฎหมายได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ แล้ว มีสมาชิกได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีชื่อย่อว่าอย่างไร และในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนฯ จะมีตัวแทนของกรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยาหรือไม่ เรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง พร้อมกันนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่าหากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วขอให้มีการจัดสรรเงินให้แก่คณะครูอาจารย์ซึ่งสังกัดกรุงเทพมหานครโดยตรงและหากจำนวนเงินที่จัดสรรมีจำนวนมากขอให้ได้รับในคราวเดียวกัน และขอเร่งรัดให้ทันในปีงบประมาณนี้ด้วย หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายพอสมควรแล้วที่ประชุมได้ลงมติด้วยคะแนน ๒๔๐ เสียง ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา กำหนดแปรญัตติภายใน ๒ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องการที่ให้ประธานศาลฎีกาสามารถออกข้อบังคับเพื่อให้การดำเนินคดีอาญาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมก่อนนั้นมีเหตุผลอย่างไร ซึ่งคณะ กรรมาธิการได้ชี้แจงว่า เนื่องจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนของงานบริหารหรืองานธุรการเท่านั้น แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของการดำเนินการออกข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลซึ่งที่เคยปฏิบัติมาก็ไม่ต้องขอให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมให้ความเห็นชอบก่อนแต่อย่างใด จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๒๑๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วย คะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๒๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า เรื่องของการเพิ่มโทษจำคุกซึ่งแต่เดิมลงโทษปรับอย่างเดียวแก่ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตนำเอาเครื่องหมายมาตรฐาน อุตสาหกรรมไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งผู้ที่เลียนแบบเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยเพิ่มโทษจำคุกสามเดือนนั้นมีเจตนารมณ์อย่างไรถึงเพิ่มโทษจำคุกและเห็นว่าไม่จำเป็นเนื่องจากลงโทษปรับสูงอยู่แล้ว เรื่องการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมาตรฐานอุตสาหกรรมแต่นำใบอนุญาตไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งกรรมาธิการแก้ไขกำหนดให้มีแต่โทษปรับขั้นสูงไว้แต่ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำเห็นว่าควรคงไว้ตามร่างเดิมที่มีการกำหนดโทษปรับขั้นต่ำไว้ด้วยจะเหมาะสมกว่า ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องการนำเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมไปใช้โดยไม่รับอนุญาตและการลอก
เลียนเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมนั้นถือเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญและเพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำผิดตลอดจนเป็นการคุ้มครองสังคมและสุจริตชนด้วย เรื่องการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมาตรฐานอุตสาหกรรมแต่นำใบอนุญาตไปใช้กับผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้มาตรฐาน กรรมาธิการเห็นว่าเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการกำหนดโทษในกรณีอื่น ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้ จึงเห็นสมควรกำหนดไว้เฉพาะโทษปรับขั้นสูงเท่านั้น และเพื่อให้เป็น ดุลยพินิจของศาลในการตัดสินกำหนดโทษด้วย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๒๔๖ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๒๒๙ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
จากนั้นได้มีสมาชิกเสนอขอเปลี่ยนระเบียบวาระโดยเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
๔. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง นางผ่องศรี แซ่จึง
และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติทั้งสี่ฉบับมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ประชุมจึงได้มีมติให้พิจารณาพร้อมกันไปในคราวเดียวกัน
ต่อจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงถึงหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติแต่ละฉบับตามลำดับว่าโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับแนวนโยบายของรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยของรัฐพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการสมควรปรับปรุงการบริหารมหาวิทยาลัยให้เป็นไปในแนวทางดังกล่าว โดยสมาชิกได้อภิปรายว่า ในเรื่องของการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยกฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับ ส่วนงานด้านวิชาการน้อยมาก เรื่องของสถานะของภาพของข้าราชการมหาวิทยาลัยภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้อยากให้ดูแลด้วยเรื่องรายได้ของมหาวิทยาลัยกรณีการใช้ประโยชน์ในที่ดินควรกำหนดการจัดประโยชน์และระเบียบการใช้ที่ดินให้เป็นระบบเดียวกันทุกมหาวิทยาลัย เรื่องของการเรียกเก็บ ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียม ยังไม่ควรปรับขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักศึกษาและผู้ปกครอง ควรกำหนดให้มีกฎหมายกลางสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพื่อเป็นกรอบกำหนดทิศทาง ของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ควรกำหนดกรอบขอบเขตผลประโยชน์ที่บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐจะได้รับในการให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยไว้ด้วย อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีและข้อเสียของการที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบให้แก่นักศึกษาและประชาชนทราบด้วย โดยเฉพาะในเรื่องค่าเล่าเรียนและในเรื่องที่ระบุให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจจำหน่ายจ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาจากการอุทิศให้ของผู้มีจิตศรัทธาควรกำหนดในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของผู้บริจาคเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต เมื่อสมาชิกได้อภิปรายพอ สมควรแล้ว จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน ๒๐๐ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดแปรญัติภายใน ๗ วัน
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน ๒๕๐ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดแปรญัติภายใน ๗ วัน
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. …. ซึ่ง นางผ่องศรี แซ่จึง และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนนเสียง ๒๓๓ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดแปรญัติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๕. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็น
ผู้เสนอ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่งนายประสิทธิ์
ชัยวิรัตนะ และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. …. ซึ่งนางนิภา พริ้งศุลกะ
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงว่า โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นและให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล สามารถดำเนินกิจการได้ โดยอิสระพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเองมีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ และเพื่อสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์และการสาธารณสุขไทย และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระมารดาแห่งการสาธารณสุขไทย ในการอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยทรง
มุ่งหวังให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า โดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและความ ผาสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานและ มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพและการให้บริการวิชาการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งการทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม สมควรจัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนกให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หลังจากที่ผู้เสนอกฎหมายได้แถลงหลักการและเหตุผล ของร่างพระราช-บัญญัติแต่ละฉบับแล้ว ได้มีสมาชิกอภิปรายว่า กฎหมายฉบับนี้ได้มีการยกฐานะสถาบัน ซึ่งเป็น ส่วนงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล และสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญาเอกได้ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงควรมีการกำหนดกลไกเพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้จริง และเนื่องจากสถาบันนี้มีความแตกต่างจากสถาบันอื่น เนื่องจากเป็นการศึกษาเฉพาะทางที่ไม่ได้สังกัดในกระทรวงศึกษาธิการและเนื่องจากมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นมหาวิทยาลัยไม่มากนักแม้จะจัดการศึกษาเทียบเท่าปริญญามาแล้วก็ตาม ดังนั้นหากจะให้กฎหมายฉบับนี้เอื้ออำนวยและส่งเสริมให้สถาบันดำเนินไปได้โดยสมบูรณ์ตาม เจตนารมณ์จึงควรที่จะพิจารณาสารบัญญัติบางประการในกฎหมายฉบับนี้เป็นพิเศษ ในเรื่องของ สภาสถาบันควรให้มีตัวแทนของท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยและควรให้สถาบันจัดหลักสูตรที่จะผลิตบุคลากรให้ออกมาช่วยเหลือดูแลประชาชนในการป้องกันรักษาสุขภาพของตนเองให้มากที่สุดซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่ามุ่งเน้นในด้านการรักษา ในเรื่องบทเฉพาะกาลเรื่องสภาสถาบันในระยะเริ่มแรกควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นนายกสภาสถาบันจะเหมาะสมกว่า ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของบุคคลากรของสถาบันและการดำเนินการทางวินัยต่าง ๆ ให้ชัดเจน จากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่าจะนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ควรกำหนดไปพิจารณาในขั้นกรรมาธิการด้วย เมื่อสมาชิกได้อภิปรายพอสมควรแล้วได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ พร้อมกันไป ด้วยคะแนน ๒๗๕ เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ก่อนปิดประชุม ที่ประชุมได้เห็นชอบให้นำเรื่องการ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาดังนี้
คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชุมได้ลงมติเลือกนายธีระ สลักเพชร เป็นกรรมาธิการแทน นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ
คณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้ลงมติเลือก
นายยงยุทธ สุวภาพ เป็นกรรมาธิการแทน นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร
คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสมพงษ์ หริกุล เป็นกรรมาธิการแทน นายจินดา
วงศ์สวัสดิ์
คณะกรรมาธิการการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้
ลงมติเลือกนายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายยงยุทธ สุวภาพ และนายประสิทธิ ภักดีณิชพงศ์
เป็นกรรมาธิการแทน นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ
คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้
ลงมติเลือกนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายเจริญ คันธวงศ์
ปิดประชุมเวลา ๑๗.๕๕ นาฬิกา
-------------------------------------------
ก้องเกียรติ ผือโย / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์