กรุงเทพ--29 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวงจำกัดระดับหัวหน้าคณะเจรจาของการเจรจา จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งสำหรับฝ่ายไทย มีนายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วม สรุปได้ดังนี้
ทั้งสองฝ่ายรับทราบผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่กรุงฮานอย เมื่อ 8 ตุลาคม 2547 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจตนารมณ์ร่วมกันที่จะให้การเจรจามีความคืบหน้า หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยได้เสนอว่า คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายไม่ควรเสียเวลาถกเถียงในสิ่งที่ผู้นำได้ตกลงกันแล้ว แต่ควรมุ่งให้การเจรจามีความคืบหน้า และสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองฝ่ายหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยได้ยืนยันที่จะปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้นำตกลงไว้ โดยนำข้าวออกจากข้อเรียกร้อง และแสดงความหวังว่า ฝ่ายญี่ปุ่นจะปฏิบัติตามเจตนารมณ์ดังกล่าวของผู้นำเช่นกัน
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงว่า ยกเว้นข้าวแล้ว จะนำสินค้าและบริการที่เหลือทั้งหมดขึ้นเจรจา ซึ่งผล สุดท้าย ความตกลง JTEP จะครอบคลุมสินค้าและบริการต่างๆ เพียงใด ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจาทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดการประชุมเจรจานอกรอบในระดับคณะทำงานเพื่อหารือเรื่องการค้าสินค้า ระหว่าง 8-10 พฤศจิกายน 2547 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งการประชุมดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะแสดงความจริงใจในการนำเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศมาปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นโอกาสที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะพิสูจน์ให้เห็นว่า หลังจากที่ฝ่ายไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้ตกลงกันไว้แล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมจะดำเนินการเช่นเดียวกัน รวมทั้งมีแนวคิดร่วมกับไทยที่จะเจรจาให้ความตกลง JTEP เป็นความตกลงที่มีคุณภาพในการเพิ่มพูนการค้า การลงทุน และการไปมาหาสู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการประชุมฯ ระหว่าง 8-10 พฤศจิกายนศกนี้ ยกเว้นข้าวแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะได้เจรจากันอย่างสร้างสรรค์และคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมในทุกรายการสินค้า ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคย ยกเว้นไว้กว่า 1,000 รายการ และไทยก็พร้อมจะเจรจาสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่ไทยมีความละเอียดอ่อน
การที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้นำข้าวออกจากการเจรจาในระหว่างการพบปะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่กรุงฮานอยนั้น ก็เป็นการแสดงความเป็นผู้นำและการกล้าตัดสินใจทางการเมืองเพื่อแก้ไขความชะงักงัน เนื่องจากไทยตระหนักดีถึงความละเอียดอ่อนทางการเมืองของข้าวต่อญี่ปุ่น ฝ่ายไทยหวังว่า เจตนารมณ์ของผู้นำทั้งสองจะแพ้วทางให้การเจรจามีความคืบหน้าในด้านอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างมาก (ในปัจจุบัน ไทยส่งออกข้าวไปยังญี่ปุ่นมากเป็นลำดับที่ 4 ปีละ 130,000 -160,000 เมตริกตัน ซึ่งข้าวไทยที่ญี่ปุ่นนำเข้าส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ การผลิตขนมขบเคี้ยว ซุปมิโซ และเหล้าสาเก ส่วนข้าวหอมมะลิเพื่อใช้บริโภคนั้น ญี่ปุ่นยังนำเข้าน้อย ฝ่ายญี่ปุ่นแจ้งว่า หากชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิของไทยมากขึ้น ก็จะพิจารณานำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้นได้)
อนึ่ง หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยได้แจ้งหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นระงับการส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจโรงงานไก่แปรรูปของไทยโดยเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวกับการที่ไทยเรียกร้องเรื่องสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่นในกรอบ JTEPA ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการเจรจา และได้รับคำยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวมิใช่นโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ในการนี้ จึงได้ขอให้หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่นประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เลิกการใช้วิธีการดังกล่าว และดูแลไม่ให้เกิดการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ขึ้นอีก
สำหรับการเจรจา JTEPA อย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 5 ฝ่ายไทยได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่าง 1-3 ธันวาคม 2547 โดยหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่นได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่จะลงมาหาข้อสรุปเกี่ยวกับข้อบทด้านความร่วมมือ 8 บท ซึ่งรวมถึงเรื่องการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ทั้งนี้ ข้อบทด้านความร่วมมือของความตกลง JTEP มุ่งที่จะเสริมสร้างความร่วมมือหุ้นส่วนที่ใกล้ชิด และความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในภาพรวม รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจรจาความตกลง JTEP สามารถอ่านได้จากเว็บไซด์ของสำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นที่ www.mfa.go.th/jtepa
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวงจำกัดระดับหัวหน้าคณะเจรจาของการเจรจา จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งสำหรับฝ่ายไทย มีนายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วม สรุปได้ดังนี้
ทั้งสองฝ่ายรับทราบผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่กรุงฮานอย เมื่อ 8 ตุลาคม 2547 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจตนารมณ์ร่วมกันที่จะให้การเจรจามีความคืบหน้า หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยได้เสนอว่า คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายไม่ควรเสียเวลาถกเถียงในสิ่งที่ผู้นำได้ตกลงกันแล้ว แต่ควรมุ่งให้การเจรจามีความคืบหน้า และสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองฝ่ายหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยได้ยืนยันที่จะปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้นำตกลงไว้ โดยนำข้าวออกจากข้อเรียกร้อง และแสดงความหวังว่า ฝ่ายญี่ปุ่นจะปฏิบัติตามเจตนารมณ์ดังกล่าวของผู้นำเช่นกัน
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงว่า ยกเว้นข้าวแล้ว จะนำสินค้าและบริการที่เหลือทั้งหมดขึ้นเจรจา ซึ่งผล สุดท้าย ความตกลง JTEP จะครอบคลุมสินค้าและบริการต่างๆ เพียงใด ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจาทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดการประชุมเจรจานอกรอบในระดับคณะทำงานเพื่อหารือเรื่องการค้าสินค้า ระหว่าง 8-10 พฤศจิกายน 2547 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งการประชุมดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะแสดงความจริงใจในการนำเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศมาปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นโอกาสที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะพิสูจน์ให้เห็นว่า หลังจากที่ฝ่ายไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้ตกลงกันไว้แล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมจะดำเนินการเช่นเดียวกัน รวมทั้งมีแนวคิดร่วมกับไทยที่จะเจรจาให้ความตกลง JTEP เป็นความตกลงที่มีคุณภาพในการเพิ่มพูนการค้า การลงทุน และการไปมาหาสู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการประชุมฯ ระหว่าง 8-10 พฤศจิกายนศกนี้ ยกเว้นข้าวแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะได้เจรจากันอย่างสร้างสรรค์และคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมในทุกรายการสินค้า ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคย ยกเว้นไว้กว่า 1,000 รายการ และไทยก็พร้อมจะเจรจาสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่ไทยมีความละเอียดอ่อน
การที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้นำข้าวออกจากการเจรจาในระหว่างการพบปะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่กรุงฮานอยนั้น ก็เป็นการแสดงความเป็นผู้นำและการกล้าตัดสินใจทางการเมืองเพื่อแก้ไขความชะงักงัน เนื่องจากไทยตระหนักดีถึงความละเอียดอ่อนทางการเมืองของข้าวต่อญี่ปุ่น ฝ่ายไทยหวังว่า เจตนารมณ์ของผู้นำทั้งสองจะแพ้วทางให้การเจรจามีความคืบหน้าในด้านอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างมาก (ในปัจจุบัน ไทยส่งออกข้าวไปยังญี่ปุ่นมากเป็นลำดับที่ 4 ปีละ 130,000 -160,000 เมตริกตัน ซึ่งข้าวไทยที่ญี่ปุ่นนำเข้าส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ การผลิตขนมขบเคี้ยว ซุปมิโซ และเหล้าสาเก ส่วนข้าวหอมมะลิเพื่อใช้บริโภคนั้น ญี่ปุ่นยังนำเข้าน้อย ฝ่ายญี่ปุ่นแจ้งว่า หากชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิของไทยมากขึ้น ก็จะพิจารณานำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้นได้)
อนึ่ง หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยได้แจ้งหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการที่ญี่ปุ่นระงับการส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจโรงงานไก่แปรรูปของไทยโดยเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวกับการที่ไทยเรียกร้องเรื่องสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่นในกรอบ JTEPA ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการเจรจา และได้รับคำยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวมิใช่นโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ในการนี้ จึงได้ขอให้หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่นประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เลิกการใช้วิธีการดังกล่าว และดูแลไม่ให้เกิดการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ขึ้นอีก
สำหรับการเจรจา JTEPA อย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 5 ฝ่ายไทยได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่าง 1-3 ธันวาคม 2547 โดยหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่นได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่จะลงมาหาข้อสรุปเกี่ยวกับข้อบทด้านความร่วมมือ 8 บท ซึ่งรวมถึงเรื่องการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ทั้งนี้ ข้อบทด้านความร่วมมือของความตกลง JTEP มุ่งที่จะเสริมสร้างความร่วมมือหุ้นส่วนที่ใกล้ชิด และความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในภาพรวม รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจรจาความตกลง JTEP สามารถอ่านได้จากเว็บไซด์ของสำนักงานเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นที่ www.mfa.go.th/jtepa
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-