นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลตลอดปีงบประมาณ 2547 โดยสรุป ดังนี้
1. ในปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (ก่อนการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.) รวมทั้งสิ้น 1,165,068 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 58,368 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 15.5) และเมื่อหักการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนฯ จำนวน 47,726 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการ 4,626 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 ออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิรวม 1,117,342 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (1,063,600 ล้านบาท) จำนวน 53,742 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5.1 และสูงกว่าปีที่แล้ว 149,008 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรม ในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) รวม 1,153,074 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 86,574 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.9) สำหรับหน่วยงานอื่น จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 5.0 เนื่องจากตามประมาณการคาดว่าจะทำการแปรรูปการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตฯ แต่ปรากฏว่าไม่ได้ดำเนินการผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้ (รายละเอียดตามตารางที่ 1)
1.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 772,236 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 78,236 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 23.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้ สูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บได้สูงกว่าประมาณการ 26,784 และ 23,890 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.3 และ 10.0 ตามลำดับ (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 21.0 และ 25.4 ตามลำดับ)
1.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 275,768 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5,768 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.8) เนื่องจากภาษีรถยนต์ ภาษียาสูบ และภาษีโทรคมนาคม จัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ 3,002 2,506 และ 1,025 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 7.4 และ 8.8 ตามลำดับ
1.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 105,070 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,570 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.0) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 102,725 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,475 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5 แต่ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.7 ซึ่งเป็นผลมาจาก การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร ประกอบกับการทำ FTA กับต่างประเทศ จึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว
1.4 หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้รวม 135,561 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 7,184 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.4) เนื่องจากตามประมาณการคาดว่าจะได้รับ รายได้จากการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จำนวน 6,993 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าไม่ได้ดำเนินการ
2. เดือนกันยายน 2547 การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลก่อนจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนฯ มีจำนวน 79,571 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.3 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพากรซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 26.6 รองลงมาได้แก่ กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตสูงกว่าประมาณการร้อยละ 17.1 และ 10.7 ตามลำดับ โดยภาษีที่สำคัญจัดเก็บได้ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,982 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.0
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,581 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.3
อย่างไรก็ดีในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนฯ จำนวน 25,588 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,626 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1 ซึ่งส่งผลให้รายได้สุทธิของรัฐบาลหลังหักการจัดสรรดังกล่าว มีจำนวน 53,983 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 2.4 โดยมีสาเหตุที่สำคัญที่ส่งผลให้จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการในเดือนกันยายน 2547 มีดังนี้
1. เดือนนี้เมื่อปีที่แล้วได้มีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ซึ่งครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2546 และบางส่วนเหลื่อมมาในเดือนกันยายน 2546
2. มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนฯ ในเดือนนี้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 24.7 3. สรุป
การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 แม้ว่าจะได้มีการปรับเป้าหมาย จาก 928,100 ล้านบาท เป็น 1,063,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135,500 ล้านบาท แล้วก็ตาม การจัดเก็บ รายได้ของรัฐบาลยังคงสูงกว่าประมาณการโดยมีสาเหตุที่สำคัญ ดังนี้
3.1 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจสูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะภาคการบริโภค ภาคการส่งออก และภาคการลงทุน
3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประยุกต์กับการบริหาร และการชำระภาษีอากร
3.3 การขยายฐานภาษีของกรมสรรพากร โดยสามารถชักจูงผู้เสียภาษีรายใหม่ที่อยู่นอกระบบเข้าสู่ระบบโดยเพิ่มขึ้นถึง 201,329 ราย ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (60,000 ราย)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 87/2547 29 ตุลาคม 2547--
1. ในปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (ก่อนการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.) รวมทั้งสิ้น 1,165,068 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 58,368 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 15.5) และเมื่อหักการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนฯ จำนวน 47,726 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการ 4,626 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 ออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิรวม 1,117,342 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (1,063,600 ล้านบาท) จำนวน 53,742 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5.1 และสูงกว่าปีที่แล้ว 149,008 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรม ในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) รวม 1,153,074 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 86,574 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.9) สำหรับหน่วยงานอื่น จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 5.0 เนื่องจากตามประมาณการคาดว่าจะทำการแปรรูปการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตฯ แต่ปรากฏว่าไม่ได้ดำเนินการผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้ (รายละเอียดตามตารางที่ 1)
1.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 772,236 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 78,236 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 23.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้ สูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บได้สูงกว่าประมาณการ 26,784 และ 23,890 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.3 และ 10.0 ตามลำดับ (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 21.0 และ 25.4 ตามลำดับ)
1.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 275,768 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5,768 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.8) เนื่องจากภาษีรถยนต์ ภาษียาสูบ และภาษีโทรคมนาคม จัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ 3,002 2,506 และ 1,025 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 7.4 และ 8.8 ตามลำดับ
1.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 105,070 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,570 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.0) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 102,725 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,475 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5 แต่ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 6.7 ซึ่งเป็นผลมาจาก การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร ประกอบกับการทำ FTA กับต่างประเทศ จึงส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว
1.4 หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้รวม 135,561 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 7,184 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.4) เนื่องจากตามประมาณการคาดว่าจะได้รับ รายได้จากการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จำนวน 6,993 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าไม่ได้ดำเนินการ
2. เดือนกันยายน 2547 การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลก่อนจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนฯ มีจำนวน 79,571 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.3 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพากรซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 26.6 รองลงมาได้แก่ กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตสูงกว่าประมาณการร้อยละ 17.1 และ 10.7 ตามลำดับ โดยภาษีที่สำคัญจัดเก็บได้ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,982 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.0
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,581 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.3
อย่างไรก็ดีในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนฯ จำนวน 25,588 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,626 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1 ซึ่งส่งผลให้รายได้สุทธิของรัฐบาลหลังหักการจัดสรรดังกล่าว มีจำนวน 53,983 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 2.4 โดยมีสาเหตุที่สำคัญที่ส่งผลให้จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการในเดือนกันยายน 2547 มีดังนี้
1. เดือนนี้เมื่อปีที่แล้วได้มีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ซึ่งครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2546 และบางส่วนเหลื่อมมาในเดือนกันยายน 2546
2. มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนฯ ในเดือนนี้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 24.7 3. สรุป
การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 แม้ว่าจะได้มีการปรับเป้าหมาย จาก 928,100 ล้านบาท เป็น 1,063,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135,500 ล้านบาท แล้วก็ตาม การจัดเก็บ รายได้ของรัฐบาลยังคงสูงกว่าประมาณการโดยมีสาเหตุที่สำคัญ ดังนี้
3.1 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจสูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะภาคการบริโภค ภาคการส่งออก และภาคการลงทุน
3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประยุกต์กับการบริหาร และการชำระภาษีอากร
3.3 การขยายฐานภาษีของกรมสรรพากร โดยสามารถชักจูงผู้เสียภาษีรายใหม่ที่อยู่นอกระบบเข้าสู่ระบบโดยเพิ่มขึ้นถึง 201,329 ราย ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (60,000 ราย)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 87/2547 29 ตุลาคม 2547--