บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เสนอและส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้คำรับรอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙
และข้อบังคับฯ ข้อ ๑๐๒ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้คำรับรองร่าง
พระราชบัญญัติแล้ว จำนวน ๑๘๔ ฉบับ ไม่ให้คำรับรอง จำนวน ๒๕ ฉบับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอถอน
จำนวน ๑ ฉบับ ยุติเรื่องเนื่องจากผู้เสนอพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๕ ฉบับ
และมีร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ได้ให้คำรับรองเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำนวน ๘๑ ฉบับ
๒. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์
ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคาร
ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๕. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์
ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็น
กรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
จำนวน ๗ ฉบับ ตามลำดับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
(๕) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ให้ขยายเวลานับแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗
(๖) ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
(๗) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ….
ให้ขยายเวลานับแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน
เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๑)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ
ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายจำลอง ครุฑขุนทด ๒. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๓. นายปกิต พัฒนกุล ๔. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๕. นายนิสิต สินธุไพร ๖. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๗. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๘. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๙. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๑๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๑๒. นายอานนท์ เที่ยงตรง
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน
เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกัน
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน โดยมีมติให้คณะกรรมาธิการฯ
ชุดที่พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
เป็นผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
๔. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม
ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม และอัตราค่าธรรมเนียม) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่างและได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่ง
เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผล
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางเบญจา หลุยเจริญ
๓. นางสาวจำรัส แหยมสร้อยทอง ๔. นางสาววัชราภรณ์ มาตยานันท์
๕. นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ ๖. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ
๗. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง ๘. พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
๙. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๒. นายเกรียงไกร ไชยมงคล
๑๓. นายภาคิน สมมิตร ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๑๖. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๑๗. พันเอก วินัย สมพงษ์ ๑๘. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๑๙. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๐. นายไพจิต ศรีวรขาน
๒๑. นายประคัลภ์ ฤทธิ์ลอย ๒๒. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๓. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๔. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๒๕. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๒๖. นายอารักษ์ ไชยริปู
๒๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๘. นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ
๒๙. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๓๐. นางผุสดี ตามไท
๓๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๓๒. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๓๓. นายอภิชาต การิกาญจน์ ๓๔. นายมณเฑียร สงฆ์ประชา
๓๕. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางทมยันตี โปษยานนท์
๓. นางสาวพจณี พรหมโรจน์ ๔. นายนพดล เภรีฤกษ์
๕. นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๘. นายสมนึก สกุลรัตนกุลชัย
๙. นายวีรวัฒน์ พ่วงพิศ ๑๐. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์
๑๑. นายนพคุณ รัฐผไท ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ๑๔. นายรักษ์ ด่านกุล
๑๕. นายทองดี มนิสสาร ๑๖. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๑๗. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๑๘. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๐. พันเอก วินัย สมพงษ์
๒๑. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๒๒. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๒๕. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๒๖. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๒๗. นายปรีชา สุวรรณทัต ๒๘. นายวิชัย ตันศิริ
๒๙. นายสุวรรณ กู้สุจริต ๓๐. นางผุสดี ตามไท
๓๑. คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ๓๒. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๓๓. นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายกำธร จันทร์แสง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม
ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม และอัตราค่าธรรมเนียม) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญา
ซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม และอัตราค่าธรรมเนียม)
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๓)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
แต่เนื่องจากผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระที่ ๕.๔๓ ไม่อยู่ในที่ประชุม
และไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมาย ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นอัน
ตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๕ ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๒. นายพงษ์ภัฏ เรียงเครือ
๓. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๔. นายประสิทธิ์ ศักดิ์ศรีมณีกูล
๕. นายสุชัย งามจิตต์เอื้อ ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ๘. นายประแสง มงคลศิริ
๙. นายบรรยง เต็มสิริภักดี ๑๐. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายอานนท์ สิงห์สมบุญ ๑๔. นายรักษ์ ด่านกุล
๑๕. นายทองดี มนิสสาร ๑๖. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๑๗. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๑๘. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๐. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
๒๑. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ ๒๒. นายไพศาล ยิ่งสมาน
๒๓. นายปกิต พัฒนกุล ๒๔. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๒๕. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๖. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๗. นายปรีชา สุวรรณทัต ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายสุวโรช พะลัง ๓๐. นายวิรัช ร่มเย็น
๓๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๓๒. นายสินิตย์ เลิศไกร
๓๓. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๓๔. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๕. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้ง
ให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องการขอเลื่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๒
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ ไปพิจารณาใน
วันพฤหัสบดีที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๔๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ค่าลดหย่อนการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง)
๒. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม
และอัตราค่าธรรมเนียม)
****************************************
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เสนอและส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้คำรับรอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙
และข้อบังคับฯ ข้อ ๑๐๒ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้คำรับรองร่าง
พระราชบัญญัติแล้ว จำนวน ๑๘๔ ฉบับ ไม่ให้คำรับรอง จำนวน ๒๕ ฉบับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอถอน
จำนวน ๑ ฉบับ ยุติเรื่องเนื่องจากผู้เสนอพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๕ ฉบับ
และมีร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ได้ให้คำรับรองเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำนวน ๘๑ ฉบับ
๒. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์
ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคาร
ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๕. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์
ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็น
กรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
จำนวน ๗ ฉบับ ตามลำดับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
(๕) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ให้ขยายเวลานับแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗
(๖) ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
(๗) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ….
ให้ขยายเวลานับแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน
เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๑)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ
ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายจำลอง ครุฑขุนทด ๒. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๓. นายปกิต พัฒนกุล ๔. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๕. นายนิสิต สินธุไพร ๖. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๗. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๘. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๙. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๑๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๑๒. นายอานนท์ เที่ยงตรง
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน
เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๒๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกัน
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน โดยมีมติให้คณะกรรมาธิการฯ
ชุดที่พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
เป็นผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
๔. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม
ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม และอัตราค่าธรรมเนียม) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่างและได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่ง
เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผล
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางเบญจา หลุยเจริญ
๓. นางสาวจำรัส แหยมสร้อยทอง ๔. นางสาววัชราภรณ์ มาตยานันท์
๕. นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ ๖. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ
๗. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง ๘. พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
๙. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๒. นายเกรียงไกร ไชยมงคล
๑๓. นายภาคิน สมมิตร ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๑๖. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๑๗. พันเอก วินัย สมพงษ์ ๑๘. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๑๙. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๐. นายไพจิต ศรีวรขาน
๒๑. นายประคัลภ์ ฤทธิ์ลอย ๒๒. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๓. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๔. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๒๕. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๒๖. นายอารักษ์ ไชยริปู
๒๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๘. นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ
๒๙. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๓๐. นางผุสดี ตามไท
๓๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๓๒. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๓๓. นายอภิชาต การิกาญจน์ ๓๔. นายมณเฑียร สงฆ์ประชา
๓๕. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางทมยันตี โปษยานนท์
๓. นางสาวพจณี พรหมโรจน์ ๔. นายนพดล เภรีฤกษ์
๕. นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๘. นายสมนึก สกุลรัตนกุลชัย
๙. นายวีรวัฒน์ พ่วงพิศ ๑๐. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์
๑๑. นายนพคุณ รัฐผไท ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ๑๔. นายรักษ์ ด่านกุล
๑๕. นายทองดี มนิสสาร ๑๖. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๑๗. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๑๘. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๐. พันเอก วินัย สมพงษ์
๒๑. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๒๒. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๒๕. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๒๖. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๒๗. นายปรีชา สุวรรณทัต ๒๘. นายวิชัย ตันศิริ
๒๙. นายสุวรรณ กู้สุจริต ๓๐. นางผุสดี ตามไท
๓๑. คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ๓๒. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๓๓. นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายกำธร จันทร์แสง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม
ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม และอัตราค่าธรรมเนียม) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญา
ซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม และอัตราค่าธรรมเนียม)
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๓)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
แต่เนื่องจากผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระที่ ๕.๔๓ ไม่อยู่ในที่ประชุม
และไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมาย ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นอัน
ตกไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๕ ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๒. นายพงษ์ภัฏ เรียงเครือ
๓. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๔. นายประสิทธิ์ ศักดิ์ศรีมณีกูล
๕. นายสุชัย งามจิตต์เอื้อ ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ๘. นายประแสง มงคลศิริ
๙. นายบรรยง เต็มสิริภักดี ๑๐. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายอานนท์ สิงห์สมบุญ ๑๔. นายรักษ์ ด่านกุล
๑๕. นายทองดี มนิสสาร ๑๖. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๑๗. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๑๘. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๐. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
๒๑. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ ๒๒. นายไพศาล ยิ่งสมาน
๒๓. นายปกิต พัฒนกุล ๒๔. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๒๕. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๖. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๗. นายปรีชา สุวรรณทัต ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายสุวโรช พะลัง ๓๐. นายวิรัช ร่มเย็น
๓๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๓๒. นายสินิตย์ เลิศไกร
๓๓. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๓๔. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๕. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้ง
ให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องการขอเลื่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๒
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ ไปพิจารณาใน
วันพฤหัสบดีที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๔๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ค่าลดหย่อนการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง)
๒. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม
และอัตราค่าธรรมเนียม)
****************************************