กรุงเทพ--1 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็น ประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเป็นประธานร่วมกับนายสมสวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากากระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างบ้านนากระเซิง ต. อาฮี อ.ท่าลี่ จังหวัดเลย กับบ้านเมืองหมอใต้ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ของ สปป. ลาว และภายหลังพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เสร็จสิ้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ สปป.ลาวได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เริ่มต้นจากการที่ประชาชนชาวไทยในจังหวัดเลยได้เรียกร้องให้มีการสร้างขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว ต่อมาเมื่อรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศได้มีความใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น โครงการสร้างสะพานจึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการสร้างสะพานไม่ใช่มีประเด็นเรื่อง งบประมาณแต่เพียงอย่างเดียว แต่ประเทศทั้งสองจะต้องมีนโยบายตรงกันมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน รวมทั้งต้องมีเจตนารมย์ทางการเมืองของรัฐบาลและความประสงค์ของประชาชนทั้งสองฝ่ายที่จะ ร่วมมือกันเพื่อสันติสุขและความเจริญร่วมกัน และขณะนี้เมื่อทั้งสองฝ่ายได้พัฒนาความสัมพันธ์มา ถึงระดับที่ดีและใกล้ชิดมากแล้ว ประเทศทั้งสองจึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ของสองฝั่งได้ และโดยที่ประชาชนของทั้งสองฝั่งเป็นพี่เป็นน้องกันและต้องการไปมาหาสู่กันและค้าขายท่องเที่ยวไปยังอีกฝั่งหนึ่ง สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวนี้ จึงเป็นสะพานเชื่อมจิตใจประชาชนของทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน และทำให้เพิ่มพูนการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย นอกจากนี้ถนนสายนี้ ก็จะเปิดเชื่อมถนนฝั่งไทยกับถนนฝั่งลาว เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังเมืองหลวงพระบางของลาวซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก และยังทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศสามารถใช้ประโยชน์เดินทางข้ามไปมาได้อีกด้วย
2. ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า นอกจากการสร้างสะพานมิตรภาพเชื่อมกันแล้ว โดยที่ทั้งสองฝ่ายไว้เนื้อเชื่อใจกันและมีพันธะที่จะทำงานร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้มีหนังสือแลกเปลี่ยนที่จะเปิดจุดสะพานนี้เป็นจุดผ่านแดนสากลหรือจุดผ่านแดนถาวร พร้อมทั้งยังได้ตกลงกันที่จะยกเว้นการตรวจลงตราหรือวีซ่าสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยและลาวให้เดินทางไปมาโดยสะดวกยิ่งขึ้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านสิ่งปลูกสร้าง และด้านกฎระเบียบ หรือเป็นการอำนวยความสะดวกที่ครบทั้ง hardware และ software ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวที่ผ่านมาคือ ทั้งสองฝ่ายมีความจริงใจต่อกัน สิ่งใดที่ทั้งสองฝ่าย ตกลงกันที่จะดำเนินการ ทางฝั่งลาว โดยนายบุนยัง วอละจิด นายกรัฐมนตรีลาว และทางฝั่งไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ต่างก็ผลักดันเต็มที่ และทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรม สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาคนี้สามารถร่วมมือและช่วยเหลือกันได้ เพื่อที่จะทำให้พี่น้อง ประชาชนในภูมิภาคอยู่ดีกินดี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว นั้นนอกจากการสร้างสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองแล้วยังมีความร่วมมือในจุดอื่นๆ ด้วย อาทิ การซ่อมแซมสนามบินที่วัดไต เพื่อให้เครื่องบินโบอิ้ง 747 ลงจอดได้ ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โครงการพัฒนาสนามบินที่ปากเซ ซึ่งกำลังจะดำเนินการ และโครงการศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาสนามบินที่ สะหวันนะเขต เพื่อให้สอดคล้องกับถนนสายที่ 9 ที่จะเชื่อม มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง รวมทั้ง การศึกษาความเป็นไปได้ที่จะทำให้การเดินทางจากสะพานมิตรภาพน้ำเหืองนี้มีความสะดวกไปจนถึงเมืองหลวงพระบางได้ ซึ่งโครงการเหล่านี้ต้องอาศัยการผลักดันจากทั้งสองฝ่าย และรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว ก็เป็นกำลังสำคัญที่ได้ให้ความจริงใจและผลักดัน เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดำเนินการฝ่ายเดียวก็คงไม่สำเร็จ
4. นายสมสวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวได้กล่าวว่า ผลสำเร็จจากการสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาที่สุดคือ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2547 นี้ จะมีรถบรรทุกข้าวโพดจากฝั่งลาวไปฝั่งไทยมากกว่าปกติ ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จที่ได้มาจากการดำเนินนโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ลาว ตามนโยบายรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และรัฐบาลของนายบุนยัง วอละจิต นายกรัฐมนตรีลาว การสร้างสะพานมิตรภาพนี้ จึงนำประโยชน์มาสู่ประชาชนของสองประเทศโดยแท้ ประชาชนของสองฝั่งจึงมีความพอใจมาก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของลาว กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ตรงบริเวณนี้ 3 ครั้งแล้ว ซึ่งประชาชนในบริเวณนี้ได้แจ้งให้ทราบว่า เมื่อครั้งที่ยังไม่มีสะพานแห่งนี้ รถที่ข้ามไปมาทางแพขนานยนต์ ทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น ประชาชนในแถบนี้จึงต้อง อาบน้ำขุ่น บัดนี้เมื่อรถวิ่งบนสะพานแห่งนี้แล้ว ทำให้น้ำในแม่น้ำใส ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับอย่างชัดเจนอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว มีอยู่ในหลายกรอบ ทั้งในกรอบทวิภาคี โดยรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยเป็นประธานร่วมกัน และความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ได้แก่ กรอบยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ACMECS และกรอบ ASEAN
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็น ประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเป็นประธานร่วมกับนายสมสวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากากระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างบ้านนากระเซิง ต. อาฮี อ.ท่าลี่ จังหวัดเลย กับบ้านเมืองหมอใต้ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ของ สปป. ลาว และภายหลังพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เสร็จสิ้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ สปป.ลาวได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เริ่มต้นจากการที่ประชาชนชาวไทยในจังหวัดเลยได้เรียกร้องให้มีการสร้างขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว ต่อมาเมื่อรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศได้มีความใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น โครงการสร้างสะพานจึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการสร้างสะพานไม่ใช่มีประเด็นเรื่อง งบประมาณแต่เพียงอย่างเดียว แต่ประเทศทั้งสองจะต้องมีนโยบายตรงกันมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน รวมทั้งต้องมีเจตนารมย์ทางการเมืองของรัฐบาลและความประสงค์ของประชาชนทั้งสองฝ่ายที่จะ ร่วมมือกันเพื่อสันติสุขและความเจริญร่วมกัน และขณะนี้เมื่อทั้งสองฝ่ายได้พัฒนาความสัมพันธ์มา ถึงระดับที่ดีและใกล้ชิดมากแล้ว ประเทศทั้งสองจึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ของสองฝั่งได้ และโดยที่ประชาชนของทั้งสองฝั่งเป็นพี่เป็นน้องกันและต้องการไปมาหาสู่กันและค้าขายท่องเที่ยวไปยังอีกฝั่งหนึ่ง สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวนี้ จึงเป็นสะพานเชื่อมจิตใจประชาชนของทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน และทำให้เพิ่มพูนการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย นอกจากนี้ถนนสายนี้ ก็จะเปิดเชื่อมถนนฝั่งไทยกับถนนฝั่งลาว เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังเมืองหลวงพระบางของลาวซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก และยังทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศสามารถใช้ประโยชน์เดินทางข้ามไปมาได้อีกด้วย
2. ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า นอกจากการสร้างสะพานมิตรภาพเชื่อมกันแล้ว โดยที่ทั้งสองฝ่ายไว้เนื้อเชื่อใจกันและมีพันธะที่จะทำงานร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้มีหนังสือแลกเปลี่ยนที่จะเปิดจุดสะพานนี้เป็นจุดผ่านแดนสากลหรือจุดผ่านแดนถาวร พร้อมทั้งยังได้ตกลงกันที่จะยกเว้นการตรวจลงตราหรือวีซ่าสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยและลาวให้เดินทางไปมาโดยสะดวกยิ่งขึ้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านสิ่งปลูกสร้าง และด้านกฎระเบียบ หรือเป็นการอำนวยความสะดวกที่ครบทั้ง hardware และ software ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวที่ผ่านมาคือ ทั้งสองฝ่ายมีความจริงใจต่อกัน สิ่งใดที่ทั้งสองฝ่าย ตกลงกันที่จะดำเนินการ ทางฝั่งลาว โดยนายบุนยัง วอละจิด นายกรัฐมนตรีลาว และทางฝั่งไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ต่างก็ผลักดันเต็มที่ และทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรม สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาคนี้สามารถร่วมมือและช่วยเหลือกันได้ เพื่อที่จะทำให้พี่น้อง ประชาชนในภูมิภาคอยู่ดีกินดี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว นั้นนอกจากการสร้างสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองแล้วยังมีความร่วมมือในจุดอื่นๆ ด้วย อาทิ การซ่อมแซมสนามบินที่วัดไต เพื่อให้เครื่องบินโบอิ้ง 747 ลงจอดได้ ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โครงการพัฒนาสนามบินที่ปากเซ ซึ่งกำลังจะดำเนินการ และโครงการศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาสนามบินที่ สะหวันนะเขต เพื่อให้สอดคล้องกับถนนสายที่ 9 ที่จะเชื่อม มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง รวมทั้ง การศึกษาความเป็นไปได้ที่จะทำให้การเดินทางจากสะพานมิตรภาพน้ำเหืองนี้มีความสะดวกไปจนถึงเมืองหลวงพระบางได้ ซึ่งโครงการเหล่านี้ต้องอาศัยการผลักดันจากทั้งสองฝ่าย และรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว ก็เป็นกำลังสำคัญที่ได้ให้ความจริงใจและผลักดัน เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดำเนินการฝ่ายเดียวก็คงไม่สำเร็จ
4. นายสมสวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวได้กล่าวว่า ผลสำเร็จจากการสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาที่สุดคือ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2547 นี้ จะมีรถบรรทุกข้าวโพดจากฝั่งลาวไปฝั่งไทยมากกว่าปกติ ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จที่ได้มาจากการดำเนินนโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ลาว ตามนโยบายรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และรัฐบาลของนายบุนยัง วอละจิต นายกรัฐมนตรีลาว การสร้างสะพานมิตรภาพนี้ จึงนำประโยชน์มาสู่ประชาชนของสองประเทศโดยแท้ ประชาชนของสองฝั่งจึงมีความพอใจมาก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของลาว กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ตรงบริเวณนี้ 3 ครั้งแล้ว ซึ่งประชาชนในบริเวณนี้ได้แจ้งให้ทราบว่า เมื่อครั้งที่ยังไม่มีสะพานแห่งนี้ รถที่ข้ามไปมาทางแพขนานยนต์ ทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น ประชาชนในแถบนี้จึงต้อง อาบน้ำขุ่น บัดนี้เมื่อรถวิ่งบนสะพานแห่งนี้แล้ว ทำให้น้ำในแม่น้ำใส ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับอย่างชัดเจนอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว มีอยู่ในหลายกรอบ ทั้งในกรอบทวิภาคี โดยรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยเป็นประธานร่วมกัน และความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ได้แก่ กรอบยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ACMECS และกรอบ ASEAN
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-