กรุงเทพ--1 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวของ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2547 ณ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย และเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ท่านเจ้าแขวงไชยะบุรี
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานร่วมกับ ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว ในพิธีเปิด การใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว เชื่อมบ้านนากระเซ็ง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับบ้านเมืองหมอใต้ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ในวันนี้
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
นับตั้งแต่ปี 2545 ผมได้เดินทางมาจังหวัดเลยทุกปีและได้ติดตามพัฒนาการของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวแห่งนี้อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดเมื่อปี 2545 ในโอกาสที่ผมมากล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพที่จังหวัดเลย ผมได้รับทราบความประสงค์ของประชาชน ในจังหวัดเลยและแขวงไชยะบุรีที่ต่างมุ่งหวังให้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหือง เชื่อมระหว่างอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 แต่ยังไม่คืบหน้า ผมจึงได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองโดยในเบื้องต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมก็ได้เห็นชอบให้การสนับสนุน อย่างไรก็ดี การดำเนินการด้านงบประมาณในช่วงแรกมีความล่าช้าอยู่บ้าง ผมจึงได้ติดตามเร่งรัด โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 อนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองในวงเงิน 20.75 ล้านบาท และ มอบหมายให้กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งผมและ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีสมสะหวาดฯ ได้มาเป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์
โครงการก่อสร้างสะพานแห่งนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2546 ผมได้รับทราบว่า ในช่วงดำเนินโครงการนี้ได้มีการขยายวงเงินก่อสร้าง เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและสามารถสนองประโยชน์พี่น้องประชาชนไทยและลาวได้อย่างสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มาตรวจราชการ ที่จังหวัดเลยและได้รับรายงานเกี่ยวกับการดำเนินโครงการนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ลาดยางถนนฝั่งลาวจากเชิงสะพานต่อไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร รวมงบประมาณที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนโครงการ เป็นเงิน 43.07 ล้านบาท
ณ วันนี้เมื่อผมได้มาเยือนจังหวัดเลยอีกครั้งหนึ่ง ผมจึงยินดีอย่างยิ่งที่เห็นว่า สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวที่พวกเราเฝ้ารอคอยและได้ช่วยกันผลักดันมาเป็นเวลานานได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานในวันนี้ ผมขอชมเชยกรมทางหลวงที่ได้ เร่งรัดดำเนินโครงการอย่างแข็งขันเพื่อให้สะพานแล้วเสร็จตามเป้าหมาย โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี กระทรวงคมนาคมขนส่ง ไปรษณีย์ และก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวแห่งนี้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา เครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาวตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือที่เรียกว่า ACMECS ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ที่มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนไทยและลาว นักธุรกิจ ตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ได้เดินทางสัญจร ติดต่อดำเนินธุรกิจ ทำการค้า การลงทุน และท่องเที่ยวกันได้โดยสะดวกอันจะนำมาซึ่งความกินดีอยู่ดี และความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนไทยและประชาชนลาวร่วมกัน
ขณะที่โครงการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาวต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างคืบหน้า รัฐบาลไทยและลาวก็ได้ร่วมมือกันแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อแก้ไขความไม่สะดวกในการเดินทางสัญจรของประชาชนและยานพาหนะ รวมทั้ง การขนส่งสินค้า โดยได้ตกลงเปิดเสรีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-ลาวจากเดิมที่จำกัดผู้ประกอบการเพียง 5 ราย บัดนี้ ให้ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดไว้สามารถเป็นผู้ประกอบการขนส่งระหว่างไทย-ลาวได้ไม่จำกัดจำนวน และได้ออกเอกสารประจำรถลักษณะเดียวกับหนังสือเดินทางเพื่อขอรับการตรวจเข้าเมืองที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองซึ่งมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 ทำให้ประชาชนไทยและลาวสามารถนำรถยนต์เดินทางผ่านเข้า-ออกดินแดนของแต่ละฝ่ายได้โดยสะดวก ซึ่งการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้จะสนับสนุนให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากสะพานมิตรภาพ น้ำเหืองไทย-ลาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
เนื่องในโอกาสพิธีเปิดการใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวซึ่งเป็นสะพานเชื่อมดินแดนไทย-ลาวแห่งที่สองในวันนี้ รัฐบาลไทยและลาวจะได้มีการลงนามเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ คือ
1) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือ เดินทางธรรมดาไทย-ลาว โดยนับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2547 ซึ่งตรงกับวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชาชนไทยและประชาชนลาวที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจะสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้โดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา หรือโดยไม่ต้องขอวีซ่า และสามารถพำนักอยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งได้เป็นเวลา 30 วัน
2) หนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อเปิดจุดผ่านแดนถาวร หรือ “ด่านสากล” ที่สะพานมิตรภาพน้ำเหืองแห่งนี้ เพื่อให้ประชาชนไทยและประชาชนลาว ตลอดจน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ สามารถใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองเป็นช่องทางผ่านแดนระหว่างประเทศอีกแห่งหนึ่ง โดยสำหรับฝั่งลาวนั้น “ด่านสากล” แห่งนี้จะเป็นด่านสากลแห่งแรกของแขวงไชยะบุรีซึ่งเป็นแขวงที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดชายแดนของไทย ถึง 6 จังหวัด ประชาชนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสามารถใช้สะพานมิตรภาพ น้ำเหืองเป็นช่องทางเข้าลาว โดยเฉพาะจะเป็นเส้นทางลัดสู่เมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก ระยะทาง 363 กิโลเมตร และสามารถเดินทางต่อไปยังแขวงต่าง ๆ ของลาวได้ด้วย
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
วันนี้นับเป็นวันอันเป็นมงคลยิ่งและเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทย-ลาวอีกวันหนึ่ง ผมเชื่อมั่นว่า สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่เปิดใช้งานในวันนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาวเท่านั้น แต่จะเชื่อมโยงความร่วมมือกับประเทศในอนุภูมิภาค เป็นสะพานเชื่อมโยงสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพ และเป็นสะพานแห่งโอกาสที่จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนไทยและประชาชนลาวอย่างยั่งยืนร่วมกัน ก่อนที่จะประกอบพิธีเปิดการใช้สะพาน ผมขอเรียนเชิญ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้เกียรติกล่าวปราศรัยเปิดการใช้สะพานมิตรภาพ น้ำเหืองไทย-ลาว ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำกล่าวของ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2547 ณ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย และเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ท่านเจ้าแขวงไชยะบุรี
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานร่วมกับ ฯพณฯ สมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว ในพิธีเปิด การใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว เชื่อมบ้านนากระเซ็ง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับบ้านเมืองหมอใต้ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ในวันนี้
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
นับตั้งแต่ปี 2545 ผมได้เดินทางมาจังหวัดเลยทุกปีและได้ติดตามพัฒนาการของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวแห่งนี้อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดเมื่อปี 2545 ในโอกาสที่ผมมากล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพที่จังหวัดเลย ผมได้รับทราบความประสงค์ของประชาชน ในจังหวัดเลยและแขวงไชยะบุรีที่ต่างมุ่งหวังให้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหือง เชื่อมระหว่างอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 แต่ยังไม่คืบหน้า ผมจึงได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองโดยในเบื้องต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมก็ได้เห็นชอบให้การสนับสนุน อย่างไรก็ดี การดำเนินการด้านงบประมาณในช่วงแรกมีความล่าช้าอยู่บ้าง ผมจึงได้ติดตามเร่งรัด โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 อนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองในวงเงิน 20.75 ล้านบาท และ มอบหมายให้กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งผมและ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีสมสะหวาดฯ ได้มาเป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์
โครงการก่อสร้างสะพานแห่งนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2546 ผมได้รับทราบว่า ในช่วงดำเนินโครงการนี้ได้มีการขยายวงเงินก่อสร้าง เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและสามารถสนองประโยชน์พี่น้องประชาชนไทยและลาวได้อย่างสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มาตรวจราชการ ที่จังหวัดเลยและได้รับรายงานเกี่ยวกับการดำเนินโครงการนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ลาดยางถนนฝั่งลาวจากเชิงสะพานต่อไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร รวมงบประมาณที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนโครงการ เป็นเงิน 43.07 ล้านบาท
ณ วันนี้เมื่อผมได้มาเยือนจังหวัดเลยอีกครั้งหนึ่ง ผมจึงยินดีอย่างยิ่งที่เห็นว่า สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวที่พวกเราเฝ้ารอคอยและได้ช่วยกันผลักดันมาเป็นเวลานานได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานในวันนี้ ผมขอชมเชยกรมทางหลวงที่ได้ เร่งรัดดำเนินโครงการอย่างแข็งขันเพื่อให้สะพานแล้วเสร็จตามเป้าหมาย โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี กระทรวงคมนาคมขนส่ง ไปรษณีย์ และก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวแห่งนี้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา เครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาวตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือที่เรียกว่า ACMECS ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ที่มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนไทยและลาว นักธุรกิจ ตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ได้เดินทางสัญจร ติดต่อดำเนินธุรกิจ ทำการค้า การลงทุน และท่องเที่ยวกันได้โดยสะดวกอันจะนำมาซึ่งความกินดีอยู่ดี และความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนไทยและประชาชนลาวร่วมกัน
ขณะที่โครงการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาวต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างคืบหน้า รัฐบาลไทยและลาวก็ได้ร่วมมือกันแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อแก้ไขความไม่สะดวกในการเดินทางสัญจรของประชาชนและยานพาหนะ รวมทั้ง การขนส่งสินค้า โดยได้ตกลงเปิดเสรีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-ลาวจากเดิมที่จำกัดผู้ประกอบการเพียง 5 ราย บัดนี้ ให้ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดไว้สามารถเป็นผู้ประกอบการขนส่งระหว่างไทย-ลาวได้ไม่จำกัดจำนวน และได้ออกเอกสารประจำรถลักษณะเดียวกับหนังสือเดินทางเพื่อขอรับการตรวจเข้าเมืองที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองซึ่งมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 ทำให้ประชาชนไทยและลาวสามารถนำรถยนต์เดินทางผ่านเข้า-ออกดินแดนของแต่ละฝ่ายได้โดยสะดวก ซึ่งการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้จะสนับสนุนให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากสะพานมิตรภาพ น้ำเหืองไทย-ลาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
เนื่องในโอกาสพิธีเปิดการใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาวซึ่งเป็นสะพานเชื่อมดินแดนไทย-ลาวแห่งที่สองในวันนี้ รัฐบาลไทยและลาวจะได้มีการลงนามเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ คือ
1) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือ เดินทางธรรมดาไทย-ลาว โดยนับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2547 ซึ่งตรงกับวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชาชนไทยและประชาชนลาวที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจะสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้โดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา หรือโดยไม่ต้องขอวีซ่า และสามารถพำนักอยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งได้เป็นเวลา 30 วัน
2) หนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อเปิดจุดผ่านแดนถาวร หรือ “ด่านสากล” ที่สะพานมิตรภาพน้ำเหืองแห่งนี้ เพื่อให้ประชาชนไทยและประชาชนลาว ตลอดจน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ สามารถใช้สะพานมิตรภาพน้ำเหืองเป็นช่องทางผ่านแดนระหว่างประเทศอีกแห่งหนึ่ง โดยสำหรับฝั่งลาวนั้น “ด่านสากล” แห่งนี้จะเป็นด่านสากลแห่งแรกของแขวงไชยะบุรีซึ่งเป็นแขวงที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดชายแดนของไทย ถึง 6 จังหวัด ประชาชนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสามารถใช้สะพานมิตรภาพ น้ำเหืองเป็นช่องทางเข้าลาว โดยเฉพาะจะเป็นเส้นทางลัดสู่เมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก ระยะทาง 363 กิโลเมตร และสามารถเดินทางต่อไปยังแขวงต่าง ๆ ของลาวได้ด้วย
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
วันนี้นับเป็นวันอันเป็นมงคลยิ่งและเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทย-ลาวอีกวันหนึ่ง ผมเชื่อมั่นว่า สะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ที่เปิดใช้งานในวันนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาวเท่านั้น แต่จะเชื่อมโยงความร่วมมือกับประเทศในอนุภูมิภาค เป็นสะพานเชื่อมโยงสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพ และเป็นสะพานแห่งโอกาสที่จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนไทยและประชาชนลาวอย่างยั่งยืนร่วมกัน ก่อนที่จะประกอบพิธีเปิดการใช้สะพาน ผมขอเรียนเชิญ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้เกียรติกล่าวปราศรัยเปิดการใช้สะพานมิตรภาพ น้ำเหืองไทย-ลาว ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-