ไตรมาส 3 ปี 2547 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชาเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้า 5,828.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 เป็นการส่งออกมูลค่า 5,546.7 ล้านบาท และการนำเข้ามูลค่า 285.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 และร้อยละ 5.8 สินค้า ส่งออกที่มีมูลค่าสูงที่สุด ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 556.0 ล้านบาท ขณะที่สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุดยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) มูลค่า 36.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.0 และร้อยละ 45.8 ตามลำดับ
8. ภาคการเงิน
เดือนนี้ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 489 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 61 สำนักงาน)
ข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง 281,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 และร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 225,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 และร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ไตรมาส 3 ปี 2547 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากไตรมาส 2 ในด้านสินเชื่อไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากไตรมาส 2 ของปีนี้
สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเงินฝากเนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการ นำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงกว่า
ในด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริหารสถาบันการเงินมองว่าเศรษฐกิจยังคงสามารถขยายตัวต่อไปและยังมีสินเชื่อบางประเภทที่ยังมีแนวโน้มที่ดี เช่น สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทค้าส่งและค้าปลีก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร เป็นต้น ในขณะที่สินเชื่อที่สถาบันการเงินระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจโครงการอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อฟาร์มปศุสัตว์ (เลี้ยงไก่) ขนาดเล็กที่เป็นระบบเปิด ธุรกิจ โรงแรม โรงเรียนเอกชน และโรงสีขนาดเล็ก อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังคงเพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันปีก่อนจากร้อยละ 74.3 เป็นร้อยละ 80.0
อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ เดือนนี้ยังคงทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 12 เดือนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.50 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ยังคงอยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี ใด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 -6.70 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.75 ต่อปี และ MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี
ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ประเภทประจำ 12 เดือน ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.25 ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 1.00-1.50 ต่อปีในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทอื่นๆ ทรงตัวตั้งแต่ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.25 เท่ากับปีก่อน
ในด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ไตรมาสนี้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 - 6.70 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75 — 7.00 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75 — 7.75 ต่อ ทรงตัวเท่ากับไตรมาส 3 ของปีก่อนและไตรมาส 2 ของปีนี้ ทั้งสามอัตรา สำหรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารเรียกเก็บ มีการปรับเพิ่มขึ้นจากระหว่างร้อยละ 8.75- 11.00 ต่อปี ในไตรมาส 3 ของปีก่อน เป็นระหว่างร้อยละ 9.50 - 27.70 ต่อปีในปีนี้
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 294,775 ฉบับ ลดลงร้อยละ 33.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 34,789.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 6,536 ฉบับ ลดลงร้อยละ 36.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 726.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันของ ปีก่อน ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 2.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในเดือนนี้
ในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,910 ฉบับ ลดลงร้อยละ 37.7 ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 279.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 0.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนนี้
ไตรมาส 3 ปี 2547 ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีทั้งสิ้น858,670 ฉบับ ลดลงร้อยละ 28.2 โดยมีจำนวนเงินที่สั่งจ่าย ตามเช็คทั้งสิ้น 101,619.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0
สำหรับปริมาณเช็คคืนไตรมาสนี้มีทั้งสิ้น 19,420 ฉบับ ลดลงร้อยละ 17.1
ในด้านเช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 11,673 ฉบับ ลดลงร้อยละ 38.3
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นร้อยละ 159.4 จากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น ด้านการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และรายจ่าย ลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากการเบิกจ่ายเงินหมวดอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.0 ผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ
ไตรมาส 3 ปี 2547 การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทั้งจากฐานรายได้ (ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) และฐานการบริโภคของประชาชน ประกอบกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 ผลจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 93.7 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.6) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 96.8 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 98.4) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 86.0 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 75.5)
10. ระดับราคา
พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากในเดือนเดียวกันของปีก่อน
ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เป็ด ไก่ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง
ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ (ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) สูงขึ้นร้อยละ 3.1 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็น สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) ที่ได้ปรับราคาขายปลีกสูงขึ้น สินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเฉพาะราคา ก๊าชหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ไตรมาส 3 ปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ6.2 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เป็ด ไก่ ไข่และผลิตภัณฑ์นม จากการที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง จากการระบาดโรคไข้หวัดนกในช่วงต้นปีเป็นเหตุให้ปริมาณสัตว์ปีกที่เข้าสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการบริโภค ผักสดแปรรูปและอื่น ๆ จากการที่สภาพอากาศที่มีฝนตกมากเป็นผลให้พืชผักบางชนิดเสียหายก่อนนำไปขาย
ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ (ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) สูงขึ้นร้อยละ 2.8 สินค้าสำคัญ ที่มีราคาสูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) และสินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเฉพาะราคาก๊าชหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
8. ภาคการเงิน
เดือนนี้ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 489 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 61 สำนักงาน)
ข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง 281,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 และร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 225,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 และร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ไตรมาส 3 ปี 2547 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากไตรมาส 2 ในด้านสินเชื่อไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากไตรมาส 2 ของปีนี้
สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเงินฝากเนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการ นำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงกว่า
ในด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริหารสถาบันการเงินมองว่าเศรษฐกิจยังคงสามารถขยายตัวต่อไปและยังมีสินเชื่อบางประเภทที่ยังมีแนวโน้มที่ดี เช่น สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทค้าส่งและค้าปลีก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล สินเชื่ออุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร เป็นต้น ในขณะที่สินเชื่อที่สถาบันการเงินระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจโครงการอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อฟาร์มปศุสัตว์ (เลี้ยงไก่) ขนาดเล็กที่เป็นระบบเปิด ธุรกิจ โรงแรม โรงเรียนเอกชน และโรงสีขนาดเล็ก อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังคงเพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันปีก่อนจากร้อยละ 74.3 เป็นร้อยละ 80.0
อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ เดือนนี้ยังคงทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 12 เดือนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.50 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ยังคงอยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี ใด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 -6.70 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.75 ต่อปี และ MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี
ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ประเภทประจำ 12 เดือน ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.25 ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 1.00-1.50 ต่อปีในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทอื่นๆ ทรงตัวตั้งแต่ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.25 เท่ากับปีก่อน
ในด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ไตรมาสนี้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 - 6.70 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75 — 7.00 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75 — 7.75 ต่อ ทรงตัวเท่ากับไตรมาส 3 ของปีก่อนและไตรมาส 2 ของปีนี้ ทั้งสามอัตรา สำหรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารเรียกเก็บ มีการปรับเพิ่มขึ้นจากระหว่างร้อยละ 8.75- 11.00 ต่อปี ในไตรมาส 3 ของปีก่อน เป็นระหว่างร้อยละ 9.50 - 27.70 ต่อปีในปีนี้
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 294,775 ฉบับ ลดลงร้อยละ 33.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 34,789.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 6,536 ฉบับ ลดลงร้อยละ 36.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 726.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันของ ปีก่อน ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 2.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในเดือนนี้
ในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,910 ฉบับ ลดลงร้อยละ 37.7 ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 279.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 0.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนนี้
ไตรมาส 3 ปี 2547 ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีทั้งสิ้น858,670 ฉบับ ลดลงร้อยละ 28.2 โดยมีจำนวนเงินที่สั่งจ่าย ตามเช็คทั้งสิ้น 101,619.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0
สำหรับปริมาณเช็คคืนไตรมาสนี้มีทั้งสิ้น 19,420 ฉบับ ลดลงร้อยละ 17.1
ในด้านเช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 11,673 ฉบับ ลดลงร้อยละ 38.3
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นร้อยละ 159.4 จากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น ด้านการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และรายจ่าย ลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากการเบิกจ่ายเงินหมวดอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.0 ผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ
ไตรมาส 3 ปี 2547 การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทั้งจากฐานรายได้ (ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) และฐานการบริโภคของประชาชน ประกอบกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 ผลจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 93.7 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.6) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 96.8 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 98.4) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 86.0 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 75.5)
10. ระดับราคา
พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากในเดือนเดียวกันของปีก่อน
ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เป็ด ไก่ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง
ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ (ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) สูงขึ้นร้อยละ 3.1 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็น สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) ที่ได้ปรับราคาขายปลีกสูงขึ้น สินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเฉพาะราคา ก๊าชหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ไตรมาส 3 ปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ6.2 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เป็ด ไก่ ไข่และผลิตภัณฑ์นม จากการที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง จากการระบาดโรคไข้หวัดนกในช่วงต้นปีเป็นเหตุให้ปริมาณสัตว์ปีกที่เข้าสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการบริโภค ผักสดแปรรูปและอื่น ๆ จากการที่สภาพอากาศที่มีฝนตกมากเป็นผลให้พืชผักบางชนิดเสียหายก่อนนำไปขาย
ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ (ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) สูงขึ้นร้อยละ 2.8 สินค้าสำคัญ ที่มีราคาสูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) และสินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเฉพาะราคาก๊าชหุงต้ม มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-