สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากเทศกาลกินเจทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดยังมีจำนวนไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.13 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.29 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 45.52 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 40 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.21
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซา ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคบางส่วนหวาดกลัวโรคไข้หวัดนกไม่กล้าบริโภค เนื้อไก่เพราะข่าวการแพร่ระบาดของโรคยังไม่สามารถควบคุมได้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัว ลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 21.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.22 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.24 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.13 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 29.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคยังหวาดกลัวโรคไข้หวัดนกไม่กล้าบริโภคไข่ไก่ ประกอบกับช่วงนี้สถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่ปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 241 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 243 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 238 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 245 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 219 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 232 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.60
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 289 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 356 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 54.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.44 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.93 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 25-31 ตุลาคม 2547--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากเทศกาลกินเจทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดยังมีจำนวนไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.13 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.29 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 45.52 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 40 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.21
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซา ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคบางส่วนหวาดกลัวโรคไข้หวัดนกไม่กล้าบริโภค เนื้อไก่เพราะข่าวการแพร่ระบาดของโรคยังไม่สามารถควบคุมได้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัว ลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 21.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.22 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.24 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.13 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 7.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 29.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคยังหวาดกลัวโรคไข้หวัดนกไม่กล้าบริโภคไข่ไก่ ประกอบกับช่วงนี้สถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่ปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 241 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 243 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 238 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 245 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 219 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 232 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.60
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 289 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 356 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 54.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.44 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.93 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 25-31 ตุลาคม 2547--
-พห-