วันนี้ผมมาร่วมแสดงความคิดเห็น แสดงความห่วงใย เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ที่ อ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และเหตุการณ์ต่อเนื่อง คือ เกิดการเสียชีวิตของผู้ต้องสงสัยที่ได้รับการขนย้ายที่อ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารที่จ.ปัตตานี ที่เสียชีวิตไป 78 ศพ เบ็ดเสร็จ 85 ศพ ในเหตุการณ์เดียวกัน
อยากจะเรียนอย่างกันนี้ครับว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้ คือ ผลกระทบที่เกิดกับความปรองดองในชาติ ผลกระทบที่เกิดกับพี่น้องคนไทยด้วยกัน ที่เกิดความระแวงต่อกัน ที่เกิดความไม่ไว้วางใจระหว่าง แล้วก็ที่เกิดกระแสที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้น อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดและจะมีผลระยะยาว ถ้าหากว่าไม่มีการดำเนินการพยายามที่จะลดกระแสเหล่านี้และป้องปรามไม่ให้ความขัดแย้ง ความตึงเครียด ความไม่ไว้วางใจต่างๆ เหล่านี้มันขยายวงออกไปก็จะมีผลกระทบต่อไปอีกนานในอนาคต ซึ่งก็จะเป็นผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม
ประเด็นแรกที่อยากจะพูดก็คือ เรื่องของวิธีการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการได้เฝ้าสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของรัฐบาลในระยะเวลา 3 ปีกว่าที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่า มุ่งเน้นที่จะใช้ความรุนแรง ใช้กำลัง และก็ใช้ความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี ถ้าหากว่าเหตุการณ์เราจัดการนั้นมันชัดเจน มันไม่ซับซ้อน และมันไม่ละเอียดอ่อน ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ ความรุนแรงมันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า การใช้กำลังและการใช้กำลังมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและดูเหมือนจะยิ่งรุนแรงขิ่งขึ้น ไม่มีลู่ทางว่ามันสำเร็จได้ลงโดยเร็ว โดยง่าย
สิ่งที่อยากจะตั้งข้อสังเกตคือ ความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้นั้น ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลมอบให้กับฝ่ายทหารและฝ่ายตำรวจ ค่อนข้างจะเบ็ดเสร็จ ส่วนเกี่ยวข้องของพลเรือน ส่วนเกี่ยวข้องของราชการด้านอื่น ที่เขาใกล้ชิดกับประชาชน ที่เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเหมือนเช่นในอดีตเนี่ย ดูเหมือนจะถูกปิดกั้นและถูกกีดกันออกไป สิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะคิดกันในขณะนี้ โดยด่วน ก็คือว่า หน่วยงานต่างๆ ทีลงไปดำเนินการในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเก่า หรือ หน่วยงานใหม่ อย่างเช่น กสสส. ชต. ที่ได้ดำเนินการไปในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผมคิดว่าน่าจะคิดวิธีการที่จะให้ฝ่ายพลเรือนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเหมือนในอดีต โดยผมวิเคราะห์ว่า เกิดช่องว่างทางจิตวิทยาระหวว่างประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ทางความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด หน่วยงานใด จัดตั้งขึ้นใหม่หรือเก่าก็ตามแต่เกิดความระแวง เกิดช่องว่างในเรื่องของความเชื่อมั่น เรื่องของความไว้วางใจ สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาโดยด่วนขณะนี้ก็คือ น่าจะปรับโครงสร้างรูปแบบของการไปจัดการกับปัญหาในพื้นที่โดยให้ฝ่ายพลเรือนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย โดยให้ฝ่ายพลเรือนที่รัฐบาลไว้วางใจ ซึ่งมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในพื้นที่ ไปเป็นผู้นำขององค์กรที่จะจัดการกับปัญหา เพื่อที่จะฟื้นฟูความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่จะเชื้อเชิญประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม เหมือนกระแสพระราชดำริ ว่า ให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และต้องใช้ความละเอียดอ่อน ความเข้าใจ ต้องใช้การเข้าถึง ต้องใช้ความนิ่มนวลในการที่จะดึงพี่น้องประชาชนส่วนนั้นเข้ามามีส่วนร่วม ในการร่วมเป็นเจ้าของปัญหา ในการร่วมเป็นเจ้าของในมาตรการที่จะแก้ไขปัญหา
แต่ผมมีบุคคลที่จะเสนอรัฐบาลจะนำไปพิจารณาหรือรัฐบาลจะปฏิเสธก็เป็นสิทธิของรัฐบาล แต่ผมคิดว่า สิ่งที่ต้องทำโดยด่วนที่สุดในขณะนี้คือ ให้ฝ่ายพลเรือนเป็นผู้นำ และให้ฝ่ายพลเรือนเป็นผู้ไปเชื้อเชิญผู้นำในท้องถิ่น ผู้นำในจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะผู้นำทางศาสนามาเป็นคณะที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และเป็นผู้ที่จะดำเนินการเพื่อที่จะเข้าถึงประชาชน เพื่อที่จะประสานงานกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อที่จะเรียกความเชื่อมั่น เรียกขวัญกำลังใจให้กลับมาโดยด่วน ถ้ายิ่งทิ้งห่างไปเนี่ยมันจะยิ่งแตกร้าวแล้วก็ลึกล้ำ และก็ยากในการที่จะเยียวยาในอนาคต
บุคคลที่ผมอยากจะเสนอคือบุคคลที่มีประสบการณ์ในพื้นที่ คือบุคคลที่ยังอยู่ในหน่วยราชการอย่างในขณะนี้ โดยที่ผมยังไม่ได้ปรึกษากลับท่าน แต่ต้องขออนุญาตท่านและต้องขอโทษด้วย นำเสนอด้วยความเคารพ นำเสนอด้วยความมั่นใจว่า ท่านสามารถช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้ ในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กรซึ่งมีภาคพลเรือนเป็นฝ่ายนำ ท่านแรกที่ผมอยากจะเสนอให้ทางรัฐบาลพิจารณาก็คือ ท่านบัญญัติ จันทร์เสนะ ขณะที่นี้เข้าใจว่าเป็นอธิบดีกรมที่ดิน เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เคยเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารกิจการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้อาวุโส เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้มีประสบการณ์ ถ้าหากได้คนอย่างท่านบัญญัติ จันทร์เสนะ ซึ่งเป็นคนสงขลาอยู่ในราชการขณะนี้ อยู่ในกระทรวงมหาดไทยอยู่ในขณะนี้ อยู่ในข้าราชการระดับ 10 อยู่ในขณะนี้ ในกระทรวงมหาดไทย น่าจะมีประสบการณ์ที่จะไปสมานรอยร้าว ที่จะไปสร้างความเชื่อมั่น ที่จะไปเรียกร้องให้เกิดความไว้วางใจเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องด่วนที่จะต้องทำ
ท่านที่ 2 ครับ ยังหนุ่มแล้วก็ไฟแรง แล้วก็ยังอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเหมือนกัน คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดคุณพระนาย สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นน้องของท่านภรากรณ์ สุวรรณรัตน์ ขณะนี้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผมคิดว่า ท่านพระนาย มีบุคลิก มีความรู้ มีทัศนะคติ แล้วก็มีประสบการณ์ มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ น่าจะเป็นผู้ที่นำองค์กรร่วมกับฝ่ายหหาร ร่วมกับฝ่ายตำรวจ ในการที่จะเข้าถึงประชาชนได้อย่างสนิท อย่างแนบแน่น แล้วก็เป็นที่ไว้วางใจ
ผมคิดว่า เหตุการณ์ในภาคใต้ มันต้องเริ่มต้นกันใหม่ มันต้องรื้อ วิธีคิด มันต้องรื้อวิธีการทำงาน มันต้องปรับโครงสร้าง มันต้องปรับวิธีการการเข้าถึงประชาชน ถ้าหากว่าได้คนอย่างท่านพระนาย สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นคนใต้ด้วยกัน แล้วก็เป็นคนใจกว้าง เป็นคนถึงลูกถึงคน อยากจะนำเสนอให้ทางรัฐบาลคิด ว่าต่อไปนี้ ให้ผู้นำฝ่ายพลเรือน ซึ่งจะไม่มีภาพความรุนแรง ซึ่งจะไม่มีรอยด่างพร้อยของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับและความไว้วางใจของประชาชนมากกว่า เข้าไปเป้นผู้นำองค์กรร่วมกับฝ่ายทหาร ร่วมกับฝ่ายตำรวจ แต่ว่าให้ฝ่ายทหารและฝ่ายตำรวจนั้นทำหน้าที่เป็นผู้คอยให้ความอารักขา ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความคุ้มครอง เป็นผู้ให้ความมั่นใจ ว่างานของฝ่ายพลเรือนซึ่งจะเป็นที่ยอมรับมากกว่าของประชาชน เพราะงานของคณะของฝ่ายพลเรือนที่เป็นผู้นำเนี่ย จะเข้าถึงประชาชนได้แนบสนิทกว่า ได้รับความปลอดภัย มีความมั่นคง มีความมั่นใจ ผมเชื่อเหลือเกินว่า ถ้าหากปรับโดยวิธีนี้โดยเร็ว โดยด่วน สถานการณ์มันจะดีขึ้น
การที่จะรื้อฟื้นขวัญและความรู้สึก ความไม่มั่นใจ ความไม่ไว้วางใจ ความระแวง ที่สูญเสียไปจากเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่วันที่ มกราคม เป็นต้นมา ถึง 28 เมษายน ถึงวันที่ 25 ตุลาคม ผมคิดว่า มันแตกร้าวเกินความสามารถขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอาวุธอยู่ในมือ องค์กรที่พร้อมจะใช้ความรุนแรง ต้องหาบุคลากรด้านอื่นที่มีภาพพจน์เข้าถึงประชาชน นิ่มนวล เป็นผู้ให้ เป็นผู้เข้าใจในเรื่องของค่านิยม ในเรื่องของวัฒนธรรม ในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของระบบวิธีคิด วิสัยทัศน์ต่างๆ ของเขา มันจะลดช่องว่าง มันจะลดความรุนแรง ได้ดีขึ้นแล้วก็เร็วขึ้น ผมอยากจะเสนอวิธีคิดนี้เป็นการด่วน ย้ำอีกทีนะครับ อยากจะให้พลเรือนเป็นผู้นำในการจัดตั้งเป็นองค์กรหรือเข้าไปสวมองค์กรเดิมที่มีอยู่ แต่อยากให้พลเรือนเป็นผู้นำเพราะพลเรือนไม่มีภาพของความรุนแรง เพราะพลเรือนไม่มีภาพของความขัดแย้ง เพราะพลเรือนไม่มีความสงสัย ไม่มีความระแวงติดตัวอยู่ เพราะว่าไม่มีส่วนในปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างน้อยๆ โดยตรง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อยากจะเรียนต่อไปว่า รากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่รุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง จากการไปสืบถาม ไปสอบถามและได้รับฟังเสียงบ่น ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มันเริ่มต้นมาจากการใช้อำนาจเกินเลยของเจ้าหน้าที่ มันเริ่มจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน มันเริ่มต้นจากการใช้อำนาจเกินขอบเขตของกระบวนการยุติธรรม เกินขอบเขตครรลองของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้องทำโดยเร็วในขณะนี้ก็คือ ให้กลับเข้ามาอยู่ในครรลอง กลับเข้ามาอยู่ในกรอบของอำนาจที่มีอยู่
พี่น้องประชาชนในพื้นที่เขาบอกผมว่า ทั้งข้าราชการในพื้นที่ด้วย ว่าความรุนแรง ความตึงเครียด การเผชิญหน้า ชัดเจน เกิดขึ้นในระหว่างการปราบปรามยาเสพติด ที่มีการตัดตอนกัน ที่เสียชีวิตไป 2,500 กว่าคน ที่ยังไม่มีคำตอบใดๆ ให้กับญาติ ให้กับพี่น้อง ให้กับครอบครัวของเขาได้รับทราบมาว่า อย่างน้อยในจำนวน 2,500 คนนั้น 100 กว่าคน เกิดในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ แล้วเขาบอกว่าสังคมของ 3 จังหวัดภาคใต้นั้น เป็นสังคมที่เชื่อมต่อสัมพันธ์ผูกโยงกันอย่างใกล้ชิด เมื่อไม่มีคำตอบให้ เมื่อมีคนสูญหาย เมื่อคนถูกวิสามัญฆาตกรรม เมื่อคนตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ เมื่อคนโดนอุ้ม วันรุ่งขึ้นเจอเป็นศพอยู่ข้างถนน สิ่งเหล่านี้มันก่อให้เกิดความกดดัน ก่อให้เกิดความเครียดแค้น มันก่อให้เกิดความตึงเครียด ความรู้สึกที่ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ไม่ไว้วางใจ
มีคนเล่าให้ผมฟังว่า สถานการณ์ มันเริ่มเปลี่ยนแปลง ตึงเครียด ตั้งแต่ 2,500 ศพ 100 กว่าศพ ในพื้นที่นั้นเป็นต้นมา อันนี้เป็นเรื่องที่น่าคิด เหตุผลเพราะว่า เราเตือนกันอยู่ตลอดเวลาว่า เมื่อหนึ่งเมื่อใดก็ตามแต่ที่อำนาจในการใช้กฎหมาย หลุดออกไปจากกระบวนการยุติธรรม หลุดออกไปจากกระบวนการของการปกครอง โดยกฎหมาย มันก็จะตกไปอยู่ในมือของใครก็ได้ ไม่เฉพาะเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ไม่เฉพาะของฝ่ายตำรวจ ไม่เฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง แต่มันหลุดไปอยู่ในมือของพี่น้องประชาชนเองก็ได้ ไม่มีการไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ต้องคิดประแด็นนี้ให้ดี คนในพื้นที่ยังหายตัวกันอยู่ คนในพื้นที่ยังสูญหายกันอยู่คนในพื้นที่ยังได้รับการปฏิบัติที่ใม่เป็นไปตามครรลอง ไปตามกรอบของกฎหมาย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คนงานของบริษัทก่อสร้างบริษัทหนึ่งในอ.ยะหา จ.ยะลา เอ่ยชื่อบริษัทก็ได้ ชินวรณ์ยะลา ชาวบ้านเขาเห็นจะจะว่า คนในเครื่องแบบเป็นคนกระทำการ แต่ว่าเหตุการณ์นั้นไม่ได้รับการรายงาน ว่าเหตุการณ์นั้นไม่ได้รับการเผยแพร่เรื่องมันก็สงบ ในช่วงที่มีการฆ่าตัดตอนกันนั้นหลายพื้นที่มีการเก็บกันซึ่งๆ หน้า คนที่มอบตัวแล้ว คนที่มารายงานตัวที่อำเภอ กลับไปจากอำเภอ 200 เมตร ก็โดนเก็บ เก็บคนเดียวไม่ว่า พี่นั่งทางซ้าย น้องนั่งทางขวา ไปกันทั้ง 3 คน ในจังหวัดพัทลุงจะเก็บคนเดียวแต่ตายไป 6 เพราะใช้ปืนเอ็ม 16 ในการจัดการ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นข่าว สิ่งเหล่านี้ไม่ออกมาข้างนอก เหตุผลเพราะว่า ได้รับการสั่งการว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นห้ามใช้วิทยุในการติดต่อประสานงาน ก็เป็นการปิดข่าว เพราะฉะนั้นสื่มวลชนจะไม่ทราบ ไม่มีใครอื่นๆ รับรู้ ทราบ ยกเว้นภายในหน่วยงานของตำรวจเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้มันเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดในพื้นที่เกิดใน 3-4 จังหวัดภาคใต้ เกิดแรงปฏิกิริยาต่อต้าน เกิดความรู้สึกห่างเหิน ไม่ไว้วางใจ ไม่มั่นใจกับกระบวนการของรัฐ
เหตุที่เกิดที่จังหวัดนราธิวาส ที่ตากใบ เกิดขึ้นเพราะมีคน 6 คน ถูกกล่าวหาว่า เอาปืนที่ทางราชการมอบให้ ไปให้กับฝ่ายก่อการแล้วก็โดนจับ โดนจับมาแล้วเป็นเวลาจำนวนนานพอสมควร ประชาชนญาติพี่น้องเกิดความไม่มั่นใจว่า คนทั้ง 6 คนนี้จะได้รับการปฏิบัติตามครรลองของกฎหมาย 6 คนนี้จะได้รับการปกป้องสิทธมนุษยชนของเขา 6 คนนี้จะปลอดภัย ถามว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเพราะอะไร ถามว่าพี่น้องในพื้นที่ 3000 กว่าคน มีความรู้สึกไม่มั่นใจกับความปลอดภัยของคน 6 คนนี้ได้อย่างไร คำตอบก็คือ มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในอดีต ทนายความคุณสมชาย นีละไพจิตร ที่เสนอตัวไปปกป้องคนที่ถูกกล่าวหา 4-5 คนที่ถูกกล่าวหาก็ยังถูกอุ้มแล้วก็หายไป จนบัดนี้ทุกคนก็ อนุมานเอาว่าเสียชีวิตแล้ว แถมยังมีคนสูญ คนหายในพื้นที่ แถมยังมีคนถูกทรมารในขณะที่มีการสอบสวน มีการไต่สวน สิ่งเหล่านี้ครับมันสร้างความไม่มั่นใจให้กับญาติ มันสร้างความไม่มั่นใจให้เกิดขึ้นกับเพื่อนพ้องพี่น้องประชาชน เขาถึงออกมาเพื่อที่จะเรียกร้องให้มีการประกันตัว เรียกร้องให้มีการปลดปล่อยโดยเร็ว
เมื่อเกิดความไม่ไว้วางใจ เกิดความห่างเหิน เมื่อเกิดช่องว่าง ก็นำไปสู่ความตรึงเครียด นำไปสู่ความขัดแย้ง ตรงนี้ต้องรีบสมาน ต้องรีบเร่งในการที่จะปิดช่องว่าง อุดช่องโหว่ ทางด้านความเชื่อมั่น ทางด้านจิตวิทยา อันนั้นให้เร็วที่สุด มิเช่นนั้น มันจะกลายเป็นเชื้อของความขัดแย้ง ของความรุนแรง และอาจจะนำไปสู่การกดดันการแทรกแซงภายนอกประเทศได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องการ เป็นเรื่องที่เราไม่อยากเห็น
ถ้าหากว่าผู้ดำเนินการจัดการแก้ไขกับปัญหาเหล่านี้ รู้ความสลับซับซ้อน ค่านิยมวัฒนธรรม จิตวิทยาของคนในพื้นที่สักเล็กน้อย ผมคิดว่า เหตุการณ์ในวันนั้นสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากรออีก 2-3 ชั่วโมง เกินครึ่งของบุคคลเหล่านั้นจะต้องออกจากสถานที่นั้นไปละศีลอด เพราะเขาถือศีลอดกันทั้งนั้น 5 โมงเขาต้องไปแล้วครับ ไม่เข้าร้านอาหาร เพื่อที่จะละศีลอด หรือเข้ามัสยิดละศีลอด แต่เหตุการณ์มันเกิดขึ้ก่อน เหตุการณ์ สั่งสลายม็อบมันเกิดขึ้นก่อน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ มันจึงนำไปสู่ความรุนแรงและความโกลาหล และนำไปสู่ความขัดแย้งและนำไปสู่ความเสียหายในที่สุด
เพราะฉะนั้นประเด็นที่จะเน้นก็คือว่า ต้องเข้าใจวัฒนธรรม ต้องเข้าใจจิตวิทยา ต้องเข้าใจค่านิยมของคนในพื้นที่ ถ้าหากว่าเรามีกองกำลังไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือว่าทหาร ไปจากต่างจังหวัด ไปจากต่างภูมิภาค ไม่ได้รับการอบรม ไม่ได้รับการปฐมนิเทศ เหมือนกับที่เขาเคยทำในอดีต ในสัมยที่มีศอ.บต. ที่มีการอบรม ที่มีการคัดสรร ที่มีการให้ข้อมูล ที่มีการปฐมนิเทศ บุคลากรของรับที่มีอาวุธอยู่ในมือ เป็นบุคลากรทางด้านความมั่นคง พูดจาเขาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของเขา ไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เกิดความระแวงต่อกัน เงื่อนไขต่างๆ มันครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะเกิดการปะทะ เกิดความรุนแรง
อีกประเด็นหนึ่ง สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจของ เรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของค่านิยม ในพื้นที่ ขณะนี้รัฐบาลคิดจะไปควบคุมและคิดจะไปปฏิรูปปอเนาะ ซึ่งมีอยู่ 500 กว่าแห่งในพื้นที่ 4-5 จังหวัดภาคใต้ แต่ว่าในจำนวนปอเนาะ 500 กว่าแห่งนั้น 200 กว่าแห่ง เป็นปอเนาะที่ปฏิรูปแล้ว พัฒนาแล้ว มีหลักสูตรสามัญสอนอยู่แล้ว อันนี้เสนอในทางสร้างสรรค์ อยากจะเรียนว่ารัฐควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปอเนาะที่ปฏิรูปแล้ว ปอเนาะที่พัฒนาแล้ว ปอเนาะที่มี สาขาวิชาสามัญหลักสูตรของรัฐบาลสอนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเขาสอนครึ่งเวลา เพราะอีกครึ่งเวลาเค้าไปใช้ในการสอนศาสนา ถ้าหากว่ารัฐทุ่มเทความสนใจและทรัพยากรไปให้กับโรงเรียนปอเนอะที่สอนภาคสามัญอยู่แล้ว ไปพัฒนาไม่กี่วิชาหรอกครับ วิชาที่สำคัญๆ ที่เค้าใช้ในการสอบเข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษา วิชาเหล่านั้นก็คือ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร คือ วิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พัฒนา 5 วิชานี้จะทำให้ผลผลิตที่ออกมาจากปอเนอะสามารถที่จะแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ มีโอกาสที่จะไปเป็นแพทย์ มีโอกาสที่จะไปเป็นวิศวกร มีโอกาสที่จะไปเป็นสถาปนิก เป็นทนายความ เป็นนักบริหาร เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ อนาคตของเขาจะมั่นคง เขาจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น เขาจะมีงานรออยู่
ปัญหาที่เกิดขึ้นรัฐบาลวิเคราะห์ถูกว่าคนว่างงานเยอะ รัฐบาลวิเคราะห์ถูกว่าผลผลิตที่ออกมาจากปอเนอะนั้น ไม่ค่อยมีคุณภาพ แต่สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ในขณะนี้คือมุ่งไปปฏิรูปปอเนอะที่ยังไม่มีหลักสูตรสามัญ อันนี้อันตราย อันตรายตรงไหนครับ อ่อนไหว เพราะในเรื่องของหลักสูตรศาสนานั้น มันไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของรัฐบาล มันไม่ใช่ความถนัดของบุคลากรของรัฐบาลที่จะไปชี้นำว่า หลักสูตรศาสนาเรื่องอะไร ตรงไหน ที่ควรจะมีการปรับปรุง ที่ควรจะมีการพัฒนา เพราะฉะนั้นผมอยากจะให้หลีกเลี่ยงประเด็นที่รัฐบาลอยากจะเข้าไปปฏิรูปปอเนอะ ขอให้เลือกเป้าหมายที่จะเข้าไปปฏิรูป ขอให้เลือกเป้าหมายที่จะเข้าไปแก้ไข นั่นก็คือเลือกที่จะปรับปรุงพัฒนาปอเนอะที่เขาปฏิรูปไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ว่าวิทยฐานะของเค้าในภาคสามัญ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาไอที ที่เขาสอนกันอยู่บ้างนี่ มันยังไม่ได้มาตรฐาน เมื่อจบออกมาแล้ว เขาไม่สามารถที่จะสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ เพราะเขาอ่อนในวิชาเหล่านี้ เขาก็หลุดออกไปจากกระบวนการระบบการศึกษา แล้วก็กลับไปสู่บ้านเดิม แล้วก็ไม่มีงานทำ แล้วก็กลายเป็นบุคคลที่ว่างงาน แล้วก็กลายเป็นเหยื่อของปัญหาต่างๆที่พึงจะเกิดขึ้นในพื้นที่เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เพราะฉะนั้นขอวิงวอนว่า ให้ความสนใจกับโรงเรียนปอเนอะที่ปฏิรูปแล้ว มีหลักสูตรสามัญอยู่แล้ว เขารับแล้ว เพียงแต่มาตรฐานของเค้ายังไม่ดีพอ เพื่อที่จะเปิดโอกาส ให้โอกาส จะเป็นกุญแจไขไปสู่อนาคตสำหรับเยาวชนในพื้นที่ส่วนนี้
อีกประเด็นหนึ่งที่นักข่าวอาจจะไม่ทราบ สื่อมวลชนอาจจะไม่ทราบ คือผมอยากจะเรียน ก็คือว่าบุคลากรด้านความมั่นคงในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจ อยู่ในภาวะที่ตึงเครียดมากในขณะนี้ เหตุผลเพราะว่าคำสัญญาที่เคยมี เรื่องการจะให้เบี้ยเลี้ยงเป็นกรณีพิเศษ เรื่องการจะให้เงินพิเศษ เรื่องการจะให้ผลประโยชน์พิเศษ เพื่อให้ทดแทนกับความเสี่ยงที่เค้าไปอยู่ในพื้นที่ จนเดี๋ยวนี้ ตำรวจ ทหาร บุคลากรต่างๆที่หวังว่าจะได้ผลประโยชน์บางส่วนเพื่อทดแทนความเสี่ยงของเค้า ไม่ได้รับการชดเชย ไม่ได้รับการทดแทนใดๆทั้งสิ้น อันนี้อยากจะให้ทางฝ่ายรัฐบาลไปหาข้อมูล ไปตรวจสอบและก็ไปหาข้อเท็จจริง เพราะว่าส่วนหนึ่งของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นที่ตากใบ หรือที่ไหนก็ตามแต่ เกิดขึ้นเพราะว่าสวัสดิการของทหารและตำรวจเหล่านี้ไม่ได้รับการดูแล คำสัญญา คำมั่นต่างๆที่เคยให้ไว้ว่าจะได้ค่าตอบแทนเป็นพิเศษ ในการที่ถูกส่งไปพำนัก ไปดำเนินการอยู่ในพื้นที่ส่วนนั้นก็ไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับการเหลียวแล ช้าอยู่ตรงไหน ติดขัดอยู่ตรงไหน มีปัญหาอะไรที่ไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนตามสัญญาที่เค้าคาด ที่เค้าหวังได้ ถ้าหากว่าสามารถที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ก็จะสามารถที่จะลดความตึงเครียด อย่างน้อยๆของฝ่ายข้าราชการ ของฝ่ายความมั่นคง ของฝ่ายทหาร และฝ่ายตำรวจที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ส่วนนั้นได้ และจะมีความมั่นใจและมีสติ มีความพร้อมที่จะใช้เหตุใช้ผลใช้ปัญญา ในการที่จะแก้ไขปัญหามากขึ้น
ประเด็นสุดท้ายที่อยากจะพูดก็คือเรื่องความกดดันหรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มาจากนอกประเทศในขณะนี้ อย่าลืมว่าแนวความคิดเรื่อง การที่จะมีการจัดการบริหารในลักษณะพิเศษนั้น ไม่เป็นที่ประสงค์ของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน การที่รัฐบาลก่อนๆมีกลไกพิเศษ มีหน่วยงานพิเศษ มีบุคลากรพิเศษลงไปดูแลพื้นที่ส่วนนั้นโดยเฉพาะ คือ 5 จังหวัดภาคใต้ สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล นราธิวาส ก็เพราะต้องการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องไปคิดกันถึงเรื่องการปกครองในลักษณะพิเศษ การจัดการในลักษณะพิเศษ แต่ว่ารัฐบาลนี้เข้ามา ประกาศทันทีว่าปัญหาในสามสี่จังหวัดภาคใต้ชายแดนนั้น ไม่แตกต่างจากส่วนอื่นของประเทศ จึงไม่จำเป็นจะต้องมีหน่วยงานพิเศษ องค์กรพิเศษ บุคลากรพิเศษคอยดูแลให้ความสนใจกับปัญหาเป็นพิเศษ จึงยกเลิกทั้งตัวบุคคล ทั้งองค์กร ทั้งหน่วยงาน แต่เหตุการณ์ 3 ปีครึ่ง 4 ปีที่ผ่านมา มันแสดงให้เห็นชัดเจนว่า มันยิ่งพิเศษมากยิ่งขึ้น มันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น มันยิ่งห่างเหินมากยิ่งขึ้น ช่องว่างระหว่างข้าราชการทุกฝ่ายกับประชาชนมันยิ่งถ่างมากยิ่งขึ้น
ตรงนี้ล่ะครับ อยากจะตั้งข้อพิสูจน์ว่า ใครเป็นผู้สร้างเงื่อนไขของความแตกต่างที่มันยิ่งมีมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ ในอดีตเค้าพยายามที่จะเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหานี้ เค้าก็เลยมีหน่วยงานพิเศษที่เรียกว่าองค์การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เค้ามี พตท.43 เค้ามีหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน แต่รัฐบาลนี้เข้ามาบอกว่าไม่เอาแล้ว ไม่มีอะไรแตกต่างจากที่อื่น แต่ว่า 3 ปีครึ่ง 4 ปีที่ผ่านมา มันยิ่งวิวัฒนาการ ยิ่งพัฒนาการ ยิ่งเลวร้ายลง ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยิ่งห่างเหินมากยิ่งขึ้น จึงมีความคิดนั้นเกิดขึ้น ผมคิดว่าเราต้องระวัง เราต้องพิจารณาที่ต้นตอที่มาของปัญหา เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ทำไมถึงมีความห่างเหินมากยิ่งขึ้น ทำไมถึงมีความไม่ไว้วางใจกันมากยิ่งขึ้น ทำไมถึงมีความระแวงต่อกันมากยิ่งขึ้น อันนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องคิด และถ้าหากว่าจะกอบกู้สถานการณ์ให้ได้กลับมาโดยเร็ว สิ่งที่จะต้องทำคือสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ในพื้นที่
และขอเรียนว่าหน่วยงานและองค์กรที่จะสร้างความสมานฉันท์และปรองดองในพื้นที่ได้ดีที่สุด คือฝ่ายพลเรือน ให้ฝ่ายพลเรือนนำ ให้ฝ่ายทหารกับตำรวจ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว แต่ว่าห้าหกเจ็ดเดือนที่ผ่านมามันเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ให้ร่วมเป็นผู้อารักขา เป็นผู้ให้ความปลอดภัย เป็นผู้ให้ความมั่นใจ แต่งานประชาสัมพันธ์ งานชุมชนสัมพันธ์ งานที่จะไปสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่จะอุดช่องว่างระหว่างกันขอให้เป็นงานที่นำโดยฝ่ายพลเรือน และขอย้ำอีกทีว่าผมมีบุคคลอยู่ 2 คน โดยที่ไม่ปรึกษากับท่าน แต่ผมเชื่อว่าท่านมีประสบการณ์ ท่านมีความรู้ ท่านมีความสามารถ และท่านเข้าใจวัฒนธรรม ค่านิยม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ส่วนนั้น
คนแรกคือท่านบัญญัติ จันเสนะ ขณะนี้เป็นอธิบดีกรมที่ดิน เคยเป็น ผอ.สอ.บต. เป็นผู้ว่าฯยะลา เป็นคนสงขลา อีกท่านหนึ่งคือท่านพระนาย สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นน้องของท่านพลากร สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นอดีตผอ.ศอ.บต. อยู่ตรงนั้น และเป็นคนใต้ด้วยกัน เข้าใจปัญหา และก็มีบุคลิกภาพ มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ อยากจะเสนอว่าให้พลเรือนเป็นฝ่ายนำ ให้ทหารกับตำรวจเป็นส่วนผสมส่วนประกอบ จริงๆแล้วเป็นรูปแบบ เป็นโมเดลที่เคยทำมาแล้วในอดีต และเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 พ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
อยากจะเรียนอย่างกันนี้ครับว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้ คือ ผลกระทบที่เกิดกับความปรองดองในชาติ ผลกระทบที่เกิดกับพี่น้องคนไทยด้วยกัน ที่เกิดความระแวงต่อกัน ที่เกิดความไม่ไว้วางใจระหว่าง แล้วก็ที่เกิดกระแสที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้น อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดและจะมีผลระยะยาว ถ้าหากว่าไม่มีการดำเนินการพยายามที่จะลดกระแสเหล่านี้และป้องปรามไม่ให้ความขัดแย้ง ความตึงเครียด ความไม่ไว้วางใจต่างๆ เหล่านี้มันขยายวงออกไปก็จะมีผลกระทบต่อไปอีกนานในอนาคต ซึ่งก็จะเป็นผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม
ประเด็นแรกที่อยากจะพูดก็คือ เรื่องของวิธีการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการได้เฝ้าสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของรัฐบาลในระยะเวลา 3 ปีกว่าที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่า มุ่งเน้นที่จะใช้ความรุนแรง ใช้กำลัง และก็ใช้ความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี ถ้าหากว่าเหตุการณ์เราจัดการนั้นมันชัดเจน มันไม่ซับซ้อน และมันไม่ละเอียดอ่อน ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ ความรุนแรงมันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า การใช้กำลังและการใช้กำลังมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและดูเหมือนจะยิ่งรุนแรงขิ่งขึ้น ไม่มีลู่ทางว่ามันสำเร็จได้ลงโดยเร็ว โดยง่าย
สิ่งที่อยากจะตั้งข้อสังเกตคือ ความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้นั้น ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลมอบให้กับฝ่ายทหารและฝ่ายตำรวจ ค่อนข้างจะเบ็ดเสร็จ ส่วนเกี่ยวข้องของพลเรือน ส่วนเกี่ยวข้องของราชการด้านอื่น ที่เขาใกล้ชิดกับประชาชน ที่เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเหมือนเช่นในอดีตเนี่ย ดูเหมือนจะถูกปิดกั้นและถูกกีดกันออกไป สิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะคิดกันในขณะนี้ โดยด่วน ก็คือว่า หน่วยงานต่างๆ ทีลงไปดำเนินการในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเก่า หรือ หน่วยงานใหม่ อย่างเช่น กสสส. ชต. ที่ได้ดำเนินการไปในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผมคิดว่าน่าจะคิดวิธีการที่จะให้ฝ่ายพลเรือนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเหมือนในอดีต โดยผมวิเคราะห์ว่า เกิดช่องว่างทางจิตวิทยาระหวว่างประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ทางความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด หน่วยงานใด จัดตั้งขึ้นใหม่หรือเก่าก็ตามแต่เกิดความระแวง เกิดช่องว่างในเรื่องของความเชื่อมั่น เรื่องของความไว้วางใจ สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาโดยด่วนขณะนี้ก็คือ น่าจะปรับโครงสร้างรูปแบบของการไปจัดการกับปัญหาในพื้นที่โดยให้ฝ่ายพลเรือนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย โดยให้ฝ่ายพลเรือนที่รัฐบาลไว้วางใจ ซึ่งมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในพื้นที่ ไปเป็นผู้นำขององค์กรที่จะจัดการกับปัญหา เพื่อที่จะฟื้นฟูความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่จะเชื้อเชิญประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม เหมือนกระแสพระราชดำริ ว่า ให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และต้องใช้ความละเอียดอ่อน ความเข้าใจ ต้องใช้การเข้าถึง ต้องใช้ความนิ่มนวลในการที่จะดึงพี่น้องประชาชนส่วนนั้นเข้ามามีส่วนร่วม ในการร่วมเป็นเจ้าของปัญหา ในการร่วมเป็นเจ้าของในมาตรการที่จะแก้ไขปัญหา
แต่ผมมีบุคคลที่จะเสนอรัฐบาลจะนำไปพิจารณาหรือรัฐบาลจะปฏิเสธก็เป็นสิทธิของรัฐบาล แต่ผมคิดว่า สิ่งที่ต้องทำโดยด่วนที่สุดในขณะนี้คือ ให้ฝ่ายพลเรือนเป็นผู้นำ และให้ฝ่ายพลเรือนเป็นผู้ไปเชื้อเชิญผู้นำในท้องถิ่น ผู้นำในจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะผู้นำทางศาสนามาเป็นคณะที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และเป็นผู้ที่จะดำเนินการเพื่อที่จะเข้าถึงประชาชน เพื่อที่จะประสานงานกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อที่จะเรียกความเชื่อมั่น เรียกขวัญกำลังใจให้กลับมาโดยด่วน ถ้ายิ่งทิ้งห่างไปเนี่ยมันจะยิ่งแตกร้าวแล้วก็ลึกล้ำ และก็ยากในการที่จะเยียวยาในอนาคต
บุคคลที่ผมอยากจะเสนอคือบุคคลที่มีประสบการณ์ในพื้นที่ คือบุคคลที่ยังอยู่ในหน่วยราชการอย่างในขณะนี้ โดยที่ผมยังไม่ได้ปรึกษากลับท่าน แต่ต้องขออนุญาตท่านและต้องขอโทษด้วย นำเสนอด้วยความเคารพ นำเสนอด้วยความมั่นใจว่า ท่านสามารถช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้ ในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กรซึ่งมีภาคพลเรือนเป็นฝ่ายนำ ท่านแรกที่ผมอยากจะเสนอให้ทางรัฐบาลพิจารณาก็คือ ท่านบัญญัติ จันทร์เสนะ ขณะที่นี้เข้าใจว่าเป็นอธิบดีกรมที่ดิน เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เคยเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารกิจการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้อาวุโส เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้มีประสบการณ์ ถ้าหากได้คนอย่างท่านบัญญัติ จันทร์เสนะ ซึ่งเป็นคนสงขลาอยู่ในราชการขณะนี้ อยู่ในกระทรวงมหาดไทยอยู่ในขณะนี้ อยู่ในข้าราชการระดับ 10 อยู่ในขณะนี้ ในกระทรวงมหาดไทย น่าจะมีประสบการณ์ที่จะไปสมานรอยร้าว ที่จะไปสร้างความเชื่อมั่น ที่จะไปเรียกร้องให้เกิดความไว้วางใจเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องด่วนที่จะต้องทำ
ท่านที่ 2 ครับ ยังหนุ่มแล้วก็ไฟแรง แล้วก็ยังอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเหมือนกัน คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดคุณพระนาย สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นน้องของท่านภรากรณ์ สุวรรณรัตน์ ขณะนี้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผมคิดว่า ท่านพระนาย มีบุคลิก มีความรู้ มีทัศนะคติ แล้วก็มีประสบการณ์ มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ น่าจะเป็นผู้ที่นำองค์กรร่วมกับฝ่ายหหาร ร่วมกับฝ่ายตำรวจ ในการที่จะเข้าถึงประชาชนได้อย่างสนิท อย่างแนบแน่น แล้วก็เป็นที่ไว้วางใจ
ผมคิดว่า เหตุการณ์ในภาคใต้ มันต้องเริ่มต้นกันใหม่ มันต้องรื้อ วิธีคิด มันต้องรื้อวิธีการทำงาน มันต้องปรับโครงสร้าง มันต้องปรับวิธีการการเข้าถึงประชาชน ถ้าหากว่าได้คนอย่างท่านพระนาย สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นคนใต้ด้วยกัน แล้วก็เป็นคนใจกว้าง เป็นคนถึงลูกถึงคน อยากจะนำเสนอให้ทางรัฐบาลคิด ว่าต่อไปนี้ ให้ผู้นำฝ่ายพลเรือน ซึ่งจะไม่มีภาพความรุนแรง ซึ่งจะไม่มีรอยด่างพร้อยของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับและความไว้วางใจของประชาชนมากกว่า เข้าไปเป้นผู้นำองค์กรร่วมกับฝ่ายทหาร ร่วมกับฝ่ายตำรวจ แต่ว่าให้ฝ่ายทหารและฝ่ายตำรวจนั้นทำหน้าที่เป็นผู้คอยให้ความอารักขา ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความคุ้มครอง เป็นผู้ให้ความมั่นใจ ว่างานของฝ่ายพลเรือนซึ่งจะเป็นที่ยอมรับมากกว่าของประชาชน เพราะงานของคณะของฝ่ายพลเรือนที่เป็นผู้นำเนี่ย จะเข้าถึงประชาชนได้แนบสนิทกว่า ได้รับความปลอดภัย มีความมั่นคง มีความมั่นใจ ผมเชื่อเหลือเกินว่า ถ้าหากปรับโดยวิธีนี้โดยเร็ว โดยด่วน สถานการณ์มันจะดีขึ้น
การที่จะรื้อฟื้นขวัญและความรู้สึก ความไม่มั่นใจ ความไม่ไว้วางใจ ความระแวง ที่สูญเสียไปจากเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่วันที่ มกราคม เป็นต้นมา ถึง 28 เมษายน ถึงวันที่ 25 ตุลาคม ผมคิดว่า มันแตกร้าวเกินความสามารถขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอาวุธอยู่ในมือ องค์กรที่พร้อมจะใช้ความรุนแรง ต้องหาบุคลากรด้านอื่นที่มีภาพพจน์เข้าถึงประชาชน นิ่มนวล เป็นผู้ให้ เป็นผู้เข้าใจในเรื่องของค่านิยม ในเรื่องของวัฒนธรรม ในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของระบบวิธีคิด วิสัยทัศน์ต่างๆ ของเขา มันจะลดช่องว่าง มันจะลดความรุนแรง ได้ดีขึ้นแล้วก็เร็วขึ้น ผมอยากจะเสนอวิธีคิดนี้เป็นการด่วน ย้ำอีกทีนะครับ อยากจะให้พลเรือนเป็นผู้นำในการจัดตั้งเป็นองค์กรหรือเข้าไปสวมองค์กรเดิมที่มีอยู่ แต่อยากให้พลเรือนเป็นผู้นำเพราะพลเรือนไม่มีภาพของความรุนแรง เพราะพลเรือนไม่มีภาพของความขัดแย้ง เพราะพลเรือนไม่มีความสงสัย ไม่มีความระแวงติดตัวอยู่ เพราะว่าไม่มีส่วนในปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างน้อยๆ โดยตรง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อยากจะเรียนต่อไปว่า รากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่รุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง จากการไปสืบถาม ไปสอบถามและได้รับฟังเสียงบ่น ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มันเริ่มต้นมาจากการใช้อำนาจเกินเลยของเจ้าหน้าที่ มันเริ่มจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน มันเริ่มต้นจากการใช้อำนาจเกินขอบเขตของกระบวนการยุติธรรม เกินขอบเขตครรลองของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้องทำโดยเร็วในขณะนี้ก็คือ ให้กลับเข้ามาอยู่ในครรลอง กลับเข้ามาอยู่ในกรอบของอำนาจที่มีอยู่
พี่น้องประชาชนในพื้นที่เขาบอกผมว่า ทั้งข้าราชการในพื้นที่ด้วย ว่าความรุนแรง ความตึงเครียด การเผชิญหน้า ชัดเจน เกิดขึ้นในระหว่างการปราบปรามยาเสพติด ที่มีการตัดตอนกัน ที่เสียชีวิตไป 2,500 กว่าคน ที่ยังไม่มีคำตอบใดๆ ให้กับญาติ ให้กับพี่น้อง ให้กับครอบครัวของเขาได้รับทราบมาว่า อย่างน้อยในจำนวน 2,500 คนนั้น 100 กว่าคน เกิดในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ แล้วเขาบอกว่าสังคมของ 3 จังหวัดภาคใต้นั้น เป็นสังคมที่เชื่อมต่อสัมพันธ์ผูกโยงกันอย่างใกล้ชิด เมื่อไม่มีคำตอบให้ เมื่อมีคนสูญหาย เมื่อคนถูกวิสามัญฆาตกรรม เมื่อคนตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ เมื่อคนโดนอุ้ม วันรุ่งขึ้นเจอเป็นศพอยู่ข้างถนน สิ่งเหล่านี้มันก่อให้เกิดความกดดัน ก่อให้เกิดความเครียดแค้น มันก่อให้เกิดความตึงเครียด ความรู้สึกที่ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ไม่ไว้วางใจ
มีคนเล่าให้ผมฟังว่า สถานการณ์ มันเริ่มเปลี่ยนแปลง ตึงเครียด ตั้งแต่ 2,500 ศพ 100 กว่าศพ ในพื้นที่นั้นเป็นต้นมา อันนี้เป็นเรื่องที่น่าคิด เหตุผลเพราะว่า เราเตือนกันอยู่ตลอดเวลาว่า เมื่อหนึ่งเมื่อใดก็ตามแต่ที่อำนาจในการใช้กฎหมาย หลุดออกไปจากกระบวนการยุติธรรม หลุดออกไปจากกระบวนการของการปกครอง โดยกฎหมาย มันก็จะตกไปอยู่ในมือของใครก็ได้ ไม่เฉพาะเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ไม่เฉพาะของฝ่ายตำรวจ ไม่เฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง แต่มันหลุดไปอยู่ในมือของพี่น้องประชาชนเองก็ได้ ไม่มีการไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ต้องคิดประแด็นนี้ให้ดี คนในพื้นที่ยังหายตัวกันอยู่ คนในพื้นที่ยังสูญหายกันอยู่คนในพื้นที่ยังได้รับการปฏิบัติที่ใม่เป็นไปตามครรลอง ไปตามกรอบของกฎหมาย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คนงานของบริษัทก่อสร้างบริษัทหนึ่งในอ.ยะหา จ.ยะลา เอ่ยชื่อบริษัทก็ได้ ชินวรณ์ยะลา ชาวบ้านเขาเห็นจะจะว่า คนในเครื่องแบบเป็นคนกระทำการ แต่ว่าเหตุการณ์นั้นไม่ได้รับการรายงาน ว่าเหตุการณ์นั้นไม่ได้รับการเผยแพร่เรื่องมันก็สงบ ในช่วงที่มีการฆ่าตัดตอนกันนั้นหลายพื้นที่มีการเก็บกันซึ่งๆ หน้า คนที่มอบตัวแล้ว คนที่มารายงานตัวที่อำเภอ กลับไปจากอำเภอ 200 เมตร ก็โดนเก็บ เก็บคนเดียวไม่ว่า พี่นั่งทางซ้าย น้องนั่งทางขวา ไปกันทั้ง 3 คน ในจังหวัดพัทลุงจะเก็บคนเดียวแต่ตายไป 6 เพราะใช้ปืนเอ็ม 16 ในการจัดการ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นข่าว สิ่งเหล่านี้ไม่ออกมาข้างนอก เหตุผลเพราะว่า ได้รับการสั่งการว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นห้ามใช้วิทยุในการติดต่อประสานงาน ก็เป็นการปิดข่าว เพราะฉะนั้นสื่มวลชนจะไม่ทราบ ไม่มีใครอื่นๆ รับรู้ ทราบ ยกเว้นภายในหน่วยงานของตำรวจเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้มันเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดในพื้นที่เกิดใน 3-4 จังหวัดภาคใต้ เกิดแรงปฏิกิริยาต่อต้าน เกิดความรู้สึกห่างเหิน ไม่ไว้วางใจ ไม่มั่นใจกับกระบวนการของรัฐ
เหตุที่เกิดที่จังหวัดนราธิวาส ที่ตากใบ เกิดขึ้นเพราะมีคน 6 คน ถูกกล่าวหาว่า เอาปืนที่ทางราชการมอบให้ ไปให้กับฝ่ายก่อการแล้วก็โดนจับ โดนจับมาแล้วเป็นเวลาจำนวนนานพอสมควร ประชาชนญาติพี่น้องเกิดความไม่มั่นใจว่า คนทั้ง 6 คนนี้จะได้รับการปฏิบัติตามครรลองของกฎหมาย 6 คนนี้จะได้รับการปกป้องสิทธมนุษยชนของเขา 6 คนนี้จะปลอดภัย ถามว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเพราะอะไร ถามว่าพี่น้องในพื้นที่ 3000 กว่าคน มีความรู้สึกไม่มั่นใจกับความปลอดภัยของคน 6 คนนี้ได้อย่างไร คำตอบก็คือ มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในอดีต ทนายความคุณสมชาย นีละไพจิตร ที่เสนอตัวไปปกป้องคนที่ถูกกล่าวหา 4-5 คนที่ถูกกล่าวหาก็ยังถูกอุ้มแล้วก็หายไป จนบัดนี้ทุกคนก็ อนุมานเอาว่าเสียชีวิตแล้ว แถมยังมีคนสูญ คนหายในพื้นที่ แถมยังมีคนถูกทรมารในขณะที่มีการสอบสวน มีการไต่สวน สิ่งเหล่านี้ครับมันสร้างความไม่มั่นใจให้กับญาติ มันสร้างความไม่มั่นใจให้เกิดขึ้นกับเพื่อนพ้องพี่น้องประชาชน เขาถึงออกมาเพื่อที่จะเรียกร้องให้มีการประกันตัว เรียกร้องให้มีการปลดปล่อยโดยเร็ว
เมื่อเกิดความไม่ไว้วางใจ เกิดความห่างเหิน เมื่อเกิดช่องว่าง ก็นำไปสู่ความตรึงเครียด นำไปสู่ความขัดแย้ง ตรงนี้ต้องรีบสมาน ต้องรีบเร่งในการที่จะปิดช่องว่าง อุดช่องโหว่ ทางด้านความเชื่อมั่น ทางด้านจิตวิทยา อันนั้นให้เร็วที่สุด มิเช่นนั้น มันจะกลายเป็นเชื้อของความขัดแย้ง ของความรุนแรง และอาจจะนำไปสู่การกดดันการแทรกแซงภายนอกประเทศได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องการ เป็นเรื่องที่เราไม่อยากเห็น
ถ้าหากว่าผู้ดำเนินการจัดการแก้ไขกับปัญหาเหล่านี้ รู้ความสลับซับซ้อน ค่านิยมวัฒนธรรม จิตวิทยาของคนในพื้นที่สักเล็กน้อย ผมคิดว่า เหตุการณ์ในวันนั้นสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากรออีก 2-3 ชั่วโมง เกินครึ่งของบุคคลเหล่านั้นจะต้องออกจากสถานที่นั้นไปละศีลอด เพราะเขาถือศีลอดกันทั้งนั้น 5 โมงเขาต้องไปแล้วครับ ไม่เข้าร้านอาหาร เพื่อที่จะละศีลอด หรือเข้ามัสยิดละศีลอด แต่เหตุการณ์มันเกิดขึ้ก่อน เหตุการณ์ สั่งสลายม็อบมันเกิดขึ้นก่อน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ มันจึงนำไปสู่ความรุนแรงและความโกลาหล และนำไปสู่ความขัดแย้งและนำไปสู่ความเสียหายในที่สุด
เพราะฉะนั้นประเด็นที่จะเน้นก็คือว่า ต้องเข้าใจวัฒนธรรม ต้องเข้าใจจิตวิทยา ต้องเข้าใจค่านิยมของคนในพื้นที่ ถ้าหากว่าเรามีกองกำลังไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือว่าทหาร ไปจากต่างจังหวัด ไปจากต่างภูมิภาค ไม่ได้รับการอบรม ไม่ได้รับการปฐมนิเทศ เหมือนกับที่เขาเคยทำในอดีต ในสัมยที่มีศอ.บต. ที่มีการอบรม ที่มีการคัดสรร ที่มีการให้ข้อมูล ที่มีการปฐมนิเทศ บุคลากรของรับที่มีอาวุธอยู่ในมือ เป็นบุคลากรทางด้านความมั่นคง พูดจาเขาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของเขา ไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เกิดความระแวงต่อกัน เงื่อนไขต่างๆ มันครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะเกิดการปะทะ เกิดความรุนแรง
อีกประเด็นหนึ่ง สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจของ เรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของค่านิยม ในพื้นที่ ขณะนี้รัฐบาลคิดจะไปควบคุมและคิดจะไปปฏิรูปปอเนาะ ซึ่งมีอยู่ 500 กว่าแห่งในพื้นที่ 4-5 จังหวัดภาคใต้ แต่ว่าในจำนวนปอเนาะ 500 กว่าแห่งนั้น 200 กว่าแห่ง เป็นปอเนาะที่ปฏิรูปแล้ว พัฒนาแล้ว มีหลักสูตรสามัญสอนอยู่แล้ว อันนี้เสนอในทางสร้างสรรค์ อยากจะเรียนว่ารัฐควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปอเนาะที่ปฏิรูปแล้ว ปอเนาะที่พัฒนาแล้ว ปอเนาะที่มี สาขาวิชาสามัญหลักสูตรของรัฐบาลสอนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเขาสอนครึ่งเวลา เพราะอีกครึ่งเวลาเค้าไปใช้ในการสอนศาสนา ถ้าหากว่ารัฐทุ่มเทความสนใจและทรัพยากรไปให้กับโรงเรียนปอเนอะที่สอนภาคสามัญอยู่แล้ว ไปพัฒนาไม่กี่วิชาหรอกครับ วิชาที่สำคัญๆ ที่เค้าใช้ในการสอบเข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษา วิชาเหล่านั้นก็คือ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร คือ วิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พัฒนา 5 วิชานี้จะทำให้ผลผลิตที่ออกมาจากปอเนอะสามารถที่จะแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ มีโอกาสที่จะไปเป็นแพทย์ มีโอกาสที่จะไปเป็นวิศวกร มีโอกาสที่จะไปเป็นสถาปนิก เป็นทนายความ เป็นนักบริหาร เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ อนาคตของเขาจะมั่นคง เขาจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น เขาจะมีงานรออยู่
ปัญหาที่เกิดขึ้นรัฐบาลวิเคราะห์ถูกว่าคนว่างงานเยอะ รัฐบาลวิเคราะห์ถูกว่าผลผลิตที่ออกมาจากปอเนอะนั้น ไม่ค่อยมีคุณภาพ แต่สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ในขณะนี้คือมุ่งไปปฏิรูปปอเนอะที่ยังไม่มีหลักสูตรสามัญ อันนี้อันตราย อันตรายตรงไหนครับ อ่อนไหว เพราะในเรื่องของหลักสูตรศาสนานั้น มันไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของรัฐบาล มันไม่ใช่ความถนัดของบุคลากรของรัฐบาลที่จะไปชี้นำว่า หลักสูตรศาสนาเรื่องอะไร ตรงไหน ที่ควรจะมีการปรับปรุง ที่ควรจะมีการพัฒนา เพราะฉะนั้นผมอยากจะให้หลีกเลี่ยงประเด็นที่รัฐบาลอยากจะเข้าไปปฏิรูปปอเนอะ ขอให้เลือกเป้าหมายที่จะเข้าไปปฏิรูป ขอให้เลือกเป้าหมายที่จะเข้าไปแก้ไข นั่นก็คือเลือกที่จะปรับปรุงพัฒนาปอเนอะที่เขาปฏิรูปไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ว่าวิทยฐานะของเค้าในภาคสามัญ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาไอที ที่เขาสอนกันอยู่บ้างนี่ มันยังไม่ได้มาตรฐาน เมื่อจบออกมาแล้ว เขาไม่สามารถที่จะสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ เพราะเขาอ่อนในวิชาเหล่านี้ เขาก็หลุดออกไปจากกระบวนการระบบการศึกษา แล้วก็กลับไปสู่บ้านเดิม แล้วก็ไม่มีงานทำ แล้วก็กลายเป็นบุคคลที่ว่างงาน แล้วก็กลายเป็นเหยื่อของปัญหาต่างๆที่พึงจะเกิดขึ้นในพื้นที่เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เพราะฉะนั้นขอวิงวอนว่า ให้ความสนใจกับโรงเรียนปอเนอะที่ปฏิรูปแล้ว มีหลักสูตรสามัญอยู่แล้ว เขารับแล้ว เพียงแต่มาตรฐานของเค้ายังไม่ดีพอ เพื่อที่จะเปิดโอกาส ให้โอกาส จะเป็นกุญแจไขไปสู่อนาคตสำหรับเยาวชนในพื้นที่ส่วนนี้
อีกประเด็นหนึ่งที่นักข่าวอาจจะไม่ทราบ สื่อมวลชนอาจจะไม่ทราบ คือผมอยากจะเรียน ก็คือว่าบุคลากรด้านความมั่นคงในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจ อยู่ในภาวะที่ตึงเครียดมากในขณะนี้ เหตุผลเพราะว่าคำสัญญาที่เคยมี เรื่องการจะให้เบี้ยเลี้ยงเป็นกรณีพิเศษ เรื่องการจะให้เงินพิเศษ เรื่องการจะให้ผลประโยชน์พิเศษ เพื่อให้ทดแทนกับความเสี่ยงที่เค้าไปอยู่ในพื้นที่ จนเดี๋ยวนี้ ตำรวจ ทหาร บุคลากรต่างๆที่หวังว่าจะได้ผลประโยชน์บางส่วนเพื่อทดแทนความเสี่ยงของเค้า ไม่ได้รับการชดเชย ไม่ได้รับการทดแทนใดๆทั้งสิ้น อันนี้อยากจะให้ทางฝ่ายรัฐบาลไปหาข้อมูล ไปตรวจสอบและก็ไปหาข้อเท็จจริง เพราะว่าส่วนหนึ่งของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นที่ตากใบ หรือที่ไหนก็ตามแต่ เกิดขึ้นเพราะว่าสวัสดิการของทหารและตำรวจเหล่านี้ไม่ได้รับการดูแล คำสัญญา คำมั่นต่างๆที่เคยให้ไว้ว่าจะได้ค่าตอบแทนเป็นพิเศษ ในการที่ถูกส่งไปพำนัก ไปดำเนินการอยู่ในพื้นที่ส่วนนั้นก็ไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับการเหลียวแล ช้าอยู่ตรงไหน ติดขัดอยู่ตรงไหน มีปัญหาอะไรที่ไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนตามสัญญาที่เค้าคาด ที่เค้าหวังได้ ถ้าหากว่าสามารถที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ก็จะสามารถที่จะลดความตึงเครียด อย่างน้อยๆของฝ่ายข้าราชการ ของฝ่ายความมั่นคง ของฝ่ายทหาร และฝ่ายตำรวจที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ส่วนนั้นได้ และจะมีความมั่นใจและมีสติ มีความพร้อมที่จะใช้เหตุใช้ผลใช้ปัญญา ในการที่จะแก้ไขปัญหามากขึ้น
ประเด็นสุดท้ายที่อยากจะพูดก็คือเรื่องความกดดันหรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มาจากนอกประเทศในขณะนี้ อย่าลืมว่าแนวความคิดเรื่อง การที่จะมีการจัดการบริหารในลักษณะพิเศษนั้น ไม่เป็นที่ประสงค์ของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน การที่รัฐบาลก่อนๆมีกลไกพิเศษ มีหน่วยงานพิเศษ มีบุคลากรพิเศษลงไปดูแลพื้นที่ส่วนนั้นโดยเฉพาะ คือ 5 จังหวัดภาคใต้ สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล นราธิวาส ก็เพราะต้องการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องไปคิดกันถึงเรื่องการปกครองในลักษณะพิเศษ การจัดการในลักษณะพิเศษ แต่ว่ารัฐบาลนี้เข้ามา ประกาศทันทีว่าปัญหาในสามสี่จังหวัดภาคใต้ชายแดนนั้น ไม่แตกต่างจากส่วนอื่นของประเทศ จึงไม่จำเป็นจะต้องมีหน่วยงานพิเศษ องค์กรพิเศษ บุคลากรพิเศษคอยดูแลให้ความสนใจกับปัญหาเป็นพิเศษ จึงยกเลิกทั้งตัวบุคคล ทั้งองค์กร ทั้งหน่วยงาน แต่เหตุการณ์ 3 ปีครึ่ง 4 ปีที่ผ่านมา มันแสดงให้เห็นชัดเจนว่า มันยิ่งพิเศษมากยิ่งขึ้น มันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น มันยิ่งห่างเหินมากยิ่งขึ้น ช่องว่างระหว่างข้าราชการทุกฝ่ายกับประชาชนมันยิ่งถ่างมากยิ่งขึ้น
ตรงนี้ล่ะครับ อยากจะตั้งข้อพิสูจน์ว่า ใครเป็นผู้สร้างเงื่อนไขของความแตกต่างที่มันยิ่งมีมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ ในอดีตเค้าพยายามที่จะเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหานี้ เค้าก็เลยมีหน่วยงานพิเศษที่เรียกว่าองค์การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เค้ามี พตท.43 เค้ามีหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน แต่รัฐบาลนี้เข้ามาบอกว่าไม่เอาแล้ว ไม่มีอะไรแตกต่างจากที่อื่น แต่ว่า 3 ปีครึ่ง 4 ปีที่ผ่านมา มันยิ่งวิวัฒนาการ ยิ่งพัฒนาการ ยิ่งเลวร้ายลง ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยิ่งห่างเหินมากยิ่งขึ้น จึงมีความคิดนั้นเกิดขึ้น ผมคิดว่าเราต้องระวัง เราต้องพิจารณาที่ต้นตอที่มาของปัญหา เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ทำไมถึงมีความห่างเหินมากยิ่งขึ้น ทำไมถึงมีความไม่ไว้วางใจกันมากยิ่งขึ้น ทำไมถึงมีความระแวงต่อกันมากยิ่งขึ้น อันนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องคิด และถ้าหากว่าจะกอบกู้สถานการณ์ให้ได้กลับมาโดยเร็ว สิ่งที่จะต้องทำคือสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ในพื้นที่
และขอเรียนว่าหน่วยงานและองค์กรที่จะสร้างความสมานฉันท์และปรองดองในพื้นที่ได้ดีที่สุด คือฝ่ายพลเรือน ให้ฝ่ายพลเรือนนำ ให้ฝ่ายทหารกับตำรวจ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว แต่ว่าห้าหกเจ็ดเดือนที่ผ่านมามันเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ให้ร่วมเป็นผู้อารักขา เป็นผู้ให้ความปลอดภัย เป็นผู้ให้ความมั่นใจ แต่งานประชาสัมพันธ์ งานชุมชนสัมพันธ์ งานที่จะไปสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่จะอุดช่องว่างระหว่างกันขอให้เป็นงานที่นำโดยฝ่ายพลเรือน และขอย้ำอีกทีว่าผมมีบุคคลอยู่ 2 คน โดยที่ไม่ปรึกษากับท่าน แต่ผมเชื่อว่าท่านมีประสบการณ์ ท่านมีความรู้ ท่านมีความสามารถ และท่านเข้าใจวัฒนธรรม ค่านิยม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ส่วนนั้น
คนแรกคือท่านบัญญัติ จันเสนะ ขณะนี้เป็นอธิบดีกรมที่ดิน เคยเป็น ผอ.สอ.บต. เป็นผู้ว่าฯยะลา เป็นคนสงขลา อีกท่านหนึ่งคือท่านพระนาย สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นน้องของท่านพลากร สุวรรณรัตน์ ซึ่งเป็นอดีตผอ.ศอ.บต. อยู่ตรงนั้น และเป็นคนใต้ด้วยกัน เข้าใจปัญหา และก็มีบุคลิกภาพ มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ อยากจะเสนอว่าให้พลเรือนเป็นฝ่ายนำ ให้ทหารกับตำรวจเป็นส่วนผสมส่วนประกอบ จริงๆแล้วเป็นรูปแบบ เป็นโมเดลที่เคยทำมาแล้วในอดีต และเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 พ.ย. 2547--จบ--
-ดท-