กรุงเทพ--3 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษก กระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งจัด ขึ้นเช้าวันนี้ ภายหลังการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษ ACMECS เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ที่โรงแรมรายาวดี จังหวัดกระบี่ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศคือ นาย Hor Namhong รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา นาย Somsavat Lengsavad รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว นาย U Kyaw Thu รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า นาย Le Cong Phung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 1 ของเวียดนาม และ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ต้อนรับการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS ของเวียดนาม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547
2. ที่ประชุมฯ ได้ทบทวนความคืบหน้าโครงการความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งประกอบด้วยโครงการร่วมและโครงการทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกฯ ใน 5 สาขาหลัก (ตามปฏิญญาพุกาม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546) และเห็นพ้องกันที่จะปรับปรุงการประสานงานระหว่างกันให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งคณะทำงานที่มีแต่ละประเทศสมาชิกฯ ทำหน้าที่ ผู้ประสานงานกล่าวคือ 1) ไทยเป็นผู้ประสานงานในสาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน 2) พม่าเป็นผู้ประสานงานในสาขาเกษตรและอุตสาหกรรม 3) ลาวเป็นผู้ประสานงาน ในสาขาการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม 4) กัมพูชาเป็นผู้ประสานงานในสาขาการท่องเที่ยว และ 5) เวียดนามเป็นผู้ประสานงานในสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อที่จะลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกฯ ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงทางการเมืองและเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกฯ อันจะเป็นประโยชน์และสนับสนุนต่อความร่วมมือในกรอบอาเซียนด้วย
3. ที่ประชุมฯ เห็นว่านอกจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลของประเทศสมาชิกฯ ในการจัดประชุมระดับผู้นำทุก 2 ปี (ไทยจะเป็นเจ้าภาพฯ ในปี 2548) การประชุมระดับรัฐมนตรี ปีละ 1 ครั้ง (กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพฯ ในปี 2548 และเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพฯ ในปี 2549) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทุก 6 เดือนแล้ว ควรมีการสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการเป็นพลังขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือ ACMECS ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคบนพื้นฐานของเจตนารมณ์ทางการเมืองและศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิกฯ เช่นกัน
4. ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ซึ่งในส่วนของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกและทางอากาศนั้น ไทยได้มีความร่วมมือกับกัมพูชาในการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 48 (เกาะกง-พนมเปญ) และเส้นทางหมายเลข 67 (ศรีษะเกษ-เสียมราฐ) นอกจากนี้ไทยยังได้ความร่วมมือกับลาวในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ตลอดจนการปรับปรุงสนามบินวัดไตและปากเซ และความร่วมมือกับพม่าในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายที่อำเภอท่าขี้เหล็ก จังหวัดเชียงราย
5. ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทางร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกฯ (คล้ายกับระบบ Schengen ของประเทศยุโรป) ตลอดจนความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน อาทิ ไบโอดีเซล และการจัดทำ website ของ ACMECS โดยขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปหารือในรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อไป
6. ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงตัวอย่างโครงการความร่วมมือที่จะเสนอให้ Development Partners ซึ่งหมายถึงประเทศที่มิใช่สมาชิกฯ หรือองค์การระหว่างประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนสนับสนุนการดำเนินงานของ ACMECS ซึ่งในการประชุมฯ ครั้งนี้ ไทยได้เชิญผู้แทนออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มาร่วมประชุมฯ ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 เพื่อหารือถึงบทบาทและความร่วมมือ ที่ Development Partners จะให้การสนับสนุน ACMECS ซึ่งบางส่วนมีการดำเนินการอยู่บ้างแล้วในปัจจุบันรวมถึงความร่วมมือที่จะมีในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษก กระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งจัด ขึ้นเช้าวันนี้ ภายหลังการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษ ACMECS เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ที่โรงแรมรายาวดี จังหวัดกระบี่ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศคือ นาย Hor Namhong รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา นาย Somsavat Lengsavad รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว นาย U Kyaw Thu รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า นาย Le Cong Phung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 1 ของเวียดนาม และ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ต้อนรับการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS ของเวียดนาม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547
2. ที่ประชุมฯ ได้ทบทวนความคืบหน้าโครงการความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งประกอบด้วยโครงการร่วมและโครงการทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกฯ ใน 5 สาขาหลัก (ตามปฏิญญาพุกาม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546) และเห็นพ้องกันที่จะปรับปรุงการประสานงานระหว่างกันให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งคณะทำงานที่มีแต่ละประเทศสมาชิกฯ ทำหน้าที่ ผู้ประสานงานกล่าวคือ 1) ไทยเป็นผู้ประสานงานในสาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน 2) พม่าเป็นผู้ประสานงานในสาขาเกษตรและอุตสาหกรรม 3) ลาวเป็นผู้ประสานงาน ในสาขาการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม 4) กัมพูชาเป็นผู้ประสานงานในสาขาการท่องเที่ยว และ 5) เวียดนามเป็นผู้ประสานงานในสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อที่จะลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกฯ ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงทางการเมืองและเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกฯ อันจะเป็นประโยชน์และสนับสนุนต่อความร่วมมือในกรอบอาเซียนด้วย
3. ที่ประชุมฯ เห็นว่านอกจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลของประเทศสมาชิกฯ ในการจัดประชุมระดับผู้นำทุก 2 ปี (ไทยจะเป็นเจ้าภาพฯ ในปี 2548) การประชุมระดับรัฐมนตรี ปีละ 1 ครั้ง (กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพฯ ในปี 2548 และเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพฯ ในปี 2549) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทุก 6 เดือนแล้ว ควรมีการสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการเป็นพลังขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือ ACMECS ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคบนพื้นฐานของเจตนารมณ์ทางการเมืองและศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิกฯ เช่นกัน
4. ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ซึ่งในส่วนของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกและทางอากาศนั้น ไทยได้มีความร่วมมือกับกัมพูชาในการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 48 (เกาะกง-พนมเปญ) และเส้นทางหมายเลข 67 (ศรีษะเกษ-เสียมราฐ) นอกจากนี้ไทยยังได้ความร่วมมือกับลาวในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ตลอดจนการปรับปรุงสนามบินวัดไตและปากเซ และความร่วมมือกับพม่าในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายที่อำเภอท่าขี้เหล็ก จังหวัดเชียงราย
5. ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทางร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกฯ (คล้ายกับระบบ Schengen ของประเทศยุโรป) ตลอดจนความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน อาทิ ไบโอดีเซล และการจัดทำ website ของ ACMECS โดยขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปหารือในรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อไป
6. ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงตัวอย่างโครงการความร่วมมือที่จะเสนอให้ Development Partners ซึ่งหมายถึงประเทศที่มิใช่สมาชิกฯ หรือองค์การระหว่างประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนสนับสนุนการดำเนินงานของ ACMECS ซึ่งในการประชุมฯ ครั้งนี้ ไทยได้เชิญผู้แทนออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มาร่วมประชุมฯ ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 เพื่อหารือถึงบทบาทและความร่วมมือ ที่ Development Partners จะให้การสนับสนุน ACMECS ซึ่งบางส่วนมีการดำเนินการอยู่บ้างแล้วในปัจจุบันรวมถึงความร่วมมือที่จะมีในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-