กรุงเทพ--4 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy-ACMECS) ณ จังหวัดกระบี่ ดังมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญ คือ 1) เป็นการประชุมครั้งแรกในระดับรัฐมนตรี ที่เกิดขึ้นภายหลังการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ณ เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 2) เป็นการประชุมครั้งแรกที่เวียดนามเข้าร่วมด้วยในฐานะสมาชิก ACMECS โดยได้มีพิธีลงนามพิธีสารสำหรับการรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก ACMECS และ 3) เป็นการประชุมครั้งแรกที่มีผู้แทนประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners) เข้าร่วมด้วย คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ Asian Development Bank-ADB)
2. วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ คือ 1) เพื่อเน้นให้เห็นว่า ACMECS ซึ่งแม้จะเป็นความคิดริเริ่มของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความต้องการและเป็นการริเริ่มประเทศสมาชิกเอง (Home Grown Initiative) 2) เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างด้านการพัฒนาของประเทศสมาชิก 3) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจ โดยการรวมความได้เปรียบของแต่ละประเทศสมาชิก และ 4) เพื่อเป็นรากฐาน (Building Blocs) ที่จะส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่ประชาคมทางเศรษฐกิจของอาเซียน
3. ประเด็นสำคัญของการประชุม ครั้งนี้ คือ
3.1 การพิจารณาทบทวนความคืบหน้าโครงการความร่วมมือ
3.1.1 ที่ประชุมได้พิจารณาและรับทราบความคืบหน้าของโครงการ ความร่วมมือใน 5 สาขา (สาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน สาขาเกษตรและอุตสาหกรรม สาขาการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม สาขาการท่องเที่ยว สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) จากแต่ละประเทศสมาชิก
3.1.2 สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ประสานงานสาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน นั้น ได้ดำเนินการด้านการลดภาษีสินค้า 9 รายการ การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม อาทิ การสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการ แล้ว เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และการขยายท่าอากาศยาน สะหวันนะเขต เป็นต้น รวมถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ เห็นชอบไทยเป็นผู้จัดทำ Website ของ ACMECS ด้วย
3.1.3 ที่ประชุมได้พิจารณาความสำคัญของภาคเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือ
3.1.4 ที่ประชุมได้เห็นชอบว่า ACMECS จะมีบทบาทสำคัญในการเป็น “missing link” เพื่อเชื่อมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต และกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง- GMS เป็นต้น
3.1.5 ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดเส้นทางและเที่ยวบินสำหรับการท่องเที่ยวโดยรวมเมืองท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกเข้าด้วยกัน
3.1.6 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ระบบ การตรวจลงตราร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก (คล้ายกับระบบ Schengen ของประเทศยุโรป)
3.1.7 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือในเรื่องความร่วมมือในเรื่องใหม่ๆ อาทิ เรื่องพลังงานทดแทนหรือ bio-diesel เป็นต้น
3.2 การประชุมกับประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
3.2.1 ประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาแสดงความ สนใจกับโครงการความร่วมมือต่างๆ และสนับสนุนวัตถุประสงค์ของ ACMECS และเห็นชอบที่จะร่วมมือในโครงการทั้งในระดับทวิภาคีและภูมิภาคของ ACMECS รวมถึง ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS เพื่อหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการความร่วมมือภายใน 6 เดือนข้างหน้า
3.2.2 นอกจากนี้ ประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาได้เน้นความจำเป็นของภาคเอกชนในประเทศดังกล่าว ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือ
3.2.3 ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะศึกษาโครงการขยายท่าอากาศยานสะหวันนะเขต ซึ่งจะเป็น hub ในภูมิภาคในด้านการขนส่ง การท่องเที่ยว โดยมีเส้นทางหมายเลข 9 รองรับ
3.2.4 ผู้แทน Asia Development Bank เห็นว่า ACMECS และ GMS มีความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมระหว่างกัน จึงจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้ความสนับสนุนด้านงบประมาณ
3.2.5 ผู้แทนฝรั่งเศส แจ้งว่าฝรั่งเศสจะเข้ามาลงทุนสร้างทางรถไฟ เส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ในปี 2548 และกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ACMECS ในปี 2548 ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy-ACMECS) ณ จังหวัดกระบี่ ดังมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญ คือ 1) เป็นการประชุมครั้งแรกในระดับรัฐมนตรี ที่เกิดขึ้นภายหลังการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ณ เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 2) เป็นการประชุมครั้งแรกที่เวียดนามเข้าร่วมด้วยในฐานะสมาชิก ACMECS โดยได้มีพิธีลงนามพิธีสารสำหรับการรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก ACMECS และ 3) เป็นการประชุมครั้งแรกที่มีผู้แทนประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners) เข้าร่วมด้วย คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ Asian Development Bank-ADB)
2. วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ คือ 1) เพื่อเน้นให้เห็นว่า ACMECS ซึ่งแม้จะเป็นความคิดริเริ่มของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความต้องการและเป็นการริเริ่มประเทศสมาชิกเอง (Home Grown Initiative) 2) เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างด้านการพัฒนาของประเทศสมาชิก 3) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจ โดยการรวมความได้เปรียบของแต่ละประเทศสมาชิก และ 4) เพื่อเป็นรากฐาน (Building Blocs) ที่จะส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่ประชาคมทางเศรษฐกิจของอาเซียน
3. ประเด็นสำคัญของการประชุม ครั้งนี้ คือ
3.1 การพิจารณาทบทวนความคืบหน้าโครงการความร่วมมือ
3.1.1 ที่ประชุมได้พิจารณาและรับทราบความคืบหน้าของโครงการ ความร่วมมือใน 5 สาขา (สาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน สาขาเกษตรและอุตสาหกรรม สาขาการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม สาขาการท่องเที่ยว สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) จากแต่ละประเทศสมาชิก
3.1.2 สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ประสานงานสาขาการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน นั้น ได้ดำเนินการด้านการลดภาษีสินค้า 9 รายการ การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม อาทิ การสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการ แล้ว เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และการขยายท่าอากาศยาน สะหวันนะเขต เป็นต้น รวมถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ เห็นชอบไทยเป็นผู้จัดทำ Website ของ ACMECS ด้วย
3.1.3 ที่ประชุมได้พิจารณาความสำคัญของภาคเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือ
3.1.4 ที่ประชุมได้เห็นชอบว่า ACMECS จะมีบทบาทสำคัญในการเป็น “missing link” เพื่อเชื่อมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต และกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง- GMS เป็นต้น
3.1.5 ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดเส้นทางและเที่ยวบินสำหรับการท่องเที่ยวโดยรวมเมืองท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกเข้าด้วยกัน
3.1.6 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ระบบ การตรวจลงตราร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก (คล้ายกับระบบ Schengen ของประเทศยุโรป)
3.1.7 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือในเรื่องความร่วมมือในเรื่องใหม่ๆ อาทิ เรื่องพลังงานทดแทนหรือ bio-diesel เป็นต้น
3.2 การประชุมกับประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
3.2.1 ประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาแสดงความ สนใจกับโครงการความร่วมมือต่างๆ และสนับสนุนวัตถุประสงค์ของ ACMECS และเห็นชอบที่จะร่วมมือในโครงการทั้งในระดับทวิภาคีและภูมิภาคของ ACMECS รวมถึง ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS เพื่อหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการความร่วมมือภายใน 6 เดือนข้างหน้า
3.2.2 นอกจากนี้ ประเทศและหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาได้เน้นความจำเป็นของภาคเอกชนในประเทศดังกล่าว ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือ
3.2.3 ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะศึกษาโครงการขยายท่าอากาศยานสะหวันนะเขต ซึ่งจะเป็น hub ในภูมิภาคในด้านการขนส่ง การท่องเที่ยว โดยมีเส้นทางหมายเลข 9 รองรับ
3.2.4 ผู้แทน Asia Development Bank เห็นว่า ACMECS และ GMS มีความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมระหว่างกัน จึงจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้ความสนับสนุนด้านงบประมาณ
3.2.5 ผู้แทนฝรั่งเศส แจ้งว่าฝรั่งเศสจะเข้ามาลงทุนสร้างทางรถไฟ เส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ในปี 2548 และกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ACMECS ในปี 2548 ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-