ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เร่งส่งเรื่องขอยกระดับเป็น ธพ.ให้ กพพ.พิจารณา นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาสถาบันการเงินที่ขอยกระดับเป็น ธพ.
ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Master Plan) ว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ทยอยส่งเรื่องไปยัง
คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งเป็น ธพ. (กพพ.) เพื่อพิจารณาการขอยกระดับของสถาบันการเงิน
ต่าง ๆ ทั้งนี้ เชื่อว่า กพพ.จะสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนเบื้องต้นในการขอยกระดับเป็น ธพ.ของ
สถาบันการเงินได้ทันภายในวันที่ 30 พ.ย.47 นี้ ซึ่งเป็นวันครบกำหนด (ผู้จัดการรายวัน)
2. ไอเอ็มเอฟแนะไทยปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและกฎหมายมากขึ้น ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) แจ้งผลการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจการเงินการคลังของไทยประจำปี 47 ของคณะกรรมการ
บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟชื่นชมคณะผู้
บริหารประเทศของไทยที่ได้มีการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยมีการขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยต่อความ
ผันผวนภายนอกประเทศได้ปรับตัวลดน้อยลง จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น
มากขึ้น ทั้งยังสามารถปรับลดหนี้ต่างประเทศ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศก็ปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ คณะกรรมการเสนอแนะว่าควรจะดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและกฎหมายมากขึ้น โดยรัฐบาลควร
ใช้ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขยายผลจากการเน้นใช้เฉพาะนโยบาย
การเงินการคลังไปสู่การปรับปรุงจุดอ่อนทางเศรษฐกิจและกฎหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิด
ภาวะเงินเฟ้อ (ข่าวสด, บ้านเมือง, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ปตท.ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศลง 40 สตางค์ต่อลิตรเป็นครั้งแรกในรอบ
10 เดือน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บ.ปตท.จำกัด เปิดเผยว่า ปตท.ประกาศปรับลดราคาขาย
ปลีกน้ำมันเบนซินทุกชนิดลง 40 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 21.99 บาทต่อลิตร
เบนซิน 91 อยู่ที่ระดับ 21.19 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.เวลา 6.00 น.เป็นต้นไป ส่วนราคาน้ำมัน
ดีเซลรัฐบาลยังตรึงราคาไว้ที่ระดับเดิมคือ 14.59 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ การปรับลดราคาน้ำมันเบนซินครั้งนี้เนื่อง
จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวลดลง 2 ดอลลาร์ สรอ. ตามราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส
ประกอบกับกระแสข่าวที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (จี 7) จะประชุมในปลายเดือนนี้ เพื่อหามาตรการสกัด
การเก็งกำไรของกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) ส่งผลให้บรรดาเฮดจ์ฟันด์เทขายน้ำมันที่กักตุนไว้ออกมา โด
บการปรับลดราคาครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา
(มติชน, บ้านเมือง, แนวหน้า, ข่าวสด, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
4. ไทยส่งออกสินค้าไทยไปยังอินดียและจีนในรอบ 1 ปีมูลค่า 14,638.07 ล้านบาท อธิบดี
กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปยังอินเดียและจีนภายหลังจากการทำเขต
การค้าเสรี (เอฟทีเอ) ว่า ภายใต้เอฟทีเอไทย-จีนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46-31 ต.ค.47 กรมฯ ได้ออกหนังสือ
รับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกสินค้าไปจีนจำนวน 14,848 ฉบับ โดยมีปริมาณส่งออก 3,155,875 ตัน
หรือคิดเป็นมูลค่า 14,638.07 ล้านบาท ทั้งนี้ การส่งออก-นำเข้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรตั้งแต่ ต.
ค.46-ก.ย.47 ไทยส่งออกสินค้าไปจีนจำนวน 2,855,869 ตัน คิดเป็นมูลค่า 13,102.53 ล้านบาท ขณะที่ไทย
นำเข้าสินค้าจากจีนจำนวน 273,337 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6,046.77 ล้านบาท ทำให้ไทยยังคงเป็นฝ่ายได้ดุลการ
ค้ากับจีนจำนวน 7,055.76 ล้านบาท ส่วนการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างไทย-อินเดียตั้งแต่ 1-30 ก.ย.47
นั้น ไทยส่งออกสินค้าในรายการสินค้าที่มีการเร่งลดภาษีระหว่างกันจำนวน 2,814 ตัน คิดเป็นมูลค่า 759.17
ล้านบาท ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าในรายการดังกล่าวจำนวน 4,598 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 120.33 ล้านบาท
โดยไทยยังคงเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดียจำนวน 638.84 ล้านบาท (สยามรัฐ)
5. สสว.เตรียมเสนอขออนุมัติงบประมาณ 3,500 ล้านบาทในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ
เอสเอ็มอี ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน พ.
ย.47 สสว.จะเสนอรมว.อุตสาหกรรมอนุมัติงบประมาณ 3,500 ล้านบาทในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ภายในปี 48 โดยสสว.จะกระจายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดูแลเอสเอ็ม
อีจำนวน 35 หน่วยงาน เพื่อผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ 50,000 ราย ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเฉพาะใน
ส่วนของ สสว.ตั้งเป้าหมายจะสร้างเอสเอ็มอีให้ได้ 2,000 ราย (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้วัดภาคธุรกิจบริการของ สรอ.ในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ
59.8 ในขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน รายงานจาก
ชิคาโก เมื่อ 3 พ.ย.47 ดัชนีชี้วัดภาคธุรกิจบริการของ สรอ.ซึ่งสำรวจโดย The Institute for Supply
Management หรือ ISM ในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 59.8 จากระดับ 56.7 ในเดือนก่อนหลัง
จากลดลง 2 เดือนติดต่อกัน และสูงกว่าระดับ 58.0 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ โดยตัวเลขที่สูงกว่า 50 ชี้ให้เห็นว่า
ภาคธุรกิจบริการซึ่งรวมทุกอย่างตั้งแต่สายการบินถึงธุรกิจการธนาคารและภัตตาคารและมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80
ของ GDP ของ สรอ. กำลังขยายตัว เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดการจ้างงานของ ISM ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.8
จากระดับ 54.6 ในเดือนก่อนทำให้คาดว่าตัวเลขการจ้างงานในเดือน ต.ค.47 ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 5 พ.ย.47 นี้จะดีขึ้น ในทางตรงข้ามกับภาคธุรกิจบริการ คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานในเดือน ก.ย.47
ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนลดลงมากกว่าร้อยละ 0.3 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ใน
เดือน ส.ค.47 และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค.45 ที่คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานลดลง 2
เดือนติดต่อกัน โดยเป็นผลจากคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบินโดยสารที่ลดลงร้อยละ 16.3 ในเดือน ก.
ย.47 หลังจากลดลงร้อยละ 46.2 ในเดือน ส.ค.47 และยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัวลงโดยมียอดขาย 13.7
ล้านคันในช่วงปีที่ผ่านมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่อยู่ในระดับต่ำทำให้
จำนวนคำขอกู้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย.47 ซึ่งช่วยให้ตลาดบ้านขยาย
ตัวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม (รอยเตอร์)
2. ภาคบริการของอังกฤษเติบโตเกินความคาดหมายในเดือน ต.ค.47 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 3 พ.ย.47 The Chartered Insitute of Purchasing and Supply / Reuters Survey เปิด
เผยว่า ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ธุรกิจภาคบริการ (Services activity index) ของอังกฤษ ในเดือน ต.
ค.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 56.3 จากระดับ 54.7 ในเดือนก่อน สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 54.5
และสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งแยกระหว่างภาวะการขยายตัวและการหดตัวของสถานการณ์ธุรกิจ โดย
ดัชนีฯ ยังคงขยายตัวได้เกินความคาดหมาย ท่ามกลางการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจหลังจากการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งในรอบปี ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดหมายว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ระดับร้อยละ 4.75 ไปตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปี 47 อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนว
โน้มสถานการณ์ธุรกิจในช่วง 12 เดือนข้างหน้า กลับลดลงที่ระดับ 74.0 จากระดับ 74.3 และเป็นระดับต่ำสุด
นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ซึ่งมีสาเหตุหลักจากความไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามในอิรัก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 47 จะเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 8.7 รายงาน
จากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 3 พ.ย.47 State Information Centre หน่วยงานระดับสูงของ
รัฐบาลจีนเปิดเผยผลการวิจัยว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 47 จะเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 8.7 จากร้อย
ละ 9.1 ในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในไตรมาส 4 ปีนี้เทียบกับปีก่อน และ
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ตลอดทั้งปี 47 ส่วนการเติบโตโดยรวมของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจะลดลงเหลือร้อย
ละ 20.8 ในไตรมาส 4 จากร้อยละ 27.7 ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อันเป็นผลจากนโยบายที่เข้มงวดของ
รัฐ ในขณะที่ปริมาณเงินที่ใช้หมุนเวียนในระบบ (M2) ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปี 46 ต่ำกว่าเป้าหมาย
ที่ ธ.กลางจีนตั้งไว้ที่ประมาณร้อยละ 17 ด้านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อย
ละ 9.4 และจะลดลงเหลือร้อยละ 8 ในปี 48 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ลดลงในเดือน ต.ค.47 รายงานจากโซลเมื่อ 4 พ.
ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะ
เศรษฐกิจและแผนการใช้จ่ายในช่วงระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าของผู้บริโภค ในเดือน ต.ค.47 ลดลงที่ระดับ
88.0 จากระดับ 88.9 ในเดือน ก.ย.47 โดยดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า จำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองต่อ
ความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในช่วง 6 เดือนข้างหน้าในแง่ลบมีมากกว่าผู้
บริโภคที่มองในแง่บวก สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่
ระดับ 65.1 จากระดับ 65.0 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือน ต.ค.47 มีทิศทางที่ชะลอ
ตัวลง มีสาเหตุจากการชะลอตัวของอัตราการขยายตัวของการส่งออก โดยเฉพาะในเดือน ต.ค.47 ที่ลดลงสู่
ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน ได้ก่อให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกเป็นปัจจัยหลักที่
ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจมาตลอดปี 46 นอกจากนี้ สถานการณ์ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่
ปรับตัวสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลในด้านลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งสิ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 พ.ย. 47 3 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.117 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8961/41.1835 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.75 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 641.29/ 17.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,250/8,350 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.88 36.71 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 22.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เร่งส่งเรื่องขอยกระดับเป็น ธพ.ให้ กพพ.พิจารณา นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาสถาบันการเงินที่ขอยกระดับเป็น ธพ.
ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Master Plan) ว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ทยอยส่งเรื่องไปยัง
คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งเป็น ธพ. (กพพ.) เพื่อพิจารณาการขอยกระดับของสถาบันการเงิน
ต่าง ๆ ทั้งนี้ เชื่อว่า กพพ.จะสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนเบื้องต้นในการขอยกระดับเป็น ธพ.ของ
สถาบันการเงินได้ทันภายในวันที่ 30 พ.ย.47 นี้ ซึ่งเป็นวันครบกำหนด (ผู้จัดการรายวัน)
2. ไอเอ็มเอฟแนะไทยปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและกฎหมายมากขึ้น ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) แจ้งผลการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจการเงินการคลังของไทยประจำปี 47 ของคณะกรรมการ
บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟชื่นชมคณะผู้
บริหารประเทศของไทยที่ได้มีการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยมีการขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยต่อความ
ผันผวนภายนอกประเทศได้ปรับตัวลดน้อยลง จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น
มากขึ้น ทั้งยังสามารถปรับลดหนี้ต่างประเทศ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศก็ปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ คณะกรรมการเสนอแนะว่าควรจะดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและกฎหมายมากขึ้น โดยรัฐบาลควร
ใช้ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขยายผลจากการเน้นใช้เฉพาะนโยบาย
การเงินการคลังไปสู่การปรับปรุงจุดอ่อนทางเศรษฐกิจและกฎหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิด
ภาวะเงินเฟ้อ (ข่าวสด, บ้านเมือง, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ปตท.ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศลง 40 สตางค์ต่อลิตรเป็นครั้งแรกในรอบ
10 เดือน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บ.ปตท.จำกัด เปิดเผยว่า ปตท.ประกาศปรับลดราคาขาย
ปลีกน้ำมันเบนซินทุกชนิดลง 40 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 21.99 บาทต่อลิตร
เบนซิน 91 อยู่ที่ระดับ 21.19 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.เวลา 6.00 น.เป็นต้นไป ส่วนราคาน้ำมัน
ดีเซลรัฐบาลยังตรึงราคาไว้ที่ระดับเดิมคือ 14.59 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ การปรับลดราคาน้ำมันเบนซินครั้งนี้เนื่อง
จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวลดลง 2 ดอลลาร์ สรอ. ตามราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส
ประกอบกับกระแสข่าวที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (จี 7) จะประชุมในปลายเดือนนี้ เพื่อหามาตรการสกัด
การเก็งกำไรของกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) ส่งผลให้บรรดาเฮดจ์ฟันด์เทขายน้ำมันที่กักตุนไว้ออกมา โด
บการปรับลดราคาครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา
(มติชน, บ้านเมือง, แนวหน้า, ข่าวสด, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
4. ไทยส่งออกสินค้าไทยไปยังอินดียและจีนในรอบ 1 ปีมูลค่า 14,638.07 ล้านบาท อธิบดี
กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปยังอินเดียและจีนภายหลังจากการทำเขต
การค้าเสรี (เอฟทีเอ) ว่า ภายใต้เอฟทีเอไทย-จีนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46-31 ต.ค.47 กรมฯ ได้ออกหนังสือ
รับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกสินค้าไปจีนจำนวน 14,848 ฉบับ โดยมีปริมาณส่งออก 3,155,875 ตัน
หรือคิดเป็นมูลค่า 14,638.07 ล้านบาท ทั้งนี้ การส่งออก-นำเข้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรตั้งแต่ ต.
ค.46-ก.ย.47 ไทยส่งออกสินค้าไปจีนจำนวน 2,855,869 ตัน คิดเป็นมูลค่า 13,102.53 ล้านบาท ขณะที่ไทย
นำเข้าสินค้าจากจีนจำนวน 273,337 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6,046.77 ล้านบาท ทำให้ไทยยังคงเป็นฝ่ายได้ดุลการ
ค้ากับจีนจำนวน 7,055.76 ล้านบาท ส่วนการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างไทย-อินเดียตั้งแต่ 1-30 ก.ย.47
นั้น ไทยส่งออกสินค้าในรายการสินค้าที่มีการเร่งลดภาษีระหว่างกันจำนวน 2,814 ตัน คิดเป็นมูลค่า 759.17
ล้านบาท ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าในรายการดังกล่าวจำนวน 4,598 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 120.33 ล้านบาท
โดยไทยยังคงเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดียจำนวน 638.84 ล้านบาท (สยามรัฐ)
5. สสว.เตรียมเสนอขออนุมัติงบประมาณ 3,500 ล้านบาทในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ
เอสเอ็มอี ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน พ.
ย.47 สสว.จะเสนอรมว.อุตสาหกรรมอนุมัติงบประมาณ 3,500 ล้านบาทในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ภายในปี 48 โดยสสว.จะกระจายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดูแลเอสเอ็ม
อีจำนวน 35 หน่วยงาน เพื่อผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ 50,000 ราย ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเฉพาะใน
ส่วนของ สสว.ตั้งเป้าหมายจะสร้างเอสเอ็มอีให้ได้ 2,000 ราย (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้วัดภาคธุรกิจบริการของ สรอ.ในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ
59.8 ในขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานในเดือน ก.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน รายงานจาก
ชิคาโก เมื่อ 3 พ.ย.47 ดัชนีชี้วัดภาคธุรกิจบริการของ สรอ.ซึ่งสำรวจโดย The Institute for Supply
Management หรือ ISM ในเดือน ต.ค.47 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 59.8 จากระดับ 56.7 ในเดือนก่อนหลัง
จากลดลง 2 เดือนติดต่อกัน และสูงกว่าระดับ 58.0 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ โดยตัวเลขที่สูงกว่า 50 ชี้ให้เห็นว่า
ภาคธุรกิจบริการซึ่งรวมทุกอย่างตั้งแต่สายการบินถึงธุรกิจการธนาคารและภัตตาคารและมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80
ของ GDP ของ สรอ. กำลังขยายตัว เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดการจ้างงานของ ISM ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.8
จากระดับ 54.6 ในเดือนก่อนทำให้คาดว่าตัวเลขการจ้างงานในเดือน ต.ค.47 ที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 5 พ.ย.47 นี้จะดีขึ้น ในทางตรงข้ามกับภาคธุรกิจบริการ คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานในเดือน ก.ย.47
ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนลดลงมากกว่าร้อยละ 0.3 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ใน
เดือน ส.ค.47 และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค.45 ที่คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานลดลง 2
เดือนติดต่อกัน โดยเป็นผลจากคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบินโดยสารที่ลดลงร้อยละ 16.3 ในเดือน ก.
ย.47 หลังจากลดลงร้อยละ 46.2 ในเดือน ส.ค.47 และยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัวลงโดยมียอดขาย 13.7
ล้านคันในช่วงปีที่ผ่านมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่อยู่ในระดับต่ำทำให้
จำนวนคำขอกู้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย.47 ซึ่งช่วยให้ตลาดบ้านขยาย
ตัวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม (รอยเตอร์)
2. ภาคบริการของอังกฤษเติบโตเกินความคาดหมายในเดือน ต.ค.47 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 3 พ.ย.47 The Chartered Insitute of Purchasing and Supply / Reuters Survey เปิด
เผยว่า ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ธุรกิจภาคบริการ (Services activity index) ของอังกฤษ ในเดือน ต.
ค.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 56.3 จากระดับ 54.7 ในเดือนก่อน สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 54.5
และสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งแยกระหว่างภาวะการขยายตัวและการหดตัวของสถานการณ์ธุรกิจ โดย
ดัชนีฯ ยังคงขยายตัวได้เกินความคาดหมาย ท่ามกลางการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจหลังจากการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งในรอบปี ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดหมายว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ระดับร้อยละ 4.75 ไปตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปี 47 อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนว
โน้มสถานการณ์ธุรกิจในช่วง 12 เดือนข้างหน้า กลับลดลงที่ระดับ 74.0 จากระดับ 74.3 และเป็นระดับต่ำสุด
นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ซึ่งมีสาเหตุหลักจากความไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามในอิรัก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 47 จะเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 8.7 รายงาน
จากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 3 พ.ย.47 State Information Centre หน่วยงานระดับสูงของ
รัฐบาลจีนเปิดเผยผลการวิจัยว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 47 จะเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 8.7 จากร้อย
ละ 9.1 ในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในไตรมาส 4 ปีนี้เทียบกับปีก่อน และ
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ตลอดทั้งปี 47 ส่วนการเติบโตโดยรวมของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจะลดลงเหลือร้อย
ละ 20.8 ในไตรมาส 4 จากร้อยละ 27.7 ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อันเป็นผลจากนโยบายที่เข้มงวดของ
รัฐ ในขณะที่ปริมาณเงินที่ใช้หมุนเวียนในระบบ (M2) ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปี 46 ต่ำกว่าเป้าหมาย
ที่ ธ.กลางจีนตั้งไว้ที่ประมาณร้อยละ 17 ด้านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อย
ละ 9.4 และจะลดลงเหลือร้อยละ 8 ในปี 48 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ลดลงในเดือน ต.ค.47 รายงานจากโซลเมื่อ 4 พ.
ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะ
เศรษฐกิจและแผนการใช้จ่ายในช่วงระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้าของผู้บริโภค ในเดือน ต.ค.47 ลดลงที่ระดับ
88.0 จากระดับ 88.9 ในเดือน ก.ย.47 โดยดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า จำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองต่อ
ความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในช่วง 6 เดือนข้างหน้าในแง่ลบมีมากกว่าผู้
บริโภคที่มองในแง่บวก สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่
ระดับ 65.1 จากระดับ 65.0 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือน ต.ค.47 มีทิศทางที่ชะลอ
ตัวลง มีสาเหตุจากการชะลอตัวของอัตราการขยายตัวของการส่งออก โดยเฉพาะในเดือน ต.ค.47 ที่ลดลงสู่
ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน ได้ก่อให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกเป็นปัจจัยหลักที่
ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจมาตลอดปี 46 นอกจากนี้ สถานการณ์ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่
ปรับตัวสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลในด้านลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งสิ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 พ.ย. 47 3 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.117 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8961/41.1835 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.75 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 641.29/ 17.19 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,250/8,350 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.88 36.71 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 22.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-