กรุงเทพ--5 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ ( 4 พฤศจิกายน 2547 ) ที่ทำเนียบรัฐบาล ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. กรณีที่นายรัสเซล เรดฟอร์ด หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ส่งอีเมล์ถึงพนักงานกว่า 1,000 คนทั่วประเทศไทยให้เพิ่มความระมัดระวังการเดินทาง หลังจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนพูโลระบุว่า จะโจมตีกรุงเทพฯ เพื่อ แก้แค้นให้กับมุสลิมที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ยูเอ็นเตือนพนักงานของตัวเองเพราะเคยถูกระเบิดอาคารที่ทำการของยูเอ็นในต่างประเทศ เช่นในอิรักทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น แม้เพียงเล็กน้อย ยูเอ็นก็จะเตือนคนของตัวเองทันที “สิ่งที่ยูเอ็นทำ เป็นการแสดงความรับผิดชอบล่วงหน้า ไม่ใช่เป็นการประกาศเตือนว่า ประเทศไทย ไม่ปลอดภัยหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยของไทยไม่ดี แต่บังเอิญสำนักข่าวแห่งหนึ่งเห็นอีเมล์ดังกล่าว จึงนำมาเสนอข่าว กลายเป็นว่ายูเอ็นเตือนคนอเมริกันไป ทั้งที่เป็นเรื่องปกติของยูเอ็นที่จะออกหนังสือเตือนคนของเขาในทุกประเทศที่มีสำนักงานของยูเอ็นตั้งอยู่” ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวส่วนกรณีที่ระบุว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยของไทย ไม่เข้มแข็งพอที่จะป้องกันเหตุโจมตีได้นั้น ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัย และเป็นหน้าที่ของรัฐ และฝ่ายความมั่นคง ที่จะจัดเจ้าหน้าที่ดูแลบุคคลในคณะทูต และองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในยามปกติ และเมื่อมีข้อสงสัย ไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนก “เป็นการขยายความไปเอง เพราะสหรัฐฯ พูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ว่ารักษาความปลอดภัยยาก ไม่เหมือนกับสถานที่ปิด เช่น สนามบิน หรือสถานที่สำคัญ ที่สามารถรักษาความปลอดภัยได้ จึงต้องระมัดระวังตัวมากขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนก หรือตกใจ และไม่ได้หมายความว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยของไทยไม่ดี” ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าว นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า ความร่วมมือด้านต่อต้านการก่อการร้ายสากลนั้นประเทศไทยได้ร่วมมือกับนานาประเทศทั่วโลก เพราะถือเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
2. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์กรณีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ อ.ตากใบ ว่าได้มีการอธิบายไปยังประเทศต่างๆจนมีความเข้าใจแล้ว และเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา ประเทศมุสลิม และเลขาธิการประเทศอิสลามแห่งโลกหรือ OIC ต่างให้ การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทย โดยเห็นว่าไม่ได้มุ่งทำลายชีวิตพี่น้องชาวมุสลิม แต่เป็นความผิดพลาดที่ต้องหาตัวผู้กระทำผิด
3. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวถึง การประชุมเตรียมการประชุมผผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่จะจัดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า ในการประชุมดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะหยิบยกเรื่องความร่วมมือทางด้านพลังงานและการหา พลังงานทดแทนมาหารือ นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนจะหารือถึงการประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำรัสเซีย ถ้าตกลงกันได้ก็จะจัดการประชุมผู้นำอาเซียน-รัสเซียขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2005
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งนี้ จะมีการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อันเป็นการแสดงว่าออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกับอาเซียนในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ส่วนการประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำอินเดีย จะเน้นความร่วมมือด้านการบินและเขตการค้าเสรี ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่ลงนามความร่วมมือเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ภายใต้กรอบของอาเซียน ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับประเทศอื่นในอาเซียนได้มากขึ้น
4. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ยังกล่าวถึงการประชุมเตรียมการต้อนรับนายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ที่จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายนนี้ ว่าเป็นการเยือนตามธรรมเนียมปฏิบัติของอาเซียน ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ไทยกับ สิงคโปร์มีความร่วมมือด้วยดีในหลายเวที โดยเฉพาะความร่วมมือสองฝ่าย ที่มีความคืบหน้ามาก นอกจากนั้น จะมีการหารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาเซียนที่จะก้าวไปสู่ประชาคม เอเชียตะวันออก โดยอาเซียนจะร่วมมือกับจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ให้เป็นประชาคมเดียวกัน และจะนำไปสู่เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ ( 4 พฤศจิกายน 2547 ) ที่ทำเนียบรัฐบาล ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. กรณีที่นายรัสเซล เรดฟอร์ด หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ส่งอีเมล์ถึงพนักงานกว่า 1,000 คนทั่วประเทศไทยให้เพิ่มความระมัดระวังการเดินทาง หลังจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนพูโลระบุว่า จะโจมตีกรุงเทพฯ เพื่อ แก้แค้นให้กับมุสลิมที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ยูเอ็นเตือนพนักงานของตัวเองเพราะเคยถูกระเบิดอาคารที่ทำการของยูเอ็นในต่างประเทศ เช่นในอิรักทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น แม้เพียงเล็กน้อย ยูเอ็นก็จะเตือนคนของตัวเองทันที “สิ่งที่ยูเอ็นทำ เป็นการแสดงความรับผิดชอบล่วงหน้า ไม่ใช่เป็นการประกาศเตือนว่า ประเทศไทย ไม่ปลอดภัยหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยของไทยไม่ดี แต่บังเอิญสำนักข่าวแห่งหนึ่งเห็นอีเมล์ดังกล่าว จึงนำมาเสนอข่าว กลายเป็นว่ายูเอ็นเตือนคนอเมริกันไป ทั้งที่เป็นเรื่องปกติของยูเอ็นที่จะออกหนังสือเตือนคนของเขาในทุกประเทศที่มีสำนักงานของยูเอ็นตั้งอยู่” ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวส่วนกรณีที่ระบุว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยของไทย ไม่เข้มแข็งพอที่จะป้องกันเหตุโจมตีได้นั้น ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัย และเป็นหน้าที่ของรัฐ และฝ่ายความมั่นคง ที่จะจัดเจ้าหน้าที่ดูแลบุคคลในคณะทูต และองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในยามปกติ และเมื่อมีข้อสงสัย ไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนก “เป็นการขยายความไปเอง เพราะสหรัฐฯ พูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ว่ารักษาความปลอดภัยยาก ไม่เหมือนกับสถานที่ปิด เช่น สนามบิน หรือสถานที่สำคัญ ที่สามารถรักษาความปลอดภัยได้ จึงต้องระมัดระวังตัวมากขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนก หรือตกใจ และไม่ได้หมายความว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยของไทยไม่ดี” ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าว นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า ความร่วมมือด้านต่อต้านการก่อการร้ายสากลนั้นประเทศไทยได้ร่วมมือกับนานาประเทศทั่วโลก เพราะถือเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
2. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์กรณีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ อ.ตากใบ ว่าได้มีการอธิบายไปยังประเทศต่างๆจนมีความเข้าใจแล้ว และเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา ประเทศมุสลิม และเลขาธิการประเทศอิสลามแห่งโลกหรือ OIC ต่างให้ การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทย โดยเห็นว่าไม่ได้มุ่งทำลายชีวิตพี่น้องชาวมุสลิม แต่เป็นความผิดพลาดที่ต้องหาตัวผู้กระทำผิด
3. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวถึง การประชุมเตรียมการประชุมผผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่จะจัดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า ในการประชุมดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะหยิบยกเรื่องความร่วมมือทางด้านพลังงานและการหา พลังงานทดแทนมาหารือ นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนจะหารือถึงการประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำรัสเซีย ถ้าตกลงกันได้ก็จะจัดการประชุมผู้นำอาเซียน-รัสเซียขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2005
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งนี้ จะมีการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อันเป็นการแสดงว่าออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกับอาเซียนในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ส่วนการประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำอินเดีย จะเน้นความร่วมมือด้านการบินและเขตการค้าเสรี ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่ลงนามความร่วมมือเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ภายใต้กรอบของอาเซียน ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับประเทศอื่นในอาเซียนได้มากขึ้น
4. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ยังกล่าวถึงการประชุมเตรียมการต้อนรับนายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ที่จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายนนี้ ว่าเป็นการเยือนตามธรรมเนียมปฏิบัติของอาเซียน ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ไทยกับ สิงคโปร์มีความร่วมมือด้วยดีในหลายเวที โดยเฉพาะความร่วมมือสองฝ่าย ที่มีความคืบหน้ามาก นอกจากนั้น จะมีการหารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาเซียนที่จะก้าวไปสู่ประชาคม เอเชียตะวันออก โดยอาเซียนจะร่วมมือกับจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ให้เป็นประชาคมเดียวกัน และจะนำไปสู่เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-