‘ปชป.’ระบุ ‘รัฐบาล’ งุบงิบทำข้อตกลง แฉเป็นการจัดซื้ออาวุธครั้งใหญ่วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท ส่อไม่โปร่งใส ล็อคสเปกเอื้อ ‘บริษัทอังกฤษ’
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามสด เรื่อง การจัดซื้อปืนใหญ่ ขนาด 105 มม.พร้อมอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 22 กระบอกถามนายกรัฐมนตรีว่า โครงการนี้ใช้งบประมาณ 2,223 ล้านบาท โดยในอังกฤษ ได้มีการ ต่อต้านการค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมายโดยสื่อในอังกฤษได้ลงข่าวว่า มีการค้าอาวุธระหว่างไทยกับอังกฤษในรูปแบบรัฐต่อรัฐ มูลค่า1,000 ล้านปอนด์หรือประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท ถือว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจัดซื้ออาวุธของไทย ซึ่งมีพฤติกรรมส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยรูปแบบแปลกใหม่ เป็นการตกลงของนายกฯทั้งสองประเทศเมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย เดินทางไปเยือนอังกฤษในปี 2545ซึ่งมีการทำบันทึกร่วมและเป็นพันธกรณีในการจัดซื้ออาวุธครั้งใหญ่ดังกล่าว โดยใช้ชื่อโครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ แลกเปลี่ยนกับสินค้าทางการเกษตร
“การจัดซื้อปืนใหญ่ครั้งนี้ ได้มีการล็อคสเปคให้บริษัทเดียวโดยไม่มีการ เปิดการประมูล และจัดทำเป็นโครงการนำร่อง เร่งด่วนมากและเร่งด่วน รวมมูลค่า 40,000 ล้านบาทโดยโครงการจัดซื้อปืนใหญ่ใช้งบประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการโครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ แห่งชาติขึ้นมา แต่เหตุใดจึงต้องใช้วิธีจัดซื้อพิเศษ ไม่ผ่านกระบวนการระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงขอถามถึงความคืบหนาในโครงการดังกล่าวนี้” นายอลงกรณ์ กล่าว
ทางด้านพล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันท์ รมว.กลาโหม ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีว่า ในการเดินทางไปเยือนอังกฤษของนายกฯ ได้ให้ทางกองทัพจัดทำบัญชีอาวุธที่ต้องการ ซึ่งในการเจรจา เป็นการเจรจาระหว่างหัวหน้ารัฐบาล เป็นการพูดกันในภาพกว้าง และได้ลงนามร่วมกันที่จะให้กระทรวงกลาโหมของอังกฤษมาช่วยพัฒนากองทัพไทย จึงเกิดโครงการ ตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจขึ้น ซึ่งทางอังกฤษได้ให้บริษัทเอกชนมาเป็นผู้เจรจา ในนามรัฐบาลอังกฤษ
นายอลงกรณ์ ยังถามอีกว่า โครงการนี้รัฐบาลไม่ได้ทำสัญญากับรัฐบาลอังกฤษ แต่ไปทำกับบริษัทเอกชนของอังกฤษ คือบริษัท BAE SYSTEMS ซึ่งเป็นบริษัท ที่เคยซ่อมเฮลิคอปเตอร์(ฮ.6)ของกองทัพอากาศ ซึ่งการใช้วิธีพิเศษก็มีการล็อคสเปค บริษัทนี้เพียงบริษัทเดียว ผิดกับการจัดซื้อเครื่องบินรบไอพ่นของกองทัพอากาศ ที่มีการเปิดกว้าง จึงขอถามว่าขั้นตอนการจัดซื้อจนถึงการเซ็นสัญญาเป็นอย่างไรบ้าง และมีความจำเป็นเร่งด่วนอะไร ถึงต้องเร่งรัดจัดซื้อปืนใหญ่ดังกล่าวโดยใช้งบกลางฉุกเฉิน ไม่ใช้งบปกติ ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมและปัญหาภาคใต้ยังต้องการเสื้อเกราะ แ ต่กลับใช้งบไปซื้อปืนใหญ่ ให้กองพัน เหมือนกับจะไปรบกับใคร และในเรื่องของการค้าต่างตอบแทน ก็เป็นเรื่องแปลก ที่ให้ผู้เสนอขายมาบอกว่า จะต้องการจะทำอะไรให้เรา แทนที่เราจะเสนอว่าเราต้องการอะไร มีการไปทำความตกลงโดยสภาไม่ได้รับทราบ
นายอลงกรณ์ ยังกล่าวอีกว่า เมื่อมี 2540 ได้มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างอังกฤษและมาเลเซีย ในโครงการสร้างเขื่อนโดยแลกเปลี่ยนกับการจัดซื้ออาวุธ ซึ่งเรื่องนี้ศาลสูงอังกฤษได้ชี้ว่า กระทรวงกลาโหมอังกฤษทำผิดกฎหมายเพราะได้ทำโครงการค้าขาย อาวุธแลกเปลี่ยนกับการช่วยเหลือ แทนที่จะแลกเปลี่ยนอาวุธกับการช่วยเหลือ ซึ่งข้อตกลงของรัฐบาลไทยกับบริษัทอังกฤษก็มีลักษณะเหมือนกัน จึงขอถามว่า หากเกิดปัญหาขึ้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเพราะไทยได้จ่ายเงินไปแล้ว ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงความไม่ชอบมาพากลที่เลขานุการคณะกรรมการโครงการนี้ มีความใกล้ชิดกับนายกฯ เพราะเกรงว่าจะมองว่าเป็นเรื่องการเมือง
รมว.กลาโหม ชี้แจงว่าโครงการดังกล่าวว่า เป็นความต้องการขอกองทัพ ซึ่งมีการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลในปี 2545 แต่มาเซ็นสัญญาในเดือน พ.ย.2547 ซึ่งต้องใช้เวลาปีเศษถึงจะได้อาวุธมา เป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างคามพร้อม ให้แก่ประเทศ เรื่องนี้จะต้องทำอย่างทันที อีกทั้งในเรื่องของสัญญา ได้ผ่านการพิจารณาของอัยการสูงสุดแล้ว จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 พ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้ถามสด เรื่อง การจัดซื้อปืนใหญ่ ขนาด 105 มม.พร้อมอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 22 กระบอกถามนายกรัฐมนตรีว่า โครงการนี้ใช้งบประมาณ 2,223 ล้านบาท โดยในอังกฤษ ได้มีการ ต่อต้านการค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมายโดยสื่อในอังกฤษได้ลงข่าวว่า มีการค้าอาวุธระหว่างไทยกับอังกฤษในรูปแบบรัฐต่อรัฐ มูลค่า1,000 ล้านปอนด์หรือประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท ถือว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจัดซื้ออาวุธของไทย ซึ่งมีพฤติกรรมส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยรูปแบบแปลกใหม่ เป็นการตกลงของนายกฯทั้งสองประเทศเมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย เดินทางไปเยือนอังกฤษในปี 2545ซึ่งมีการทำบันทึกร่วมและเป็นพันธกรณีในการจัดซื้ออาวุธครั้งใหญ่ดังกล่าว โดยใช้ชื่อโครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ แลกเปลี่ยนกับสินค้าทางการเกษตร
“การจัดซื้อปืนใหญ่ครั้งนี้ ได้มีการล็อคสเปคให้บริษัทเดียวโดยไม่มีการ เปิดการประมูล และจัดทำเป็นโครงการนำร่อง เร่งด่วนมากและเร่งด่วน รวมมูลค่า 40,000 ล้านบาทโดยโครงการจัดซื้อปืนใหญ่ใช้งบประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการโครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ แห่งชาติขึ้นมา แต่เหตุใดจึงต้องใช้วิธีจัดซื้อพิเศษ ไม่ผ่านกระบวนการระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงขอถามถึงความคืบหนาในโครงการดังกล่าวนี้” นายอลงกรณ์ กล่าว
ทางด้านพล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันท์ รมว.กลาโหม ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีว่า ในการเดินทางไปเยือนอังกฤษของนายกฯ ได้ให้ทางกองทัพจัดทำบัญชีอาวุธที่ต้องการ ซึ่งในการเจรจา เป็นการเจรจาระหว่างหัวหน้ารัฐบาล เป็นการพูดกันในภาพกว้าง และได้ลงนามร่วมกันที่จะให้กระทรวงกลาโหมของอังกฤษมาช่วยพัฒนากองทัพไทย จึงเกิดโครงการ ตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจขึ้น ซึ่งทางอังกฤษได้ให้บริษัทเอกชนมาเป็นผู้เจรจา ในนามรัฐบาลอังกฤษ
นายอลงกรณ์ ยังถามอีกว่า โครงการนี้รัฐบาลไม่ได้ทำสัญญากับรัฐบาลอังกฤษ แต่ไปทำกับบริษัทเอกชนของอังกฤษ คือบริษัท BAE SYSTEMS ซึ่งเป็นบริษัท ที่เคยซ่อมเฮลิคอปเตอร์(ฮ.6)ของกองทัพอากาศ ซึ่งการใช้วิธีพิเศษก็มีการล็อคสเปค บริษัทนี้เพียงบริษัทเดียว ผิดกับการจัดซื้อเครื่องบินรบไอพ่นของกองทัพอากาศ ที่มีการเปิดกว้าง จึงขอถามว่าขั้นตอนการจัดซื้อจนถึงการเซ็นสัญญาเป็นอย่างไรบ้าง และมีความจำเป็นเร่งด่วนอะไร ถึงต้องเร่งรัดจัดซื้อปืนใหญ่ดังกล่าวโดยใช้งบกลางฉุกเฉิน ไม่ใช้งบปกติ ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมและปัญหาภาคใต้ยังต้องการเสื้อเกราะ แ ต่กลับใช้งบไปซื้อปืนใหญ่ ให้กองพัน เหมือนกับจะไปรบกับใคร และในเรื่องของการค้าต่างตอบแทน ก็เป็นเรื่องแปลก ที่ให้ผู้เสนอขายมาบอกว่า จะต้องการจะทำอะไรให้เรา แทนที่เราจะเสนอว่าเราต้องการอะไร มีการไปทำความตกลงโดยสภาไม่ได้รับทราบ
นายอลงกรณ์ ยังกล่าวอีกว่า เมื่อมี 2540 ได้มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างอังกฤษและมาเลเซีย ในโครงการสร้างเขื่อนโดยแลกเปลี่ยนกับการจัดซื้ออาวุธ ซึ่งเรื่องนี้ศาลสูงอังกฤษได้ชี้ว่า กระทรวงกลาโหมอังกฤษทำผิดกฎหมายเพราะได้ทำโครงการค้าขาย อาวุธแลกเปลี่ยนกับการช่วยเหลือ แทนที่จะแลกเปลี่ยนอาวุธกับการช่วยเหลือ ซึ่งข้อตกลงของรัฐบาลไทยกับบริษัทอังกฤษก็มีลักษณะเหมือนกัน จึงขอถามว่า หากเกิดปัญหาขึ้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเพราะไทยได้จ่ายเงินไปแล้ว ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงความไม่ชอบมาพากลที่เลขานุการคณะกรรมการโครงการนี้ มีความใกล้ชิดกับนายกฯ เพราะเกรงว่าจะมองว่าเป็นเรื่องการเมือง
รมว.กลาโหม ชี้แจงว่าโครงการดังกล่าวว่า เป็นความต้องการขอกองทัพ ซึ่งมีการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลในปี 2545 แต่มาเซ็นสัญญาในเดือน พ.ย.2547 ซึ่งต้องใช้เวลาปีเศษถึงจะได้อาวุธมา เป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างคามพร้อม ให้แก่ประเทศ เรื่องนี้จะต้องทำอย่างทันที อีกทั้งในเรื่องของสัญญา ได้ผ่านการพิจารณาของอัยการสูงสุดแล้ว จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 พ.ย. 2547--จบ--
-ดท-