ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จัดตั้งศูนย์จัดการธนบัตร 11 แห่งทั่วประเทศ นายยอดชาย ชูศรี ที่ปรึกษา ประจำผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้จัดตั้งศูนย์จัดการธนบัตรขึ้น 11 แห่งทั่วประเทศ
เพื่อทำหน้าที่แทนคลังจังหวัด ที่จะเปลี่ยนบทบาทไปดูแลเฉพาะภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวนั้นจะช่วยอำนวย
ความสะดวกให้กับประชาชน โดยสามารถแลกธนบัตรขาดหรือชำรุด หรือธนบัตรใหม่ได้ที่ ธพ.ทุกแห่งทันที จาก
เดิมที่ต้องแลกที่คลังจังหวัด หรือที่สำนักงานใหญ่ ธปท. ส่วน ธพ.จะมีความคล่องตัวมากขึ้นในการจัดการสภาพ
คล่องของตัวเอง นอกจากนี้ ลดภาระงานให้กับบุคลากร ธปท. เพราะเปลี่ยนมาสู่การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
แทน ขณะเดียวกัน ผอส.สายออกบัตรธนาคาร ธปท.กล่าวว่า ศูนย์จัดการธนบัตรจะทำหน้าที่ของธนาคารกลาง
คือไม่ทำธุรกรรมรายย่อย โดย ธพ.จะต้องจัดตั้งศูนย์เงินสดกลางขึ้นเองเพื่อเป็นตัวแทนติดต่อกับศูนย์จัดการ
ธนบัตร ธปท. และเก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินจากสาขา ซึ่ง ธพ.แต่ละแห่งจะมีบัญชีที่ ธปท.ใช้ฝากถอนธนบัตร
จากศูนย์จัดการธนบัตร (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, สยามรัฐ)
2. สศค.วางแผนระดมเงินออมภายในประเทศ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยในงานเสวนา “นโยบายระดมเงินออม ปี 48-51” ว่า เนื่องจากในช่วง 4 ปีข้างหน้าคาดว่าการลงทุน
จะมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก สัดส่วน
เงินออมในปัจจุบันที่ร้อยละ 30 จะไม่เพียงพอต่อเม็ดเงินลงทุนในอนาคต และอาจทำให้ไทยต้องพึ่งพาเงินทุนจาก
ต่างประเทศ ดังนั้น สศค.จึงวางแผนระดมเงินออมภายในประเทศแทน โดยมุ่งระดมเงินออมในส่วนกองทุนขั้นที่ 1
ที่รัฐบาลบังคับให้ออม จะมีการสร้างความยั่งยืนกองทุนประกันสังคมเพื่อการชราภาพ ส่วนกองทุนขั้นที่ 2 ที่เป็น
กองทุนเกษียณอายุข้าราชการ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะต้องปรับปรุงกองทุนการออม
เพื่อเกณียณอายุเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า หากระดมทุนในประเทศได้จะ
ไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศ ไม่เป็นหนี้สาธารณะและไม่เป็นภาระต่องบประมาณ (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน)
3. กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีในเดือน ต.ค.47 ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท อธิบดีกรมสรรพสามิต
ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเบื้องต้นในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาว่า มียอดการจัดเก็บ
ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บได้อันดับหนึ่งยังเป็นภาษีน้ำมัน รองลงมาคือ สุรา เบียร์ รถยนต์
และโทรคมนาคม ทั้งนี้ ในจำนวนเงินการจัดเก็บภาษีดังกล่าว เป็นการจัดเก็บระบบออนไลน์จำนวน 3.2 พันล้าน
บาท (กรุงเทพธุรกิจ)
4. กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 8.46 อธิบดีกรม
สรรพากร เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บภาษีอากรในเดือน ต.ค.47 ว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีรวมได้ทั้ง
สิ้น 52,027 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่อยู่ที่ 4,058 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
8.46 และสูงกว่าปีก่อน 6,198 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.52 ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาสามารถจัดเก็บได้ 10,701.39 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ 10.07 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
10,862.07 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.78 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 27,816.19 ล้านบาท สูงกว่าประมาณ
การร้อยละ 9.77 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1,958.38 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณร้อยละ 1.37 และภาษีอากรแสตมป์
549.07 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 13.61 และรายได้อื่น ๆ 21.59 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ
ร้อยละ 37.99 (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
5. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าธุรกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเห็นประเด็นธุรกิจ “สถานภาพธุรกิจไทยไตรมาส 3 ปี 47” และแนวโน้ม
ไตรมาส 4 ทั้งปี 47 และไตรมาส 1 ปี 48 จากผู้ประกอบการธุรกิจทั่วประเทศว่า ส่วนใหญ่เห็นว่า ธุรกิจมีแนว
โน้มปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะไม่ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงนัก รวมไปถึงการที่จีนเข้าเป็น
สมาชิกขององค์การการค้าโลก นอกจากนี้ ยังมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ การเปิดเสรีการค้า
ของไทยกับหลายประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า และโครงการ SML แม้ว่าระยะสั้นจะมีปัจจัยเสี่ยง
เรื่องความผันผวนของราคาน้ำมัน สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกก็ตาม
(โลกวันนี้, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี รายงานจากแฟรงค์เฟิร์ท เมื่อ 4 พ.ย.47
ธ.กลางยุโรป หรือ ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกันในการ
ประชุมเมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงจากราคาน้ำมันซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 55 ในปีนี้ซึ่งทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปีในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าเพดานที่ ECB กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี อย่างไร
ก็ดีค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาก็ช่วยให้ราคา
น้ำมันและสินค้านำเข้าสำคัญอื่น ๆ ไม่สูงขึ้นมากนัก แต่ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกซึ่งเป็น
ตัวหลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวก่อนที่การใช้จ่ายในประเทศจะฟื้น
ตัวอย่างมีเสถียรภาพ นักวิเคราะห์คาดว่า ECB จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
4 พ.ย.47 ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอ้างอิงไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อ
กันในการประชุมเมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 นี้ เมื่อเป็นที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
5 ครั้งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาโดยเศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวในอัตราเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน แต่นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน
ก.พ. ปีหน้าโดยขึ้นอยู่กับการประมาณการครั้งใหม่ในด้านเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่ง ธ.กลาง
อังกฤษมีกำหนดจะรายงานอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
3. รายได้จากการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีปี 47 และ 48 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ รายงาน
จากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 ก.คลังของเยอรมนีเปิดเผยว่า ในปี 48 รัฐบาลจะมี
รายได้จากการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 3.4 พันล้านยูโร แต่จะเก็บเพิ่มชดเชยได้บางส่วนจากภาษี
ท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการปฏิรูปตลาดแรงงานทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า
หมายจะสร้างความยุ่งยากให้กับ ก.คลังในการกู้ยืมครั้งใหม่ในปีหน้า จำนวน 22 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม
ก.คลังยังยืนยันถึงเป้าหมายที่จะจัดทำ งปม. แบบขาดดุลในปี 48 ให้ได้ตามข้อตกลงของสหภาพยุโรปที่กำหนดให้
ประเทศสมาชิกจัดทำ งปม. แบบขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจีดีพี และขณะนี้กำลังจัดทำมาตรการในการเพิ่ม
การจัดเก็บรายได้และลดการใช้จ่ายของรัฐในปีหน้า รวมถึงการกระตุ้นให้จีดีพีเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.1
ด้วย ส่วนการจัดเก็บรายได้จากภาษีในปี 47 จะลดลงด้วยเช่นกันประมาณ 2.3 พันล้านยูโร จากที่เคยคาด
การณ์ไว้เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการลดลงของการจัดเก็บรายได้จากภาษีทั้งหมดในระหว่างปี 47-48 จะมี
จำนวนทั้งสิ้น 4.8 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดสถานการณ์อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ลดลงในเดือน ต.ค.47 รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 4 พ.ย.47 Institute of Purchasing Materials Management เปิดเผยว่า The
Purchasing Managers’ Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ใน
เดือน ต.ค.47 ลดลงเกินความคาดหมาย 1.7 จุดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.5 เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อ
ใหม่ คำสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกและผลผลิตอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การที่ PMI ในเดือน ต.ค.ลดลง มีสาเหตุ
จากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน สรอ. และเป็นการปรับตัวลด
ลงหลังจากที่การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชะลอตัวลงร้อยละ 2.3 ในช่วงไตรมาสที่ 3
ของปีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม PMI ในเดือน ต.ค.ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 และมีการ
เคลื่อนไหวอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 17 เดือน บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ยังขยาย
ตัวอยู่ นอกจากนี้ช่วงเทศกาลคริสมาสต์ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความคาด
หมายว่ายอดคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเกินความคาด
หมายร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา อนึ่ง บรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดหมายว่า อุตสาหกรรมการผลิตของ
สิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 4 ของระบบเศรษฐกิจ และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของ
เศรษฐกิจ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่
ระดับร้อยละ 8-9 ในปี 47 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปีได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 พ.ย. 47 4 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.053 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8961/41.1858 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.75 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 639.13/ 16.38 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,250/8,350 8,250/8,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.07 36.88 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. จัดตั้งศูนย์จัดการธนบัตร 11 แห่งทั่วประเทศ นายยอดชาย ชูศรี ที่ปรึกษา ประจำผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้จัดตั้งศูนย์จัดการธนบัตรขึ้น 11 แห่งทั่วประเทศ
เพื่อทำหน้าที่แทนคลังจังหวัด ที่จะเปลี่ยนบทบาทไปดูแลเฉพาะภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวนั้นจะช่วยอำนวย
ความสะดวกให้กับประชาชน โดยสามารถแลกธนบัตรขาดหรือชำรุด หรือธนบัตรใหม่ได้ที่ ธพ.ทุกแห่งทันที จาก
เดิมที่ต้องแลกที่คลังจังหวัด หรือที่สำนักงานใหญ่ ธปท. ส่วน ธพ.จะมีความคล่องตัวมากขึ้นในการจัดการสภาพ
คล่องของตัวเอง นอกจากนี้ ลดภาระงานให้กับบุคลากร ธปท. เพราะเปลี่ยนมาสู่การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
แทน ขณะเดียวกัน ผอส.สายออกบัตรธนาคาร ธปท.กล่าวว่า ศูนย์จัดการธนบัตรจะทำหน้าที่ของธนาคารกลาง
คือไม่ทำธุรกรรมรายย่อย โดย ธพ.จะต้องจัดตั้งศูนย์เงินสดกลางขึ้นเองเพื่อเป็นตัวแทนติดต่อกับศูนย์จัดการ
ธนบัตร ธปท. และเก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินจากสาขา ซึ่ง ธพ.แต่ละแห่งจะมีบัญชีที่ ธปท.ใช้ฝากถอนธนบัตร
จากศูนย์จัดการธนบัตร (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, สยามรัฐ)
2. สศค.วางแผนระดมเงินออมภายในประเทศ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยในงานเสวนา “นโยบายระดมเงินออม ปี 48-51” ว่า เนื่องจากในช่วง 4 ปีข้างหน้าคาดว่าการลงทุน
จะมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก สัดส่วน
เงินออมในปัจจุบันที่ร้อยละ 30 จะไม่เพียงพอต่อเม็ดเงินลงทุนในอนาคต และอาจทำให้ไทยต้องพึ่งพาเงินทุนจาก
ต่างประเทศ ดังนั้น สศค.จึงวางแผนระดมเงินออมภายในประเทศแทน โดยมุ่งระดมเงินออมในส่วนกองทุนขั้นที่ 1
ที่รัฐบาลบังคับให้ออม จะมีการสร้างความยั่งยืนกองทุนประกันสังคมเพื่อการชราภาพ ส่วนกองทุนขั้นที่ 2 ที่เป็น
กองทุนเกษียณอายุข้าราชการ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะต้องปรับปรุงกองทุนการออม
เพื่อเกณียณอายุเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า หากระดมทุนในประเทศได้จะ
ไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศ ไม่เป็นหนี้สาธารณะและไม่เป็นภาระต่องบประมาณ (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน)
3. กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีในเดือน ต.ค.47 ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท อธิบดีกรมสรรพสามิต
ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเบื้องต้นในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาว่า มียอดการจัดเก็บ
ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บได้อันดับหนึ่งยังเป็นภาษีน้ำมัน รองลงมาคือ สุรา เบียร์ รถยนต์
และโทรคมนาคม ทั้งนี้ ในจำนวนเงินการจัดเก็บภาษีดังกล่าว เป็นการจัดเก็บระบบออนไลน์จำนวน 3.2 พันล้าน
บาท (กรุงเทพธุรกิจ)
4. กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 8.46 อธิบดีกรม
สรรพากร เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บภาษีอากรในเดือน ต.ค.47 ว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีรวมได้ทั้ง
สิ้น 52,027 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่อยู่ที่ 4,058 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
8.46 และสูงกว่าปีก่อน 6,198 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.52 ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาสามารถจัดเก็บได้ 10,701.39 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ 10.07 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
10,862.07 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.78 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 27,816.19 ล้านบาท สูงกว่าประมาณ
การร้อยละ 9.77 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1,958.38 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณร้อยละ 1.37 และภาษีอากรแสตมป์
549.07 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 13.61 และรายได้อื่น ๆ 21.59 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ
ร้อยละ 37.99 (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
5. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าธุรกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเห็นประเด็นธุรกิจ “สถานภาพธุรกิจไทยไตรมาส 3 ปี 47” และแนวโน้ม
ไตรมาส 4 ทั้งปี 47 และไตรมาส 1 ปี 48 จากผู้ประกอบการธุรกิจทั่วประเทศว่า ส่วนใหญ่เห็นว่า ธุรกิจมีแนว
โน้มปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะไม่ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงนัก รวมไปถึงการที่จีนเข้าเป็น
สมาชิกขององค์การการค้าโลก นอกจากนี้ ยังมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ การเปิดเสรีการค้า
ของไทยกับหลายประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า และโครงการ SML แม้ว่าระยะสั้นจะมีปัจจัยเสี่ยง
เรื่องความผันผวนของราคาน้ำมัน สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกก็ตาม
(โลกวันนี้, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี รายงานจากแฟรงค์เฟิร์ท เมื่อ 4 พ.ย.47
ธ.กลางยุโรป หรือ ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกันในการ
ประชุมเมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงจากราคาน้ำมันซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 55 ในปีนี้ซึ่งทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปีในเดือน ต.ค.47 สูงกว่าเพดานที่ ECB กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี อย่างไร
ก็ดีค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาก็ช่วยให้ราคา
น้ำมันและสินค้านำเข้าสำคัญอื่น ๆ ไม่สูงขึ้นมากนัก แต่ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกซึ่งเป็น
ตัวหลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวก่อนที่การใช้จ่ายในประเทศจะฟื้น
ตัวอย่างมีเสถียรภาพ นักวิเคราะห์คาดว่า ECB จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
4 พ.ย.47 ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอ้างอิงไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อ
กันในการประชุมเมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 นี้ เมื่อเป็นที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
5 ครั้งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาโดยเศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวในอัตราเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน แต่นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน
ก.พ. ปีหน้าโดยขึ้นอยู่กับการประมาณการครั้งใหม่ในด้านเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่ง ธ.กลาง
อังกฤษมีกำหนดจะรายงานอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
3. รายได้จากการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีปี 47 และ 48 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ รายงาน
จากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 ก.คลังของเยอรมนีเปิดเผยว่า ในปี 48 รัฐบาลจะมี
รายได้จากการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 3.4 พันล้านยูโร แต่จะเก็บเพิ่มชดเชยได้บางส่วนจากภาษี
ท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการปฏิรูปตลาดแรงงานทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า
หมายจะสร้างความยุ่งยากให้กับ ก.คลังในการกู้ยืมครั้งใหม่ในปีหน้า จำนวน 22 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม
ก.คลังยังยืนยันถึงเป้าหมายที่จะจัดทำ งปม. แบบขาดดุลในปี 48 ให้ได้ตามข้อตกลงของสหภาพยุโรปที่กำหนดให้
ประเทศสมาชิกจัดทำ งปม. แบบขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจีดีพี และขณะนี้กำลังจัดทำมาตรการในการเพิ่ม
การจัดเก็บรายได้และลดการใช้จ่ายของรัฐในปีหน้า รวมถึงการกระตุ้นให้จีดีพีเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.1
ด้วย ส่วนการจัดเก็บรายได้จากภาษีในปี 47 จะลดลงด้วยเช่นกันประมาณ 2.3 พันล้านยูโร จากที่เคยคาด
การณ์ไว้เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการลดลงของการจัดเก็บรายได้จากภาษีทั้งหมดในระหว่างปี 47-48 จะมี
จำนวนทั้งสิ้น 4.8 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดสถานการณ์อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ลดลงในเดือน ต.ค.47 รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 4 พ.ย.47 Institute of Purchasing Materials Management เปิดเผยว่า The
Purchasing Managers’ Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์อุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ใน
เดือน ต.ค.47 ลดลงเกินความคาดหมาย 1.7 จุดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.5 เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อ
ใหม่ คำสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกและผลผลิตอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การที่ PMI ในเดือน ต.ค.ลดลง มีสาเหตุ
จากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน สรอ. และเป็นการปรับตัวลด
ลงหลังจากที่การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชะลอตัวลงร้อยละ 2.3 ในช่วงไตรมาสที่ 3
ของปีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม PMI ในเดือน ต.ค.ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 และมีการ
เคลื่อนไหวอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 17 เดือน บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ยังขยาย
ตัวอยู่ นอกจากนี้ช่วงเทศกาลคริสมาสต์ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความคาด
หมายว่ายอดคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเกินความคาด
หมายร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา อนึ่ง บรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดหมายว่า อุตสาหกรรมการผลิตของ
สิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 4 ของระบบเศรษฐกิจ และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของ
เศรษฐกิจ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่
ระดับร้อยละ 8-9 ในปี 47 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปีได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 พ.ย. 47 4 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.053 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8961/41.1858 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.75 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 639.13/ 16.38 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,250/8,350 8,250/8,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.07 36.88 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-