= ให้การต้อนรับ
วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวน ๗ คน เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการปฏิบัติงานระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= พิธีเปิดโครงการฝึกอบรม
วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การพัฒนา นักบริหารระดับสูง" รุ่นที่ ๑ โดยมีนางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าว รายงานและมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ระดับ ๘ ที่มีคุณสมบัติจะได้รับ การประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะของสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จำนวน ๖๔ คน การสัมมนาดังกล่าวจัดโดยสำนักพัฒนาบุคลากร ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพฯ
= สัมมนาเตรียมความพร้อม
วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายสุชน ชาลีเครือ ประธาน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเรื่อง "การเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ ในช่วงปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒" โดยมีนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารและข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา การสัมมนาดังกล่าวจัดโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศร่วมกับสำนักพัฒนาบุคลากร ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ ถนนพระราม ๖ กรุงเทพฯ
= โครงการพระราชดำริ (๑๖)
โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติ เป็นโครงการหนึ่งในโครงการธนาคารชุมชน หรือ Food Bank บ้านนาป่าแปก ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
โครงการธนาคารอาหารชุมชน หรือ Food Bank ที่บ้านนาป่าแปก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงตนเองได้ และเหลือจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่สร้างแหล่งอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้คนและสัตว์ได้บริโภค หรือเมื่อเดินเข้าไปในป่าก็สามารถเก็บพืชผัก ตามธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารจากป่าได้ ในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยหรือแหล่งชุมชนก็ส่งเสริมการเพิ่ม ผลผลิตทางด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ การประมง เพื่อบริโภคและจำหน่ายให้มีรายได้
สำหรับโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกโครงการหนึ่งในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อันเนื่อง มาจากทรงห่วงใยพสกนิกรจะประสบปัญหา ไม่มีอาหารประเภทโปรตีนจากสัตว์บริโภคเพียงพอ จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมประมง ร่วมกันดำเนินการจัดหาสถานที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติขึ้น
นายจำนงค์ บุญศิลป์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า ภายหลังจากที่มีพระราชเสาวนีย์ กรมป่าไม้ได้ออกสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม โดยได้เลือกพื้นที่ที่เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยปางตอง ภายในโครงการพระราชดำริปางตอง จำนวนเนื้อที่ ๕๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการ โดยกรมชลประทานจัดเตรียมแหล่งน้ำ กรมประมงสนับสนุนพันธุ์เขียดแลว และเมื่อมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปล่อยพันธุ์เขียดแลวในพื้นที่เพาะเลี้ยง การดำเนินการมาระยะหนึ่งปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คาดว่าอีกสองปีข้างหน้าจะสามารถขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ และส่งเสริมราษฎรเลี้ยงเป็นอาหารและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้
เขียดแลวหรือกบภูเขาเป็นกบขนาดใหญ่ พบได้บริเวณภูเขาสูงของเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณรอยต่อไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย เชียงใหม่ พังงา ตรัง และสตูล พบมากบริเวณป่าชุ่มชื้น ที่มีลำธารไหลผ่าน เขียดแลวเป็นสัตว์เลือดเย็น กระดูกสันหลัง หัวค่อนข้างแหลม ตาโปน ปากกว้าง ผิวหนังสีน้ำตาลแดงสามารถนำมาปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับกบ
การดำเนินโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติ ตามโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นแบบรวบรวมพันธุ์เขียดแลวก่อนที่จะปล่อยให้เขียดแลวอาศัยอยู่ ตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นผลให้ปริมาณของเขียดแลวเพิ่มมากขึ้น และเป็นวิธีการป้องกันเขียดแลวให้พ้นจากภาวะเสี่ยงการสูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลและวัตถุดิบสำคัญในการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับนิเวศวิทยา และองค์ความรู้ต่าง ๆ กับเขียดแล้ว และสามารถพัฒนาเขียดแลวให้มีคุณค่า ทั้งทางด้าน วิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจ ตลอดจนการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่จะได้นำไปเป็นอาหาร และขยายผลไปสู่การเพาะเลี้ยงเพื่อการค้าที่ก่อให้เกิดรายได้ในที่สุด
= พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี ๒๕๔๗
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชทานประจำปี ๒๕๔๗ ของสภาผู้แทนราษฎร ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ในวันอังคารที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา
ในการนี้ จึงขอเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการและลูกจ้าง ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปร่วมในพิธีตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว
กำหนดการ
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๔๗ ของสภาผู้แทนราษฎร
ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
-------------------------------------------------
เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกัน ณ บริเวณหน้า
อาคารรัฐสภา ๑
เวลา ๑๓.๑๐ นาฬิกา - รถออกจากบริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ๑ ไปยังวัดราชนัดดารามวรวิหาร
เวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา - ถึงวัดราชนัดดารามวรวิหาร
- จัดเตรียมตั้งแถวรอรับประธานสภาผู้แทนราษฎร บริเวณทางเข้า
หน้าพระอุโบสถ
เวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา - ประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางมาถึงวัดราชนัดดารามวรวิหาร
เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา - พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ พระอุโบสถวัดราชนัดดารามวรวิหาร
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบของที่ระลึกให้แก่โรงเรียนวัดราชนัดดา
- เสร็จพิธี
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางกลับรัฐสภา
การแต่งกาย เครื่องแบบปกติขาว
= ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่
เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเลือก นายนพดล เฮงเจริญ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ด้วยคะแนน ๑๑๙ เสียง แทน นายสุจิต บุญบงการ ที่หมดวาระ การดำรงตำแหน่งลง ทั้งนี้วุฒิสภาใช้วิธีการลงคะแนนลับกว่า ๑ ชั่วโมง
การลงคะแนนครั้งนี้มีบุคคลได้รับการเสนอชื่อ ๒ คน คือ นายนพดล เฮงเจริญ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ และนายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยในคดีนายกรัฐมนตรียื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ หรือจงใจปกปิดข้อมูลที่ควรแจ้งให้ทราบ ที่มีคุณสมบุติถูกต้องหรือไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม โดยเฉพาะนายสุจิตได้เป็นตุลาการในครั้งนี้เพียงครึ่งวาระจึงสามารถลงสมัครอีกครั้งได้
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีศักยภาพ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทย อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหลายด้าน อาทิ การดำรงตำแหน่งเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นประธานมูลนิธิพัฒนาข้าราชการ เป็นนายกสมาคมข้าราชการพลเรือน แห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นที่ปรึกษาสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น
สำหรับองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๕ ให้มีประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๑ คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก ๑๔ คน รวมเป็น ๑๕ คน ประกอบกับเป็น "ศาลรัฐธรรมนูญ" ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง ๑๕ คน มาจากบุคคล ๔ กลุ่ม ดังนี้คือ
๑. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือก
โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ๕ คน
๒. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ๒ คน
๓. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จำนวน ๕ คน
๔. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จำนวน ๓ คน
วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวน ๗ คน เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการปฏิบัติงานระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= พิธีเปิดโครงการฝึกอบรม
วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การพัฒนา นักบริหารระดับสูง" รุ่นที่ ๑ โดยมีนางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าว รายงานและมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ระดับ ๘ ที่มีคุณสมบัติจะได้รับ การประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะของสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จำนวน ๖๔ คน การสัมมนาดังกล่าวจัดโดยสำนักพัฒนาบุคลากร ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพฯ
= สัมมนาเตรียมความพร้อม
วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายสุชน ชาลีเครือ ประธาน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเรื่อง "การเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ ในช่วงปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒" โดยมีนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารและข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา การสัมมนาดังกล่าวจัดโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศร่วมกับสำนักพัฒนาบุคลากร ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ ถนนพระราม ๖ กรุงเทพฯ
= โครงการพระราชดำริ (๑๖)
โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติ เป็นโครงการหนึ่งในโครงการธนาคารชุมชน หรือ Food Bank บ้านนาป่าแปก ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
โครงการธนาคารอาหารชุมชน หรือ Food Bank ที่บ้านนาป่าแปก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงตนเองได้ และเหลือจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่สร้างแหล่งอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้คนและสัตว์ได้บริโภค หรือเมื่อเดินเข้าไปในป่าก็สามารถเก็บพืชผัก ตามธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารจากป่าได้ ในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยหรือแหล่งชุมชนก็ส่งเสริมการเพิ่ม ผลผลิตทางด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ การประมง เพื่อบริโภคและจำหน่ายให้มีรายได้
สำหรับโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกโครงการหนึ่งในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อันเนื่อง มาจากทรงห่วงใยพสกนิกรจะประสบปัญหา ไม่มีอาหารประเภทโปรตีนจากสัตว์บริโภคเพียงพอ จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมประมง ร่วมกันดำเนินการจัดหาสถานที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติขึ้น
นายจำนงค์ บุญศิลป์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า ภายหลังจากที่มีพระราชเสาวนีย์ กรมป่าไม้ได้ออกสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม โดยได้เลือกพื้นที่ที่เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยปางตอง ภายในโครงการพระราชดำริปางตอง จำนวนเนื้อที่ ๕๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการ โดยกรมชลประทานจัดเตรียมแหล่งน้ำ กรมประมงสนับสนุนพันธุ์เขียดแลว และเมื่อมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปล่อยพันธุ์เขียดแลวในพื้นที่เพาะเลี้ยง การดำเนินการมาระยะหนึ่งปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คาดว่าอีกสองปีข้างหน้าจะสามารถขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ และส่งเสริมราษฎรเลี้ยงเป็นอาหารและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้
เขียดแลวหรือกบภูเขาเป็นกบขนาดใหญ่ พบได้บริเวณภูเขาสูงของเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณรอยต่อไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย เชียงใหม่ พังงา ตรัง และสตูล พบมากบริเวณป่าชุ่มชื้น ที่มีลำธารไหลผ่าน เขียดแลวเป็นสัตว์เลือดเย็น กระดูกสันหลัง หัวค่อนข้างแหลม ตาโปน ปากกว้าง ผิวหนังสีน้ำตาลแดงสามารถนำมาปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับกบ
การดำเนินโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เขียดแลวแบบธรรมชาติ ตามโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นแบบรวบรวมพันธุ์เขียดแลวก่อนที่จะปล่อยให้เขียดแลวอาศัยอยู่ ตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นผลให้ปริมาณของเขียดแลวเพิ่มมากขึ้น และเป็นวิธีการป้องกันเขียดแลวให้พ้นจากภาวะเสี่ยงการสูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลและวัตถุดิบสำคัญในการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับนิเวศวิทยา และองค์ความรู้ต่าง ๆ กับเขียดแล้ว และสามารถพัฒนาเขียดแลวให้มีคุณค่า ทั้งทางด้าน วิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจ ตลอดจนการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่จะได้นำไปเป็นอาหาร และขยายผลไปสู่การเพาะเลี้ยงเพื่อการค้าที่ก่อให้เกิดรายได้ในที่สุด
= พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี ๒๕๔๗
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชทานประจำปี ๒๕๔๗ ของสภาผู้แทนราษฎร ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ในวันอังคารที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา
ในการนี้ จึงขอเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการและลูกจ้าง ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปร่วมในพิธีตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว
กำหนดการ
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๔๗ ของสภาผู้แทนราษฎร
ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
-------------------------------------------------
เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกัน ณ บริเวณหน้า
อาคารรัฐสภา ๑
เวลา ๑๓.๑๐ นาฬิกา - รถออกจากบริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ๑ ไปยังวัดราชนัดดารามวรวิหาร
เวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา - ถึงวัดราชนัดดารามวรวิหาร
- จัดเตรียมตั้งแถวรอรับประธานสภาผู้แทนราษฎร บริเวณทางเข้า
หน้าพระอุโบสถ
เวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา - ประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางมาถึงวัดราชนัดดารามวรวิหาร
เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา - พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ พระอุโบสถวัดราชนัดดารามวรวิหาร
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบของที่ระลึกให้แก่โรงเรียนวัดราชนัดดา
- เสร็จพิธี
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางกลับรัฐสภา
การแต่งกาย เครื่องแบบปกติขาว
= ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่
เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเลือก นายนพดล เฮงเจริญ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ด้วยคะแนน ๑๑๙ เสียง แทน นายสุจิต บุญบงการ ที่หมดวาระ การดำรงตำแหน่งลง ทั้งนี้วุฒิสภาใช้วิธีการลงคะแนนลับกว่า ๑ ชั่วโมง
การลงคะแนนครั้งนี้มีบุคคลได้รับการเสนอชื่อ ๒ คน คือ นายนพดล เฮงเจริญ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ และนายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยในคดีนายกรัฐมนตรียื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ หรือจงใจปกปิดข้อมูลที่ควรแจ้งให้ทราบ ที่มีคุณสมบุติถูกต้องหรือไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม โดยเฉพาะนายสุจิตได้เป็นตุลาการในครั้งนี้เพียงครึ่งวาระจึงสามารถลงสมัครอีกครั้งได้
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีศักยภาพ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทย อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหลายด้าน อาทิ การดำรงตำแหน่งเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นประธานมูลนิธิพัฒนาข้าราชการ เป็นนายกสมาคมข้าราชการพลเรือน แห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นที่ปรึกษาสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น
สำหรับองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๕ ให้มีประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๑ คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก ๑๔ คน รวมเป็น ๑๕ คน ประกอบกับเป็น "ศาลรัฐธรรมนูญ" ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง ๑๕ คน มาจากบุคคล ๔ กลุ่ม ดังนี้คือ
๑. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือก
โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ๕ คน
๒. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ๒ คน
๓. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จำนวน ๕ คน
๔. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จำนวน ๓ คน