บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๐๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๘
ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและ
ขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๓
ประจำปี ๒๕๔๔ และประจำปี ๒๕๔๕
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
วันพุธที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน ให้ขยายเวลา
นับแต่วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๔
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. และ
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ได้มีสมาชิกฯ ปรึกษาให้นำ
เรื่องขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา กรณีประธานอนุกรรมการไต่สวนของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรียกตัว นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกกล่าวหาไปพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา
ในระหว่างสมัยประชุม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๕
ออกจากระเบียบวาระการประชุม
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอ
ให้ที่ประชุมถอนเรื่องนี้ออกจากระเบียบวาระการประชุม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุม
รับรองรายงานการประชุมผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ จำนวน ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒ (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๔)
๒. การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๓. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะกรรมาธิการ
ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๔)
๗. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๘. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การขอพระราชทานอภัยโทษ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ๒. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๓. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ ๔. นายสงวน พงษ์มณี
๕. นายปกิต พัฒนกุล ๖. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
๙. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๑๐. นายสืบแสง พรหมบุญ
๑๑. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๒. การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
เนื่องจากการพิจารณาระเบียบวาระนี้จะมีการอภิปรายถึงประวัติของบุคคล
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อให้ดำเนินการ
ประชุมลับ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ ที่ประชุมได้ลงมติ
เลือกบุคคลซึ่งสมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวน ๒ คน เพื่อเสนอต่อ
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีรายชื่อตามลำดับอักษร ดังนี้
๑. นายปราโมทย์ โชติมงคล
๒. พลตำรวจโท มงคล กมลบุตร
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมโดยเปิดเผยและ
เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติในลำดับถัดไป คือ
๓. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้น
ด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบใน
วาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วย
กับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒ ทีละฉบับ
ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และ
ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภา
พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รองประธานสภาผู้แทน
ราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
๗. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายประเสริฐศิริ สุขะวัธนกุล ๒. นายสมศักดิ์ ห่มม่วง
๓. นายสอนชัย สิราริยกุล ๔. นายสุรพงษ์ รงศิริกุล
๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๖. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์
๗. พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ ๘. นายอารักษ์ ไชยริปู
๙. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๐. นายเดชบุญ มาประเสริฐ
๑๑. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๒. นายภาคิน สมมิตร
๑๓. เรืออากาศโท อุดม ประสิทธิ์ ๑๔. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๗. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๑๘. นายจำรัส เวียงสงค์
๑๙. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๒๐. นายไพจิต ศรีวรขาน
๒๑. นายประคัลภ์ ฤทธิ์ลอย ๒๒. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา
๒๓. พลเรือตรี คงวัฒน์ นีละศรี ๒๔. พันตำรวจเอก เลิศชาย ถิ่นรัตน์
๒๕. นายสุวิทย์ รัตนจินดา ๒๖. นายสาธิต อุไรเวโรจนากร
๒๗. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๒๘. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๒๙. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ๓๐. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๓๑. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล ๓๒. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๓๓. นายบุญส่ง ไข่เกษ ๓๔. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
๓๕. นายวิชิต แย้มบุญเรือง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่ง
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการการปกครองเป็นผู้พิจารณา กำหนดการ
แปรญัตติภายใน ๗ วัน
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การขอพระราชทานอภัยโทษ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายนัทธี จิตสว่าง ๒. นายอัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๓. นายชลิต ประจงกิจ ๔. นางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค แก้วทิพย์
๕. นายสุชิน ดำกระเด็น ๖. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์
๗. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๘. นายประแสง มงคลศิริ
๙. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๑๐. นายปกิต พัฒนกุล
๑๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๓. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๑๖. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
๑๗. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ๑๘. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
๑๙. นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล ๒๐. นายชัยยุทธ จรรย์โกมล
๒๑. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๒. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๓. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๔. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๒๕. นายกมล บันไดเพชร ๒๖. นายนิพนธ์ สาธิตสมิตพงษ์
๒๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๘. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๒๙. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๓๐. นายเจือ ราชสีห์
๓๑. นางผุสดี ตามไท ๓๒. นายอภิชาต การิกาญจน์
๓๓. นายวิทยา แก้วภราดัย ๓๔. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
๓๕. นายชัยวัฒน์ พสกภักดี
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
(นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การขอพระราชทานอภัยโทษ)
*******************************
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๐๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๘
ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและ
ขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๓
ประจำปี ๒๕๔๔ และประจำปี ๒๕๔๕
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
วันพุธที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน ให้ขยายเวลา
นับแต่วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๔
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. และ
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ได้มีสมาชิกฯ ปรึกษาให้นำ
เรื่องขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา กรณีประธานอนุกรรมการไต่สวนของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรียกตัว นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกกล่าวหาไปพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา
ในระหว่างสมัยประชุม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๕
ออกจากระเบียบวาระการประชุม
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอ
ให้ที่ประชุมถอนเรื่องนี้ออกจากระเบียบวาระการประชุม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุม
รับรองรายงานการประชุมผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ จำนวน ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒ (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๔)
๒. การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๓. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะกรรมาธิการ
ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๔)
๗. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๘. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การขอพระราชทานอภัยโทษ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ๒. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๓. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ ๔. นายสงวน พงษ์มณี
๕. นายปกิต พัฒนกุล ๖. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
๙. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๑๐. นายสืบแสง พรหมบุญ
๑๑. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๒. การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
เนื่องจากการพิจารณาระเบียบวาระนี้จะมีการอภิปรายถึงประวัติของบุคคล
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อให้ดำเนินการ
ประชุมลับ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ ที่ประชุมได้ลงมติ
เลือกบุคคลซึ่งสมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวน ๒ คน เพื่อเสนอต่อ
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีรายชื่อตามลำดับอักษร ดังนี้
๑. นายปราโมทย์ โชติมงคล
๒. พลตำรวจโท มงคล กมลบุตร
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมโดยเปิดเผยและ
เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติในลำดับถัดไป คือ
๓. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๘)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้น
ด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบใน
วาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๔. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๗)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วย
กับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
๕. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒ ทีละฉบับ
ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และ
ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภา
พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รองประธานสภาผู้แทน
ราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
๗. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายประเสริฐศิริ สุขะวัธนกุล ๒. นายสมศักดิ์ ห่มม่วง
๓. นายสอนชัย สิราริยกุล ๔. นายสุรพงษ์ รงศิริกุล
๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๖. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์
๗. พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ ๘. นายอารักษ์ ไชยริปู
๙. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๐. นายเดชบุญ มาประเสริฐ
๑๑. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๒. นายภาคิน สมมิตร
๑๓. เรืออากาศโท อุดม ประสิทธิ์ ๑๔. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๗. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๑๘. นายจำรัส เวียงสงค์
๑๙. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๒๐. นายไพจิต ศรีวรขาน
๒๑. นายประคัลภ์ ฤทธิ์ลอย ๒๒. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา
๒๓. พลเรือตรี คงวัฒน์ นีละศรี ๒๔. พันตำรวจเอก เลิศชาย ถิ่นรัตน์
๒๕. นายสุวิทย์ รัตนจินดา ๒๖. นายสาธิต อุไรเวโรจนากร
๒๗. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๒๘. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๒๙. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ๓๐. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๓๑. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล ๓๒. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๓๓. นายบุญส่ง ไข่เกษ ๓๔. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
๓๕. นายวิชิต แย้มบุญเรือง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่ง
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะกรรมาธิการการปกครองเป็นผู้พิจารณา กำหนดการ
แปรญัตติภายใน ๗ วัน
๙. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การขอพระราชทานอภัยโทษ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายนัทธี จิตสว่าง ๒. นายอัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๓. นายชลิต ประจงกิจ ๔. นางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค แก้วทิพย์
๕. นายสุชิน ดำกระเด็น ๖. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์
๗. นายภิมุข สิมะโรจน์ ๘. นายประแสง มงคลศิริ
๙. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๑๐. นายปกิต พัฒนกุล
๑๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๓. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ ๑๖. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
๑๗. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ๑๘. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
๑๙. นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล ๒๐. นายชัยยุทธ จรรย์โกมล
๒๑. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๒. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๓. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๒๔. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๒๕. นายกมล บันไดเพชร ๒๖. นายนิพนธ์ สาธิตสมิตพงษ์
๒๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๘. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๒๙. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๓๐. นายเจือ ราชสีห์
๓๑. นางผุสดี ตามไท ๓๒. นายอภิชาต การิกาญจน์
๓๓. นายวิทยา แก้วภราดัย ๓๔. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
๓๕. นายชัยวัฒน์ พสกภักดี
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
(นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การขอพระราชทานอภัยโทษ)
*******************************