1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
โครงการแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในทะเลหรือซีฟู้ดส์แบงค์ นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า โครงการแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในทะเลหรือซีฟู้ดส์แบงค์ ตามนโยบายของรัฐบาล เริ่มต้นวันที่ 1 พ.ย. 47 อย่างเป็นทางการ ในการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรกลุ่มชาวประมงที่ไม่มีพื้นที่ประมงชายฝั่งทำกิน และพัฒนาฐานการผลิตอาหารทะเลของประเทศแหล่งใหม่ขึ้นทดแทนจากธรรมชาติ โดยโครงการจะสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีช่องทางการตลาดดี สามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงได้ ประกอบด้วยสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ปลาเก๋า ปลากะพง หอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม ซึ่งเดิมมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าว คิดเป็นพื้นที่ 1.3 แสนไร่ และมีพื้นที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงอีกประมาณ 1.5 แสนไร่ รวมประมาณ 2.84 แสนไร่ มีเป้าหมายดำเนินการ 4 ปี(2548-2551) เดือนธันวาคมนี้จะสามารถจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่น้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงให้แก่เกษตรกรจำนวน 1,000 ราย
ในปี 2548 จะดำเนินการจัดสรรพื้นที่และรับรองสิทธิการเพาะเลี้ยงให้เกษตรกรอีก 12,000 ราย โดยเกษตรกรจะมีรายได้ต่อครัวเรือนเดือนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำให้เกษตรกรในกลุ่มประมงมีรายได้และมีอาชีพที่มั่นคงขั้นต่ำประมาณปีละ 12,000 ล้านบาท
การดำเนินโครงการดังกล่าว กรมประมงจะจัดการฝึกอบรมเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงชายฝั่งตามกระบวนการความปลอดภัยด้านอาหารหรือ Food Safety ในระบบ GAP และ CoC ให้ทุกรายก่อนได้รับเอกสารสิทธิ จัดทำระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานฟาร์มสำหรับชาวประมง รวมทั้งจัดระบบ Contract Farming เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนในลักษณะการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยจะคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 107,000 ราย จากประชาชนที่ขึ้นทะเบียนคนจน
สำหรับหลักการจัดสรรพื้นที่การเลี้ยงให้กับเกษตรกรนั้น หากเป็นการเลี้ยงปลาในกระชัง จัดสรรให้รายละไม่เกิน 2 ไร่ การเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ รายละไม่เกิน 5 ไร่ การเพาะเลี้ยงหอยแครงรายละ 10 ไร่ เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม ประเภทของสัตว์น้ำและความคุ้มค่ากับการลงทุน
สำหรับด้านการตลาดได้มอบหมายให้องค์การสะพานปลา(อสป.) เข้าไปดำเนินการ โดยจะมีการตั้งบริษัทลูก เพื่อบริหารโครงการในส่วนที่ทำสัญญา(Contract Farming) กับกลุ่มประชาชนเป้าหมายให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิต รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร รวมถึงการจัดทำตลาดซื้อขายล่วงหน้า ระบบประกันราคา เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13 - 19 ต.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,239.15 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 652.01 ตัน สัตว์น้ำจืด 587.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.40 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.59 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 85.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.10 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.56 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.58
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 205.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 203.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 207.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.85 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1 - 5 พ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2547--
-พห-
การผลิต
โครงการแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในทะเลหรือซีฟู้ดส์แบงค์ นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า โครงการแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในทะเลหรือซีฟู้ดส์แบงค์ ตามนโยบายของรัฐบาล เริ่มต้นวันที่ 1 พ.ย. 47 อย่างเป็นทางการ ในการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรกลุ่มชาวประมงที่ไม่มีพื้นที่ประมงชายฝั่งทำกิน และพัฒนาฐานการผลิตอาหารทะเลของประเทศแหล่งใหม่ขึ้นทดแทนจากธรรมชาติ โดยโครงการจะสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีช่องทางการตลาดดี สามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงได้ ประกอบด้วยสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ปลาเก๋า ปลากะพง หอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม ซึ่งเดิมมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าว คิดเป็นพื้นที่ 1.3 แสนไร่ และมีพื้นที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงอีกประมาณ 1.5 แสนไร่ รวมประมาณ 2.84 แสนไร่ มีเป้าหมายดำเนินการ 4 ปี(2548-2551) เดือนธันวาคมนี้จะสามารถจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่น้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงให้แก่เกษตรกรจำนวน 1,000 ราย
ในปี 2548 จะดำเนินการจัดสรรพื้นที่และรับรองสิทธิการเพาะเลี้ยงให้เกษตรกรอีก 12,000 ราย โดยเกษตรกรจะมีรายได้ต่อครัวเรือนเดือนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำให้เกษตรกรในกลุ่มประมงมีรายได้และมีอาชีพที่มั่นคงขั้นต่ำประมาณปีละ 12,000 ล้านบาท
การดำเนินโครงการดังกล่าว กรมประมงจะจัดการฝึกอบรมเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงชายฝั่งตามกระบวนการความปลอดภัยด้านอาหารหรือ Food Safety ในระบบ GAP และ CoC ให้ทุกรายก่อนได้รับเอกสารสิทธิ จัดทำระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานฟาร์มสำหรับชาวประมง รวมทั้งจัดระบบ Contract Farming เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนในลักษณะการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยจะคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 107,000 ราย จากประชาชนที่ขึ้นทะเบียนคนจน
สำหรับหลักการจัดสรรพื้นที่การเลี้ยงให้กับเกษตรกรนั้น หากเป็นการเลี้ยงปลาในกระชัง จัดสรรให้รายละไม่เกิน 2 ไร่ การเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ รายละไม่เกิน 5 ไร่ การเพาะเลี้ยงหอยแครงรายละ 10 ไร่ เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม ประเภทของสัตว์น้ำและความคุ้มค่ากับการลงทุน
สำหรับด้านการตลาดได้มอบหมายให้องค์การสะพานปลา(อสป.) เข้าไปดำเนินการ โดยจะมีการตั้งบริษัทลูก เพื่อบริหารโครงการในส่วนที่ทำสัญญา(Contract Farming) กับกลุ่มประชาชนเป้าหมายให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิต รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร รวมถึงการจัดทำตลาดซื้อขายล่วงหน้า ระบบประกันราคา เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13 - 19 ต.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,239.15 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 652.01 ตัน สัตว์น้ำจืด 587.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.40 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.09 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.59 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 85.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.10 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.56 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.58
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 205.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 203.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 207.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.85 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1 - 5 พ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2547--
-พห-