กรุงเทพ--9 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำแปลประกอบคำบรรยายของ ฯพณฯ องคมนตรี นายอำพล เสนาณรงค์ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีในหัวข้อทางเลือกในการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ในวันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2547
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาอยู่ ณ ที่ประชุมแห่งนี้เพื่อกล่าวคำบรรยายเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีบางศูนย์ฯ ที่ท่านผู้มีเกียรติจะได้เดินทางไปเยี่ยมชมต่อไป
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากว่า 25 ปีแล้ว ก่อนวิกฤติทางเศรษฐกิจในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 มีใจความตอนหนึ่งว่า
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจนั้นสูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยาก ล้มเหลวในที่สุด…”
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ขยายความเพิ่มเติมในพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2517 มีใจความว่า “คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่ ‘เราอยู่พอมีพอกิน’ และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงาน ตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้…”
จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จะพบว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญถึงแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อพร้อมรับต่อความเสี่ยงบนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และคุณธรรม การใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการ ควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือปรองดองกันในสังคม จะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์พลังในทางบวก นำไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
เป็นที่แน่ชัดว่า วิกฤตจากภายนอกในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในทุกระดับชั้น เพราะขาด “ภูมิคุ้มกัน” ในการป้องกันตนเอง ผู้คนลงทุนในลักษณะที่เกินความพอดี ในขณะที่ยังไม่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างมั่นคง ดังพระราชดำรัสที่ว่า
“…การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง…”
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับที่สามารถพึ่งพา ตนเองได้ และพัฒนาความสามารถนี้ไปสู่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป ในการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับประชาชนให้มีความพออยู่พอกิน และ พึ่งพาตนเองได้ก่อน
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนกระทั่งการพัฒนาประเทศ ครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยต้องยึดหลักการดังนี้
ในระดับปัจเจกบุคคล แต่ละบุคคลจะต้องมีสติในการดำรงชีวิต ตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี คือ ดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวอย่างพอมีพอกิน โดยไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น และแบ่งปันส่วนที่เหลือไปยังสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชนในระดับชุมชน จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถนำเทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากมาพัฒนาชุมชนได้อย่างเหมาะสม
ในระดับประเทศ จะต้องสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นองค์รวม เพื่อความสมดุลโดยจะต้องพิจารณาในส่วนของทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากร ในการส่งเสริมการค้าการผลิต จะต้องมีการพิจารณาศักยภาพภายในประเทศว่า ควรจะต้องส่งเสริมการผลิตสินค้าชนิดใด โดยจะต้องผลิตให้ได้พอเพียงกับความต้องการภายในประเทศเสียก่อน แล้วค่อยส่งไปขายต่างประเทศ ในการบริหารจัดการควรให้เกิดความเสี่ยงต่ำ คือไม่ลงทุนจนเกินตัว เพราะจะส่งผลให้เกิดการก่อหนี้ จะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ มุ่งพัฒนาทุนทางสังคม เช่น ระบบการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศ โดยคำนึงถึงความประหยัดและเรียบง่าย ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยึดหลักสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน
ในระยะแรกของการเสด็จขึ้นครองราชย์คือระหว่างปี 2489 — 2522
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ผลการศึกษาวิจัยและข้อมูลด้านการพัฒนาจากสถานีและศูนย์วิจัยของรัฐบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่หลากหลายสาขาวิชา ในขณะนั้นเกษตรกรประสบความลำบากในการเข้าถึงข้อมูลและเทคนิควิชาการ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2522 ตามมาด้วยพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯอีก 5 ศูนย์ทั่วประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริก็คือเพื่อพัฒนามาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ด้วยวิธีการพัฒนาและปรับปรุงบำรุงดิน การพัฒนาทรัพยากรน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ และการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ดำเนินการไปได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำหน้าที่เป็น “ต้นแบบของสำเร็จ” ซึ่งถ่ายทอดความรู้จากศูนย์หรือสถานีวิจัยของรัฐบาล จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ และจากผลการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เอง ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ปฏิบัติตามศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริยังทำหน้าที่เป็นสถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา และประชาชน ซึ่งจะเข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาและสาธิตที่นำเสนอในรูปแบบของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ประชาชนจะสามารถศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ ได้ในที่เดียวกันและในเวลาเดียวกัน กล่าวคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
ในด้านการบริหารจัดการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างส่วนราชการ เป็นการประสานงาน ประสานแผน และการจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงจัดได้ว่าเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ของระบบราชการไทย
ปัจจุบัน มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 6 ศูนย์ ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละศูนย์เป็นตัวแทนของปัญหาด้านภูมิประเทศและลักษณะเฉพาะของแต่ละภูมิภาค ดังนี้
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในภาคกลาง
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่างคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 ที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคกลาง
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งอยู่ในภาคใต้
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงหนือ
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาคกลาง
เนื่องจากกำหนดการเดินทางมีเวลาจำกัด ทางคณะของท่านรัฐมนตรีจะได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพียงแค่ 4 ศูนย์ฯ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ในภาคกลาง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ในภาคเหนือ และในวันสุดท้าย หากมีเวลาเหลือในระหว่างรอการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทั้งหลายอาจจะได้มีโอกาสเยี่ยมบ้านของเกษตรกรตัวอย่างของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ซึ่งอยู่ในภาคกลางเช่นกัน
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีและสามารถปฏิบัติได้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแนะเป็นแนวทางสำหรับการเกษตรครั้งแรกเมื่อปี 2535 เป็นรูปแบบการพัฒนาที่เป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการปูพื้นฐานที่มั่นคงในระดับครอบครัว เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ประชาชนสามารถร่วมมือกันในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะในรูปของกลุ่ม ชุมชม หรือวิสาหกิจชุมชน เป้าหมายก็คือเพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากภายนอก และเพื่อสร้างเครือข่ายกับธุรกิจขนาดใหญ่ ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ โดยผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นก็คือการขยายรูปแบบความร่วมมือในระดับชาติ
หลักการของทฤษฎีใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความพอเพียงในระดับครัวเรือน หรือการพึ่งตนเอง
ขั้นที่ 2 ความพอเพียงในระดับชุมชน หรือความร่วมมือในหมู่เกษตรกร
ขั้นที่ 3 ความพอเพียงในระดับชาติ หรือความร่วมมือระหว่างสหกรณ์กับนักลงทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ท่านรัฐมนตรีและผู้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ และเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงแค่เพียงขั้นที่ 1 ของทฤษฎีใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นขั้นที่สำคัญที่สุด เพื่อให้การเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ประสบความสำเร็จ มีสมมุติฐาน ดังนี้
1. การปฏิบัติเหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย ที่ครอบครองที่ดินทำกินน้อยกว่า 15 ไร่
2. การปฏิบัติเหมาะสมกับพื้นที่ในเขตรับน้ำฝน
3. คุณลักษณะของดินเหมาะสมกับการเก็บกักน้ำ
4. จำนวนเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนคือ 5 ถึง 6 คน
5. วัตถุประสงค์สำคัญคือการพึ่งพาตนเอง และความพอเพียง ไม่ใช่เพื่อการค้า
6. การปฏิบัติต้องอาศัยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเกษตรกร เพื่อทำงานด้วยกันและช่วยเหลือกัน
ในการจัดการที่ดิน ดิน น้ำ และแรงงานในพื้นที่ พื้นที่ของเกษตรกรควรแบ่งเป็น 4 ส่วนตามอัตราส่วน คือ 30 : 30 : 30 : 10
ส่วนแรก ร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ให้ขุดเป็นสระเพื่อเก็บกักน้ำฝนส่วนเกิน ซึ่งจะสามารถนำมาใช้เสริมการอุปโภคบริโภคในช่วงแล้งและใช้ปลูกพืชฤดูแล้งได้ หากมีปริมาณน้ำเพียงพอ ขนาดของสระน้ำ ซึ่งรวมถึงความกว้าง ความยาว และความลึก สามารถปรับเปลี่ยนได้ ในเขตพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนมากและในพื้นที่ที่มีน้ำเสริมจากระบบชลประทาน ขนาดของสระอาจจะน้อยกว่าร้อยละ 30 โดยที่หญ้าแฝกสามารถปลูกตามขอบสระเป็นพืชปกคลุมดินได้
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวในฤดูฝน ซึ่งจะให้ผลผลิตเพียงพอสำหรับการบริโภคของทั้งครอบครัวในแต่ละวันตลอดทั้งปี โดยทั้งนี้ มีวิธีการคำนวณเบื้องต้น คือ
ขนาดพื้นที่ 4.5 ไร่ x จำนวน 320 กิโลกรัม = 1,440.00 กิโลกรัม
6 x 200 กิโลกรัมต่อคน = 1,200.00 กิโลกรัม
ผลผลิตส่วนเกินจะสามารถนำไปขายได้ ครอบครัวจะเลี้ยงตนเองได้และมีความมั่นคงด้านอาหาร
ส่วนที่สาม ประมาณร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ใช้ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เพื่อเป็นอาหาร เพื่อเสริมรายได้ เพื่อเป็นยา และเพื่อเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ชนิดและรูปแบบการเพาะปลูกอาจจะเปลี่ยนไปตามสถานที่และฤดูกาล ตามความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ
ส่วนที่สี่ ส่วนสุดท้าย ประมาณร้อยละ 10 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 1.5 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวนครัว เลี้ยงสัตว์ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงสัตว์และการประมงนั้น แม้ว่ากิจกรรมหลักของการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่จะเน้นการปลูกพืชเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและเสริมรายได้ ที่ดินและแรงงานอาจจะนำไปใช้ในการขยายขอบเขตของกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์และการเลี้ยงปลาได้ โดยที่จะต้องคัดเลือกพันธุ์สัตว์และพันธุ์ปลาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มปริมาณอาหารและรายได้เท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่อย่างเป็นทางการในปี 2539 และตามด้วยปี 2540 ในขณะที่ประเทศชาติกำลังประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดผลตามมาคือการล่มสลายของสถาบันการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และโรงงานอุตสาหกรรม แรงงานถูกไล่ออกและต้องเดินทางกลับต่างจังหวัด รัฐบาลจึงรับแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งในขณะนี้มีแปลงการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่สาธิตและดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ และมีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จนับหลายหมื่นคนแล้ว
ในระหว่างการศึกษาดูงาน ท่านรัฐมนตรีและแขกผู้มีเกียรติ จะได้มีโอกาสเยี่ยมชมแปลงทฤษฎีใหม่ ทั้งที่ดำเนินการที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและที่แปลงของเกษตรกรด้วย
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าการบรรยายนี้จะเป็นประโยชน์และคุ้มค่าแก่เวลาของท่าน ข้าพเจ้าขอเชิญชวนท่านรัฐมนตรีและผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมในการประชุมทุกท่านดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประกันความสุขที่แท้จริงตลอดไป นอกจากนี้ข้าพเจ้าขออวยพรให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และขออวยพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขและโชคดีตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำแปลประกอบคำบรรยายของ ฯพณฯ องคมนตรี นายอำพล เสนาณรงค์ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีในหัวข้อทางเลือกในการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ในวันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2547
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาอยู่ ณ ที่ประชุมแห่งนี้เพื่อกล่าวคำบรรยายเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีบางศูนย์ฯ ที่ท่านผู้มีเกียรติจะได้เดินทางไปเยี่ยมชมต่อไป
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากว่า 25 ปีแล้ว ก่อนวิกฤติทางเศรษฐกิจในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 มีใจความตอนหนึ่งว่า
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจนั้นสูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยาก ล้มเหลวในที่สุด…”
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ขยายความเพิ่มเติมในพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2517 มีใจความว่า “คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่ ‘เราอยู่พอมีพอกิน’ และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงาน ตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้…”
จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จะพบว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญถึงแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อพร้อมรับต่อความเสี่ยงบนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และคุณธรรม การใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการ ควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือปรองดองกันในสังคม จะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์พลังในทางบวก นำไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
เป็นที่แน่ชัดว่า วิกฤตจากภายนอกในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในทุกระดับชั้น เพราะขาด “ภูมิคุ้มกัน” ในการป้องกันตนเอง ผู้คนลงทุนในลักษณะที่เกินความพอดี ในขณะที่ยังไม่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างมั่นคง ดังพระราชดำรัสที่ว่า
“…การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง…”
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับที่สามารถพึ่งพา ตนเองได้ และพัฒนาความสามารถนี้ไปสู่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป ในการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับประชาชนให้มีความพออยู่พอกิน และ พึ่งพาตนเองได้ก่อน
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนกระทั่งการพัฒนาประเทศ ครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยต้องยึดหลักการดังนี้
ในระดับปัจเจกบุคคล แต่ละบุคคลจะต้องมีสติในการดำรงชีวิต ตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี คือ ดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวอย่างพอมีพอกิน โดยไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น และแบ่งปันส่วนที่เหลือไปยังสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชนในระดับชุมชน จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถนำเทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากมาพัฒนาชุมชนได้อย่างเหมาะสม
ในระดับประเทศ จะต้องสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นองค์รวม เพื่อความสมดุลโดยจะต้องพิจารณาในส่วนของทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากร ในการส่งเสริมการค้าการผลิต จะต้องมีการพิจารณาศักยภาพภายในประเทศว่า ควรจะต้องส่งเสริมการผลิตสินค้าชนิดใด โดยจะต้องผลิตให้ได้พอเพียงกับความต้องการภายในประเทศเสียก่อน แล้วค่อยส่งไปขายต่างประเทศ ในการบริหารจัดการควรให้เกิดความเสี่ยงต่ำ คือไม่ลงทุนจนเกินตัว เพราะจะส่งผลให้เกิดการก่อหนี้ จะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ มุ่งพัฒนาทุนทางสังคม เช่น ระบบการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศ โดยคำนึงถึงความประหยัดและเรียบง่าย ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยึดหลักสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน
ในระยะแรกของการเสด็จขึ้นครองราชย์คือระหว่างปี 2489 — 2522
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ผลการศึกษาวิจัยและข้อมูลด้านการพัฒนาจากสถานีและศูนย์วิจัยของรัฐบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่หลากหลายสาขาวิชา ในขณะนั้นเกษตรกรประสบความลำบากในการเข้าถึงข้อมูลและเทคนิควิชาการ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2522 ตามมาด้วยพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯอีก 5 ศูนย์ทั่วประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริก็คือเพื่อพัฒนามาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ด้วยวิธีการพัฒนาและปรับปรุงบำรุงดิน การพัฒนาทรัพยากรน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ และการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ดำเนินการไปได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำหน้าที่เป็น “ต้นแบบของสำเร็จ” ซึ่งถ่ายทอดความรู้จากศูนย์หรือสถานีวิจัยของรัฐบาล จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ และจากผลการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เอง ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ปฏิบัติตามศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริยังทำหน้าที่เป็นสถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา และประชาชน ซึ่งจะเข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาและสาธิตที่นำเสนอในรูปแบบของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ประชาชนจะสามารถศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ ได้ในที่เดียวกันและในเวลาเดียวกัน กล่าวคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
ในด้านการบริหารจัดการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างส่วนราชการ เป็นการประสานงาน ประสานแผน และการจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงจัดได้ว่าเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ของระบบราชการไทย
ปัจจุบัน มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 6 ศูนย์ ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละศูนย์เป็นตัวแทนของปัญหาด้านภูมิประเทศและลักษณะเฉพาะของแต่ละภูมิภาค ดังนี้
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในภาคกลาง
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่างคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 ที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคกลาง
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งอยู่ในภาคใต้
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงหนือ
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาคกลาง
เนื่องจากกำหนดการเดินทางมีเวลาจำกัด ทางคณะของท่านรัฐมนตรีจะได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพียงแค่ 4 ศูนย์ฯ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ในภาคกลาง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ในภาคเหนือ และในวันสุดท้าย หากมีเวลาเหลือในระหว่างรอการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทั้งหลายอาจจะได้มีโอกาสเยี่ยมบ้านของเกษตรกรตัวอย่างของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ซึ่งอยู่ในภาคกลางเช่นกัน
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีและสามารถปฏิบัติได้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแนะเป็นแนวทางสำหรับการเกษตรครั้งแรกเมื่อปี 2535 เป็นรูปแบบการพัฒนาที่เป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการปูพื้นฐานที่มั่นคงในระดับครอบครัว เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ประชาชนสามารถร่วมมือกันในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะในรูปของกลุ่ม ชุมชม หรือวิสาหกิจชุมชน เป้าหมายก็คือเพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากภายนอก และเพื่อสร้างเครือข่ายกับธุรกิจขนาดใหญ่ ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ โดยผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นก็คือการขยายรูปแบบความร่วมมือในระดับชาติ
หลักการของทฤษฎีใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความพอเพียงในระดับครัวเรือน หรือการพึ่งตนเอง
ขั้นที่ 2 ความพอเพียงในระดับชุมชน หรือความร่วมมือในหมู่เกษตรกร
ขั้นที่ 3 ความพอเพียงในระดับชาติ หรือความร่วมมือระหว่างสหกรณ์กับนักลงทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ท่านรัฐมนตรีและผู้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ และเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงแค่เพียงขั้นที่ 1 ของทฤษฎีใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นขั้นที่สำคัญที่สุด เพื่อให้การเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ประสบความสำเร็จ มีสมมุติฐาน ดังนี้
1. การปฏิบัติเหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย ที่ครอบครองที่ดินทำกินน้อยกว่า 15 ไร่
2. การปฏิบัติเหมาะสมกับพื้นที่ในเขตรับน้ำฝน
3. คุณลักษณะของดินเหมาะสมกับการเก็บกักน้ำ
4. จำนวนเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนคือ 5 ถึง 6 คน
5. วัตถุประสงค์สำคัญคือการพึ่งพาตนเอง และความพอเพียง ไม่ใช่เพื่อการค้า
6. การปฏิบัติต้องอาศัยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเกษตรกร เพื่อทำงานด้วยกันและช่วยเหลือกัน
ในการจัดการที่ดิน ดิน น้ำ และแรงงานในพื้นที่ พื้นที่ของเกษตรกรควรแบ่งเป็น 4 ส่วนตามอัตราส่วน คือ 30 : 30 : 30 : 10
ส่วนแรก ร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ให้ขุดเป็นสระเพื่อเก็บกักน้ำฝนส่วนเกิน ซึ่งจะสามารถนำมาใช้เสริมการอุปโภคบริโภคในช่วงแล้งและใช้ปลูกพืชฤดูแล้งได้ หากมีปริมาณน้ำเพียงพอ ขนาดของสระน้ำ ซึ่งรวมถึงความกว้าง ความยาว และความลึก สามารถปรับเปลี่ยนได้ ในเขตพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนมากและในพื้นที่ที่มีน้ำเสริมจากระบบชลประทาน ขนาดของสระอาจจะน้อยกว่าร้อยละ 30 โดยที่หญ้าแฝกสามารถปลูกตามขอบสระเป็นพืชปกคลุมดินได้
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวในฤดูฝน ซึ่งจะให้ผลผลิตเพียงพอสำหรับการบริโภคของทั้งครอบครัวในแต่ละวันตลอดทั้งปี โดยทั้งนี้ มีวิธีการคำนวณเบื้องต้น คือ
ขนาดพื้นที่ 4.5 ไร่ x จำนวน 320 กิโลกรัม = 1,440.00 กิโลกรัม
6 x 200 กิโลกรัมต่อคน = 1,200.00 กิโลกรัม
ผลผลิตส่วนเกินจะสามารถนำไปขายได้ ครอบครัวจะเลี้ยงตนเองได้และมีความมั่นคงด้านอาหาร
ส่วนที่สาม ประมาณร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ใช้ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เพื่อเป็นอาหาร เพื่อเสริมรายได้ เพื่อเป็นยา และเพื่อเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ชนิดและรูปแบบการเพาะปลูกอาจจะเปลี่ยนไปตามสถานที่และฤดูกาล ตามความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ
ส่วนที่สี่ ส่วนสุดท้าย ประมาณร้อยละ 10 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 1.5 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวนครัว เลี้ยงสัตว์ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงสัตว์และการประมงนั้น แม้ว่ากิจกรรมหลักของการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่จะเน้นการปลูกพืชเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและเสริมรายได้ ที่ดินและแรงงานอาจจะนำไปใช้ในการขยายขอบเขตของกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์และการเลี้ยงปลาได้ โดยที่จะต้องคัดเลือกพันธุ์สัตว์และพันธุ์ปลาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มปริมาณอาหารและรายได้เท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่อย่างเป็นทางการในปี 2539 และตามด้วยปี 2540 ในขณะที่ประเทศชาติกำลังประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดผลตามมาคือการล่มสลายของสถาบันการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และโรงงานอุตสาหกรรม แรงงานถูกไล่ออกและต้องเดินทางกลับต่างจังหวัด รัฐบาลจึงรับแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งในขณะนี้มีแปลงการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่สาธิตและดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ และมีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จนับหลายหมื่นคนแล้ว
ในระหว่างการศึกษาดูงาน ท่านรัฐมนตรีและแขกผู้มีเกียรติ จะได้มีโอกาสเยี่ยมชมแปลงทฤษฎีใหม่ ทั้งที่ดำเนินการที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและที่แปลงของเกษตรกรด้วย
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าการบรรยายนี้จะเป็นประโยชน์และคุ้มค่าแก่เวลาของท่าน ข้าพเจ้าขอเชิญชวนท่านรัฐมนตรีและผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมในการประชุมทุกท่านดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประกันความสุขที่แท้จริงตลอดไป นอกจากนี้ข้าพเจ้าขออวยพรให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และขออวยพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขและโชคดีตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-