แท็ก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กระทรวงการต่างประเทศ
เศรษฐกิจพอเพียง
พระราชดำรัส
ราชดำเนิน
รัฐมนตรี
กรุงเทพ--9 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (8 พฤศจิกายน 2547) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
ในพระราชดำรัสเปิดการประชุม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือราษฎรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนที่ยากไร้ได้มีชีวิตอยู่อย่างสมดุลและพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องอพยพเข้ามายังเมืองใหญ่ ๆ ดังนั้นแนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการแก้ปัญหาทั้งในเมืองใหญ่และในชนบท คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมิได้หมายความว่าจะต้องใช้ชีวิตอย่างขัดสนและตระหนี่และไม่ได้หมายความว่าจะต้องปฎิเสธกระแสโลกาภิวัตน์ หรือ ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่สามารถ เชื่อมโยงกับตลาดภายนอกได้โดยการจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ซึ่งทำให้เป็นกลุ่มที่มีอำนาจต่อรองมากขึ้น เนื่องจากระบบการซื้อขายจะทำเป็นกลุ่ม ซึ่งหมายถึงว่ามีค่าใช้จ่ายน้อยลงและใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยต้องคำนึงว่าจะต้องมีการควบคุมงบประมาณรายจ่ายในระดับหมู่บ้านและชุมชนอย่างเป็นระบบ และพอเพียงซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กราบบังคมทูลว่าไม่มีผู้ใดบนผืนแผ่นดินนี้ที่จะเข้าใจเรื่องการพัฒนาและหนทางแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสมดีไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ โดยทรงมีพระราชวิริยะในการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง เพื่อพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้แนะพสกนิกรชาวไทยถึงวิถีการดำรงชีวิตอย่างสมดุล ปรัชญาแห่งทางสายกลางสามารถปรับใช้ได้กับภารกิจทุกด้านรวมถึงการพัฒนาและการบริหารงาน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของกระแสโลกาภิวัตน์ และมีจิตสำนึกต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทุกหนแห่งอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย และทรงรับทราบพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการช่วยเหลือประชาชนในชนบทที่ยากจนอย่างใกล้ชิดจนอาจกล่าวได้ว่า ยากนักที่จะหาผู้ทรงคุณวุฒิในแผ่นนี้ ที่จะสามารถถ่ายทอดแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างลึกซึ้งที่สุดดังเช่นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาดูงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการพัฒนา ดังนั้น รัฐบาลไทยเล็งเห็นว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากวิกฤตการณ์ (เมื่อปี 2540) โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินงาน จึงยินดีที่จะถ่ายทอดแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา
การประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจาก 19 ประเทศใน 3 ภูมิภาค คือ เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา โดยมาจากประเทศ อัฟกานิสถาน ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา จีน โคลอมเบีย อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน เคนยา ลาว มาดากัสการ์ มอริเชียส พม่า เนปาล ศรีลังกา ซูดาน ติมอร์ตะวันออก และเวียดนาม การประชุมครั้งนี้ คาดหวังจะเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตจริง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายหลังจากพิธีเปิดการประชุม ฯพณฯ องคมนตรีอำพล เสนาณรงค์ ได้บรรยายพิเศษ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยย้ำว่า “พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จะพบว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญถึงแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
ฯพณฯ องคมนตรี ได้แจ้งแก่รัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมว่า ตัวอย่างที่รู้จักกันดี และสามารถปฏิบัติได้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแนะเป็นแนวทางสำหรับการเกษตรครั้งแรกเมื่อปี 2535 เป็นรูปแบบการพัฒนาที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากความพอเพียงในระดับครัวเรือน หรือระดับชุมชน หรือความร่วมมือในหมู่เกษตรกร และระดับชาติ หรือความร่วมมือระหว่างสหกรณ์กับนักลงทุน การพึ่งตนเอง รัฐบาลปัจจุบันได้รับแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่เป็นวาระแห่งชาติ และได้มีการดำเนินการแปลงการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่อยู่ทั่วประเทศ และมีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จหลายหมื่นคนแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (8 พฤศจิกายน 2547) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
ในพระราชดำรัสเปิดการประชุม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือราษฎรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนที่ยากไร้ได้มีชีวิตอยู่อย่างสมดุลและพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องอพยพเข้ามายังเมืองใหญ่ ๆ ดังนั้นแนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการแก้ปัญหาทั้งในเมืองใหญ่และในชนบท คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมิได้หมายความว่าจะต้องใช้ชีวิตอย่างขัดสนและตระหนี่และไม่ได้หมายความว่าจะต้องปฎิเสธกระแสโลกาภิวัตน์ หรือ ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่สามารถ เชื่อมโยงกับตลาดภายนอกได้โดยการจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ซึ่งทำให้เป็นกลุ่มที่มีอำนาจต่อรองมากขึ้น เนื่องจากระบบการซื้อขายจะทำเป็นกลุ่ม ซึ่งหมายถึงว่ามีค่าใช้จ่ายน้อยลงและใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยต้องคำนึงว่าจะต้องมีการควบคุมงบประมาณรายจ่ายในระดับหมู่บ้านและชุมชนอย่างเป็นระบบ และพอเพียงซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กราบบังคมทูลว่าไม่มีผู้ใดบนผืนแผ่นดินนี้ที่จะเข้าใจเรื่องการพัฒนาและหนทางแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสมดีไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ โดยทรงมีพระราชวิริยะในการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง เพื่อพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้แนะพสกนิกรชาวไทยถึงวิถีการดำรงชีวิตอย่างสมดุล ปรัชญาแห่งทางสายกลางสามารถปรับใช้ได้กับภารกิจทุกด้านรวมถึงการพัฒนาและการบริหารงาน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของกระแสโลกาภิวัตน์ และมีจิตสำนึกต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทุกหนแห่งอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย และทรงรับทราบพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการช่วยเหลือประชาชนในชนบทที่ยากจนอย่างใกล้ชิดจนอาจกล่าวได้ว่า ยากนักที่จะหาผู้ทรงคุณวุฒิในแผ่นนี้ ที่จะสามารถถ่ายทอดแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างลึกซึ้งที่สุดดังเช่นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มาดูงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการพัฒนา ดังนั้น รัฐบาลไทยเล็งเห็นว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ และสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากวิกฤตการณ์ (เมื่อปี 2540) โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินงาน จึงยินดีที่จะถ่ายทอดแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา
การประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจาก 19 ประเทศใน 3 ภูมิภาค คือ เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา โดยมาจากประเทศ อัฟกานิสถาน ภูฏาน บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา จีน โคลอมเบีย อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน เคนยา ลาว มาดากัสการ์ มอริเชียส พม่า เนปาล ศรีลังกา ซูดาน ติมอร์ตะวันออก และเวียดนาม การประชุมครั้งนี้ คาดหวังจะเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตจริง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายหลังจากพิธีเปิดการประชุม ฯพณฯ องคมนตรีอำพล เสนาณรงค์ ได้บรรยายพิเศษ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยย้ำว่า “พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จะพบว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญถึงแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
ฯพณฯ องคมนตรี ได้แจ้งแก่รัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมว่า ตัวอย่างที่รู้จักกันดี และสามารถปฏิบัติได้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแนะเป็นแนวทางสำหรับการเกษตรครั้งแรกเมื่อปี 2535 เป็นรูปแบบการพัฒนาที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากความพอเพียงในระดับครัวเรือน หรือระดับชุมชน หรือความร่วมมือในหมู่เกษตรกร และระดับชาติ หรือความร่วมมือระหว่างสหกรณ์กับนักลงทุน การพึ่งตนเอง รัฐบาลปัจจุบันได้รับแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่เป็นวาระแห่งชาติ และได้มีการดำเนินการแปลงการเกษตรตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่อยู่ทั่วประเทศ และมีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จหลายหมื่นคนแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-