GMOs (Genetically Modified Organisms) หมายถึง สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงพืชและสัตว์ที่เกิดจากการดัดแปลงหรือตัดแต่งสารพันธุกรรมจนทำให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากเดิม เช่น โตเร็วขึ้น ทนทานต่อโรคและแมลงมากขึ้น และมีสีสันสวยงามขึ้น เป็นต้น
GMOs จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่หลายประเทศให้ความสนใจเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการผลิตและการส่งออกสินค้าในหมวดอาหาร ทั้งนี้ จากข้อมูลของ International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications (ISAAA) พบว่าในปี 2546 มีประเทศที่เพาะปลูกพืช GMOs ทั้งสิ้น 18 ประเทศ พื้นที่เพาะปลูกรวม 423 ล้านไร่ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตพืช GMOs รายใหญ่สุดของโลก (มีพื้นที่เพาะปลูกสูงถึง 267 ล้านไร่) รองลงมา คือ อาร์เจนตินา (89 ล้านไร่) แคนาดา (25 ล้านไร่) บราซิล (17 ล้านไร่) และจีน (17 ล้านไร่) และคาดว่าภายในปี 2551 จะมีพื้นที่เพาะปลูกพืชสูงถึง 625 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ถึงร้อยละ 48 โดยพืชที่ปลูกมาก คือ ถั่วเหลือง ข้าวโพด และฝ้าย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ไม่อนุญาตให้ทำการเพาะปลูกพืช GMOs ในระดับไร่นา ขณะที่หลายประเทศไม่ยอมรับการบริโภคอาหาร GMOs เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดว่าพืชและสัตว์ที่เกิดจากการตัดแต่งทางพันธุกรรมมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด
ในกรณีของประเทศไทยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของ GMOs ที่มีต่อภาคเกษตรกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อย่างไรก็ตาม กระแสต่อต้าน GMOs จากความกังวลของหลายฝ่ายว่าอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหาร ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายสำคัญของโลก ปัจจัยดังกล่าวทำให้ไทยยังไม่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืช GMOs ในระดับไร่นา อย่างไรก็ตาม หากมีการนำการตัดแต่งทางพันธุกรรมมาใช้และนำผลผลิตที่ได้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออก ผลกระทบทางลบที่คาดว่าจะมีต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีดังนี้
การส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากตลาดส่งออกสินค้าอาหารสำคัญของไทยโดยเฉพาะสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังไม่ยอมรับอาหารที่มีพืชและสัตว์ GMOs เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางประเทศโดยเฉพาะประเทศมุสลิมปฏิเสธอาหาร GMOs ที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยนำยีนจากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นข้อห้ามทางศาสนา ทำให้ไทยอาจเสียโอกาสในการส่งออกอาหารไปประเทศเหล่านี้
มูลค่าส่งออกอาหารอินทรีย์อาจได้รับผลกระทบ ปัจจุบันความนิยมบริโภคอาหารอินทรีย์ของทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับเพราะเป็นอาหารที่ปลอดสารพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารอินทรีย์โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์ ดังนั้น หากอนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ในระดับไร่นาก็อาจทำผู้บริโภคทั่วโลกไม่มั่นใจว่าอาหารอินทรีย์จะปนเปื้อน GMOs หรือไม่ ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตอาหารอินทรีย์อาจมีต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากต้องลงทุนเพิ่มในการตรวจสอบและแยกแยะสินค้าเพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อน GMOs ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูกจนถึงการแปรรูป ซึ่งอาจมีส่วนทำให้ความสามารถในการแข่งขันของอาหารอินทรีย์ไทยลดลงผู้ส่งออกอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการต้องติดฉลากแสดงส่วนประกอบของวัตถุดิบ GMOs ในสินค้าอาหารตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนในการตัดสินใจบริโภคอาหาร GMOs ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ข้อกำหนดของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการติดฉลาก GMOs มีดังนี้
- ญี่ปุ่น กำหนดให้อาหารแปรรูป 28 ชนิด และผลิตผลทางการเกษตร 5 ชนิดที่มีส่วนประกอบของ GMOs เกินกว่าร้อยละ 5 ต้องติดฉลาก
- สหภาพยุโรป กำหนดให้อาหารรวมทั้งสารปรุงแต่งที่มีส่วนผสมของ GMOs เกินกว่าร้อยละ 0.9 ต้องติดฉลาก
- สหรัฐฯ กำหนดให้การติดฉลาก GMOs เป็นไปโดยความสมัครใจ ยกเว้นกรณีผลผลิตที่ได้จาก GMOs มีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม ผู้ผลิตจะต้องติดฉลากเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณลักษณะที่เปลี่ยนไปเงื่อนไขของความสำเร็จในการส่งออกอาหาร GMOs ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการยืนยันถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาในการพิสูจน์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากมีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนถึงความปลอดภัยแล้ว อาหาร GMOs นับว่ามีประโยชน์ในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลก ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้าอาหารเพราะสามารถปรับปรุงคุณสมบัติต่างๆ ทั้งรูปร่าง รสชาติ และสีสัน ให้เหมาะกับการแปรรูปมากขึ้นขณะที่มีส่วนเหลือทิ้งน้อยลง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2547--
-พห-
GMOs จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่หลายประเทศให้ความสนใจเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการผลิตและการส่งออกสินค้าในหมวดอาหาร ทั้งนี้ จากข้อมูลของ International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications (ISAAA) พบว่าในปี 2546 มีประเทศที่เพาะปลูกพืช GMOs ทั้งสิ้น 18 ประเทศ พื้นที่เพาะปลูกรวม 423 ล้านไร่ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตพืช GMOs รายใหญ่สุดของโลก (มีพื้นที่เพาะปลูกสูงถึง 267 ล้านไร่) รองลงมา คือ อาร์เจนตินา (89 ล้านไร่) แคนาดา (25 ล้านไร่) บราซิล (17 ล้านไร่) และจีน (17 ล้านไร่) และคาดว่าภายในปี 2551 จะมีพื้นที่เพาะปลูกพืชสูงถึง 625 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ถึงร้อยละ 48 โดยพืชที่ปลูกมาก คือ ถั่วเหลือง ข้าวโพด และฝ้าย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ไม่อนุญาตให้ทำการเพาะปลูกพืช GMOs ในระดับไร่นา ขณะที่หลายประเทศไม่ยอมรับการบริโภคอาหาร GMOs เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดว่าพืชและสัตว์ที่เกิดจากการตัดแต่งทางพันธุกรรมมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด
ในกรณีของประเทศไทยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของ GMOs ที่มีต่อภาคเกษตรกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อย่างไรก็ตาม กระแสต่อต้าน GMOs จากความกังวลของหลายฝ่ายว่าอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหาร ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายสำคัญของโลก ปัจจัยดังกล่าวทำให้ไทยยังไม่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืช GMOs ในระดับไร่นา อย่างไรก็ตาม หากมีการนำการตัดแต่งทางพันธุกรรมมาใช้และนำผลผลิตที่ได้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออก ผลกระทบทางลบที่คาดว่าจะมีต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีดังนี้
การส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากตลาดส่งออกสินค้าอาหารสำคัญของไทยโดยเฉพาะสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังไม่ยอมรับอาหารที่มีพืชและสัตว์ GMOs เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางประเทศโดยเฉพาะประเทศมุสลิมปฏิเสธอาหาร GMOs ที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยนำยีนจากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นข้อห้ามทางศาสนา ทำให้ไทยอาจเสียโอกาสในการส่งออกอาหารไปประเทศเหล่านี้
มูลค่าส่งออกอาหารอินทรีย์อาจได้รับผลกระทบ ปัจจุบันความนิยมบริโภคอาหารอินทรีย์ของทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับเพราะเป็นอาหารที่ปลอดสารพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารอินทรีย์โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์ ดังนั้น หากอนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ในระดับไร่นาก็อาจทำผู้บริโภคทั่วโลกไม่มั่นใจว่าอาหารอินทรีย์จะปนเปื้อน GMOs หรือไม่ ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตอาหารอินทรีย์อาจมีต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากต้องลงทุนเพิ่มในการตรวจสอบและแยกแยะสินค้าเพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อน GMOs ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูกจนถึงการแปรรูป ซึ่งอาจมีส่วนทำให้ความสามารถในการแข่งขันของอาหารอินทรีย์ไทยลดลงผู้ส่งออกอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการต้องติดฉลากแสดงส่วนประกอบของวัตถุดิบ GMOs ในสินค้าอาหารตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนในการตัดสินใจบริโภคอาหาร GMOs ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ข้อกำหนดของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการติดฉลาก GMOs มีดังนี้
- ญี่ปุ่น กำหนดให้อาหารแปรรูป 28 ชนิด และผลิตผลทางการเกษตร 5 ชนิดที่มีส่วนประกอบของ GMOs เกินกว่าร้อยละ 5 ต้องติดฉลาก
- สหภาพยุโรป กำหนดให้อาหารรวมทั้งสารปรุงแต่งที่มีส่วนผสมของ GMOs เกินกว่าร้อยละ 0.9 ต้องติดฉลาก
- สหรัฐฯ กำหนดให้การติดฉลาก GMOs เป็นไปโดยความสมัครใจ ยกเว้นกรณีผลผลิตที่ได้จาก GMOs มีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม ผู้ผลิตจะต้องติดฉลากเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณลักษณะที่เปลี่ยนไปเงื่อนไขของความสำเร็จในการส่งออกอาหาร GMOs ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการยืนยันถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาในการพิสูจน์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากมีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนถึงความปลอดภัยแล้ว อาหาร GMOs นับว่ามีประโยชน์ในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลก ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้าอาหารเพราะสามารถปรับปรุงคุณสมบัติต่างๆ ทั้งรูปร่าง รสชาติ และสีสัน ให้เหมาะกับการแปรรูปมากขึ้นขณะที่มีส่วนเหลือทิ้งน้อยลง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2547--
-พห-