ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะใช้ พรบ.สถาบันการเงินฉบับเก่าแทนหาก พรบ.ฉบับใหม่ไม่ผ่านสภา นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในกรณีที่ พรบ.สถาบันการเงินฉบับ
ใหม่ที่อยู่ระหว่างรอพิจารณาจากรัฐสภาเพื่อนำออกใช้ ไม่สามารถผ่านการอนุมัติได้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสภา
ที่จะสิ้นสุดปลายเดือน พ.ย.นี้ อาจจะมีผลทำให้การตั้ง ธ.พาณิชย์ใหม่ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินมี
ความยุ่งยากและมีขั้นตอนมากขึ้น เนื่องจากต้องกลับมาใช้ พรบ.สถาบันการเงินฉบับเก่า ทั้งนี้ แม้ว่า พรบ.
สถาบันการเงินฉบับใหม่จะเสร็จไม่ทันก็ตาม แต่การจัดการโครงสร้างสถาบันการเงินและจัดตั้ง ธ.พาณิชย์ใหม่
เพื่อยกระดับสถาบันการเงินที่เสนอแผนเข้ามาตามหลักเกณฑ์ภายใต้มาสเตอร์แพลนต้องดำเนินการต่อไป เพราะ
การดำเนินการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม.แล้ว สำหรับสถาบันการเงินที่รอรับการอนุญาต
จาก ก.คลังให้ยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารมีประมาณ 12 แห่ง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ธ.กลางเอเชีย 10 ชาติ เตรียมประชุมวางหลักเกณฑ์ตั้งสำรองหนี้ป้องกันความเสี่ยง
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธ.กลางของชาติเอเชีย
ประมาณ 10 ประเทศ จะจัดประชุมในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ย.นี้ ที่ประเทศฮ่องกง เพื่อหารือเรื่องความ
ผันผวนของหลักเกณฑ์ทางการเงินและการกำกับสถาบันการเงินที่อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ รวม
ถึงสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคที่มีความผันผวนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการคุมเงินทุนไหลเข้า
ออกระหว่างประเทศที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น โดยจะหารือด้านมาตรฐานทางบัญชี การกัน
สำรอง การวางกรอบการกำกับว่าควรเป็นอย่างไร ในเรื่องการกันสำรองมีการถกเถียงกันมาก เนื่องจากหลัก
เกณฑ์กำหนดว่า การกันสำรองจะกระทำเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ทำให้หลายประเทศเห็นว่าน่าจะมี
การป้องกันไว้ก่อนได้ โดยให้กันสำรองเริ่มทำได้ตั้งแต่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยง เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับดูแล
ด้วย นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจจะมีมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. ธสน. ปรับบทบาทเน้นผลักดันธุรกิจสู่ตลาดโลก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ต้องจัดทำยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนบทบาท
การทำงานใหม่ และจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกในเดือน ธ.ค.นี้ รวมทั้งกำหนดเป้า
หมายที่ชัดเจนในการเพิ่มผู้ประกอบการส่งออกและผู้ส่งออกที่ไปลงทุนในต่างประเทศ โดยในปีหน้า ธสน. ต้อง
ปล่อยสินเชื่อ 2.5 หมื่นล้านบาท ให้แก่ผู้ส่งออก และต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ส่งออกที่ไม่เคยไปลงทุนในต่าง
ประเทศให้ก้าวไปสู่เวทีโลกด้วย ซึ่งปัญหาของการส่งออกไทยขณะนี้คือ มียอดส่งออกสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท
แต่มีส่วนแบ่งตลาดในการค้าโลกเพียงร้อยละ 1 มีการลงทุนโดยตรงในไทย 7.3 หมื่นล้านบาท ในปี 47 แต่มี
มาร์เก็ตแชร์เพียงร้อยละ 1.9 ของเอเชีย และร้อยละ 0.3 ของโลก และตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีสัดส่วนการลง
ทุนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.75 และไม่มีบริษัทขนาดใหญ่ที่ติดอันดับท็อป 50 ของโลก แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการ
ยังไม่ได้พัฒนาถึงระดับโลก ซึ่ง ธสน. และ บีโอไอ ต้องร่วมกันแก้จุดบกพร่องนี้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. คาดว่าจีดีพีปีนี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษา รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ปลายเดือน พ.ย.นี้ สนง.เศรษฐกิจการคลังจะมีการประกาศตัวเลขประมาณการอัตราการขยายตัว
ของจีดีพีปี 47 ตามกำหนดการปกติที่จะต้องมีการทบทวนทุก 3 เดือน คาดว่าการขยายตัวของจีดีพีจะอยู่ในระดับ
ไม่แตกต่างจากประมาณการคราวก่อนที่ร้อยละ 6.7 มากนัก เชื่อว่าไม่น่าจะหลุดระดับร้อยละ 6 อย่างแน่นอน
เพราะปัจจัยที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังเป็นปัจจัยเดิมที่เคยนำมาวิเคราะห์ อาทิ ราคาน้ำมัน อัตรา
ดอกเบี้ย ไข้หวัดนก สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ เป็นต้น ส่วนประมาณการปี 48 ต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจ
ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ก่อน (ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 10 พ.ย.47 นี้
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 8 พ.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะ
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในวันที่ 10 พ.ย.47 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
2.0 ต่อปีและมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนก่อนที่คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมในวันที่ 14 ธ.ค.47 การคาดการณ์ว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้น
หลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานในเดือน ต.ค.47 เมื่อวันที่ 5 พ.ย.47 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 337,000
ตำแหน่งและตัวเลขหลังปรับปรุงสำหรับเดือน ส.ค.และ ก.ย.47 เพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่งสูงกว่าที่คาดไว้
ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของ สรอ.กำลังฟื้นตัวโดยขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 3.0 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นัก
วิเคราะห์ให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางซึ่งไม่ขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจและไม่เอื้อให้เกิด
ภาวะเงินเฟ้อควรสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าร้อยละ 2.0 ต่อปีและ ณ ระดับราคาสินค้าในปัจจุบัน
อัตราดอกเบี้ยควรอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ถึง 4.50 ต่อปี จึงคาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลาย
ครั้งจนถึงร้อยละ 3.50 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. รอยเตอร์คาดว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าในเดือน ก.ย.47 ลดลงเล็กน้อยที่จำนวน 53.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 8 พ.ย.47 จากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 29 คน โดยรอย
เตอร์คาดการณ์ว่า ในเดือน ก.ย.47 สรอ.จะขาดดุลการค้าลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่จำนวน 53.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 54.04 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน โดย สรอ.เคยขาดดุลการค้าสูงสุดที่
จำนวน 55 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือน มิ.ย.ปีนี้ รองลงมาคือ เดือน ส.ค.47 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผล
ให้ สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ก.ย. คือ การอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. สนับสนุนให้ สรอ.มี
ยอดการส่งออกสูงขึ้น โดย The dollar index <.DXY> ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดมูลค่าของธนบัตร สรอ.ในตลาด
เงิน อ่อนค่าลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ย.47 ทำให้ราคาสินค้าส่งออกของ สรอ.มีราคาถูกกว่าในตลาดโลกส่ง
ผลให้ สรอ.มียอดการส่งออกสูงขึ้น ส่วนทางด้านผู้บริโภคของ สรอ. มีสัญญาณว่ายังคงควบคุมการใช้จ่ายอีกระยะ
หนึ่ง เนื่องจากปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 หรือประมาณ 50 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล แต่ก็คงจะไม่ทำให้ยอดการนำเข้าลดลงมากนัก โดยจากผลสำรวจรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ยอด
การนำเข้าสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ย. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า
ทั้งนี้ ตัวเลขดุลการค้า สรอ.จะประกาศอย่างเป็นทางการโดย ก.พาณิชย์ในวันพุธที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. EU ร้องขอให้ WTO ควบคุม สรอ. และแคนาดาในการใช้มาตรการลงโทษที่ผิดกติกา
รายงานจาก บรัสเซล เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 47 นาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป —
EU เปิดเผยว่าได้ร้องขอให้องค์การการค้าโลก — WTO ดำเนินมาตรการควบคุมสรอ. และแคนาดาที่ยังคงใช้
มาตรการลงโทษ EU อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโต้การที่ EU สั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยฮอร์โมนจากสรอ.
และแคนาดา แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะมีข้อตกลงกันให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในเรื่องอาหารก็ตามทั้งนี้ สรอ. ตอบ
โต้สินค้าหลายชนิดที่ส่งออกจากยุโรปอาทิ Roquefort cheese, mustard, truffles, French hams
และ soups ซึ่งมีมูลค่าในแต่ละปีสูงถึง 116.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับสินค้า EU ที่ส่งออกไปสรอ. และมี
มูลค่า 9.5 ล้านดอลลาร์ สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปแคนาดา อย่างไรก็ตามทั้งสรอ. และแคนาดาต่างไม่มีสัญญานที่
จะยกเลิกการตอบโต้ทางการค้าดังกล่าว เนื่องจาก EU ยังคงไม่ยอมนำเข้าเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยฮอร์โมนจาก
สรอ. และแคนาดา โดยที่ผู้แทนการค้าสรอ.กล่าวว่าไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่สนับสนุนสัดส่วนการใช้
ฮอร์โมนที่เหมาะสมว่าควรจะเป็นเท่าใด (รอยเตอร์)
4. ยอดเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.7 ในเดือน ต.ค.47 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 9 พ.ย.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.ญี่ปุ่น (คำนวณจากเงินกู้ยืมของสถาบันการ
เงินหลัก 4 ประเภท รวมถึงสหกรณ์) ในเดือน ต.ค.47 มีจำนวนทั้งสิ้น 446.3161 ล้านล้านเยน (4.230
ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 2.7 (เทียบต่อปี) นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 46 และเป็น
การลดลงตลอดมานับตั้งแต่ ธ.กลางญี่ปุ่นเริ่มคำนวณยอดเงินกู้ยืมของสหกรณ์รวมเข้ากับเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.
ส่วนยอดเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.ซึ่งไม่รวมสหกรณ์ ลดลงร้อยละ 3.0 เป็นจำนวน 384.5156 ล้านล้านเยน ลด
ลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 82 สำหรับยอดเงินกู้ยืมของ ธพ.ต่างประเทศในญี่ปุ่นในเดือนเดียวกันมีจำนวน 5.2198
ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 17.2 (เทียบต่อปี) (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ย. 47 8 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.79 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6165/40.8972 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 629.20/ 9.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.66 35.63 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. จะใช้ พรบ.สถาบันการเงินฉบับเก่าแทนหาก พรบ.ฉบับใหม่ไม่ผ่านสภา นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในกรณีที่ พรบ.สถาบันการเงินฉบับ
ใหม่ที่อยู่ระหว่างรอพิจารณาจากรัฐสภาเพื่อนำออกใช้ ไม่สามารถผ่านการอนุมัติได้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสภา
ที่จะสิ้นสุดปลายเดือน พ.ย.นี้ อาจจะมีผลทำให้การตั้ง ธ.พาณิชย์ใหม่ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินมี
ความยุ่งยากและมีขั้นตอนมากขึ้น เนื่องจากต้องกลับมาใช้ พรบ.สถาบันการเงินฉบับเก่า ทั้งนี้ แม้ว่า พรบ.
สถาบันการเงินฉบับใหม่จะเสร็จไม่ทันก็ตาม แต่การจัดการโครงสร้างสถาบันการเงินและจัดตั้ง ธ.พาณิชย์ใหม่
เพื่อยกระดับสถาบันการเงินที่เสนอแผนเข้ามาตามหลักเกณฑ์ภายใต้มาสเตอร์แพลนต้องดำเนินการต่อไป เพราะ
การดำเนินการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม.แล้ว สำหรับสถาบันการเงินที่รอรับการอนุญาต
จาก ก.คลังให้ยกฐานะขึ้นเป็นธนาคารมีประมาณ 12 แห่ง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ธ.กลางเอเชีย 10 ชาติ เตรียมประชุมวางหลักเกณฑ์ตั้งสำรองหนี้ป้องกันความเสี่ยง
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธ.กลางของชาติเอเชีย
ประมาณ 10 ประเทศ จะจัดประชุมในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ย.นี้ ที่ประเทศฮ่องกง เพื่อหารือเรื่องความ
ผันผวนของหลักเกณฑ์ทางการเงินและการกำกับสถาบันการเงินที่อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ รวม
ถึงสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคที่มีความผันผวนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการคุมเงินทุนไหลเข้า
ออกระหว่างประเทศที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น โดยจะหารือด้านมาตรฐานทางบัญชี การกัน
สำรอง การวางกรอบการกำกับว่าควรเป็นอย่างไร ในเรื่องการกันสำรองมีการถกเถียงกันมาก เนื่องจากหลัก
เกณฑ์กำหนดว่า การกันสำรองจะกระทำเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ทำให้หลายประเทศเห็นว่าน่าจะมี
การป้องกันไว้ก่อนได้ โดยให้กันสำรองเริ่มทำได้ตั้งแต่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยง เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับดูแล
ด้วย นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจจะมีมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. ธสน. ปรับบทบาทเน้นผลักดันธุรกิจสู่ตลาดโลก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ต้องจัดทำยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนบทบาท
การทำงานใหม่ และจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกในเดือน ธ.ค.นี้ รวมทั้งกำหนดเป้า
หมายที่ชัดเจนในการเพิ่มผู้ประกอบการส่งออกและผู้ส่งออกที่ไปลงทุนในต่างประเทศ โดยในปีหน้า ธสน. ต้อง
ปล่อยสินเชื่อ 2.5 หมื่นล้านบาท ให้แก่ผู้ส่งออก และต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ส่งออกที่ไม่เคยไปลงทุนในต่าง
ประเทศให้ก้าวไปสู่เวทีโลกด้วย ซึ่งปัญหาของการส่งออกไทยขณะนี้คือ มียอดส่งออกสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท
แต่มีส่วนแบ่งตลาดในการค้าโลกเพียงร้อยละ 1 มีการลงทุนโดยตรงในไทย 7.3 หมื่นล้านบาท ในปี 47 แต่มี
มาร์เก็ตแชร์เพียงร้อยละ 1.9 ของเอเชีย และร้อยละ 0.3 ของโลก และตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีสัดส่วนการลง
ทุนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.75 และไม่มีบริษัทขนาดใหญ่ที่ติดอันดับท็อป 50 ของโลก แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการ
ยังไม่ได้พัฒนาถึงระดับโลก ซึ่ง ธสน. และ บีโอไอ ต้องร่วมกันแก้จุดบกพร่องนี้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. คาดว่าจีดีพีปีนี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษา รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ปลายเดือน พ.ย.นี้ สนง.เศรษฐกิจการคลังจะมีการประกาศตัวเลขประมาณการอัตราการขยายตัว
ของจีดีพีปี 47 ตามกำหนดการปกติที่จะต้องมีการทบทวนทุก 3 เดือน คาดว่าการขยายตัวของจีดีพีจะอยู่ในระดับ
ไม่แตกต่างจากประมาณการคราวก่อนที่ร้อยละ 6.7 มากนัก เชื่อว่าไม่น่าจะหลุดระดับร้อยละ 6 อย่างแน่นอน
เพราะปัจจัยที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังเป็นปัจจัยเดิมที่เคยนำมาวิเคราะห์ อาทิ ราคาน้ำมัน อัตรา
ดอกเบี้ย ไข้หวัดนก สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ เป็นต้น ส่วนประมาณการปี 48 ต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจ
ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ก่อน (ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 10 พ.ย.47 นี้
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 8 พ.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะ
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในวันที่ 10 พ.ย.47 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
2.0 ต่อปีและมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนก่อนที่คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมในวันที่ 14 ธ.ค.47 การคาดการณ์ว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้น
หลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานในเดือน ต.ค.47 เมื่อวันที่ 5 พ.ย.47 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 337,000
ตำแหน่งและตัวเลขหลังปรับปรุงสำหรับเดือน ส.ค.และ ก.ย.47 เพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่งสูงกว่าที่คาดไว้
ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของ สรอ.กำลังฟื้นตัวโดยขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 3.0 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นัก
วิเคราะห์ให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางซึ่งไม่ขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจและไม่เอื้อให้เกิด
ภาวะเงินเฟ้อควรสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าร้อยละ 2.0 ต่อปีและ ณ ระดับราคาสินค้าในปัจจุบัน
อัตราดอกเบี้ยควรอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ถึง 4.50 ต่อปี จึงคาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลาย
ครั้งจนถึงร้อยละ 3.50 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. รอยเตอร์คาดว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าในเดือน ก.ย.47 ลดลงเล็กน้อยที่จำนวน 53.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 8 พ.ย.47 จากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 29 คน โดยรอย
เตอร์คาดการณ์ว่า ในเดือน ก.ย.47 สรอ.จะขาดดุลการค้าลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่จำนวน 53.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 54.04 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน โดย สรอ.เคยขาดดุลการค้าสูงสุดที่
จำนวน 55 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือน มิ.ย.ปีนี้ รองลงมาคือ เดือน ส.ค.47 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผล
ให้ สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ก.ย. คือ การอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. สนับสนุนให้ สรอ.มี
ยอดการส่งออกสูงขึ้น โดย The dollar index <.DXY> ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดมูลค่าของธนบัตร สรอ.ในตลาด
เงิน อ่อนค่าลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ย.47 ทำให้ราคาสินค้าส่งออกของ สรอ.มีราคาถูกกว่าในตลาดโลกส่ง
ผลให้ สรอ.มียอดการส่งออกสูงขึ้น ส่วนทางด้านผู้บริโภคของ สรอ. มีสัญญาณว่ายังคงควบคุมการใช้จ่ายอีกระยะ
หนึ่ง เนื่องจากปัจจัยทางด้านราคาน้ำมันในเดือน ก.ย.47 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 หรือประมาณ 50 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล แต่ก็คงจะไม่ทำให้ยอดการนำเข้าลดลงมากนัก โดยจากผลสำรวจรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ยอด
การนำเข้าสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ย. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า
ทั้งนี้ ตัวเลขดุลการค้า สรอ.จะประกาศอย่างเป็นทางการโดย ก.พาณิชย์ในวันพุธที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. EU ร้องขอให้ WTO ควบคุม สรอ. และแคนาดาในการใช้มาตรการลงโทษที่ผิดกติกา
รายงานจาก บรัสเซล เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 47 นาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป —
EU เปิดเผยว่าได้ร้องขอให้องค์การการค้าโลก — WTO ดำเนินมาตรการควบคุมสรอ. และแคนาดาที่ยังคงใช้
มาตรการลงโทษ EU อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโต้การที่ EU สั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยฮอร์โมนจากสรอ.
และแคนาดา แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะมีข้อตกลงกันให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในเรื่องอาหารก็ตามทั้งนี้ สรอ. ตอบ
โต้สินค้าหลายชนิดที่ส่งออกจากยุโรปอาทิ Roquefort cheese, mustard, truffles, French hams
และ soups ซึ่งมีมูลค่าในแต่ละปีสูงถึง 116.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับสินค้า EU ที่ส่งออกไปสรอ. และมี
มูลค่า 9.5 ล้านดอลลาร์ สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปแคนาดา อย่างไรก็ตามทั้งสรอ. และแคนาดาต่างไม่มีสัญญานที่
จะยกเลิกการตอบโต้ทางการค้าดังกล่าว เนื่องจาก EU ยังคงไม่ยอมนำเข้าเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยฮอร์โมนจาก
สรอ. และแคนาดา โดยที่ผู้แทนการค้าสรอ.กล่าวว่าไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่สนับสนุนสัดส่วนการใช้
ฮอร์โมนที่เหมาะสมว่าควรจะเป็นเท่าใด (รอยเตอร์)
4. ยอดเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.7 ในเดือน ต.ค.47 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 9 พ.ย.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.ญี่ปุ่น (คำนวณจากเงินกู้ยืมของสถาบันการ
เงินหลัก 4 ประเภท รวมถึงสหกรณ์) ในเดือน ต.ค.47 มีจำนวนทั้งสิ้น 446.3161 ล้านล้านเยน (4.230
ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 2.7 (เทียบต่อปี) นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 46 และเป็น
การลดลงตลอดมานับตั้งแต่ ธ.กลางญี่ปุ่นเริ่มคำนวณยอดเงินกู้ยืมของสหกรณ์รวมเข้ากับเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.
ส่วนยอดเงินกู้ยืมของระบบ ธพ.ซึ่งไม่รวมสหกรณ์ ลดลงร้อยละ 3.0 เป็นจำนวน 384.5156 ล้านล้านเยน ลด
ลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 82 สำหรับยอดเงินกู้ยืมของ ธพ.ต่างประเทศในญี่ปุ่นในเดือนเดียวกันมีจำนวน 5.2198
ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 17.2 (เทียบต่อปี) (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ย. 47 8 พ.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.79 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6165/40.8972 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.7500-1.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 629.20/ 9.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.66 35.63 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.99*/14.59 21.99*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 4 พ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-