แท็ก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
กระทรวงการคลัง
แม่น้ำโขง
รัฐมนตรี
เยอรมนี
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Kreditanstalt fuer Wiederaufbau หรือ KfW) ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MOU) ระหว่าง ธสน. และ KfW เพื่อให้ความร่วมมือในด้านการเงินและวิชาการในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระหว่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจและเครือข่ายคมนาคมในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion หรือ GMS) โดยมี ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี Mr. Andreas von Stechow และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ธสน. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม MOU ซึ่งมีนายสถาพร ชินะจิตร กรรมการ ผู้จัดการ ธสน., Dr. Peter Klaus, Member of Board of Managing Directors ของ KfW และ Mr. Andreas Klocke, KfW Director and Head of South-East Asia Regional Office เป็นผู้ลงนาม เมื่อวันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา เปิดเผยว่าภายหลัง ธสน. ได้หารือกับ KfW เมื่อกลางปี 2547 ถึงความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายเพื่อแสวงหาโอกาสในการสนับสนุนโครงการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ ทั้งในไทยและในอนุภูมิภาค GMS และโครงการลงทุนของไทยในทวีปยุโรป ล่าสุด ธสน. และ KfW ได้ลงนามใน MOU อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเดินหน้าตามข้อตกลงต่างๆ อาทิ
1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับไทยรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน กับประเทศเยอรมนีรวมทั้งประเทศในทวีปยุโรป เพื่อใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนโอกาสการลงทุนสำหรับนักธุรกิจไทยและเยอรมัน นอกจากนั้น KfW ยังจะให้การฝึกอบรมความรู้เรื่องการเงินเพื่อโครงการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ ธสน. ด้วย
2. การสนับสนุนวงเงินกู้ระยะปานกลางแก่ ธสน. เพื่อสนับสนุนการซื้อสินค้าทุนจากประเทศเยอรมนีและสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหรือติดตั้งเครื่องจักรการผลิตของผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของ ธสน. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. การให้เงินกู้ระยะปานกลางแก่ ธสน. จำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจทั่วไปของ ธสน.
4. การใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมประเทศต่างๆ ในฝั่งตะวันออกและตะวันตกของทวีปเอเชีย โดย ธสน. จะร่วมกับ KfW ในการแสวงหาและพิจารณาโครงการลงทุน ตลอดจนแนะนำผู้ร่วมลงทุนในโครงการอุตสาหกรรมเกษตร โทรคมนาคม และพลังงานที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ GMS
5. การแลกเปลี่ยนความเสี่ยงระหว่างกัน โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละฝ่ายเพื่อให้บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6. การให้ความสนับสนุนในการจัดหาเงินทุนในสกุลท้องถิ่นรวมทั้งให้บริการด้านเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่แต่ละฝ่ายมีขีดความสามารถดีกว่าให้แก่ลูกค้าของกันและกันที่ทำธุรกิจในภูมิภาคนั้นๆ
ประธานกรรมการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมว่าการลงนาม MOU ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยโดยตรงในการเพิ่มโอกาสและลู่ทางการค้าระหว่างประเทศ และยังนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าสู่ทวีปเอเชีย ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตและการตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความเจริญก้าวหน้าไปด้วยกันของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2547
-พห-
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา เปิดเผยว่าภายหลัง ธสน. ได้หารือกับ KfW เมื่อกลางปี 2547 ถึงความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายเพื่อแสวงหาโอกาสในการสนับสนุนโครงการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ ทั้งในไทยและในอนุภูมิภาค GMS และโครงการลงทุนของไทยในทวีปยุโรป ล่าสุด ธสน. และ KfW ได้ลงนามใน MOU อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเดินหน้าตามข้อตกลงต่างๆ อาทิ
1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับไทยรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน กับประเทศเยอรมนีรวมทั้งประเทศในทวีปยุโรป เพื่อใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนโอกาสการลงทุนสำหรับนักธุรกิจไทยและเยอรมัน นอกจากนั้น KfW ยังจะให้การฝึกอบรมความรู้เรื่องการเงินเพื่อโครงการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ ธสน. ด้วย
2. การสนับสนุนวงเงินกู้ระยะปานกลางแก่ ธสน. เพื่อสนับสนุนการซื้อสินค้าทุนจากประเทศเยอรมนีและสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหรือติดตั้งเครื่องจักรการผลิตของผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของ ธสน. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. การให้เงินกู้ระยะปานกลางแก่ ธสน. จำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจทั่วไปของ ธสน.
4. การใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมประเทศต่างๆ ในฝั่งตะวันออกและตะวันตกของทวีปเอเชีย โดย ธสน. จะร่วมกับ KfW ในการแสวงหาและพิจารณาโครงการลงทุน ตลอดจนแนะนำผู้ร่วมลงทุนในโครงการอุตสาหกรรมเกษตร โทรคมนาคม และพลังงานที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ GMS
5. การแลกเปลี่ยนความเสี่ยงระหว่างกัน โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละฝ่ายเพื่อให้บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6. การให้ความสนับสนุนในการจัดหาเงินทุนในสกุลท้องถิ่นรวมทั้งให้บริการด้านเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่แต่ละฝ่ายมีขีดความสามารถดีกว่าให้แก่ลูกค้าของกันและกันที่ทำธุรกิจในภูมิภาคนั้นๆ
ประธานกรรมการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมว่าการลงนาม MOU ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยโดยตรงในการเพิ่มโอกาสและลู่ทางการค้าระหว่างประเทศ และยังนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าสู่ทวีปเอเชีย ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตและการตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความเจริญก้าวหน้าไปด้วยกันของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2547
-พห-