สศอ.- กรมควบคุมมลพิษ เร่งจัดทำยุทธศาสตร์จัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รองรับระเบียบอียู ว่าด้วยการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ฯ เตรียมวางมาตรการสร้างระเบียบในประเทศ ใช้วิธีจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าและผู้ผลิต ตามหลักผู้ก่อเป็นผู้จ่าย ป้องอุตฯไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์รับผลกระทบโดยตรง
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.จะนำยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ซึ่ง สศอ.ได้ร่วมดำเนินการจัดทำกับกรมควบคุมมลพิษ และภาคเอกชน เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องและเป็นระบบรองรับกับมาตรการของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(อียู) ที่ประกาศให้ทุกประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีระบบการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ภายใต้ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WEEE ซึ่งอียู ได้มีการออกประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ดังนั้นประเทศคู่ค้าอียูที่ส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มยุโรปจะต้องเร่งดำเนินการออกระเบียบให้ผู้ส่งออกปฎิบัติตามกฎ WEEE เพื่อลดข้อกีดกันทางการค้าของอียู
ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2546 ประเทศไทยมีปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เกิดขึ้นประมาณ 60,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นซากผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการนำมารีไซเคิลได้ และจากการสำรวจ ร้อยละ 90 ของปริมาณซากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกนำไปทิ้งรวมกับมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ฝังกลบ ที่ไม่ได้มีการออกแบบไว้เพื่อรองรับของเสียอันตราย โดยสภาพปัญหาเรื่องนี้อาจกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศคู่ค้านำมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าสินค้าจากประเทศไทย ดังนั้น สศอ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเร่งดำเนินการในเรื่องนี้โดยด่วน เพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯที่ สศอ.เสนอใช้ จะมุ่งเน้นดำเนินการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเป็นการดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรวบรวม และค่ากำจัดซากผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้ง มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของทุกจังหวัดเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบจัดการซากในพื้นที่
พร้อมกันนี้ สศอ. ได้เตรียมที่จะจัดทำโครงการรณรงค์เกี่ยวกับพิษภัยจากซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อันจะเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยการส่งเสริมการรีไซเคิล การสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม [Green Product
] มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังวางแผนส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม [SMEs
] ให้มีความรู้ทางเทคนิคในการดำเนินกิจการ สามารถเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะ มาตรการภายใต้ระเบียบ WEEE และ ระเบียบว่าด้วยการกำจัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RoHS ของสหภาพยุโรป ซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก
นอกจากนี้ จะมีการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา [R&D
] ในด้านการออกแบบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ยังเตรียมเสนอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.
] จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาบุคลากรด้านนี้เพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่องทุกปี
ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว ไม่เพียงแต่เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังสามารถลดข้อกีดกันทางการค้า เปิดทางให้สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ และในทางกลับกัน หากประเทศไทยมีระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ในการป้องกันสินค้าไม่ได้มาตรฐานทะลักเข้าสู่ประเทศได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.จะนำยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ซึ่ง สศอ.ได้ร่วมดำเนินการจัดทำกับกรมควบคุมมลพิษ และภาคเอกชน เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องและเป็นระบบรองรับกับมาตรการของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(อียู) ที่ประกาศให้ทุกประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีระบบการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ภายใต้ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WEEE ซึ่งอียู ได้มีการออกประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ดังนั้นประเทศคู่ค้าอียูที่ส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มยุโรปจะต้องเร่งดำเนินการออกระเบียบให้ผู้ส่งออกปฎิบัติตามกฎ WEEE เพื่อลดข้อกีดกันทางการค้าของอียู
ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2546 ประเทศไทยมีปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เกิดขึ้นประมาณ 60,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นซากผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการนำมารีไซเคิลได้ และจากการสำรวจ ร้อยละ 90 ของปริมาณซากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกนำไปทิ้งรวมกับมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ฝังกลบ ที่ไม่ได้มีการออกแบบไว้เพื่อรองรับของเสียอันตราย โดยสภาพปัญหาเรื่องนี้อาจกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศคู่ค้านำมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าสินค้าจากประเทศไทย ดังนั้น สศอ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเร่งดำเนินการในเรื่องนี้โดยด่วน เพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯที่ สศอ.เสนอใช้ จะมุ่งเน้นดำเนินการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเป็นการดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรวบรวม และค่ากำจัดซากผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้ง มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของทุกจังหวัดเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบจัดการซากในพื้นที่
พร้อมกันนี้ สศอ. ได้เตรียมที่จะจัดทำโครงการรณรงค์เกี่ยวกับพิษภัยจากซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อันจะเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยการส่งเสริมการรีไซเคิล การสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม [Green Product
] มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังวางแผนส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม [SMEs
] ให้มีความรู้ทางเทคนิคในการดำเนินกิจการ สามารถเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะ มาตรการภายใต้ระเบียบ WEEE และ ระเบียบว่าด้วยการกำจัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RoHS ของสหภาพยุโรป ซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก
นอกจากนี้ จะมีการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา [R&D
] ในด้านการออกแบบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ยังเตรียมเสนอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.
] จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาบุคลากรด้านนี้เพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่องทุกปี
ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว ไม่เพียงแต่เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังสามารถลดข้อกีดกันทางการค้า เปิดทางให้สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ และในทางกลับกัน หากประเทศไทยมีระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ในการป้องกันสินค้าไม่ได้มาตรฐานทะลักเข้าสู่ประเทศได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-