นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้มีการแปลงสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ว่า พรรคยังยืนยันว่า ต้องการให้การแปรรูปเป็นการแปรรูปเพื่อประโยชน์ของประชาชน และของประเทศ สิ่งที่ยังยืนยันว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญก็คือ 1. ต้องแยกทรัพย์สินหรือกิจการที่มีลักษณะของการผูกขาดออกมา แม้ว่าขณะนี้จะมีการแยกในส่วนของเขื่อน อ่างเก็บน้ำ แต่ว่าในเรื่องของระบบสายส่งกับไปรวมอยู่ในบริษัทที่จะมีการแปรรูป ตรงนี้จะเป็นปัญหา เพราะเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนผูกขาดทรัพย์สิน ซึ่งเสมือนเป็นทรัพย์สินของชาติด้วย และจะมีผลกระทบต่อการแข่งขันในอนาคต เพราะว่าถ้าต่อไปจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย แล้วไม่สามารถเป็นเจ้าของตรงนี้ก็ต้องมาขอใช้จากทางบริษัทกฟผ.ซึ่งจะเป็นบริษัทของเอกชนด้วย จะทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การแปรรูปมีประสิทธิภาพ
2. สิ่งที่พรรคเรียกร้องมาตลอด คือ ร่างกฎหมายการกำกับกิจการไฟฟ้า ที่จะต้องมีการตั้งองค์กรอิสระตามกฎหมายขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลการแข่งขันในธุรกิจนี้ เหมือนที่มีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ที่จะต้องมากำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ซึ่งกฎหมายนี้ร่างเสร็จมาตั้งแต่สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล แต่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาผลักดัน และการขาดองค์กรกำกับที่เป็นอิสระก็จะเป็นปัญหาทำให้การผูกขาดของภาคเอกชน นำไปสู่ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บริการผู้บริโภคได้
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า 2 เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทบทวนว่าจะทำอย่างไรก่อนที่จะมีการแปลงสภาพองค์กรนี้ไปเป็นองค์กรในภาคเอกชน ซึ่งต้องทำให้มีความมั่นใจเกิดขึ้น โดยในวันที่ 12 พ.ค.นี้ พรรคจะได้ถามกระทู้ในสภาฯ เพื่อขอทราบท่าทีของรัฐบาลที่ชัดเจนต่อ 2 ประเด็นนี้ว่ามีคำตอบอย่างไร และจะฟังคำตอบจากรัฐบาล แล้วถึงจะดูอีกทีว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป เพราะหากรัฐบาลจะเดินหน้าโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านก็คงต้องมีคำอธิบายให้ชัดเจนว่าทำไมถึงให้มีการผูกขาด และเหตุใดการตั้งองค์กรกำกับดูแลที่มีอำนาจตามกฎหมายซึ่งมีความเป็นกลาง และมีความเป็นอิสระจึงไม่ดำเนินการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า พรรคฯ จะเคลื่อนไหวต่อไป เพราะเราเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และพรรคไม่ได้ต่อต้านการแปรรูป แต่ว่าการแปรรูปในประสบการณ์ทั่วโลกมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว จุดที่ล้มเหลวก็คือ เป็นการเอาอำนาจผูกขาดไปให้เอกชน แต่แปรรูปที่ประสบความสำเร็จคือ สามารถสร้างการแข่งขัน และมีการกำกับดูแลที่ดี ขณะนี้แนวทางที่รัฐบาลเลือกเดิน เป็นแนวทางที่ยกอำนาจผูกขาดให้เอกชน เพราะรัฐบาลอาจจะกังวลเรื่องการกระจายหุ้น มูลค่าหุ้น และนำเรื่องของตลาดหลักทรัพย์มาเป็นตัวกำหนดนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึง่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ต้องเอาเรื่องของการบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจมาเป็นตัวตั้ง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องมีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน และเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนในเรื่องนี้
ต่อข้อซักถามที่ว่ารัฐบาลปรับเพิ่มเงินเดือนให้พนักงาน กฟผ.เพื่อป้องกันการคัดค้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชน คงไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะรัฐบาลกับพนักงานเท่านั้น และตนก็เชื่อว่า คงจะมีพนักงานจำนวนหนึ่งที่ไม่สบายใจกับรูปแบบที่มีการแปรรูปเช่นเดียวกัน ซึ่งคงจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกัน แต่จุดยืนของพรรคคงจะไม่ได้ผูกติดกับเรื่องของสวัสดิการหรือเรื่องของความมั่นคงของพนักงานเท่านั้น แต่ว่าเรื่องสำคัญก็คือ เรื่องการสร้างการแข่งขันเพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพและการให้ความมั่นใจกับประชาชนในเรื่องของการกำกับดูแลกิจการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการกระจายหุ้นว่า อยากให้รัฐบาลได้ดูบทเรียนจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และให้นำกรณีของ บมจ.อสมท มาเทียบเคียง แต่สิ่งที่ต้องย้ำก่อนจะไปถึงจุดนั้นคือกรอบของการที่จะวางโครงสร้างของกิจการไฟฟ้าเป็นตัวตั้ง เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศโดยส่วนรวม และประชาชนมากที่สุด เพราะที่ผ่านมาแม้กระทั่งกรณีของบริษัท ปตท.มีเสียงวิจารณ์ว่าวิกฤตน้ำมันที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ ปตท.จากสภาพที่เปลี่ยนไปได้รับผลกระทบ ส่วนเรื่องค่าไฟฟ้านายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แน่นอน ถ้า ในระยะยาวเปรรูปแล้วให้เอกชนผูกขาด เอกชนก็จะสามารถใช้อำนาจผูกขาดตรงนี้ ประชาชนผู้ใช้ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องใช้ไฟแพง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า เมื่อไม่มีกฎหมายการกำกับกิจการไฟฟ้า เป็นการเฉพาะ จะทำให้ความเข้มแข็งที่จะดูแลผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการของประชาชนมีปัญหา
ส่วนกรณีที่วุฒิสภามีมติเห็นชอบตั้งนายวิสุทธิ์ มนตริวัต เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยที่ยังมีข้อขัดแย้งว่าคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา พ้นสภาพการเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่านายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาคงต้องดูข้อกฎหมายให้ครบถ้วนรอบด้านก่อนจะทูลเกล้าฯรายชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต และอาจจะต้องใช้วิธีการหาข้อยุติในเชิงข้อกฎหมายก่อน เพราะหากดำเนินการโดยไม่รอบคอบจะเป็นการผูกปมใหม่ขึ้นมาและอาจจะมีการโต้แย้งถึงความชอบของกระบวนการในครั้งนี้
สำหรับกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนระบุว่าแม้ส่งเรื่องนี้ให้ตีความ ผลการตีความก็จะเหมือนเดิมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญชี้เฉพาะประเด็นในเรื่องของกระบวนการครั้งที่แล้ว ยังไม่ได้ชี้ชัดลงไปถึงสถานภาพต่าง ๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยว่า คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็จะมีคำถามต่อว่าจะต้องเริ่มต้นกระบวนการตรงไหน อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันต่อเช่นกัน ซึ่งจะได้มีการหารือกันภายในพรรคว่า จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร เพราะมีหลายเรื่องที่เป็นปมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีความพยายามไม่ให้คุณหญิงจารุวรรณ กลับมาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพราะเข้ามาตรวจสอบหลายเรื่องนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่ารัฐบาลน่าจะพิสูจน์ความจริงใจและเลี่ยงข้อครหาตรงนี้โดยให้คุณหญิงจารุวรรณ มาสอบเรื่องเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ไปเลย
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่ธนาคารโลกให้ไทยสอบตกปราบคอร์รัปชั่นโดยได้คะแนนเพียงร้อยละ 49 ว่า สะท้อนว่า อำนาจที่เบ็ดเสร็จจนเกินไป และกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น และหากเราใช้ความคิดที่ว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จะทำให้ไทยเสียเปรียบในวันข้างหน้า เพราะความอ่อนแอในระบบจะเกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง และในช่วงที่ผ่านมาตนยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่ารัฐบาลจะมีแนวทางจัดการกับการทุจริตคอร์รัปชั่นที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างไร
สำหรับกรณีที่ทางเจบิค ยังยืนยันที่จะให้เงินกู้กับโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมินั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเรียกผู้เกี่ยวข้องมาซักซ้อมให้ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชนะการประมูลการก่อสร้าง เพราะที่ผ่านมาเป็นข้อตกลงในลักษณะที่ว่ารัฐบาลจ่ายเป็นเงินก้อนแล้วผู้ชนะการประมูลไปดำเนินการเอง แต่หากรัฐบาลแสดงความคิดเห็น หรือกำหนดจุดยืนเกี่ยวกับการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย ก็คงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ ซึ่งตรงนี้ตนได้บอกแล้วว่าหากไม่ทำอย่างรอบคอบ เกรงว่ารัฐเสียประโยชน์ และอาจจะมีปัญหาค่าโง่เกิดขึ้นอีก
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากรัฐบาลยังละเลยจะมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในหลายเรื่อง จะทำให้ความยอมรับลดน้อยถอยลง ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้ประเทศเสียชื่อเสียงเพราะฝ่ายบริหารไม่จัดการอย่างจริงจังเมื่อถามว่านายกรัฐมนตรี ระบุว่าการที่ภาคเอกชนพาไปเลี้ยงหรือดูงานถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้วางบรรทัดฐานที่ถูกต้อง และอะไรที่บอกว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องถูกต้องเสมอไป โดยเฉพาะหากมีผลประโยชน์ของชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง คงจะต้องมีการเข้มงวดกวดขันเรื่องนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 พ.ค. 2548--จบ--
-ดท-
2. สิ่งที่พรรคเรียกร้องมาตลอด คือ ร่างกฎหมายการกำกับกิจการไฟฟ้า ที่จะต้องมีการตั้งองค์กรอิสระตามกฎหมายขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลการแข่งขันในธุรกิจนี้ เหมือนที่มีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ที่จะต้องมากำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ซึ่งกฎหมายนี้ร่างเสร็จมาตั้งแต่สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล แต่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาผลักดัน และการขาดองค์กรกำกับที่เป็นอิสระก็จะเป็นปัญหาทำให้การผูกขาดของภาคเอกชน นำไปสู่ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บริการผู้บริโภคได้
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า 2 เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทบทวนว่าจะทำอย่างไรก่อนที่จะมีการแปลงสภาพองค์กรนี้ไปเป็นองค์กรในภาคเอกชน ซึ่งต้องทำให้มีความมั่นใจเกิดขึ้น โดยในวันที่ 12 พ.ค.นี้ พรรคจะได้ถามกระทู้ในสภาฯ เพื่อขอทราบท่าทีของรัฐบาลที่ชัดเจนต่อ 2 ประเด็นนี้ว่ามีคำตอบอย่างไร และจะฟังคำตอบจากรัฐบาล แล้วถึงจะดูอีกทีว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป เพราะหากรัฐบาลจะเดินหน้าโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านก็คงต้องมีคำอธิบายให้ชัดเจนว่าทำไมถึงให้มีการผูกขาด และเหตุใดการตั้งองค์กรกำกับดูแลที่มีอำนาจตามกฎหมายซึ่งมีความเป็นกลาง และมีความเป็นอิสระจึงไม่ดำเนินการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า พรรคฯ จะเคลื่อนไหวต่อไป เพราะเราเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และพรรคไม่ได้ต่อต้านการแปรรูป แต่ว่าการแปรรูปในประสบการณ์ทั่วโลกมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว จุดที่ล้มเหลวก็คือ เป็นการเอาอำนาจผูกขาดไปให้เอกชน แต่แปรรูปที่ประสบความสำเร็จคือ สามารถสร้างการแข่งขัน และมีการกำกับดูแลที่ดี ขณะนี้แนวทางที่รัฐบาลเลือกเดิน เป็นแนวทางที่ยกอำนาจผูกขาดให้เอกชน เพราะรัฐบาลอาจจะกังวลเรื่องการกระจายหุ้น มูลค่าหุ้น และนำเรื่องของตลาดหลักทรัพย์มาเป็นตัวกำหนดนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึง่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ต้องเอาเรื่องของการบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจมาเป็นตัวตั้ง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องมีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน และเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนในเรื่องนี้
ต่อข้อซักถามที่ว่ารัฐบาลปรับเพิ่มเงินเดือนให้พนักงาน กฟผ.เพื่อป้องกันการคัดค้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชน คงไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะรัฐบาลกับพนักงานเท่านั้น และตนก็เชื่อว่า คงจะมีพนักงานจำนวนหนึ่งที่ไม่สบายใจกับรูปแบบที่มีการแปรรูปเช่นเดียวกัน ซึ่งคงจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกัน แต่จุดยืนของพรรคคงจะไม่ได้ผูกติดกับเรื่องของสวัสดิการหรือเรื่องของความมั่นคงของพนักงานเท่านั้น แต่ว่าเรื่องสำคัญก็คือ เรื่องการสร้างการแข่งขันเพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพและการให้ความมั่นใจกับประชาชนในเรื่องของการกำกับดูแลกิจการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการกระจายหุ้นว่า อยากให้รัฐบาลได้ดูบทเรียนจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และให้นำกรณีของ บมจ.อสมท มาเทียบเคียง แต่สิ่งที่ต้องย้ำก่อนจะไปถึงจุดนั้นคือกรอบของการที่จะวางโครงสร้างของกิจการไฟฟ้าเป็นตัวตั้ง เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศโดยส่วนรวม และประชาชนมากที่สุด เพราะที่ผ่านมาแม้กระทั่งกรณีของบริษัท ปตท.มีเสียงวิจารณ์ว่าวิกฤตน้ำมันที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ ปตท.จากสภาพที่เปลี่ยนไปได้รับผลกระทบ ส่วนเรื่องค่าไฟฟ้านายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แน่นอน ถ้า ในระยะยาวเปรรูปแล้วให้เอกชนผูกขาด เอกชนก็จะสามารถใช้อำนาจผูกขาดตรงนี้ ประชาชนผู้ใช้ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องใช้ไฟแพง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า เมื่อไม่มีกฎหมายการกำกับกิจการไฟฟ้า เป็นการเฉพาะ จะทำให้ความเข้มแข็งที่จะดูแลผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการของประชาชนมีปัญหา
ส่วนกรณีที่วุฒิสภามีมติเห็นชอบตั้งนายวิสุทธิ์ มนตริวัต เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยที่ยังมีข้อขัดแย้งว่าคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา พ้นสภาพการเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่านายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาคงต้องดูข้อกฎหมายให้ครบถ้วนรอบด้านก่อนจะทูลเกล้าฯรายชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต และอาจจะต้องใช้วิธีการหาข้อยุติในเชิงข้อกฎหมายก่อน เพราะหากดำเนินการโดยไม่รอบคอบจะเป็นการผูกปมใหม่ขึ้นมาและอาจจะมีการโต้แย้งถึงความชอบของกระบวนการในครั้งนี้
สำหรับกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนระบุว่าแม้ส่งเรื่องนี้ให้ตีความ ผลการตีความก็จะเหมือนเดิมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญชี้เฉพาะประเด็นในเรื่องของกระบวนการครั้งที่แล้ว ยังไม่ได้ชี้ชัดลงไปถึงสถานภาพต่าง ๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยว่า คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็จะมีคำถามต่อว่าจะต้องเริ่มต้นกระบวนการตรงไหน อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันต่อเช่นกัน ซึ่งจะได้มีการหารือกันภายในพรรคว่า จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร เพราะมีหลายเรื่องที่เป็นปมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีความพยายามไม่ให้คุณหญิงจารุวรรณ กลับมาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพราะเข้ามาตรวจสอบหลายเรื่องนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่ารัฐบาลน่าจะพิสูจน์ความจริงใจและเลี่ยงข้อครหาตรงนี้โดยให้คุณหญิงจารุวรรณ มาสอบเรื่องเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ไปเลย
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่ธนาคารโลกให้ไทยสอบตกปราบคอร์รัปชั่นโดยได้คะแนนเพียงร้อยละ 49 ว่า สะท้อนว่า อำนาจที่เบ็ดเสร็จจนเกินไป และกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น และหากเราใช้ความคิดที่ว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จะทำให้ไทยเสียเปรียบในวันข้างหน้า เพราะความอ่อนแอในระบบจะเกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง และในช่วงที่ผ่านมาตนยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่ารัฐบาลจะมีแนวทางจัดการกับการทุจริตคอร์รัปชั่นที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างไร
สำหรับกรณีที่ทางเจบิค ยังยืนยันที่จะให้เงินกู้กับโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมินั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเรียกผู้เกี่ยวข้องมาซักซ้อมให้ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชนะการประมูลการก่อสร้าง เพราะที่ผ่านมาเป็นข้อตกลงในลักษณะที่ว่ารัฐบาลจ่ายเป็นเงินก้อนแล้วผู้ชนะการประมูลไปดำเนินการเอง แต่หากรัฐบาลแสดงความคิดเห็น หรือกำหนดจุดยืนเกี่ยวกับการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย ก็คงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ ซึ่งตรงนี้ตนได้บอกแล้วว่าหากไม่ทำอย่างรอบคอบ เกรงว่ารัฐเสียประโยชน์ และอาจจะมีปัญหาค่าโง่เกิดขึ้นอีก
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากรัฐบาลยังละเลยจะมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในหลายเรื่อง จะทำให้ความยอมรับลดน้อยถอยลง ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้ประเทศเสียชื่อเสียงเพราะฝ่ายบริหารไม่จัดการอย่างจริงจังเมื่อถามว่านายกรัฐมนตรี ระบุว่าการที่ภาคเอกชนพาไปเลี้ยงหรือดูงานถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้วางบรรทัดฐานที่ถูกต้อง และอะไรที่บอกว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องถูกต้องเสมอไป โดยเฉพาะหากมีผลประโยชน์ของชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง คงจะต้องมีการเข้มงวดกวดขันเรื่องนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 พ.ค. 2548--จบ--
-ดท-